(0)
พระพิฆเณศ แกะจากหยกดำ #2








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระพิฆเณศ แกะจากหยกดำ #2
รายละเอียดพระพิฆเณศ แกะจากหยกดำ #2
เป็นหยกสองสี กิมบ่เซี่ยม มีกินไม่มีวันหมด

"ผู้ใดต้องการความสำเร็จ ให้บูชาพระพิฆเณศ...
...ผู้ใดต้องการพ้นจากความขัดข้องทั้งปวง ให้บูชาพระพิฆเณศ"
(วาทะแห่งพระศิวะมหาเทพ)

พระพิฆเนศ แกะสลัก หยกดำ เนื้อดี งานปราณีต เสริมโชคลาภ และคุ้มภัยต่างๆ
เปิดเนตร ที่วัดเขาแก้ว จังหวัดตาล เรียบร้อยแล้วครับ

เรื่องน่ารู้เบื้องต้น เกี่ยวกับพระพิฆเณศ
พระพิฆเนศ เป็นมหาเทพผู้ทรงภูมิปัญญายิ่งใหญ่ ผู้ขจัดอุปสรรคและอำนวยความสำเร็จในทุกสิ่ง พระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งสากล (Universal God) ที่มีผู้เคารพนับถือมากที่สุดองค์หนึ่งในทั่วโลก
ไม่ว่าใน อินเดีย เนปาล ภูฏาน ทิเบต มองโกล จีน ญี่ปุ่น เกาหลี พม่า ไทย เขมร อินโดนีเซีย ฯลฯ พระพิฆเนศ คือเทพเจ้าที่มีปรีชาญาณเฉลียวฉลาด มีฤทธานุภาพมาก และทรงคุณธรรม คอยปราบภัยพาลและอภิบาลคนดี อีกทั้งยังเป็นเทพผู้กตัญญูถึงพร้อมด้วยความดีงาม สมควรแก่การสักการบูชาเป็นอย่างยิ่ง หากใครจะประกอบพิธี หรือทำกิจกรรมใด การเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ เช่น เปิดกิจการร้านค้า เริ่มการทำงาน ขึ้นบ้านใหม่ ออกเดินทาง หรือแม้กระทั่งการบวงสรวงทำพิธีมงคลต่างๆ ฯลฯ ต้องบอกกล่าวบูชาองค์พระพิฆเนศก่อนเป็นลำดับแรก จึงจะเป็นสิริมงคล และประสบความสำเร็จ

ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ เชื่อกันว่า พระพิฆเนศเป็นโอรสของ พระศิวะ กับ พระศรีมหาอุมาเทวี (พระแม่อุมา) ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เขียนคัมภีร์มหาภารตะ จากวาจาของพระฤษีวยาส และนับถือกันว่า เป็นเทพเจ้าแห่งการรจนาหนังสือ ดุจเดียวกับ พระสุรัสวดี

พระพิฆเนศ มีกายเป็นมนุษย์ มีเศียรเป็นช้าง อีกชื่อหนึ่งจึงเรียกว่า คชานนท์ มีงาข้างเดียว อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย หูยาน พระวรกายสีแดง สีขาว สีเหลือง ฯลฯ นุ่งห่มภูษาแดง มี ๔ กร ถือบ่วงบาศ ขอสับช้าง และมีเทพศัสตราวุธอีกหลายชนิด ซึ่งได้รับประทานจากพระศิวะ มีพาหนะบริวาร คือ หนู นามว่า มุสิกะ

การนับถือพระพิฆเนศในเมืองไทย พระพิฆเนศได้กลายเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญในศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ความศรัทธาเชื่อถือได้แพร่หลายสู่แผ่นดินสยาม ตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏเป็นรูปประติมากรรมพระพิฆเนศ ณ โบราณสถานหลายแห่ง เช่น ที่เมืองนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ลพบุรี นครราชสีมา ฯลฯ

พระพิฆเนศ ได้กลายเป็นมหาเทพที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมากองค์หนึ่ง นับถือให้ท่านเป็นประธานในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ประจำกรมศิลปากร, มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยช่างศิลป และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รวมทั้งในพิธีเปิดกล้องถ่ายทำภาพยนตร์ พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละคร พิธีไหว้ครูของควาญช้าง พิธีครอบครูเรียนสรรพวิชาต่างๆ ฯลฯ ก็ต้องกล่าวบูชาพระพิฆเนศเสียก่อน จึงจะเป็นสิริมงคล และทำกิจการงาน หรือเล่าเรียนได้สำเร็จ

ดังนั้น การอธิษฐานขอพรใดๆ ที่ไม่เกินวาสนาบารมี ย่อมสำเร็จได้ทุกสิ่ง พระองค์ย่อมประทานพรให้สมปรารถนาเสมอ เช่น ขอพรด้านการศึกษาเล่าเรียน ขอปัญญาความรู้ ขอตำแหน่งหน้าที่การงาน ขอด้านการเงินและความรัก ด้านปัดเป่าอุปสรรคทุกข์ภัย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ขอให้ทุกอย่างประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะสำเร็จมากน้อยหรือไม่ประการใดนั้น ขึ้นอยู่กับบุญกุศลบารมีของแต่ละคน ที่ย่อมมีไม่เท่ากัน

การเตรียมการสักการะพระพิฆเนศ

การสักการบูชาขอพร พระพิฆเนศ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นอาชีพใด ประชาชนทุกชนชั้นวรรณะ ก็สามารถขอพรจากพระองค์ท่านได้ไม่จำกัด เพราะท่านเป็นมหาเทพที่ใจดี มีปัญญาลึกล้ำ แก้ไขปัญหาได้เก่ง จนได้รับการขนานนามให้เป็น "เทพเจ้าแห่งความสำเร็จ"

วิธีบูชาพระพิฆเนศ วันที่เริ่มต้นครั้งแรกควรเริ่มบูชาในวันอังคาร หรือวันพฤหัสบดี เพื่อถวายตัวเป็นผู้ศรัทธา หรือลูกศิษย์ของพระพิฆเนศ วันต่อไปให้สักการะตามปกติ จะเป็นฤกษ์ยามใดถือเป็นมงคลทั้งสิ้น ของที่ใช้ในการสักการบูชาได้แก่ น้ำสะอาด นม น้ำมะพร้าว แต่ถ้ามีเครื่องสังเวยควรใช้ผลไม้และขนมต่างๆ เช่น อ้อย กล้วยสุก มะพร้าว ... เลือกถวายได้ตามศรัทธา และกำลังทรัพย์ แต่ถ้าสามารถถวายได้ทุกวันก็จะเป็นการดี

วันและเดือนที่เหมาะแก่การบูชาพระพิฆเนศ หลังจากที่ถวายตัวเป็นผู้ศรัทธาในวันอังคาร หรือวันพฤหัสบดีแล้ว ก็สามารถบูชาได้ทุกวัน ทุกเดือน โปรดเข้าใจไว้ว่าไม่มีวันใดที่ไม่เหมาะแก่การบูชาพระพิฆเนศเลย ผู้ศรัทธาสามารถกราบไหว้ สักการะบูชาองค์พระพิฆเนศได้ทุกวัน ทุกเดือน และขอพรได้ตลอดเวลา

เครื่องสังเวยพระพิฆเนศ ห้ามใช้เนื้อสัตว์ทุกชนิด (สามารถใช้ขนมที่มีส่วนผสมของไข่ได้บ้าง แต่ถ้าเลือกได้ก็ควรเลี่ยง) ให้ถวายผลไม้ที่สุกแล้วเป็นหลัก อ้อย น้ำอ้อย นมวัว ขนมโมทกะ (หรือ ขนมต้มแดง ต้มขาว ของไทย) หรือขนมหวานลาดูป (ชาวอินเดียนิยมถวาย) ตลอดจนข้าวสาร เกลือ พืช ผัก งา สมุนไพร ธัญพืชและเครื่องเทศทุกชนิด ก็สามารถใช้ถวายได้

ขั้นตอนการบูชาพระพิฆเนศ
1. จุดเทียน หรือตะเกียงน้ำมัน ธูปหอม กำยาน ฯลฯ ต่อหน้าเทวรูป หรือ รูปภาพพระพิฆเณศ
2. ถวายเครื่องบูชาสักการะ
3. กล่าวคำบูชาพระพิฆเนศ ด้วยบทสวดมนต์และบทสรรเสริญต่างๆ (อ่านได้จากหน้าแรก)
4. ท่องพระนาม, เปิดเพลงถวาย, ทำสมาธิ ฯลฯ
6. แผ่เมตตา ขอความสันติและสงบสุข เป็นอันเสร็จพิธี

การประดิษฐานพระพิฆเนศ และเทวรูปองค์อื่นๆ เน้นที่ความสวยงาม ความสะดวกและเหมาะสมเป็นหลัก เรื่องทิศทางถือว่าเป็นรอง ส่วนใหญ่จะเน้นทางทิศตะวันออก หรือทิศอื่นๆ ก็ได้ ยกเว้นทิศตะวันตก แต่ที่สำคัญควรแยกที่บูชาเป็นเอกเทศต่างหาก ไม่ปะปนกับหิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูป หรือพระเกจิอาจารย์

คาถาสวดบูชาพระพิฆเนศ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ คือ "โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา" จากนั้นให้กล่าวคำอธิษฐานขอพรเป็นภาษาไทย สำหรับผู้เริ่มต้นบูชา ควรใช้มนต์บทนี้ ซึ่งสั้นกระชับและจำง่าย (ยังมีมนต์บทอื่นๆ อีกมากมายหลายร้อย สามารถหาอ่านได้จากลิงก์หน้าแรก)

ยังมีความรู้เกี่ยวกับพระพิฆเนศอีกมากมายให้ได้อ่าน ศึกษา ทำความเข้าใจ
ขอให้ผู้ศรัทธาทุกท่านโปรดศึกษาเรื่องราวและวิธีการบูชาพระพิฆเนศให้ถ่องแท้ เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง


อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน จันทร์
ด้านเสริมการงาน(จะก้าวหน้า รุ่งเรือง ประสบความสำเร็จ) คือ สีดำ
ด้านเสริมความมีสง่าราศี(เป็นที่ยกย่องเลื่อมใส เป็นที่รักใคร่ของคน) คือ สีดำ

อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน อังคาร
ด้านเสริมความมีอำนาจ (มีเดช มีอำนาจ) คือ สีดำ

อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน พุธ
ด้านเสริมความมีสง่าราศี (เป็นที่ยกย่องเลื่อมใส เป็นที่รักใคร่ของคน) คือ สีดำ สีเทา
ด้านเสริมความเมตตา (ทำให้ผู้ใหญ่เมตตา กรุณา)คือ สีขาว ถ้าเป็นพุธกลางคืน สีดำ สีเทา

อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน ศุกร์
ด้านเสริมการงาน (จะก้าวหน้า รุ่งเรือง ประสบความสำเร็จ) คือ สีดำ

อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน เสาร์
ด้านเสริมความมีอำนาจ (มีเดช มีอำนาจ) คือ สีดำ

อัญมณีสำหรับคนที่เกิดวัน อาทิตย์
ด้านเสริมความเมตตา (ทำให้ผู้ใหญ่เมตตา กรุณา) คือ สีดำ
ราคาเปิดประมูล189 บาท
ราคาปัจจุบัน219 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 24 ม.ค. 2553 - 19:53:06 น.
วันปิดประมูล - 25 ม.ค. 2553 - 22:34:27 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลลูกพระใส (2.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     219 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    phan102 (168)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1