(0)
สายขอนแก่น...หลวงพ่อผาง ปี2512...บล้อคนิยม "คงคา"...เคาะเดียวปิด







ชื่อพระเครื่องสายขอนแก่น...หลวงพ่อผาง ปี2512...บล้อคนิยม "คงคา"...เคาะเดียวปิด
รายละเอียด***เป็นเหรียญทองแดงรมดำ บล้อคนิยม "คงคา" หรือที่เรียกกันในท้องถิ่นว่าบล้อค "สระอา"
....สภาพสวยประมาณ ๙๐% เพิ่งแกะออกจากพลาสติก
ราคาเปิดประมูล3,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,120 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 25 ก.ค. 2553 - 22:38:47 น.
วันปิดประมูล - 26 ก.ค. 2553 - 23:44:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลตุ้ยขอนแก่น (1.4K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 25 ก.ค. 2553 - 22:39:35 น.
.


บัตรรับรอง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 25 ก.ค. 2553 - 22:43:47 น.
.


๏ ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

....หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น นามเดิมของท่านชื่อ ผาง ครองยุต เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2445 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือนเก้า ปีขาล ที่บ้านกุดเกษียร ตำลบกุดเกษียร อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

....โยมบิดาชื่อ ทัน โยมมารดาชื่อ บับพา ครองยุต มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 3 คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ บาง ชึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่วัดอุดมงคงคาคีรีเขต คนที่สองชื่อ คำแสน ส่วนตัวหลวงปู่เป็นคนสุดท้อง โยมบิดาและมารดามีอาชีพทำนาเป็นหลัก
....การศึกษาทางโลกของหลวงปู่มีความรู้สามัญชั้นประถม
ปีที่ 4 หลวงปู่มีอุปนิสัยรักความเป็นธรรม ถือความสัตย์ พูดจริงทำจริง รักธรรมชาติ ชอบความสงบ เมตตาสัตว์มีแนวความคิดสร้างสรรค์ และชอบทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม

....อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาตามประเพณีลูกผู้ชายชาวไทย ได้ศึกษาพระธรรมวินัยมีความรู้พอสมควร ต่อมาเมื่อออกพรรษาจึงได้ลาสิกขาจากสมณเพศมาประกอบสัมมาอาชีพ

....หลังจากได้ลาสิกขาแล้ว ก็ได้สมรสกับนางจันดี ตามประเพณี ได้ครองเรือนมาด้วยกันอย่างราบรื่นเป็นเวลานานหลายปีโดยไม่มีบุตรสืบสกุล จึงได้ขอบุตรของญาติพี่น้องมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมชื่อ นางบุญปราง ครองยุต

....หลวงปู่ผางได้ใช้ชีวิตในเพศฆราวาสเป็นเวลานาน สามารถรอบรู้เหตุการณ์ที่ผ่านมาพิจารณาดูความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและหมูสัตว์ทั้งหลายบรรดามีในโลก เมื่อเกิดมาแล้วต่างก็สับสนวุ่นวายแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเป็นที่เดือดร้อยไม่สุดสิ้น หลวงปู่คงจะได้สั่ง สมบุญบารมีมามากทำให้ท่านมองเห็นความไม่แน่นอนและความไม่มีแก่นสารในชีวิต ทำให้จิตใจของท่านโน้มเอียงไปในทางแห่งความสงบ ท่านได้ทำทานเป็นการใหญ่ โดยได้ให้เกวียน วัว บ้าน ไร่ นา แก่ผู้อื่น สละทุกสิ่งทุกอยางจนหมดสิ้น

๏ ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
หลังจากที่หลวงปู่ในเพศฆราวาสได้บริจาคทาน วัว ควาย ไร่ นา และบ้านเรือน ให้แก่ผู้อื่นจนหมดทั้งสิ้นแล้ว ก็หมดห่วงและได้หันหน้าเข้าหาพระธรรม ดังนั้นเมื่ออายุได้ราว 43 ปี จึงได้ชวนกันกับภรรยาออกบวช ภรรยาได้บวชเป็นแม่ชี ส่วนหลวงปู่ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหานิกาย ที่วัดบ้านกุดเกษียร อ.เขื่อนใน จ.อุบลราชธานี โดยมีท่านพระครูศรี (วัดคูขาด) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “จิตฺตคุตฺโต”

....หลังอุปสมบทหลวงปู่ผางได้เข้าศึกษาอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักวัดป่าวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์) และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล

....ต่อมาหลวงปู่จึงได้รับการญัตติเป็นธรรมยุต ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 โดยมีพระมหาอ่อน เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาทราย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาจันทร์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

....เมื่อหลวงปู่ผางได้รับการญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกายแล้ว ท่านก็ยังเข้ารับการอบรมพระกรรมฐานอยู่ในสำนักท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ต่อไปอีกเป็นเวลาอันสมควร แล้วจึงได้ออกปฏิบัติพระธุดงค์กรรมฐานไปปลีกวิเวกโดยลำพัง

....ต่อมาจึงได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เกิดความเลื่อมใสศรัทธาได้กราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และได้เข้าอบรมอยู่กับพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าบ้านเผือกนาใน อยู่เป็นเวลาอันสมควร

....คืนหนึ่งหลวงปู่ได้นิมิตไปว่า ได้ขี่ม้าขาวไปทาง จ.ขอนแก่น ได้เห็นสนานที่ต่างๆ เลยไปจนถึง อ.มัญจาคีรีแล้วม้าขาวก็หยุดให้ท่านลง รุ่งเช้าขึ้นท่านจึงได้ลาพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ออกธุดงค์ไปตามนิมิตนั้นทันทีหลวงปู่ผางได้ท่องเที่ยววิเวกไปแต่ผู้เดียวในป่าเขา จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นถิ่นทุรกันดารเป็นเวลาหลายปี

....ต่อมาท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบรรลังค์ศิลาทิพย์ ต.บ้านแท่น อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เป็นเวลาหลายปี จากนั้นหลวงปู่ได้ธุดงค์ต่อไปยังภูเขาผาแดง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ได้พักแรมที่บ้านแจ้งทัพม้าและบ้านโสกน้ำขุ่น ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับวัดดูน ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มีบ่อน้ำซึมที่ไหลออกมาตลอดปีมิได้ขาด วัดดูนแห่งนี้เป็นโบราณสถานเก่าแก่ ชาวบ้านแถบนั้นถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยมีพระมหาสีทน กาญฺจโน ซึ่งได้ออกธุดงค์มาพบเข้าจึงได้บูรณะขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2482 ต่อมาพระมหาสีทนได้เปลี่ยนชื่อจากวัดดูนเป็นวัดอุดมคงคีรีเขต

....พ.ศ. 2492 หลวงปู่ผางได้ธุดงค์มายังวัดอุดมคงคาคีรีเขต อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่จนตลอดชีวิตของท่าน

....เมื่อแรกที่หลวงปู่มาอยู่ที่วัดแห่งนี้ บริเวณนั้นยังเป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่าดุร้ายมาก เช่น เสือ ช้าง หมี งู ฯลฯ มีภูตผีปีศาจดุร้าย หลวงปู่ได้แผ่เมตตาจิตต่อสู้กับสัตว์ร้ายและภูตผีปีศาจ จนชาวบ้านในละแวกนั้นหายหวาดกลัว และสัตว์ร้ายก็หลบหนีข้ามเขาภูผาแดงไปหมด

....หลวงปู่ยังนิมิตเห็นโครงกระดูกของท่านแต่ชาติปางก่อนฝังอยู่บริเวณนั้นด้วย หลวงปู่เล่าไว้ว่า เมื่อแรกที่ท่านธุดงค์มาอยู่ที่วัดอุดมคงคาคีรีเขตนี้ ก็จำพรรษาอยู่กับพระมหาสีทนเพียงสององค์ ได้นำพาญาติโยมสร้างกุฏิขึ้นสองหลัง ศาลาพักฉันข้าวหนึ่งหลัง ทายกทายิกาประจำวัดที่ช่วยกันสร้างในตอนนั้น ได้แก่ นายผง บ้านโสกน้ำขุ่น นายหอม บ้านดอนแก่นเฒ่า และนายสม บ้านโสกใหญ่ หลังจากนั้นต่อมาอีกสี่ห้าปี พระมหาสีทนก็ขอลาออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือไม่กลับมาอีกเลย

....หลวงปู่ได้ละทิ้งขันธ์ มรณะภาพเมื่อไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525 รวมอายุ 80 ปี


 
ราคาปัจจุบัน :     3,120 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    history (745)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1