(0)
ชินราช ทองฝาบาตรไม่ตัดปีก สวยเฉียบกรรมการตอกเลข ๙ เบอร์เบิ้ล 330






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องชินราช ทองฝาบาตรไม่ตัดปีก สวยเฉียบกรรมการตอกเลข ๙ เบอร์เบิ้ล 330
รายละเอียดเจตนาและพิธีดีมากๆ ครับ สุดยอดวัตถุมงคล แห่งปีอันดับต้นเลยก็ว่าได้ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ ในสายหลวงพ่อคูณ

1 พุทธศิลป์สวยงามมาก สวยที่สุดก็รุ่นนี้แหละ
2 จำนวนสร้างน้อย ทรงคุณค่า แก่ผู้ครอบครอง
3 เจตนาและพิธี สุดยอด โดย 3 เกจิอาจารย์
4 นำพระพุทธชินราช พระคู่บ้านคู่เมือง มาเป็นต้นแบบ ในการสร้าง ซึ่งนักสะสม ไม่รีรอเกี่ยงงอนว่าเป็นหลวงพ่อนั้นหลวงพ่อนี้ถึงจะเก็บ กลางๆ เช่าหากันได้ทุกสาย
5 ไม่มีเสริม 100 %
6 พระชุดนี้ ตอกโค๊ต ตอกหมายเลข ทุกเหรียญ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก แต่ละโค๊ตบนเหรียญมีความหมายในตัวเอง

คาถาบูชาพระพุทธชินราช บทนี้เขียนใว้โบสถ์หลวงพ่อพระพุทธชินราช

อิเมหิ นา นา สักกาเลหิ อภิปูชิเตหิ ทีกายุโกโหมิ
อะโลโคสุคิโต สิทธิกัจจัง สิทธิกรรมมังปิยัง มะมะ
ประสิทธิลาโภชะโยโหตุ สัพพัทธา พุทธะชินะราชา
อภิปะเลตุมัง นะโมพุทธายะ
ราคาเปิดประมูล200 บาท
ราคาปัจจุบัน750 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ25 บาท
วันเปิดประมูล - 22 เม.ย. 2553 - 12:22:01 น.
วันปิดประมูล - 24 เม.ย. 2553 - 20:16:33 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลลูกเสือน้อย (595)(3)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 เม.ย. 2553 - 12:23:34 น.
.


3 สุดยอดพิธีพุทธาภิเษก โดย 3 เกจิอาจารย์อันดับ 1 ของไทย


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 22 เม.ย. 2553 - 12:23:55 น.
.


ตำนานพระพุทธชินราช
ตำนานการสร้างพระพุทธชินราชปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีว่า พระมหาธรรมราชาที่ (พญาลิไทย) รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์พระรวง กรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1900 ตามพงศาวดารเหนือ ได้กล่าวเรื่องการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา เจือนิยายไว้ มีใจความว่า เมื่อพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้สร้าง เมืองพิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตรัสให้สร้างวัดพระรัตนมหาธาตุ มีพระมหาธาตุ รูปปรางค์ สูง 8 วา และ พระวิหารทิศ กับระเบียงรอบพระมหาธาตุ ทั้ง 4 ทิศ โปรดให้ช่างชาวชะเลียง (สวรรคโลก) เชียงแสน และหริภุณชัย(ลำพูน) ร่วมมือกันสร้าง พระพุทธรูป หล่อด้วยทองสัมฤทธฺ์ 3 องค์ สำหรับประดิษฐานในพระวิหารทิศ ได้เริ่มทำพิธีเททองหล่อ ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ สัปตศกจุลศักราช 317 (พ.ศ.1498) เมื่อกะเทาะหุ่นออกแล้ว ทองคงแล่น ติดเป็นองค์พระบริบูรณ์เพียง 2 องค์ คือ พระพุทธชินสีห์ กับพระศรีศาสดา ส่วนพระพุทธชิราชทองไม่แล่นติดเต็มพระองค์ ต้องทำพิธีหล่อต่อมาอีก 3 ครั้งก็ยังไม่สำเร็จ ครั้งหลังสุด พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ต้องตั้งสัษจาธิษฐาน แล้วทำพิธีเททองหล่อเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง นพศกจุศักราช 319 (พ.ศ.1500) จึงสำเร็จเป็นองค์พระบริบูรณ์ในการหล่อครั้งหลังสุดนี้ปรากฏว่ามีปะขาวผู้ หนึ่งจะมาแต่ใด ไม่มีใครทราบได้มาช่วยปั้นหุ่น และเททองหล่อพระด้วยเมื่อสร็จพิธีหล่อพระแล้ว ปะขาวก็ออกเดินทาง ไปทางเหนือเมืองพอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายตัวไปไม่มีผู้ ใดพบเห็นอีก ดังนั้น จึงเข้าใจกันว่าปะขาว ผู้นั้นคือ เทวดา แปลงตัวมาช่วยหล่อพระพุทธชินราชจึงได้พุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก เลยเป็นเหตุให้เกิด ความเลื่อมใสในพระพุทธรูปองค์นี้ยิ่งขึ้น ส่วนหมู่บ้านที่ปะขาวไปหายตัวนั้น ก็เลยได้นามในภายหลังว่า บ้านปะขาวหาย หรือตาผ้าขาวหาย มาจนทุกวันนี้(พระพุทธชินราช ในพระราชนิพนธ์ของ ร.5 พ.ศ.2460)

พระวิหารพระพุทธชินราช
เป็นวิหารเก้าห้อง เช่นเดียวกันกับวิหารพระอัฏฐารส แต่ย่อมกว่าเล็กน้อย ออกแบบ
แผนผังเป็นพิเศษเพื่อเชิดชูพระพุทธชินราชให้เด่นขึ้นพื้นวิหารได้ลดระดลงที ละน้อยเมื่อมองจากภายนอกพระวิหารองค์พระจะอยู่ในระดับสายตา พอดี มีหน้ามุกโถง ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นโครงสร้างเครื่องประดุ แบบสุโขทัย หลังคาซ้อน สามชั้น ชั้นบนสุดอยู่ตรงช่วง พระประธาน และมี หลังคา ปีกนกสองชั้นเลยออกมา สี่ชั้น หน้าบันของมุกโถงเป็นแบบลูกฟักหน้าพรหมหรือ จั่วภควัม ชั้นล่างสุดจำหลักไม้ เป็นรูป เทพพนม ช่วงละองค์ ล้อมรอบด้วย ลาย ดอกไม้ประกอบ และชั้นบนสุดตรงหน้าพรหมแกพสลักเป็นรูปแจกันดอกไม้ มีเทพยดายืประนมมือ อยู่ทั้งสองข้าง หน้าบันและลวดลายลงรักปิดทองทั้งหมด ปั้นลมมีลักษณะเส้นอ่อนโค้งน้อย ๆ ประดับด้วยใบ ระกา แบบสุโขทัย มีหลังคาต่ำเพราะมีช่วง ปีกนก ถึงสี่ชั้น ผนังจึงต่ำมาก หน้าต่าง เป็นแบบลูกตั้ง ด้านละเจ็ดบาน ปิดเปิดได้ อยู่ระหว่างเสาแบน แต่ละบานเจราะช่องลม และช่องแสงสว่าง บานละ หกช่อง เป็นช่องเล็ก ๆ แสงสว่างผ่านเข้าออกได้น้อยมาก พื้นผนังภายในระหว่างช่วงหน้าต่าง มีงานจิตกรรมฝาผนังทุกช่อง แต่ละช่องมีรูป ทวยเทพ พับเพียบประนมกรกลุ่มละสามองค์ หันหน้าสู่พระประธาน พื้นหลัง ของเทพยดาเป็นลาย ดอกไม้ร่วง ยังคงมีสีสดใสงดงาม สองทางเข้า มีจิตกรรม ฝาผนังเรื่องเวสสันดอนชาดก และพุทธประวัติ อยู่ทางซ้ายและขวามตามลำดับ ส่วนเบื้องหลังองค์พระพุทธชินราช นั้นใช้สีดำทา เป็นพื้นมีรูปเทพยดาประนมกร อยู่ข้างละองค์ประดับด้วยลายดอกไม้ร่วงสีทองระยะห่างกันพองามมภายใน พระวิหาร มีเสาร่วมในประธาน สองแถวเป็นเสากลม ขนาดใหญ่แถวละเจ็ดต้น รับบชายคาปีกนก อีกสองแถวเป็นเสากลมขนาดเล็กอีกแถว ๆ ละเจ็ดต้น รวมเสาทั้งหมด 28 ต้น เสาแต่ละต้นเขียนลายทองประดับพื้นสีดำ เป็นลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ช่วงคอเสาและเชิงเสาเขียนลายกรุยเชิงอย่างสวยงาม มีกลีบบัวซ้อน สลับกันห้าชั้น ลงรักปิดทองแวววาวรองรับขื่อและโครงสร้างแบบเครื่องประดุ ซี่งเป็นเครื่องบน ขื่อ ทาด้วยสีชาด ตอนหัวและท้ายขื่อ เขียนประดับ ด้วยลายกรุยเชิง ตรงเสาและขื่อ ช่วงหน้าพุทธชินราช มีลายรวงผึ้ง และที่เสามีสลายสาหร่ายหัวนาคทั้งสองด้าน (พระพุทธชินราช ในพระราชนิพนธ์ ของ ร.5 พ.ศ.2460)


 
ราคาปัจจุบัน :     750 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     25 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    golum (490)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1