(0)
พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ++ รุ่นบันดาลโชคลานสะกา ++ เนื้อพระผงดินเผาเคลือบ สีน้ำตาล








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ++ รุ่นบันดาลโชคลานสะกา ++ เนื้อพระผงดินเผาเคลือบ สีน้ำตาล
รายละเอียดสภาพใหม่เอี่ยม พิมพ์นิยม สวยมากครับ
การสร้างทำดีเยี่ยม ถูกต้องครบถ้วน ใน วัตถุประสงค์ รูปแบบ ความหมาย มวลสาร และการประกอบพิธีกรรม

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
เพื่อนำรายได้มาจัดสร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และบูรณะฟื้นฟูสถานที่ให้เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว และเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชุมชน

รุ่นบันดาลโชค พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ลานสะกา เนื่องจากการที่มี ผู้เกี่ยวข้องได้ประสบโชคลาภ และความสำเร็จปรากฎให้เห็นนับครั้งไม่ถ้วน โดยกำหนดรูปแบบความหมายดังนี้
ด้านหน้า
1. ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
2. รัศมีรอบในเป็นกลีบบัวเล็กช้าง เป็นสัญลักษณ์ของต้นราชวงศ์ปทุม คนรุ่นหลังเรียกดอกจันทร์
3.รัศมีรอบนอก เป็นดอกบัวตูม บัวบานไขว้ เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงการจัดการปกครอง เมืองขึ้นต่างๆ ว่ามีความสามัคคีกลมเกลียวส่วนเกษรของบัวบานเป็นรูปของหัวนอโม ซึ่งหมายถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นผู้สร้างหัวนอโมขึ้นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องรางกันไข้ห่า
4. อักขระ 4 ตัว จะ ภะ กะ สะ เป็นธาตุประจำมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม
5. ระหว่างดอกบัวตูมบัวบาน มีอักขระพระเจ้า 16 ตัว เป็นพระเวทคาถาของพระเจ้า 16 พระองค์ ย่อ เป็น 16 ตัว เพื่อป้องกันภัยพิบัติ
ด้านหลัง
1. ตรงกลาง เป็นรูปราหูอมจันทร์ รูปดังกล่าวครั้งหนึ่งเคยเป็นตราสัญลักษณ์ของกรุงศรีวิชัย แสดงถึงอำนาจ เมตตามหานิยม และความช่วยเหลือ
2. รอบราหู เป็นตรา 12 นักษัตร (เป็นชื่อบรมครูบรรพบุรุษไทยเป็นลูกชายขุนหญิงกวักทองมา) อันเป็นตราประจำเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับกรุงศรีวิชัย
3. กลีบบัว 16 กลีบ เป็นตราประจำราชวงศ์ปทุมและมีอักขระหัวใจพญาเต่าเรือนล้อมรอบ เพื่อป้องกันภัยต่างๆ แก่ผู้ใช้

มวลสารที่เป็นส่วนผสมประกอบด้วย
1. ผงปูนจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
2. ผง และคราบปูนจากองค์จริงของท้าวจัตตุคาม ท้าวรามเทพ
3. ผงพระจาก กรุท่าเรือ กรุนางตรา กรุนาสน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
4. ผงพระจาก ชุดยอดขุนพล พ.ศ. 2497
5. ผงพระจาก ชุดพระภูทราวดี พ.ศ. 2505
6. ผงพระจาก พระมหาว่าน เขาอ้อ พ.ศ. 2485 (อินโดจีน)
7. ผงว่าน ซึ่งทำพิธีขุด และลงอักขระโดย พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
8. ผงสำเร็จที่ชักโดยพระเกจิอาจารย์เก่าที่ พล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดชเก็บรักษาไว้
9. ผงพระดินเดิมจากถ้ำนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
10. ผงพระจากกรุกำแพงเพชร กรุสุพรรณบุรี จังหวัดที่ พล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดชรับราชการ
11. ผงอิฐ และดินจากเจดีย์วัดปุณณารามที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี
12. ดินที่เขาสัจจะพันธ์คีรี พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
13. ดิน น้ำ ผงระฆังหิน จากวัดพริบพลี จังหวัดเพชรบุรี
14. คราบ และผงทองจากองค์พระพุทธฉายที่เขางู ผงพระนอนถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี
15. ผง และราบตะไคร่จากเจดีย์พัทธสีมา ระฆังหิน และเจดีย์ที่สลักหินปูนราหูอมจันทร์ ราชบุรี
16. ตะไคร่เจดีย์ เขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี
17. ดิน อิฐ และตะไคร่ จากวัดศรีสุวรรณภูมิ แดนไทย (วัดโขง) จังหวัดราชบุรี
18. ผงจากไม้ตะเคียนต้นที่นำมาแกะสลักเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
19. ผงโลหะปล่องไฉนยอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช
20. ผงจากไม้ที่สบายคือ ไม้กาฝากกว่าร้อยแปดชนิด

21. ผงไม้กระบก และผงไม้ที่เป็นยาสมุนไพรหลายชนิด
22. ผงเม็ดบัว ลูกกระจับ ผงจากใบบัวหลวง 8 ใบ และผงจากใบตอง
23. ผงดอกไม้มงคลที่ใช้สมโภชน์ในพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกหลายสิบพิธี
24. ผงแผ่นทองคำปิดพระประธานและดอกไม้ที่ใช้บูชาพระประธานจากวัดต่างๆ
25. ผงทองคำปิดเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
26. ผงจากไม้กระทุ้งฟ้า และใบพลูร่วมใจ
27. ดิน 7 ท่า, ดิน 7 โป่ง, ดิน 7 ปราบ
28. ยอดรัก และยอดสวาท
29. น้ำมนต์จากพิธีต่างๆ ผสมกับน้ำฝนกลางแจ้ง เดือนเพ็ญจันทร์ (วันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับ วันจันทร์)
30. ผงปูนจากพระเจ้าศรีธรรมโศกราชลานสะกา ที่ขุดพบ
31. กระเบื้อง ถ้วยชามโบราณที่วังโบราณลานสะกา
32. ต้นลูกอิน - จัน ที่ลานสะกา
33. ไม้ยองอกบนตอไม้
34. ตะไคร่จากพัทธสีมาและเปลือกหอยโบราณ วัดลานสะกาใน
35. ดินจอมปลวกในโบสถ์โบราณวัดลานสะกาใน
36. แร่ดีบุกจากวังโบราณลานสะกา
37. ดินกากยายักษ์ลำพะยา จังหวัดยะลา
38. ผงพระเครื่องเก่าๆ พระผงหลักเมืองนครศรีธรรมราช ผงอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ และผงพังพการ
39. ผงทองพระมังคุดวัดเจดีย์
40. ผงเปลือกผลไม้ของอำเภอลานสะกา

คณะกรรมการจัดสร้างได้ดำเนินการภายในคำแนะนำของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช อย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำพิธีบวงสรวงขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์การทำพิธีเททองที่วังโบราณลานสะกาอย่างยิ่งใหญ่ การช่วยกันหามวลสาร ว่านยาที่สำคัญ ผงภาชนะที่คนโบราณใช้สอยที่ขุดได้ในบริเวณวังโบราณลานสะกา นำมาประกอบเป็นมวลสาร เพื่อผสมทำวัตถุมงคล โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การตำผงมวลสารมีพระสงฆ์ 9 รูป สวดพระพุทธมนต์ การเจิมแม่พิมพ์ การวางผงและการกดพิมพ์ ด้วยเหตุนี้การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน อันเนื่องมาจากการสรรหามวลสารที่ดีที่สุด การหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด การกำหนดสถานที่เพื่อประกอบพิธีโดยที่คณะกรรมการจัดสร้าง และชาวลานสะกา มีความตระหนักเพื่อปรารถนาที่จะให้ท่านผู้มีจิตศรัทธาและบริจาคทรัพย์ ได้รับวัตถุมงคลที่มีคุณค่าไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเคารพบูชาที่มากด้วยพุทธคุณ และความหมายความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ
ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ เกิดจากจิตใจของชาวลานสะกาที่มีความบริสุทธิ์ มีความผูกพันความศรัทธา ความกตัญญูต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
ราคาเปิดประมูล5,000 บาท
ราคาปัจจุบัน7,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 19 พ.ค. 2550 - 18:38:30 น.
วันปิดประมูล - 27 พ.ค. 2550 - 16:41:09 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลChoter (52)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 20 พ.ค. 2550 - 12:20:51 น.
.


กล่องเดิมๆ เก็บไว้ในถุงอีกชั้น


 
ราคาปัจจุบัน :     7,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    บาททะวลัน (223)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1