(0)
@@@แบ่งให้จากใจ@@@ พระ เนื้อว่าน ( พญาไม้ผุ ) พิมพ์ซุ้มเว้า หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว + เลี่ยมทองแท้มาตรฐาน @@@((((แท้ตลอดกาล))))@@@






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@แบ่งให้จากใจ@@@ พระ เนื้อว่าน ( พญาไม้ผุ ) พิมพ์ซุ้มเว้า หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว + เลี่ยมทองแท้มาตรฐาน @@@((((แท้ตลอดกาล))))@@@
รายละเอียดพระองค์หนี้ยุคหลวงปู่บุญนะครับ พิมพ์มาตรฐาน เนื้อมาตรฐาน สวยกว่าองค์ที่ลงหนังสือ
เนื้อจัดไม่เหมือนใคร หนึ่งเดียว ไขขึ้นเป็นธรรมชาติ)
ไม่มีคำว่าไม่แท้หรือ50-50 มีแต่ แท้ตลอดกาล (ใครจะเก็บเหรียญปั้มก็เก็บกันไป เหรียญปั้มมาแล้วก็เข้าพิธีปลุกเสก

สภาพสวยมาก (เป็นปกติ ไม่มีการเพิ่ม เดิมๆ ไม่มีซ่อม เสริม เติม แต่ง แต่อย่างใดทั้งสิ้น


แล้วแต่ความโชคดีของผู้ที่เข้ามาเห็นในการประมูลครั้งนี้ (แดงเคาะแรกครับ)199

( koooo )โก๊ะ ศิษย์หลวงพ่อดี วัดพระรูป รับประกัน แท้ตลอดกาล คืนได้ตลอดชีวิต 0858043718
ราคาเปิดประมูล99 บาท
ราคาปัจจุบัน20,099 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 30 ม.ค. 2553 - 20:55:31 น.
วันปิดประมูล - 31 ม.ค. 2553 - 21:01:41 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkoooo (460)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 30 ม.ค. 2553 - 22:23:05 น.
.


หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
หลวงปู่บุญ ขนฺติธโชติ หรือพระพุทธวิถีนายกพระคณาจารย์ชื่อดังของ จ.นครปฐม
อีกองค์หนึ่ง ที่เกียรติคุณของท่านระบือไกลไปทั่วตั้งแต่ลุ่มน้ำท่าจีนจรดมหาชัย
และไกลไปถึงสุพรรณบุรี
ด้วยศีลาจารวัตรงดงามทรงไว้ซึ่งสมณสารูป น่าเคารพเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งเชี่ยวชาญ
ในด้านเวทย์มนต์คาถาทั้งพุทธคุณและไสยศาสตร์ อันยากที่จะหาพระคณาจารย์องค์ใด
มาเสมอเหมือนได้โดยง่ายทั้งยังเป็นสหธรรมมิกที่สนิทสนมกับสมเด็จพระสังฆราช(แพ)
วัดสุทัศน์ฯเจ้าคุณสุนทรวัดกัลยาและยังเป็นศิษย์ร่วมสำนักกันกับหลวงปู่อ๋อย วัดไทร,
หลวงปู่รอด วัดนายโรงอีกด้วย


หลวงปู่บุญเกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 3 กรกฎาคม
พ.ศ.2391 ในสมัยรัชกาลที่ 3เป็นบุตรของพ่อเส็ง แม่ลิ้ม มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน โดยท่าน
เป็นบุตรคนโต เมื่ออายุได้ 13 ปี บิดาได้เสียชีวิต ป้าของท่านจึงนำไปฝากให้เรียนหนังสือ
อยู่กับพระปลัดทอง ณ วัดกลางบางแก้ว ซึ่งสมัยนั้นเรียกชื่อวัดว่า วัดคงคาราม
ครั้งอายุ 15 ปีบรรพชาเป็นสามเณร แต่เมื่ออายุจะครบใกล้บวชพระ จำเป็นต้องลาสิกขา
ล่วงถึงปีพ.ศ.2412 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็งวันที่ 21 มิถุนายน
เวลา13.00น. ได้อุปสมบทณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว มีพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา
(พิไทยทาราม) เป็นพระอุปัชฌาย ์พระปลัดทอง วัดกลางเป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการทรัพย ์วัดงิ้วราย เป็นอนุสาวนาจารย์ ภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้วได้พำนัก
จำพรรษาอยู่วัดนี้ โดยตลอดกระทั่งมรณภาพ

สมณศักดิ์และตำแหน่ง
ปีพ.ศ.2429 ได้รับแต่งตั้งเป็น พระอธิการ เจ้าอาวาสวัดกลางฯบางแก้ว
ปีพ.ศ.2431 ทางคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้เป็น พระกรรมวาจาจารย์
ปีพ.ศ.2442 เป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะอำเภอในปัจจุบัน)
ปีพ.ศ.2459 วันที่ 27 สิงหาคม เป็นพระอุปัชฌาย์
วันที่ 30 ธันวาคม เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูอุตรการบดี
พร้อมทั้งเป็นเจ้าคณะแขวง(เจ้าคณะจังหวัด)
ปีพ.ศ.2462 วันที่ 20 ธันวาคม เป็นพระครูพุทธวิถีนายก พร้อมทั้งดำรงตำแหน่ง
เป็นประธานกรรมการคณะสงฆ์จ.นครปฐม,สมุทรสาครและสุพรรณบุรี
ปีพ.ศ.2471 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่"พระพุทธวิถีนายก"
ปีพ.ศ.2474 รับพระราชทานยกเป็นกิตติมศักดิ์ที่"พระพุทธวิถีนายก"
และได้ถึงแก่การมรณภาพเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2478 ตรงกับวันจันทร ์ขึ้น 8 ค่ำ
เดือน 5 ปีชวดเวลา 10.45 น.รวมสิริอายุได้ 89 ปี 67 พรรษา

การศึกษาเล่าเรียน
เริ่มแรกการเรียนด้านคันถธุระ ได้ศึกษากับพระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว
มาแต่เล็กแม้กระทั่งหลังการอุปสมบท แล้วส่วนด้านวิปัสสนากมมัฏฐานและพุทธาคมต่างๆ
นั้นมีการกล่าวถึงหรือบันทึกเอาไว้น้อยมากแต่อย่างน้อยสุดกับพระปลัดปานวัดตุ๊กตาผู้เป็น
พระอุปัชฌาย์ท่านต้องได้ศึกษามาบ้างโดยเฉพาะด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานอันเป็นการฝึกจิต
ให้เป็นสมาธิเพื่อร่ำเรียนพุทธาคมต่างๆต่อไปแต่เท่าที่ทราบจากคนเฒ่าคนแก่ลูกศิษย์
ที่ใกล้ชิดท่านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าท่านได้ศึกษามาจากหลายสำนักทั้งในลักษณะการ
แลกเปลี่ยนวิชาซึ่งกันและกันและฝากตัวเป็นศิษย์โดยเฉพาะในช่วงที่ท่านออกเดินธุดงค์
ไปตามสถานที่ต่างๆนั้นน่าจะเป็นช่วงที่ท่านได้ศึกษาเพิ่มเติมอย่างเต็มรูปแบบที่สุดนอกจาก
ี้นี้แล้วท่านได้รวบรวมสรรพคัมภีร์โบราณหลายอย่างของสมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วที่เก็บรักษา
เอาไว้ที่วัดประดู่ทรงธรรมต่อมาเกิดไฟไหม้ท่านจึงนำมาเก็บรักษานอกจากนี้แล้วยังมีตำรา
จากสำนักวัดสะแกที่ได้รับมา อาทิ ตำราการสร้างประคำปราบหงสาตะกรุโทน พระผง
จินดามณี เป็นต้น
จากคัมภีร์โบราณต่างๆเหล่านั้นที่ท่านได้มาและนำมาศึกษาเรียนรู้จนเชี่ยวชาญชำนาญ
ตลอดจนนำมาสู่การสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบพิมพ์ทรงต่างๆจนเป็นที่นิยมเล่นหาสะสม
ในปัจจุบันเป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดีถึงความรอบรู้ของท่านตลอดถึงความเข้มขลัง
ศักดิ์สิทธิ์ในมงคลวัตถุนั้นๆจนยากที่จะปฏิเสธได้
แม้ว่าหลวงปู่บุญ จะเป็นผู้เฒ่าที่ใจดี แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนเกรงกลัวกันมาก กล่าวกันว่าท่านเป็นผู้ที่มีอำนาจ
ในตัว ด้วยท่านเป็นคนพูดน้อย มีแววตากล้าแข็ง จึงไม่ว่าใครๆ ต่างก็พากันเกรงขามท่านกันทั้งนั้น
ใครก็ตามที่มีธุระทุกข์ร้อยมาหาท่าน ท่านก็จะรับเป็นภาระช่วยบำบัดปัดเป่าทุกข์ภัยนั้น ให้ด้วยความเมตตา กรุณาโดยทั่วหน้ากัน
บางคนมาขอฤกษ์ หรือมาให้ท่านทำนายเกณฑ์ชะตาบอกข่าว ในคราวประสพ เคราะห์กรรมต่างๆ บ้างก็ขอให้ท่านรดน้ำพุทธมนต์
หรือมิฉะนั้นก็มาขอยารักษาโรคจากท่าน ครั้นเมื่อท่าน จัดการให้เรียบร้อยแล้ว ท่านก็จะนั่งนิ่งๆ ไม่พูดจาว่ากระไรอีก
คนที่มาหาท่านก็จะลงมือทำงานของท่านต่อไป โดยปรกติแล้วในวันหนึ่งๆ หลวงปู่หาเวลาว่างจริงๆ ได้ยาก
ท่านทำงานของท่านตลอดเวลา เว้นแต่เวลาฉัน หรือเวลาจำวัดเท่านั้น

บุคลิกพิเศษของหลวงปู่อีกประการหนึ่งทำให้คนเกรงขามก็คือ แววนัยน์ตาอันแข็งกร้าวอย่างมีอำนาจ ของท่าน
ทุกครั้งที่ท่านพูดกับใครนัยน์ตาคู่นี้จะจับต้องนัยน์ตาของผู้นั้นแน่นิ่งอยู่ตลอดเวลา นัยน์ตา ที่ทรง พลังอำนาจเช่นนี้อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย
แม้ขุนโจรใจโหดก็จะไม่กล้าสู่นัยน์ตาท่านได้

ครั้งหนึ่งมีพระลูกวัด ๒-๓ องค์ แอบไถลมานั่งคุยกันเล่นอย่างสนุกสนานที่ท้ายน้ำหน้าวัดพร้อมกับร้อง
ทักทายชาวบ้านที่พายเรือผ่านหน้าวัดไปมา โดยละเลยต่อการปฏิบัติศาสนากิจตามกำหนด หลวงปู่เดินมา
เห็นเข้าพระเหล่านั้นต่างตัวสั่นงันงกด้วยความหวาดเกรงท่าน มีอยู่องค์หนึ่งที่ตกใจมากกว่าเพื่อนไม่รู้ว่า
จะหลบหนีหลวงปู่ไปทางไหนดี เลยโดดหนีลงไปในแม่น้ำต่อหน้าต่อตาท่านทั้งๆ ที่ตอนนั้นเป็นฤดูหนาว
และน้ำในแม่น้ำก็เย็นจัดหลวงปู่ได้ร้องบอกว่า "ขึ้นมาเถอะคุณเดี๋ยวจะเป็นตะคริวตายเสียเปล่าๆ"
แล้วท่านก็ลงมืออบรมสั่งสอนพระเหล่านั้นให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องทำให้พระทุกองค์พากันเข็ดขยาด ไปอีกนาน
อีกเรื่องหนึ่งที่ หลวงปู่บุญไม่ชอบ ก็คือ ชาวบ้านที่ชอบนุ่งโสร่งเข้าวัด ท่านมักจะปรารภในเรื่องนี้ว่า
การแต่งกายเป็นเครื่องสอนนิสัยใจคอคน การเข้าวัดเข้าวาไม่ควรนุ่งโสร่งลอยชายมันไม่สุภาพ ควรนุ่งห่มให้เรียบร้อยสักหน่อยจะสมควร
ข่าวอันนี้เมื่อล่วงรู้ไปถึงชาวบ้านละแวกนั้นเข้า ก็กลายเป็น ข้อปฏิบัติที่ว่าต่อไปเมื่อใครจะเข้าวัดจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย โดยจะต้องไม่นุ่งโสร่งเป็นอันขาด
อาพาธและมรณภาพ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นต้นมา ซึ่งหลวงปู่บุญได้รับพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะที่พระพุทธวิถี นายกนั้น ท่านมีอายุได้ ๘๑ ปีแล้ว
งานบริหารกิจการสงฆ์จังหวัดนครปฐมและสุพรรณบุรีที่ผ่านมาก็ได้ ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย กิจการศาสนาในด้านต่างๆ
โดยการนำของท่านก็ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ตลอดมาด้วยดี แต่ระยะหลังๆ นี้ หลวงปู่บุญ กำลังเข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว
สังขารก็ทรุดโทรร่วงโรยลงไปตาม วันเวลา จะเดินทางไปไหนมาไหนแต่ละครั้งก็ไม่สะดวก ท่านจึงกราบทูลขอลาออกจากคณะสงฆ์
สมเด็จพระ สังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีรับสั่งถามหลวงปู่ว่าเวลานี้อายุได้เท่าไร ท่านก็กราบทูลว่า ๘๑ ปีเศษ ทรงรับสั่งว่า "จงอยู่ไปก่อนเถิด"

ท่านจึงต้องทนปฏิบัติงานต่อไปจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ อายุ ๘๔ ปี ทางการคณะสงฆ์จึงเห็นเป็นการสมควร พักผ่อนเสียที โดยให้ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นกิติมศักดิ์
จึงได้ติดต่อให้กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้ยกเป็นกิติมศักดิ์ หลวงปู่จึงได้พักผ่อนจากการบริหารคณะสงฆ์ คงปฏิบัติแต่กิจพระศาสนา ทำนุบำรุง พระอารามเป็นการถภายในแต่นั้นเป็นต้นมา
มีหลักฐานบันทึกต่อไปถึงตอนมรณภาพของหลวงปู่ไว้ว่า

ท่านเจ้าคุณไม่เห็นแก่ความยากลำบาก มุ่งทำกิจที่เป็นสาธารณประโยชน์ทางศาสนา ด้วยความเคารพ อยู่ในธรรมเป็นประมาณ ควรกล่าวว่ามีจรรยา สมกับพุทธภาษิตที่ว่า "อโมฆ ตสฺส ชีวิตา "
บุคคลผู้ประพฤติ ธรรมนั้นชีวิตไม่เป็นหมัน หรืออีกนัยหนึ่งซึ่งพ้องกับภาษิตว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดๆ ประพฤติธรรมสมควรธรรม
ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอยู่ ผู้นั้นเชื่อว่าเคารพนับถือบูชาแก่พระตถาคตเจ้า ด้วย การบูชาอันสูงสุดยิ่ง คือมีความเป็นอยู่ ยังหิตานุหิตประโยชน์ให้สำเร็จแก่ตนและหมู่ชนต่างๆ ชั้น
ซึ่งเป็น ตัวอย่างอันดี ที่ธีรชนผู้หวังคุณงามความดี น่าจะพึงดำเนินตามต่อไปหากว่าเจ้าคุณท่านยังมีชีวิตอยู่ คงทำ ประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณะทางพระพุทธศาสนาอีกมาก

แต่นี่ท่านมาถึงมรณภาพเสียเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด เวลา ๑๐.๔๕ น. โดยโรคคาพาธ ณ กุฏิของท่าน สิริรวมอายุท่านโดยปีได้ ๘๙ พรรษา ๖๗
ทั้งนี้ ก็เพราะสังขารของท่านประกอบด้วยชราภาพ จึงได้แปรปรวนยักย้ายไปตามธรรมดา ถึงแม้ว่าท่าน มรณภาพไปแล้วก็ดี คุณงามความดีซึ่งกระทำไว้ ก็ปรากฏตลอดมาจนบัดนี้ และคงปรากฏต่อไปอีกชั่วกาลนาน


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 30 ม.ค. 2553 - 22:40:10 น.
.


พระองค์นี้เป็นพิมพ์ซุ้มเว้า หรือ ซุ้มโค้ง เนื้อว่านพญาไม้ผุ

ท่านเขียนผง และ ลบผงวิเศษเอง 5 ชนิด
ผงอิทผงธิเจ

ผงมหาราช

ผงตรีนิสิงเห
ผงปัถมัง
ผงพุทธคุณ
นำมาผสมกับว่านพญาไม้ผุ ซึ่งหายากมากๆ
กดพิมพ์ เองด้วยมือมีทั้งหลังเรียบ หลังอูมเบี้ย
พุทธคุณครอบจักรวาลครับ เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ แคล้วคลาด คงกระพัน หน้าที่การงาน หรือการค้าขาย เจริญรุ่งเรือง มีแต่สิ่งดีดีเป็นมลคลชีวิต ฯลฯ

พระแท้ส่วนใหญ่จะมีไขขึ้นเป็นธรรมชาติ ไขขึ้นจากเนื้อองค์พระ(ไม่ใช่ไขที่ฉาบ) ส่วนรุ่นหลังๆหรือรุ่นที่ทำเลียนแบบเนื้อจะออกขาวๆนวลๆดูไม่เข็มขลังเท่าของแท้ยุคแรก

การจะได้บูชาพระแท้ทันยุคหลวงปู่บุญก็ต้องขึ้นอยู่กับบุญวาสนาของแต่ละคน (มีเงินก็ไม่แน่ว่าจะได้พระแท้เสมอไป)

@@@@ดูพระเป็น ใช่ว่าจะได้พระแท้เสมอไป @@@@
@@@@แต่ถ้าดูคนเป็นยังไงเราก็ได้พระแท้@@@@
(โบราณสอนมาว่า จะซื้อพระแท้ต้องซื้อใจคนให้ได้ก่อน)

***หลวงพ่อดี วัดพระรูป บอกไว้ว่า พระเครื่องคือสิ่งที่เคารพศรัทธามีพุทธคุณ มีศิริมงคล(แต่ไม่มีองค์ไหนเลยที่ดีที่สุดเพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของคนเรา)***
มีของดีเก็บไว้คนเดียวได้หรือ คล้องกันเข้าไปได้เต็มคอ ตายเหมือนกันทุกคน จะอยู่กันสักกี่ปี แบ่งของดีๆให้คนอื่นไปบ้าง ได้กุศลกว่าเก็บไว้คนเดียว )

ผมถามหลวงพอดีว่า ทำไมต้องเอาใส่ย้ามไปด้วยละครับ(ท่านจะนำพระ ผงสุพรรณ พระขุนแผน พระปิดตา ติดย้ามไปเวลาไปกิจนิมนต์ต่างๆ) หลวงพ่อดีตอบว่า ก็จะเอาพระดีไปให้คนอื่นที่อยู่ไกลๆ ที่เขาไม่รู้พิธีการสร้าง ได้เก็บไว้เพื่อเป็นศิริมงคล

ปัจจุบันนี้ผมจึงทำตามที่หลวงปู่บอกเสมอ หาพระที่ดีคิดว่าดีที่สุดมาแบ่งให้คนอื่นๆได้บูชา เก็บไว้เป็นศิริมงคล

ขอบพระคุณทุกท่าน ที่ไว้วางใจ บูชาพระจากผมทั้งในเวป นอกเวป เกินจำนวน ในเวปมากมาย จะไม่ทำให้ผิดหวังครับ ติดต่อกันได้เสมอเราคนศึกษาและสะสมพระเครื่องเหมือนกัน
ผมแบ่งให้ราคาเบาๆจากใจจริง


โก๊ะ ศิษย์หลวงพ่อดี รับประกัน แท้ตลอดกาล คืนได้ตลอดชีวิต 0858043718)


 
ราคาปัจจุบัน :     20,099 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    suwannet (193)(4)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1