จำนวนสร้างเหรียญนั่งพานชนะมาร
1. ชุดทองคำ 199 ชุด ประกอบด้วย เหรียญทองคำ, เงิน , นวะโลหะ , ทองเหลือง , ทองแดง
2. เนื้อเงิน 2,500 เหรียญ
3. เนื้อนวะโลหะ 5,000 เหรียญ
4. เนื้อทองเหลือง 10,000 เหรียญ
5. เนื้อทองแดง 20,000 เหรียญ
เนื้อทองคำกับเนื้อเงิน ตอกโค้ดตัว มิ โค้ดมีอันเดียวเท่านั้น
เนื้อนวะโลหะตอกโค้ดตัว มะ โค้ดมีอันเดียวเท่านั้น
เนื้อทองเหลือง ตอกโค้ดตัว อะ โค้ดที่ใช้ตอกทั้งหมดมีห้าอัน
เนื้อทองแดง ตอกโค้ดตัว อุ โค้ดที่ใช้ตอกทั้งหมดมีห้าอัน
ตัวตัดขอบเหรียญมีสองตัว ตัวหนึ่งใช้ตัดขอบเหรียญเงินและทองคำ
ส่วนอีกตัวใช้ตัดขอบเหรียญเนื้อนวะโลหะ ทองเหลือง และทองแดง เหรียญกรรมการ
1. เนื้อเงิน ตอกโค้ด ด้านหน้า ก. ด้านหลัง ก. กับหมายเลขประจำองค์ 11 องค์
2. เนื้อเงิน ตอกโค้ด ด้านหน้า มิ ด้านหลัง ก. กับหมายเลขประจำองค์ 59 องค์
3. เนื้อเงิน ตอกโค้ดรวมด้านหน้า 7 โค้ด 3 องค์
4. เนื้อนวะโลหะ ตอกโค้ดรวมด้านหน้า 5 โค้ดและ 6 โค้ด รวม 38 องค์
5. เนื้อทองเหลือง ตอกโค้ดรวมด้านหน้า 5 โค้ดและ 6 โค้ด รวม 198 องค์
6. เนื้อทองแดง ตอกโค้ดรวมด้านหน้า 5 โค้ดและ 6 โค้ด รวม 232 องค์ เหรียญกรรมการเกิดจากการสั่งปั๊มเหรียญเผื่อเสีย จากการตอกเลขผิดหรือเหรียญชำรุด เมื่อตอกเลขครบจำนวนแล้วยังมีเหรียญเหลืออยู่จำนวนหนึ่งในแต่ละเนื้อ จึงมีการนำมาตอกเป็นเหรียญกรรมการ
(ข้อมูลที่ผู้จัดสร้างจัดส่งให้ผู้รวบรวมจัดทำหนังสือรวมวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณครับ)
เหรียญกรรมการในทีแรกไม่ได้มีความตั้งใจที่จะทำ แต่เป็นเหรียญที่เหลือในแต่ละเนื้อซึ่งจะเป็นจะมีทั้งแบบที่ตอกโค้ดไปแล้ว
กับที่ยังไม่ได้ตอกอะไรเลย จึงได้แตกออกมาเป็นแบบที่ตอก หน้า ก. หลัง ก. และ และแบบ 7 โค้ดในเนื้อเงิน
กับแบบตอก 5 โค้ดในเนื้อนวะ ทองเหลือง ทองแดง ส่วนพวกที่ตอกโค้ดที่สังฆาฏิแล้วก็จะถูกตอกเพิ่มเป็น เนื้อเงิน หน้า มิ หลัง ก.
และพวกตอก 6 โค้ดในเนื้อนวะ ทองเหลือง ทองแดง โค้ดตัวคูณที่นำมาตอกที่สังฆาฏิเป็นโค้ดที่แกะมาใหม่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ
รุ่นรับเสด็จแต่อย่างใด เพียงแต่แกะมาคล้ายกัน พระทั้งหมดได้มีการแจกจ่ายผู้สร้างทั้งสองคนไปบ้างคงเหลืออยู่บ้างไม่มากนัก ผู้สร้างมีแค่สองคนไม่มีกรรมการอื่นใดอีก
ใครที่ได้เหรียญพวกนี้เป็นมือแรกก็คือได้มาจากผู้สร้างนั่นเองครับ |
|