(0)
ชุดของขวัญ 4 เหรียญ กรมหลวงชุมพร ที่ระลึกเรือหลวงลันตา กาหลั่ยทอง (หมายเลข 625 ทั้ง 4 เหรียญ) สวยมาก ๆๆๆๆ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องชุดของขวัญ 4 เหรียญ กรมหลวงชุมพร ที่ระลึกเรือหลวงลันตา กาหลั่ยทอง (หมายเลข 625 ทั้ง 4 เหรียญ) สวยมาก ๆๆๆๆ
รายละเอียดวัตถุประสงค์
สมทบทุนก่อสร้างอนุสาวรีย์พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์และตกแต่งสถานที่พิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตาบริเวณปากน้ำคลองจิหลาด หน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดำกระบี่

1. พิธีบวงสรวงอนุญาติจัดสร้างวัตถุมงคล
วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน 2552 ณ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (สถานที่พระองค์สวรรคต) หาดทรายรี อ. เมือง จ. ชุมพร
2. กำหนดพิธีพุทธาภิเษก วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2553 ณ อุโบสถเก่า (สถานที่เสด็จเตี่ยเรียนตำรา กับ หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ. วัดสิงห์ จ. ชัยนาท เริ่มเวลา 15.39 น. เป็นต้นไป
3. กำหนดพิธีมหาพุทธาภิเษก วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม 2553 บนเรือหลวงลันตา หน้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่เริ่มเวลา 15.39 น. เป็นต้นไป

พระเกจิสายใต้
1. พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า จ. นครศรีฯ
2. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน จ. นครศรีฯ
3. พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ จ. ปัตตานี
4. พ่อท่านอิ้น ปภากโร วัดรัชราษฎร์พัฒนา จ. สุราษฎร์ฯ
5. พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม วัดในเตา จ. ตรัง
6. พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ. พังงา
7. พระอาจารย์ชัย วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ. กระบี่

พระเกจิสายภาคอีสาน
8. หลวงปู่เพ็ง จันทรังษี วัดละทาย จ. ศรีสะเกษ

พระเกจิสายภาคกลาง
1. หลวงพ่อประทวน ปภากโร เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า เจ้าคณะจังหวัดชัยนาท
2. หลวงพ่อพร้า อตฺตสันโต วัดโคกดอกไม้ จ. ชัยนาท
3. หลวงพ่อเกาะ อาภากโร วัดท่าสมอ จ. ชัยนาท
4. หลวงพ่อล้อม เตชพโล วัดบำเพ็ญบุญ จ. ชัยนาท
5. หลวงพ่อสนั่น สุนันโท วัดกลางราชครูธาราม จ. อ่างทอง
6. หลวงพ่อเจริญ วัดหลุมเข้า จ. อุทัยธานี
7. หลวงพ่อตี๋ สุจิณโณ วัดบางคณฑี จ. สมุทรสงคราม
8. พระอาจารย์ชำนาญ อุตฺตมปญฺโญ วัดบางกุฎีทอง อ. เมือง จ. ปทุมธานี
9. พระอาจารย์มหาจรัล ชินวโร วัดหัวช้าง จ. ลพบุรี

รายการชุดของขวัญ 4 เหรียญ เนื้อโลหะชุบทองพร้อมลงยา ใส่กล่องกำมะหยี่สวยๆ หมายเลข 625
ราคาเปิดประมูล1,259 บาท
ราคาปัจจุบัน1,299 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ40 บาท
วันเปิดประมูล - 04 เม.ย. 2553 - 18:44:34 น.
วันปิดประมูล - 06 เม.ย. 2553 - 12:02:21 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลyakdon (1.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 04 เม.ย. 2553 - 18:45:09 น.
.


เหรียญกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รุ่นที่ระลึกสร้างพิพิธภัณฑ์เรือหลวงลันตา 714
รายนามพระเกจิที่รับนิมนต์เข้าร่วมนั่งปรกอธิฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล

๑. หลวงปู่สุภา กันตสีโล พระเกจิ 5 แผ่นดิน วัดสีลสุภาราม ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต เคยเป็นศิษย์รักและร่ำเรียนวิชาจาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
๒. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวท ทองทั้งแท่ง เพชรแท้แห่งลุ่มน้ำปากพนัง พระเกจิอาจารย์ อายุเกิน 100 ปี ตามประวัติพ่อท่านเอื้อม ก่อนอุปสมบทท่านเคยเป็นเสือเก่ามาก่อน และได้เคยปะทะกับท่าน พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ต่างคนต่างมีวิชาสายสำนักเขาอ้อเหมือนกัน จนในที่สุดท่านทั้งสองคบหาเป็นสหายกัน
๓. พ่อท่านอิ้น ปภากโร วัดรัชราษฏร์พัฒนา อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี พระเกจิอาจารย์ ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและความเมตตา ศึกษาวิชา 2 สาย ทั้งสายวัดพัทธสีมา และ สายเขาอ้อ เชี่ยวชาญวิชาการทำตระกรุดโทน ชึ่งเป็นสุดยอดเครื่องรางประสบการณ์สูง
๔. พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
พระเกจิอาจารย์ดินแดน"ลังกาสุกะ" มาของฉายานาม เทพเจ้าฝ่ายบู๊ ของพ่อท่านเขียว เพราะท่านได้ทำนายเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ก่อนล่วงหน้า พร้อมกับสร้าง ตะกรุดพิศมรหลวงปู่ทวด แจก พี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อนมีเหตุการณ์ และตั้งแต่มีเหตุการณ์ยังไม่มีผู้ใดแขวนเครื่องรางของขลังของพ่อท่านเขียวแล้วสังเวยชีวิต ให้กับเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลยแม้แต่คนเดียว ส่วนยิงไม่ออก ยิงไม่เข้า ยิงไม่ถูก หรือแม้แต่โดนระเบิดไม่เป็นไร มีให้เห็นอยู่ทุกวัน โดยที่เขาเหล่านั้นแขวนเครื่องรางของขลัง พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ เป็นส่วนมากจึงเป็นที่มาของ เทพเจ้าฝ่ายบู๊แห่งเมืองลังกาสุกะ
๕. พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช “หลวงพ่อนวล ปริสุทโธ” หรือที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “พ่อท่านนวล” เป็นพระสุปฏิปันโนนักปฏิบัติกัมมัฏฐาน ที่เพียบพร้อมด้วยจริยวัตรอันงดงาม และเป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่ยึดหลักพระธรรมวินัยตามคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติกิจของสงฆ์เป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ ไม่เว้นแม้ยามเจ็บไข้ได้ป่วย จนเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสในหมู่ชาวบ้านญาติโยมแดนปักษ์ใต้เป็นอันมาก
๖. พ่อท่านเอียด ครุธัมโม วัดโคกแย้ม อ.เมือง จ.พัทลุง
ท่านได้เรียกรู้ กับพ่อท่านหมุน (พระครูถาวรชยคุณ)วัดเขาแดงออก พ่อท่านเอียดได้พบพ่อท่านหมุน ท่านได้สอนวิชาต่าง ๆที่พ่อท่านหมุน มีอยู่ ให้กับพ่อท่านเอียด และต่อมา ไม่นานพ่อท่านหมุน ก็บอกให้ไปเรียนฝึก วิปัสสนากรรมฐานกัยพ่อท่านสงฆ์ (พระราช ปฏิภาณมุนี) ซึ่งถือว่าสมัยนั้นเป็น เกจิอาจารย์มีชื่อ ด้านนี้ในยุคนั้น ซึ่งแต่เดิมพ่อท่านเอียด ก็เคยร่ำเรียนฝึกฝน กับพ่อท่านจิ้ง กิตติสุทโธ มาบ้างแล้ว จึงทำให้ไม่เป็นการยากในการศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝน ไม่ฝึกฝนได้ถือ อาการไม่ยินดียินร้าย ใด ๆ พ่อท่านสงฆ์ ก็เลยออกปาก ว่า ฉันเองไม่มีอะไรจะสอน ฉันให้จนหมดแล้วนะ หลังจากนั้นไม่นาน พ่อท่านเอียดก็ เดินทางกลับ สู่บ้านเกิน วัดนาท่อม อยู่ในวัดนาท่อม ไม่นานก็มีการแต่งตั้งให้ไปรับตำแหน่งดูแล วัดโคกแย้ม ซึ่งขาดเจ้าอาวาสมาได้ระยะหนึ่งแล้ว พ่อท่านจึงรับคำสั่ง และได้เดินทางไปเป็นเจ้าอาวาส วัดโคกแย้ม เมื่อปี 2530 เมื่อกาลต่อมาพ่อท่านเอียดได้ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็พัฒนาวัดโคกแย้ม ไปทางที่ดีเรื่อยมา ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอธิการเอียด ครุธัมโม และในปี นั้น ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ในกาลต่อมา
๗. พระอาจารย์หรีด พระครูบุญญาภินันท์ วัดป่าโมกข์ อ.กะปง จ.พังงา อาจารย์หรีดได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนได้นักธรรมเอกแล้ว ได้เดินทางไปศึกษาด้านสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ วิเวกอาศรม ในสำนักวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร โดยมีพระอาสภมหาเถระ เจ้าคุณพระพิมลธรรม พระเทพสิทธิมุนี (โชดก) เป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน หลังจากนั้นได้ธุดงค์วัตรไปอยู่ตามภูเขาเลาเนาไพรทางภาคเหนือ แถบอำเภอจอมทอง อำเภอ ฝาง จำพรรษากับพระอาจารย์บุญช่วย ประมาณ 7 ปี ได้ไปศึกษาเล่าเรียนและเจริญสมาธิภาวนากับ ครูบาธรรมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน เป็นต้น ต่อมาพระ อาจารย์หรีดได้เดินทางกลับภาคใต้ ไปเล่าเรียนวิชากับ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง พ่อท่านมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ จ.นครศรีธรรมราช ตลอดจนครูบาอาจารย์สายเขาอ้อ ทั้งบรรพชิตและฆราวาส จากนั้นได้มาจำ พรรษาอยู่ที่ วัดปาโมกข์ กับพระครูโสภณวิริยาภรณ์ เจ้าอาวาส และเมื่อเจ้าอาวาส มรณภาพลง พระ อาจารย์หรีดได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ได้ใช้วิชาความรู้สร้างและพัฒนาวัดปาโมกข์ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรที่ “พระครูบุญญาภินันท์”
๘. พระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ท่านเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ขณะเดียวกันก็ยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้เป็นที่นับถือศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป ทั้งใน จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และใกล้เคียง เริ่มต้นเรียนจากหลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งขณะนั้นในบริเวณรอบวัด ถือเป็นพื้นที่สีแดง แต่หลวงปู่แสงและพระอาจารย์ประสูติ สามารถอยู่จำพรรษาได้อย่างปกติสุข เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน หลังจากร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่แสงแล้ว ท่านได้กราบลา เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ "ครูบาเหมย" วัดศรีดงเย็น จ.เชียงใหม่ เดินทางลงมายังภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ "หลวงพ่อสัมฤทธิ์" วัดถ้ำแผด จ.กาญจนบุรี ส่วนภาคใต้ ท่านเดินทางไปยังหลายวัด เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อาทิ หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร, พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา, หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง
๙. พระอาจารย์ชัย วัดบางโทง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ (ประธานจัดสร้างฝ่ายสงฆ์) อายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สามเณรพิศาล (สมชัย)แก้วมา ได้เดินทางกลับบ้านทุ่งสูง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นบ้านของโยมแม่ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าตนจะเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญาติโยมก็พาท่านไปเข้าพิธีอุปสมบทที่ วัดแก้วโกวราราม เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๐ โดยท่านเจ้าคุณพระสุตาวุธวิสิฎ อุปัชฌาย์ เป็นพระภิกษุให้อีกครั้งหนึ่ง พระครูวิสุทธิ์ พระภิกษุอาวุโสของวัดแก้วโกวราราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระภิกษุอีกรูปของที่นี่เป็นพระอนุศาสนาจารย์หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านเดินทางกลับไปอยู่วัดถ้ำเสือเขาแก้ว ได้อยู่ศึกษาและปฏิบัติธรรม ๑ ปี ก็ได้กราบลาพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฎโฐ ไปปฏิบัติธรรมที่ถ้ำแห่งหนึ่งในอำเภออ่าวลึก ต่อมาได้จัดตั้งเป็นวัดและสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง ชื่อว่า "วัดถ้ำเสือน้อย" ที่ได้ชื่ออย่างนี้เพราะพระอาจารย์พิศาล(สมชัย)และภิกษุที่ไปบุกเบิกวัดถ้ำแห่งนี้ ล้วนเป็นศิษย์ของพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฎโฐ แห่งวัดถ้ำเสือเขาแก้ว นั้นเอง จากการไปปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำเสือน้อย ทำให้พระอาจารย์พิศาล (สมชัย)เป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น

พระเกจิสายภาคกลาง นั่งปรกอธิฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล ณ วัดปากคลองมะขามเฒ่า
อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท วันที่ 21 มกราคม 2553

๑. พระราชสุทธิโสภณ (หลวงพ่อประทวน) เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท (ประธานที่ปรึกษาฝ่ายพิธีกรรม)
๒.หลวงพ่อพร้า อัตตสันโต วัดโคกดอกไม้ อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท
หลวงพ่อพร้า ได้ให้ความสนใจศึกษาด้านวิทยาคม ค้นคว้าด้านปฏิบัติจิตภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดสมาธิและได้กราบฝากตัวเป็นศิษย์ต่อหลวงพ่อโต วัดวิหารทอง ซึ่งเป็นหลวงลุงของท่าน และได้รับความเมตตาถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น หลวงพ่อโตยังให้ความเมตตาอุปถัมภ์ในการบูรณะวัดโคกดอกไม้ เป็นการช่วยเหลือพระหลานชายของท่านอีกทางหนึ่งด้วย และอีกท่านหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระอาจารย์ที่ได้มอบสรรพวิชา ให้กับหลวงพ่อพร้ามากมายหลายด้าน คือ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พุทธาคมอันเข้มขลังที่หลวงพ่อพร้าได้รับถ่ายทอดจาก 2 พระอาจารย์ ภายหลังได้นำมาสงเคราะห์ให้กับญาติโยมที่ประสบความเดือดร้อน โดยเฉพาะตำรับน้ำมนต์อันเข้มขลัง ซึ่งท่านมิได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอค่าบูชาครูเพียงบาทเดียว จนได้รับการยกย่องและเรียกขานนามของท่านว่า หลวงพ่อพร้า เจ้าตำรับน้ำมนต์บาทเดียว
๓.หลวงพ่อเกาะ อาภากโร วัดท่าสมอ อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท
หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ เป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ และหลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม เก่งทั้งอำนาจ มหาอุตม์ เมตตา ค้าขาย และเสริมดวงชะตา เป็นพระเกจิที่เสกของได้ขลัง พุทธคุณสูง และลองได้ทันที เพราะที่นี่เป็นของจริง ของแท้ หลายคนไม่เชื่อ หลายคนสงสัย พระเชียร์หรือเปล่าเก่งจริงหรือไม่ ถ้าสงสัยก็ให้ทดลอง จะได้หายสงสัย ถ้าไม่เชื่อก็ต้องพิสูจน์ จะได้เชื่อ " วิชาต่างๆ เราเรียนมาเป็นของจริงทั้งนั้น ครูผู้ถ่ายทอดให้เราก็จริง เจตนาเราก็บริสุทธิ์จริง ของๆเรา เรารู้จริงทำจริง ถึงเสก ของที่ทำได้ก็ย่อมจริงทั้งหมด ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ไม่ต้องไปโฆษณามากหรอก อีกหน่อย พลิกแผ่นดินก็หาไม่เจอ" ท่านว่าแบบนี้ครับ ที่ว่าครูอาจารย์ของหลวงพ่อเป็นของจริงนั้น เพราะท่านเรียนพุทธาคมมาก หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตตาราม หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่อโกะ วัดลาดสาลี่ จึงถือว่าหลวงพ่อเป็นพระเกจิที่มากด้วยวิชา เป็นจิตที่เป็นกุศล หลวงพ่อเกาะ นี่ผมยอมรับนับถืออย่างสุดใจเลยครับ เพราะท่านเป็นพระที่พูดอะไรแล้วเป็นจริงทุกคำครับ เรียกได้เลยครับ ว่าวาจาสิทธิ์มาก และของๆท่านใครที่นำไปใช้แล้วล้วนต่างเกิดประสบการณ์กันทุกคนครับ นับว่าบูชาไปแล้วหายห่วง ท่านช่วยได้จริงๆ ใครที่ยังไม่เชื่อต้องลองครับ ผมพกเหรียญหน้าเสือของท่านใส่กระเป๋าสตางค์เอาไว้ ปรากฏว่าเวลาเดินไปใหนมาใหน พวกสุนัขนี่ ถ้ามันเห็นผมนี่ต้องวิ่งหลบครับ ไปถามหลวงพ่อมา ท่านบอกว่ามันได้กลิ่นเสือ หมามันอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อเกาะ วัดท่าสมอ ท่านเป็นพระที่ดังในพื้นที่ ไม่มีโฆษณา แต่ว่ามีการเก็บพระของท่านอย่างเงียบๆ ครับ แต่ท่านบอกว่าต่อไปหายากนะ ทุกครั้งที่จะทำพระนี้ หลวงพ่อกวยท่านมากำกับทุกครั้ง ให้ทำออกมาแล้วนี่ต้องใช้ได้ พลังไม่มีหมด พระดี ของเมืองชัยนาทอีกรูป
๔.หลวงพ่อล้อม เตชพโล วัดบำเพ็ญบุญ อ.สรรค์บุรี จ.ชัยนาท (เจ้าตำหรับยันต์ล้มช้าง) วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ต.ห้วยกรด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาอายุหลายร้อยปีแล้ว มีเจ้าอาวาสปกครองวัดมาหลายสิบรูป เจ้าอาวาสวัดบำเพ็ญบุญ ที่ประชาชนเคารพนับถือทั้งชาวห้วยกรด และจังหวัดไกล้เคียงได้แก่ หลวงพ่อเชื้อ สุกกวัณโณ หรือ พระครูสุชัย บุญญาคม ผู้ขมังเวทวิทยาคมและเมตตามหานิยม โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่ลือชื่อ ได้แก่ มีดหมอเทพ ศัสตรา ซึ่งถ่ายทอดวิชาวิทยาคมมาจาก หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อเชื้อ มรณภาพมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาวิทยาคมของหลวงพ่อไว้ทั้งหมด คือ พระสมุห์ล้อม เตชพโล เจ้าอาวาสวัดบำเพ็ญบุญ รูปปัจจุบัน
๖.หลวงพ่อเจริญ วัดหลุมเข้า อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี
วัดหลุมเข้า ตั้งอยู่บ้านหลุมเข้า หมู่ที่ 2 ตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน 27 ตารางวา การสร้างวัดได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2343 ได้มีนามตามชื่อบ้านมีบางคนเล่าว่า หนองพ่อโพธิ์ เป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดนี้ ได้ย้ายเสนาสนะจัดสร้างขึ้นหลายครั้งก่อนที่จะมาจัดสร้างขึ้น ณ ที่ตั้งปัจจุบัน ได้ย้ายจากถนนฝั่งตะวันตก ข้ามมาอยู่ถนนทิศตะวันออกของถนน ปัจจุบันพระครูอปกิตปริยัติยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอหนองขาหย่าง
๗.พระอาจารย์ชำนาญ อุตตมปัญโญ วัดบางกุฎีทอง อ.เมือง จ.ปทุมธานี พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและศรัทธายิ่งของมหาชน พระครูปทุมวรกิจ หรือนามที่ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หลวงพ่อชำนาญ” แห่งวัดบางกุฎีทองยอดเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทแห่งเมืองปทุม เป็นพระที่เก็บตัวเงียบอยู่ในกุฎี พูดน้อย ถือพระรัตนตรัยและครูอาจารย์เป็นใหญ่เหนืออื่นใดทั้งหมด ด้วยวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัด น่าเลื่อมใสและศรัทธาคงเอกลักษณ์พุทธบุตรในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง พระครูปทุมวรกิจ นามเดิมชื่อ ชำนาญ นามสกุล พันธ์หว้า เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2515 ในชุมชนชาวมอญ ณ บ้านเลขที่ 14 หมู่ 2 ตำบลบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี บิดาชื่อ นายชะโอด มารดาชื่อนางสำเนียง พันธ์หว้า มีน้องชายร่วมบิดามารดา 3 คน ท่านจึงมีบรรพบุรุษที่สืบเชื้อสายมาจาก“ชาวมอญเมืองปทุม”โดยแท้
๘.หลวงพ่อตี๋ สุจินโณ วัดบางคณฑีใน อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อตี๋ หรือ พระครูพินิจสมุทรคุณ เจ้าอาวาสวัดบางคณฑีใน (ชื่อวัดสะกดตามนี้) ต.บางคนที อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม อดีต อาจารย์สักยันต์ ผู้โด่งดังแห่งลุ่มน้ำแม่กลอง ที่ชาวบ้านแถวคลองบางนกแขวก คลองดำเนิน เรียกท่านว่า “อาจารย์ตี๋ จอมขมังเวทย์” (ปัจจุบันท่านได้เลิกสักยันต์แล้ว) หลวงพ่อตี๋ เป็นพระรูปร่างสูงโปร่ง ผิวขาว มีเชื้อสายจีน พื้นเพต้นตระกูลของท่านเป็นชาวบางคนที มีคนร่ำลือกันว่า ท่านดุ แต่แท้จริงแล้ว ท่านเป็นพระที่พูดคุยเสียงดังฟังชัดเจนมากกว่า และค่อนข้างใจดี เป็นพระที่พูดจา “ตรงเป๊ะ” ไม่มีอ้อมค้อม ดีพูดดี ชั่วพูดชั่ว ไม่มีเสแสร้งแกล้งเอาใจใครทั้งสิ้น หลวงพ่อตี๋ เป็นศิษย์หลายอาจารย์ โดยเฉพาะหลวงพ่อหลา อดีตเจ้าอาวาสวัดบางคณฑีใน ฯลฯ ท่านบอกว่า พระเกจิอาจารย์ที่เก่งๆ จะต้องเก่งด้วยตัวเอง เพราะอาจารย์เป็นเพียงผู้สอนวิธีการเท่านั้น...การจะเก่งขลัง จะแน่ แค่ไหน ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ การฝึกฝนจิต ความมุมานะ และความพากเพียรของตัวเอง มากกว่า ด้วยเหตุนี้ หลวงพ่อตี๋ จึงได้พยายามเล่าเรียนฝึกฝนด้วยตนเองมาโดยตลอด จนมั่นใจแล้วจึงได้สร้างพระเครื่องออกมาแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหา และชาวบ้านทั่วๆ ไป
๙.พระอาจารย์มหาจรัล ชินวโร วัดหัวช้าง อ.เมือง จ.ลพบุรี
ผู้ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่เรือง อาภัสสะโร เทพเจ้าแห่งเขาสามยอด พระอรหันต์ แห่งเมืองลพบุรี
๑๐.หลวงปู่ทองศุข นันทวโร วัดท่าตะคร้อ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
พระเกจิผู้มีเมตตาอายุ 87 ปี 64 พรรษา


 
ราคาปัจจุบัน :     1,299 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     40 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    akgang (2.1K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1