(0)
/-/-/-* ครั้งที่แล้วปิดกว่า 8000 ตอนนี้เอาไป 800 พอกับ ซุ้มระฆัง เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรี จ.สุพรรณ+บัตรG-Pra และบัตร DD-Pra /-/-*/-*/*/-*







ชื่อพระเครื่อง/-/-/-* ครั้งที่แล้วปิดกว่า 8000 ตอนนี้เอาไป 800 พอกับ ซุ้มระฆัง เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรี จ.สุพรรณ+บัตรG-Pra และบัตร DD-Pra /-/-*/-*/*/-*
รายละเอียด/-*-* พระซุ้มระฆัง เนื้อชินเงิน กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี + บัตร DD-PRA +บัตร G-PRA รับรองความแท้ถึง 2 สถาบัน /-*/-*/-*/-/-

เป็นพระกรุเดียวกับ พระผงสุพรรณ และพระมเหศวร ซึ่งเป็นหนึ่ง 1 ใน 5 พระเบญจภาคี ของทั้งพระยอดนิยม และพระเนื้อชิน

ซึ่งพระกรุนี้สร้างโดยกษัตริย์ และปลุกเสกโดยฤาษีถึง 5 ตน โดยมีประวัติย่อๆ ดังนี้

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง จ.สุพรรณบุรี มาแต่ครั้งโบราณ ในสมัยอู่ทองจำต้องร้าง เพราะภัยสงครามระหว่างไทย-พม่า เมื่อคราวกรุงศรีอยุธยาแตก พ.ศ.๒๓๑๐ ทหารพม่าได้ปล้นสะดมประชาชนคนไทย พร้อมทั้งกวาดต้อนครอบครัวไทยไปเป็นเชลยยังเมืองพม่า ชาวสุพรรณที่รักอิสระจึงต้องหนีซอกซอนไปอาศัยอยู่ตามป่าดงพงไพร ทิ้งบ้าน ทิ้งวัด ปล่อยให้รกร้าง ปราศจากผู้คนดูแล เมืองสุพรรณจึงรกร้างไปร่วมร้อยปี

หลักฐานเอกสารแผ่นจารึกต่างๆ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย ให้ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้มีโอกาสที่จะเป็นไปได้มากว่าสร้างในรัชสมัย สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ ๒ (เจ้าสามพระยา พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑) และบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งในรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.๑๙๙๑-๒๐๓๑)

กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ นับเป็นแหล่งที่ค้นพบพระพิมพ์ที่สำคัญ และได้รับความนิยมสูงหลายต่อหลายพิมพ์ รวมถึงพระพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคี คือ พระผงสุพรรณ และอีกพิมพ์หนึ่งในชุดเบญจภาคีพระยอดขุนพล คือ พระมเหศวร

นอกจากนี้ยังมีพระพิมพ์สำคัญๆ อีกหลากหลาย อาทิ พระสุพรรณหลังผาน (หลังพระ) พระซุ้มคอระฆัง พระสุพรรณยอดโถ พระปทุมมาศ พระกำแพงศอก พระท่ามะปรางค์ พระถ้ำเสือ พระอรัญญิก พระร่วงยืน พระร่วงนั่ง พระลีลาพิมพ์ต่างๆ ฯลฯ

คนโบราณกล่าวกันว่า

พระผงสุพรรณ สร้างโดยพระมหากษัตริย์ และเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ให้พุทธคุณ ทางด้านเมตตา แคล้วคลาด

พระมเหศวร สร้างโดยแม่ทัพนายกอง จึงให้พุทธคุณด้านมหาอุดคงกะพันธ์

พระซุ้มคอระฆัง พระลีลานางระเวง สร้างโดยเอกอัครมเหสี จึงให้พุทธคุณ ทางด้านเมตตา โชคลาภ และความมั่งคั่ง

ด้วยจำนวนสร้างที่น้อยกว่าพระพิมพ์มเหศวร และพิมพ์อื่นๆ
และด้วยรูปลักษ์ที่วิจิตรบรรจง จึงทำให้พระพิมพ์นี้ มีหมุนเวียนในตลาดน้อย และพบสภาพที่สมบูรณ์ค่อนข้างยาก

-/*ด้วยรูปร่างที่ค่อนข้างอ่อนช้อย ของทั้งซุ้ม และฐาน จึงขาดซึ่งความแข่งแรงของตัวองค์พระ ซึ่งไม่เหมือนกับพิมพ์มเหศวรที่องค์ค่อนข้างอวบอ้วน และหนา สำหรับองค์นี้ค่อนข้างสมบูรณ์ ซุ้มยังอยู่ครบทั้งซ้าย - ขวา มีเพียงฐานร่างบางส่วนเท่านั้นที่ขาดหายไป ซึ่งเป็นมาแต่ในกรุ มาพร้อม บัตรรับรองจาก 2 สถาบัน ทั้ง
ดีดีพระ และการันตีพระ จึงมั่นใจได้ว่าแท้ทุกสนามแน่นอน /-*/-*


/-/-รับประกันตามกฎครับพี่.............น้อง -/-*/-/-
ราคาเปิดประมูล790 บาท
ราคาปัจจุบัน4,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 14 ก.ย. 2552 - 22:59:19 น.
วันปิดประมูล - 15 ก.ย. 2552 - 23:23:46 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลศิษพ่อมุ่ย (4.5K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 14 ก.ย. 2552 - 23:00:05 น.
.


บัตรของ G-Pra ครับ ระบุสภาพใช้ พระ อายุ 200-300 ปีแล้วครับ ไม่ต้องบอกก็รู้ครับ ว่าต้องผ่านการสัมผัสจากธรรมชาติอยู่แล้ว


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 14 ก.ย. 2552 - 23:03:33 น.
.


บัตร DD-Pra ครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ----

ลักษณะของพระเนื้อชินกรุวัดพระศรีมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

" พระประเภทเนื้อชินเงิน หรือเนื้อชินแข็ง ซึ่งมวลสารที่สร้างจะเป็นส่วนผสมของเนื้อดีบุกมากกว่าเนื้อตะกั่ว เนื้อชินชนิดนี้จะมีลักษณะแข็ง มีข้อเสียคือ เมื่อมีอายุกาลที่เนิ่นนานเข้าจะเกิดการทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อมและกัดกร่อนลงไปในเนื้อมากบ้างน้อยบ้าง เรียกว่า "สนิมขุม" และจะเกิดรอยระเบิดแตกปริตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยจะแตกจากภายในปะทุออกมาข้างนอก อันเป็นหลักการพิจารณาที่สำคัญประการหนึ่ง แต่บางองค์ที่มีส่วนผสมของเนื้อตะกั่วมากกว่าเนื้อดีบุก จะเรียกว่าเนื้อชินอ่อน เมื่อกระทบของแข็งก็จะเกิดเป็นรอยบุ๋ม สามารถโค้งงอได้เล็กน้อย จะมีข้อดีคือไม่เกิดสนิมขุมหรือรอยกัดกร่อนหรือระเบิดแตกปริเหมือน "เนื้อชินเงิน" แต่จะเกิด "สนิมไข" มีลักษณะเป็นสีนวลขาวเป็นแผ่น "


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 14 ก.ย. 2552 - 23:04:06 น.
.


o





คลิกรายการทั้งหมดของผู้ตั้งประมูลสิครับ มีพระหลัก 1000 หลัก 10000 ขาย 100 เดียวบ้าง 200 บ้าง เป็นการสมนาคุณ ก่อนฆ้อนหายครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     4,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    papaba (103)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1