(0)
มงคลชีวิต 2 ประมุขร่วมสร้าง.....พระกริ่ง ๗ รอบ "จิตรลดาเนื้อโลหะ" 2499 วัดบวรนิเวศวิหาร ดีกรีติดรางวัล








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องมงคลชีวิต 2 ประมุขร่วมสร้าง.....พระกริ่ง ๗ รอบ "จิตรลดาเนื้อโลหะ" 2499 วัดบวรนิเวศวิหาร ดีกรีติดรางวัล
รายละเอียดวาสนาไม่ถึงจิตรลดาผง ก็ต้องจิตรลดาโลหะ ละครับ


พระกริ่ง ๗ รอบ "จิตรลดาเนื้อโลหะ"

พระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรนิเวศวิหาร "นับเป็นพระกริ่งหนึ่งเดียว โดยแท้ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเททองด้วยพระองค์เอง ขณะทรงผนวชอยู่" ณ

วัดบวรนิเวศวิหาร ตามบันทึกของวัดบวรนิเวศวิหารบันทึกไว้ว่า
“วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัด

ถวายเทียนชนวนซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์

สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 07.35 น. เสด็จฯศาลา

หน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัจกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้า เวลา 07.41 น. ทรงถือสาย

สิญจน์ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา”
“พระกริ่ง 7 รอบ” ถ้าจะเรียกให้ชัดเจนก็คือ “พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ ฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ สมเด็จพระสังฆราช เจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์”

(ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งสร้างในปี 2499 จำนวน 500 องค์ สำคัญในปีที่สร้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงผนวช ณ

วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งช่วงนั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงประชวรจึงได้แต่ทรงจุด เทียนชนวนให้ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวนแด่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนชัยในพิธีหล่อ “พระพุทธชินสีห์” จำลองและพระกริ่ง 7 รอบแทน สมเด็จพระสังฆราชฯ ตามความดังกล่าว
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ซึ่งเป็นองค์อุปัชฌาย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเททอง พระกริ่ง 7

รอบ และพระพุทธชินสีห์แทนนั้น ตามประวัติของท่านทรงเสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2415 ทรงเป็นโอรส หม่อมเจ้า

ถนอม และหม่อมเอม ทรงเป็นพระนัดดาของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น 5) กรมหมื่นมเหศวร ศิววิลาศ (พระองค์เจ้านพวงศ์ วรวงศ์เอกอรรคมหามกุฎ ปรมุตม

ราชโอรส) และทรงเป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระปรเมน ทรมหามกุฎ เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2435 ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบวร

นิเวศวิหาร โดยมี พระพรหมมุณี (กิตติ สารตเถร แพ่ง) วัดมกุฏ กษัตริยาราม เป็นอุปัชฌายะ ทรงเจริญ สมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระ

วชิรญาณวงศ์ พระชนมายุ 66 พรรษา เป็นเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต และนายกกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย พระชนมายุ 74 พรรษา ทรงรับสถาปนา เป็น

สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราชทินนามเดิม พระชนมายุ 84 พรรษา ทรงรับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ทรงสร้างเกียรติคุณให้พระศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นพระเถระที่มีความแตกฉานทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง

พระกริ่ง ชุดนี้ช่างที่ดำเนินการสร้างคือ ช่างมนตรี พัฒนางกูร และที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ บริเวณบัวคู่หลัง (ด้านหลัง) จะปรากฏเป็น เลข “๗” ไทย

เป็นตัวจมอยู่ด้านล่างบัวอย่างชัดเจน เล่ากันว่าในตอนสร้างเสร็จได้ออกให้ทำบุญเพียงองค์ละ 20 บาท เท่านั้น นอกจากพระกริ่ง 7 รอบแล้ว ในพิธีเดียวกันนี้

ได้ทำการปั้นหุ่นและหล่อพระพุทธชินสีห์จำลอง โดยช่างมนตรี พัฒนางกูร แห่งบ้านช่างหล่อขึ้นด้วย พระพุทธชินสีห์ที่หล่อเป็นแบบพระบูชา หน้าตัก 4 นิ้ว

ครึ่ง พุทธลักษณะงดงามมาก

“พระกริ่ง 7 รอบ” และมงคลวัตถุทุกชิ้นที่ออกมาในงานเดียวกันนั้น นับว่าน่าบูชาสักการะอย่างยิ่ง ส่วนพระกริ่ง 7 รอบ ย่อมนับว่าเป็นพระกริ่งที่น่าสนใจมาก

เป็นพิเศษ เพราะเป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเททอง
ขณะที่ทรงผนวช ส่วนพระกริ่งปวเรศนั้น ทรงเทหลังจากผนวชแล้ว แต่เป็นพระกริ่งซึ่งเททอง ณ วัดบวรนิเวศวิหารเช่นเดียว จัดว่าเป็นพระกริ่งที่ทรง

คุณวิเศษในตัวเอง ปัจจุบันพระกริ่ง 7 รอบ ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษในวงการ เริ่มหายากขึ้นโดยเฉพาะในปีนี้ ในปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง

ครองราชย์มายาวนานถึง 60 ปี พระกริ่ง 7 รอบ ซึ่งแต่ก่อนมีคนสนใจไม่มากนัก ปัจจุบันจัดว่าเป็นพระกริ่งที่มีกระแสความสนใจพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ใคร

อยากได้ต้องรีบหาในนาทีนี้ หลังจากนี้คาดว่าพระกริ่ง 7 รอบ จะหายากที่สุดก็ว่าได้
(ย่อจาก ลานโพธิ์ 954 เดือนกรกฎาคม 2549 โดย...ลายทอง คงคาพยนต์)

พระกริ่งพระพุทธชินสีห์ หรือพระกริ่ง 7 รอบ วัดบวรฯ นี้ สร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2499 เนื่องในโอกาส ฉลองพระชนมายุครบ 7 รอบ ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ( ม.ร.ว.ชื่น นพวงศ์ ) องค์พระราชอุปัชฌาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และในพิธีเททองหล่อพระกริ่งในครั้งนั้น ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย ดังความที่ได้คัดลอกบางตอนจากตำนาน วัดบวรนิเวศวิหารดังนี้ ..วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 20.30 น. เสด็จฯ พระอุโบสถทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระพุทธชินสีห์ ไวยาวัจกรวัดถวายเทียนชนวน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงจุดมาแล้ว ทรงรับเทียนชนวนนั้นจุดเทียนชัย เวลา 20.36 น. ในพิธีหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงประชวรไม่สามารถจะเสด็จมาได้ พระสงฆ์สวดพระคาถาจุดเทียนชัย ...วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 เวลา 07.30 น. เสด็จฯ ศาลาหน้าพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก ไวยาวัชกรวัดทูลเกล้าฯ ถวายแผ่นทองคำเปลว 84 แผ่น ทรงวางแผ่นทองคำเปลวลงในเบ้าเวลา 07.41 น. ทรงถือสายสิญจน์ ซึ่งโยงจากเบ้าเททองหล่อพระพุทธชินสีห์จำลองแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา .........พระพุทธชินสีห์จำลองที่หล่อนี้มี 2 แบบคือ เป็นพระบูชาหน้าตัก 4 นิ้วครึ่งแบบหนึ่ง เป็นพระกริ่งหน้าตัก 1.7 ซ.ม.แบบหนึ่ง หล่อขึ้นสำหรับงานบำเพ็ญกุศลฉลองพระชนมายุครบ 84 พรรษาบริบูรณ์ของสมเด็จพระสังฆราชฯ พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯประกอบพิธีหล่อแทนองค์สมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัชฌาจารย์ .........พระกริ่ง 7 รอบ นับเป็นพระกริ่งมหามงคลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุในบวรพุทธศาสนา และทรงประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหารทรงเป็นองค์ประธานเททองปฐมฤกษ์อันเป็นมหามงคลชัย มีจำนวนการสร้าง 500 องค์ มีคุณวิเศษ 5 ประการ คือ เป็นพระกริ่งรุ่นเดียวที่เททองโดยพระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว , เป็นพระกริ่งที่สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชรูปที่ 13 ซึ่งเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของในหลวง , เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างประมุขแห่งศาสนจักรและประมุขแห่งอาณาจักร , เป็นพระกริ่งที่จำลองรูปพระพุทธชินสีห์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำวัดบวรนิเวศและเป็นพระกริ่งที่สวยงามที่สุดองค์หนึ่ง ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ถูกบรรจุอยู่ในรายการประกวดพระเครื่องทุกงาน สภาพสวยมาก อุดใหญ่นิยม แท้ ดูง่าย
ขอบคุณ ข้อมูลจาก บางกอกพระ โดย สหพล สุขพานิช
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน88,890 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 19 ส.ค. 2553 - 16:35:00 น.
วันปิดประมูล - 28 ส.ค. 2553 - 14:31:39 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลพิณเปี๊ยะ (1.6K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 19 ส.ค. 2553 - 16:41:49 น.
.


55


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 19 ส.ค. 2553 - 16:42:11 น.
.


556


 
ราคาปัจจุบัน :     88,890 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    somsak777 (1.8K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1