(0)
วัดใจ99 บาท+++เหรียญหลวงปู่หล้า (ตาทิพย์)






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องวัดใจ99 บาท+++เหรียญหลวงปู่หล้า (ตาทิพย์)
รายละเอียดประวัติหลวงปู่หล้า
หลวงปู่หล้า มีชื่อ หล้า ฉายา จนฺโท (อ่านว่าจันโท) ฉายา หรือชื่อที่อุปัชฌาย์ คือ พระเถระผู้บวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนาตั้งให้ท่านได้แก่ "จนฺโท"นั้นแปลว่า พระจันทร์ การตั้งฉายาเป็นไปตามวันเกิด หลวงปู่หล้าเกิดวันพฤหัสบดี
เกิดที่บ้านปง
หลวงปู่หล้า เกิดวันพฤหัสบดี ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 (เดือนเกี๋งเหนือ) ตรงกับวันที่ 22 กันยายน 2411 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แต่หากดูจากพระประวัติเมืองเชียงใหม่แล้ว อยู่ในช่วงผลัดเปลี่ยนเจ้าผู้ครองนครจากเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ หรือ "เจ้าหลวงตาขาว"(พ.ศ.2426 - 2439 เป็นเจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 8 คือ เจ้าอินทวโรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2442-2452)
หลวงปู่หล้า เกิดที่บ้านปง ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (บ้านปงอยู่ห่างจากวัดป่าตึงประมาณ 1 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้) สำหรับบริเวณนี้ ในอดีตเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาของภาคเหนือ จึงปรากฎเตาเผาและเครื่องปั้นดินเผา โดยอาจารย์ไกรศรี นิมมนานเหมินท์ สำรวจเตาเผา เมื่อ พ.ศ.2495 มีจำนวนถึง 83 เตา จึงได้ทำการเผยแพร่ในปี พ.ศ.2503 ในชื่อ "เตาสันกำแพง" ผลผลิตส่วนหนึ่งชาวบ้าน และอาจารย์ไกรศรี ได้นำถวายหลวงปู่หล้าไว้ในพิพิธภัณฑ์ของวัดป่าตึง เพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาต่อไป

สกุลบุญมาคำ
โยมพ่อชื่อ นายเงิน โยมแม่ชื่อ นางแก้ว นามสกุลบุญมาคำ เหตุที่มีนามสกุลนี้ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "เพราะพ่ออุ้ย (ปู่) อบุญมา แม่อุ๊ย (ย่า) ชื่อคำ เมื่อมีการนามสกุล
กำนันจึงตั้งให้เป็น "บุญมาคำ" ทุกคนทั้งโยมพ่อโยมแม่ พ่ออุ้ย แม่อุ้ย เป็นชาวบ้านปงมีอาชีพทำนา มีรากอยู่ที่บ้านปงมานานแล้ว
หลวงปู่หล้าเป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว จึงมีชื่อเดิมว่า "หล้า" ซึ่งหมายถึงสุดท้าย หลวงปู่หล้า มีพ่อน้อง 4 คน เสียชีวิตหมดแล้วได้แก่
1. นายปวน
2. แม่แสง
3. นางเกี๋ยงคำ
4. นายคำ
หลวงปู่หล้ากำพร้าพ่อตั้งแต่อายุ 1 ขวบเท่านั้น โยมแม่จึงเลี้ยงดูบุตรทั้งหมดเพียงลำพังตนเอง หลวงปู่หล้าเล่าให้ฟังว่า "การเลี้ยงลูกสมัยก่อน ต้องช่วยกันทำงาน ช่วยเลี้ยงวัว ทำผิดก็ถูกเฆี่ยน ทำพลาดก็ถูกเอ็ด” เด็กวัดป่าตึง

หลวงปู่หล้า หรือเด็กชายหล้า บุญมาคำ อายุได้ 8 ขวบ โยมแม่ก็นำไปฝากกับครูปินตา เจ้าอาวาสวัดป่าตึง ให้เป็นเด็กวัด (สมัยก่อนชาวบ้านนิยมฝากบุตรชายให้เป็นเด็กวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียน) หลวงปู่หล้าจึงได้เรียนหนังสือเป็นครั้งแรกกับครูบาปินตา แต่ขณะนั้นหลวงปู่หล้าเรียนหนังสือพื้นเมือง (ช่วงนั้นตรงกับ พ.ศ. 2450เกิดความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์พื้นเมือง ภายใต้การนำของครูบาฝายหิน เจ้าอาวาสวัดฝายหิน เชียงใหม่ ซึ่งได้รับสถาปนาเป็นปฐมสังฆนายกองค์ที่ 1 พ.ศ. 2438กับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตนิกาย นำโดยมหาปิงเจ้าคุณนพีสีศาลคุณ จนมีการกล่าวขวัญเรื่องนี้ว่า "จะไหว้ตุ๊ป่า หรือ จะไหว้ตุ๊บ้าน" คำว่า ตุ๊ หมายถึง พระจนความทราบถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรส สมเด็จพระสังฆราช และรัชกาลที่ 5 จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาครูบาฝายหินลงไปเฝ้าใน
ปี พ.ศ. 2499 ขณะนั้นครูบาฝายหินมีอายุ 75 ปี ครูบาฝายหินได้ถวายพระพรให้ทรงทราบเป็นที่พอพระราชหฤทัยยิ่ง โปรดเกล้าถวายสมณศักดิ์ตำแหน่งพระราชาคณะให้ครูบาฝายหินเป็นพระอภัยสารทะสังฆปาโมกข์ ฉะนั้น ปีที่หลวงปู่หล้าไปเป็นเด็กวัดป่าตึงนั้น ทรงราชการส่งเสริมให้ทุก ๆ วัดจัดการศึกษาแก่กุลบุตร โดยยังคงผ่อนผันให้ใช้อักษรพื้นเมืองในการเรียนการสอน)

สู่ร่มสกาวพัสตร์
หลวงปู่หล้าเป็นเด็กวัด ศึกษาเล่าเรียนกับครูบาปินตา จนกระทั้งอายุ 11 ขวบ ก็บวชเป็นสามเณรในช่วงเข้ารุกขมูล เข้ากรรมอยู่ในป่า มีผู้บวชพร้อมกันครั้งนั้น7 คน ครูบาปินตาเป็นผู้บวชให้ทุกคนต้องไปอยู่รุกขมูลในป่าช้า การเข้ากรรม หรืออยู่กรรม หรือ การไปอยู่รุกขมูล เรียกว่าประเพณีเข้าโสสานกรรมซึ่งเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา มักทำกันในบริเวณป่าช้าที่อยู่นอกวัด ผู้เข้าบำเพ็ญโสสานกรรมต้องถือปฏิบัติเคร่งครัดเพื่อต้องการบรรเทากิเลสตัณหา ความห่วงต่อวัตถุ ต้องสร้างความดีด้านจิตใจให้เกิด

นักอนุรักษ์นิยม
ขณะที่บวชเป็นสามเณรอยู่นั้น หลวงปู่หล้ามิได้เรียน แต่เพียงหนังสือพื้นเมืองเท่านั้นแต่ได้เรียนหนังสือไทยด้วย โดยเรียนกับพระอุ่น ซึ่งเคยไปจำพรรษาที่วัดอู่ทรายคำในเมืองเชียงใหม่ และเรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนประจำมณฑลพายัพ (ปัจจุบันคือโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย) แต่ครูบาปินตาไม่สนับสนุนให้พระเณรเรียนหนังสือไทย ในที่สุดพระอุ่นจึงต้องเลิกสอน (ช่วงนั้นทางการพยายามให้ทุกท้องถิ่นเรียนรู้ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งโรงเรียนเคร่งครัดมาก ผู้ใดพูดภาษาพื้นเมืองต้องถูกปรับ พระสงฆ์พื้นเมืองกลุ่มหนึ่งต้องการรักษาเอกลักษณ์ทางภาษาของท้องถิ่นไว้ จึงไม่สนับสนุนการเรียนภาษาไทยภาคกลางและครูบาปินตาก็เป็นผู้หนึ่งด้วย)

เข้าเมืองเชียงใหม่
หลวงปู่หล้าศึกษาเล่าเรียนทั้งอักขรวิธี และธรรมปฏิบัติกับครูบาปินตาเรื่อยมาจวบจนกระทั้งอายุ 18 ปี จึงเดินทางเข้าไปจำพรรษาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพื่อเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพน ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมือง ซึ่งการเดินทางสมัยก่อนลำบากมากไม่มีถนนหนทาง ไม่มีรถรา พาหนะใด ๆ ก็ไม่มี จะไปไหนก็ต้องเดินไป อย่างเช่นจะไปเชียงใหม่ ชาวบ้านปงก็ต้องออกเดินทางตั้งแต่ตี 2 ก็จะไปสว่างเอาที่เชียงใหม่ หลวงปู่หล้าเล่าว่า "หลวงปู่หล้าก็ต้องเดินเหมือนกัน"

อุปสมบท
หลวงปู่หล้าเรียนนักธรรมที่วัดเชตุพนเพียง 1 ปี ยังไม่ทันสำเร็จ ก็ต้องเดินทางกลับวัดป่าตึง เพื่อปรนนิบัติครูบาปินตาที่ชราภาพ ด้วยความกตัญญู นอกจากปรนนิบัติแล้วก็ติดตามครูบาปินตาไปตามที่ต่าง ๆ ด้วย เมื่ออายุครบ 20 ปี ก็อุปสมบทในอุโมสถน้ำ ปัจจุบันอุโบสถน้ำหลังนี้ถูกรื้อไปแล้ว (การอุปสมบทในอุโบสถน้ำ หรือการอุปสมบทแบบนทีสีมา หรืออุทกกุกเขปสีมาหรือแพโบสถ์ในน้ำ เป็นประเพณีที่รับมาจากสำนักมหาวิหารของลังกา สมัยโบราณนิยมกันมาก พระสุมนเถระผู้นำพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทมาเผยแพร่ในล้านนา เมื่อ พ.ศ.1912 สมัยพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ที่ 6 พ.ศ.1894-1928 ได้กระทำอุปสมบทกุลบุตรชาวล้านนาครั้งแรกด้วยวิธีสมมตินทีสีมา หรือแพโบสถ์ในน้ำที่แม่ปิง บริเวณใกล้วัดจันทร์ภาโน)
การอุปสมบทของหลวงปู่หล้าในครั้งนั้น ครูบาปินตาเป็นพระอุปัชฌาย์ ครูบาอิ่นเป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณวิชัยศรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

นมัสการครูบาศรีวิชัย
หลวงปู่หล้าได้ติดตามพระญาณวิชัย เจ้าคณะตำบลออนใต้ ไปนมัสการครูบาศรีวิชัย ที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตอนนั้นหลวงปู่หล้าอายุ 23 ปีได้เดินทางด้วยเท้าจากท่าเดื่อ ท่าตุ้ม บ้านโฮ่ง ไปถึงบ้างปาง ใช้เวลาเดินทางถึง 2 วันและ 2 คืน แต่เมื่อไปบ้านปางปรากฎว่า ครูบาศรีวิชัยไปที่พระธาตุดอยเกิ้ง หลวงปู่หล้าจึงรออยู่ที่บ้านปาง 2 คืน ครูบาศรีวิชัยจึงได้เดินทางกลับ หลวงปู่หล้าจึงได้เข้านมัสการแล้ว ได้เดินทางกลับวัดป่าตึง แต่ขากลับระหว่างเดินทางหลวงปู่หล้าฉันอาหารผิดสำแดงทำให้ท้องเสีย ถึงกับอาพาธนาน 1 เดือน ต้องพักกลางทางที่ฮอด (อำเภอ) และที่สบขาน ครูบาศรีวิชัยมาจำพรรษาที่วัดสิงห์ เมืองเชียงใหม่ หลวงปู่หล้าได้ไปนมัสการอีกหลายครั้ง

ผู้สอนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน
หลวงปู่หล้าได้เรียนวิปัสสนากรรมมัฏฐาน กับครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง ขณะที่ครูบาสุริยะจะไปวัดจอมแจ้งได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาที่วัดเชียงแสน
ตำบลออนใต้ อำเภอสันกำแพง (ครูบาสุริยะ วัดจอมแจ้ง เป็นศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของครูบาศรีวิชัย ซึ่งต่อมาถูกทางการบังคับให้ลาสิขา เพราะครูบาศรีวิชัยเป็นผู้บวชให้ ส่วนวัดเชียงแสนเป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2031 ตั้งอยู่ห่างจากวัดป่าตึงเข้าไปประมาณ 2 กม. แต่ปัจจุบันเป็นวัดร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดเชียงแสน คือพระเจ้าฝนแสนห่า และหลักศิลาจารึกของหมื่นดาบเรือน ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่วัดป่าตึง)

สูญเสียครั้งใหญ่
หลวงปู่หล้าปรนนิบัติครูบาปินตา จนกระทั้งล่วงเข้าปี พ.ศ.2467 ครูบาปินตาก็มรณภาพด้วยวัย 74 ปี ขณะนั้นหลวงปู่หล้า อายุ 27 ปีเท่านั้นเรียกว่าเป็น "พระหนุ่ม" ก็ต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึงต่อจากครูบาปินตาต่อมาอีก 4 ปี หลวงปู่หล้าอายุ 31 ปี โยมแม่ซึ่งอายุ 63 ปีก็เสียชีวิตไปอีกหลังโยมพ่อ 30 ปี

เจ้าอาวาสวัดป่าตึง
หลวงปู่หล้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าตึง พ.ศ.2467 ต่อจากครูบาปินตา เจ้าอาวาสรูปแรก และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลออนใต้ พ.ศ.2476 (ช่วงรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ปี มีการยุบเลิกมณฑลพายัพและการบริหารราชการระดับมณฑล คงเหลือแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน)หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุ 40 ปี

ทำถนนขึ้นดอยสุเทพ
ปี พ.ศ. 2477 ครูบาศรีวิชัยได้อำนวยการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ โดยใช้เวลา 5 เดือน 22 วัน ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2478ผู้มีศรัทธาต่อครูบาศรีวิชัยทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส โดยเฉพาะพวกกเหรี่ยงจากอำเภอลี้จังหวัดลำพูน ได้มาร่วมงานกันเป็นจำนวนมาก ระยะทางที่สร้าง 11,530 กม.

หลวงปู่หล้าเดินทางไปร่วมสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มสร้างมีคณะศรัทธาจำนวนหนึ่งติดตามไปจากวัดป่าตึง หลวงปู่หล้าเล่าว่า "การสร้างถนนมีการแบ่งงานกันตามกำลังของผู้ไปร่วม ชาวบ้านที่ติดตามไปจากวัดป่าตึงทำได้ 5 วา ใช้เวลา 14 วัน พวกที่ไปจากเมืองพานทำได้60 วา"

พระครูจันทสมานคุณ
หลวงปู่หล้าได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น "พระครูจันทสมานคุณ" ปี พ.ศ. 2504 อายุ 63 ปี ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพ เพื่อรับพระราชทานพัดยศจากสมเด็จพระสังฆราช พระวันรัต (ปลด กิตติโสภโณ วัดเบญจมบพิตร ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช)
การเดินทางไปกรุงเทพนับเป็นครั้งที่ 3 โดยครั้งแรก พ.ศ.2499 ติดตามครูบาอินถา เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ครั้งที่สอง พ.ศ. 2500 เข้าอบรมเกี่ยวกับการปกครองของคณะสงฆ์ ที่วัดสามพระยา ได้มีโอกาสร่วมในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษด้วย

ครูบาปินตา
หลวงปู่หล้าได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับครูบาปินตา พระอุปัชฌาย์ว่า "ครูบาปินตา เป็นคนบ้านแม่ผาแหน บวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร เป็นศิษย์ของครูบากันธิยะ วัดแม่ผาแหน ท่านเป็นผู้สร้าง วัดป่าตึงองค์แรก หลวงปู่หล้าเป็นเจ้าอาวาส องค์ที่ 2 เมื่อตอนที่สร้างวิหาร ครูบาปินตาต้องขออนุญาตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เพื่อตัดไม้สักมาสร้าง ครูบาปินตาเป็นพระที่เคร่งครัด ในการวิปัสนากรรมมัฎฐาน ฉันมื้อเดียวตลอดชีวิต มีความเชี่ยวชาญในหนังสือพื้นเมือง เป็นผู้สอนหนังสือพื้นเมืองให้หลวงปู่หล้า เพราะไม่ต้องการให้มีการเรียนการสอนภาษาไทยภาคกลางในวัด แต่ต้องการให้พระเณรเรียนหนังสือพื้นเมือง หลวงปู่หล้าบวชเมื่อครูบาปินตาอายุ 59 ปี และมรณภาพอายุ 74 ปี ขณะหลวงปู่หล้าอายุ 27 ปี"

สบายอย่างตุ๊เจ้า
ตามที่มีการพูดเชิงวิจารณ์ถึงพระภิกษุในเมืองเหนือว่า "สบายอย่างตุ๊เจ้า" คือพระเมืองเหนืออยู่สุขสบายกัน จึงไม่ปรากฎว่ามีความสำเร็จในการศึกษาได้เปรียญสูง ๆ เหมือนกับพระทางภาคอีสานนั้น หลวงปู่หล้าตอบเรื่อง่นี้ว่า พระเมืองเหนือมิใช่ว่าจะไม่อยากเรียน สมัยก่อนไม่มีระบบ ไม่ได้จัดเป็นระเบียบใครใคร่เรียนก็เรียน ไม่อยากเรียนก็ได้

สำหรับสาเหตุที่พระเณรชอบลาสิกขา จนมีคติว่า "น้อยเวย หนานช้า" โดยชาวล้านนาเรียกผู้ที่สึกจากเณรว่า "น้อย" ผู้ที่สึกจากพระเรียกว่า "หนาน"ซึ่งแปลว่า สึกจากเณรเรียกน้อยมักรวดเร็ว แต่สึกจากพระคือหนานมักช้า หลวงปู่หล้าอธิบายว่า เพราะชาวเหนือนิยมบวฃตั้งแต่เป็นเด็กพออายุ 18-19 ปี ก็เกิดการเบื่อหน่าย โดยเฉพาะที่อายุ 27-28 ปี จะยิ่งเบื่อมาก ๆ จึงลาสิกขาบท

หลวงปู่หล้าตาทิพย์
มีคนยกย่องว่า "หลวงปู่หล้า ตาทิพย์" เล่ากันว่า มีอยู่วันหนึ่งฝนตั้งเค้าจะตกหนัก หลวงปู่หล้าบอกให้พระเณรรีบออกจากกุฏิ เพราะกุฏิเก่าทรุดโทรมและมีต้นลานใหญ่อยู่ข้าง ปรากฎว่าวันนั้นฝนตกหนักกิ่งต้นลานก็หักโค่นลงมาทับกุฏิพังทุกคนปลอดภัย และพากันสรรเสริญว่า "ตาทิพย์"

อีกเรื่องหนึ่งคือ มีคณะผู้มากราบนมัสการหลวงปู่หล้าเกินจำนวนที่แจ้งขอของขลังจากท่าน แต่ได้รับแจกกันครบทุกคน จึงพากันเห็นเป็นอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์

นอกจากนั้น นายอนันต์ อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านป่าตึงได้เล่าเพิ่มเติมว่า "เช้าวันหนึ่งประมาณตี 5 หลวงปู่หล้าให้พระเณรรีบทำความสะอาดวิหารจะมีแขกมาหาที่วัด ปรากฎว่าพอถึง 6 โมงเช้า พระศรีธรรมนิเทศ เจ้าอาวาสวัดสันป่าข่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นำญาติโยมมาหา"

หลังจากนั้นชาวบ้านของหายหรือถูกลักขโมย มาถามหลวงปู่ก็บอกให้ไปตามทิศนั้นทิศนี้ได้ของคืนมาทุกครั้ง แต่หากท่านห้ามไม่ต้องไปตามจะไม่ได้คืน ก็จะเป็นจริง
ราคาเปิดประมูล89 บาท
ราคาปัจจุบัน99 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ก.พ. 2554 - 21:45:29 น.
วันปิดประมูล - 03 มี.ค. 2554 - 20:19:24 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลDAIMONLIGHT (7.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     99 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    tonmai (1.6K)

 

Copyright ©G-PRA.COM