เหรียญในหลวง พระราชทานชาวเขา บล๊อควงเดือน เนื้ออัลปาก้า ตอกโค้ด สภาพเดิม ๆ ไม่ผ่านการใช้งาน
ตอกโค๊ด จังหวัดแม่ฮ่อนสอน มส106384
เหรียญประจำตัวชาวเขา
คำว่า "สัญชาติ" มีขึ้นอย่างเด่นชัดภายหลังสมัยของรัชกาลที่ 5 เพราะก่อนหน้านั้น มีเพียงสิ่งเรียกว่า "มูลนิติธรรมประเพณี" ในยุคนั้นรัฐส่วนกลางพยายามขยายอำนาจเข้ามาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น หัวเมืองต่างๆ ถูกจัดตั้งขึ้นเป็น มณฑล เช่น จากหัวเมืองล้านนา เป็น มณฑลพายัพ อันประกอบด้วย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง รัฐในสมัยนั้นบริหารจัดการโดย ส่งข้าหลวงเข้ามาควบคุมและใช้อำนาจพร้อมกับลดทอนอำนาจของเจ้าเมืองในแต่ละมณฑลลง จากที่เคยมีกฎเกณฑ์สำหรับใช้บังคับในแต่ละหัวเมือง (ระบบเจ้าเมือง) ให้มาใช้ระบบราชการแทน เป็นการรวมอำนาจในการปกครองเข้ามาสู่ส่วนกลาง การรวมอำนาจ ทำให้ระบบจารีตประเพณีที่เคยใช้ เคยมีความสำคัญ ไร้ความสำคัญ ถือเป็นรากฐานของกฎหมายปัจจุบัน ที่ทำให้รัฐแผ่อำนาจออกไปได้ในทุกพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เกิดรัฐ ที่เรียกว่า รัฐชาติ
หลังกำเนิดของรัฐชาติไทย แนวคิดเรื่องสัญชาติก็เริ่มก่อตัวขึ้นนับแต่นั้น จากระบบกฎหมายที่รัฐส่วนกลางเป็นผู้สร้างขึ้น แล้วบังคับใช้ทั่วรัฐ จึงมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการ การควบคุมประชากร มีการแยกบุคคลในรัฐออกเป็นกลุ่มๆ และมีวิวัฒนาการในการดูแล และให้สัญชาติต่างกัน ในยุคแรกที่อำนาจรัฐยังมีอยู่อย่างจำกัด สัญชาติในยุคนั้นอาจไม่ใช่สัญชาติตามความเข้าใจในปัจจุบัน เริ่มต้นจากการสักเลก เพื่อบอกสังกัดมูลนาย โดยไม่ได้หมายความมีนายคนเดียวกัน จะต้องมีสัญชาติเดียวกันอาจมี ชาติลาว เขมร ส่วย ภูไท รวมอยู่ ต่อมามีการสำรวจสำมะโนประชากรเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 2453 ผู้ที่ได้รับการสำรวจสำมะโนประชากรจะมีการลงในช่องสัญชาติว่า "ชาติไทยในบังคับสยาม"ทั้งหมด มิให้ลง หรือเขียนว่าเป็นชาติอื่น การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้มีความหมายว่า รัฐให้ความสนใจกับประชาชนที่อยู่ภายใต้อำนาจปกครอง โดยให้ประชากรหรือบุคคลภายใต้บังคับต้องมีสัญชาติไทยเหมือนๆ กัน มีกฎหมายกำหนดว่าใครบ้างที่จะได้สัญชาติไทย และได้มาด้วยวิธีการอย่างไร หลังจากการวางหลักซึ่งประกอบด้วยหลักการสืบสายโลหิตที่บุคคลจะได้สัญชาติตาม บิดาและมารดาที่เป็นคนไทย และหลักดินแดนสำหรับบุคคลที่เกิดในประเทศไทย
ในช่วงปี พ.ศ.2512-2515 เกณฑ์ของการให้สัญชาติโดยหลักดินแดนบีบแคบลง รวมถึงการที่อำนาจรัฐมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐในพื้นที่ห่างไกล และเกิดปัญหาที่ประชาชนในพื้นที่ไกลห่างเหล่านั้น เกิดการตกสำรวจ หรือขาดการติดต่อกับหน่วยงานรัฐ ในยุคนั้นชาวเขาอยู่ไกลไม่มีความสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ และรัฐแต่ละรัฐยังไม่มีการแบ่งพรมแดนกันอย่างชัดเจนเช่นทุกวันนี้ มีการเดินทางข้ามไปมาระหว่างรัฐกับรัฐเป็นเรื่องปกติและเสรี ในการจัดการกับบุคคลในกลุ่มต่างๆ เริ่มมีปัญหา รัฐไม่สามารถยืนยันได้ว่าประชาชนทุกคนที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นบุคคล สัญชาติไทย นี่อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของการมีคนไร้สัญชาติในรัฐไทย และมีความพยายามจัดการกับคนกลุ่มนี้มาอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือในปี พ.ศ.2512-2513 มีโครงการจัดทำเอกสารพิสูจน์ตน ครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัด มีการบันทึกเพียงชื่อ-สกุล ไม่มีรูปถ่ายยืนยัน รวมทั้งมีการแจก "เหรียญที่ระลึกชาวเขา"
แม่เฒ่าคนจากเผ่าม้ง วัย 80 ปี จาก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย แม่เฒ่าพูดไทยไม่ได้ แต่ได้บอกเล่าถึงเหรียญที่ระลึกชาวเขาผ่านบุตรสาวไว้เพียงว่า "จำไม่ได้ ว่าเป็นเหรียญลักษณะใด รู้แต่ว่าไม่มีรูตรงกลาง และอำเภอแจกให้ครอบครัวละหนึ่งเหรียญ เอาไว้ดู เป็นที่ระลึก" เหรียญที่ระลึก ไม่ได้มีผลถึงการแสดงตัวตนของบุคคล มีบุคคลที่เกิดในประเทศไทย แต่ไม่ได้สัญชาติไทยเนื่องมาจากเอกสารพิสูจน์ตนของรัฐยังเข้าไปไม่ถึงและ เส้นแบ่งเขตแดนรัฐไม่ชัดเจน นั่นแสดงให้เห็นว่าถึงแม้รัฐจะแสดงออกถึงการจัดการสำรวจกลุ่มคนบนที่สูงแล้ว แต่ก็ไม่มีระบบระเบียบ และยังไม่มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่
ยุคต่อมาเป็นยุคของการจัดการคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยใช้ระบบของการ สำรวจสำมะโนประชากร และมีการจัดทำเอกสารพิสูจน์ตนให้แก่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติ ในรูปของทะเบียนบ้านชั่วคราว (ทร.13) และมีการออกบัตรแสดงตน มีลักษณะเป็นบัตรสีต่างๆ ตามพื้นที่ และตามสังกัดของกลุ่ม 16 บัตรสี คือ
บัตรสีขาวขอบน้ำเงิน-ญวนอพยพ,
สีขาวขอบแดง-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา,
สีเหลือง-จีนฮ่ออพยพ,
สีส้ม-จีนฮ่ออิสระ,
สีเขียว-ผู้อพยพเชื้อสายไทยจากจังหวัดเกาะกงกัมพูชา,
สีเขียว-เนปาลอพยพ,
สีม่วง-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (อยู่กับนายจ้าง),
สีฟ้าขอบน้ำเงิน-ลาวอพยพ,
สีส้ม-ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า (มีที่อยู่ถาวร),
สีเหลืองขอบน้ำเงิน-ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย,
สีฟ้า-บุคคลบนพื้นที่สูง,
สีเขียว-ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย,
สีขาว-อดีตทหารจีนคณะชาติ,
สีฟ้า-เผ่าตองเหลือง,
สีส้ม-ไทยลื้อ,
สีชมพู-ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า,
สีเขียวขอบแดง-สำรวจชุมชนบนพื้นที่สูง
ในจำนวนของผู้ครอบครองบัตรสีต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีคนไทยอีกหลายคน หลายครอบครัวที่ในความเป็นจริงพวกเขาต้องได้รับสัญชาติไทย อาจด้วยเหตุผลเพราะความผิดพลาดในการสำรวจ การไม่จริงจังในการวางระบบแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นจริงในระยะยาว มีแนวคิดใหม่ในการให้สัญชาติกับคนที่มาพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายรุ่นอายุของบุคคล ล่าสุดหลายๆ ฝ่ายที่มองเห็นความสำคัญของปัญหาต่างก็ร่วมมือกันคิดค้น สร้างระบบ และพยายามนำเสนอเรื่องราวที่พยายามจัดการตลอดมา ในปี พ.ศ.2549 การแก้ปัญหาอันเกิดจากการตกสำรวจ ปัญหาของคนไทยที่ไม่มีตัวตนในทางกฎหมาย ได้เดินทางก้าวไกลข้ามยุคสมัยมาสู่ยุคดิจิตอล มีการรวบรวมจำนวนคนประสบปัญหาและผู้ที่มีสิทธิได้รับสัญชาติ มาเก็บรวมไว้ในฐานข้อมูลเพื่อการจัดการ และดำเนินการเรื่องของสัญชาติไทยให้กับคนที่ยังไร้สัญชาติต่อไป
เหรียญชาวเขา ด้านหน้าเป็นพระรูป ร.9
ด้านหลัง เป็นรูปแผนที่ประเทศไทย และมีการตอกชื่อย่อจังหวัดและหมายเลขประจำตัวลงในแต่ละเหรียญ
เพื่อใช้เป็นหมายเลขประจำตัวสำหรับชาวเขาแต่ละคน
สี่สิบปีก่อน ประเทศไทย ประสบปัญหายาเสพติด, การปลูกพืชเลื่อลอยของชาว เขาทางภาคเหนือ อีกทั้ง ถือเป็นช่วง สงครามความเชื่อเรื่อง "คอมมิวนิสต์" ที่ลามไปทั่วภูมิภาค อาเชี่ยน ด้วยพระราชอัจฉริยภาพ ที่กว้างไกล ด้วยการให้ชาวเขาสามารถ "ยืนได้ด้วยตัวเอง" และหยุดการอพยพย้ายถิ่นเพื่อลดปัญหาเหล่านี้ พระองค์ เสด็จเยี่ยมเยือนพสกนิกรของพระองคหลายครั้งโดยทุกครั้งทรงนำ การเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาวไปแนะนำให้พวกเขา ทำให้สงคราม การปลูกยาเสพติด และการทำไร่เลื่อนลอยในเมืองไทยุติลงได้
ข้อมูลเหรียญประจำตัวชาวเขา (ตอกจังหวัด-จำนวนผลิต) แจกให้ชาวเขาตามจังหวัดต่าง ๆ ประมาณ 20 จังหวัด ทั้งหมด 200,000 กว่าเหรียญ โดยทุกเหรียญจะมีอักษรย่อของแต่ละจังหวัดตอกอยู่ที่ด้านหลังเหรียญพร้อมทั้งมีหมายเลขประจำเหรียญตอกกำกับอีกด้วย
1. กำแพงเพชร (กพ) 92
2. ประจวบ (ปข) 115
3. เพชรบุรี (พบ) 495
4. เลย (ลย) 762
5. ลำพูน (ลพ) 1,108
6. อุทัยธานี (อน) 1,362
7. เพชรบูรณ์ (พช) 1,385
8. พิษณุโลก (พล 1,887
9. ราชบุรี (รบ) 2,136
10. ลำปาง (ลป) 3,104
11. น่าน (นน) 15,644
12. ตาก (ตก) 24,269
13. เชียงราย (ชร) 25,946
14. แม่ฮ่องสอน (มส) 32,538
15. เชียงใหม่ (ชม) 49,487
16. ไม่ตอก 56,022
สุโขทัย (สท) หายากมาก
ส่วนอีก 4 จังหวัดที่มีชาวเขาแต่ไม่มีข้อมูลเหรียญ
1. กาญจนบุรี
2. แพร่
3. สุพรรณบุรี
4. พะเยา (รวมอยู่ในเชียงรายสมัยยังไม่แยกจังหวัด)
ขอบพระคุณข้อมูลจาก ชมรมของเก่า ของสะสม |
|