องค์นี้เริ่มที่10000-แล้วแต่ความพอใจ ไม่น่าเกิน30000
พระพุทธชินราชอินโดจีน ปัจจุบันมีการเช่าหา เปลี่ยนมือกัน ค่อนข้างจะมาก
และราคาค่อนข้างจะสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นเหรียญพิธีใหญ่ที่สุด ที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์
ประวิติ
ในปี พ.ศ. 2485 ประเทศไทยประสพปัญหาทางด้านการเมือง ซึ่งหลังจากปัญหา
ต่างๆได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า
" พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย " ซึ่งเป็นการรวมตัวระหว่าง พุทธธรรมสมาคม
กับ ยุวพุทธสาสนิกสมาคม จึงได้มีการคิดที่จะทำการหล่อ พระพุทธชินราชจำลองขึ้น
ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ก. ชนิดที่ทำการสร้าง พระพุทธชินราชจำลองที่สร้างขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. พระบูชา จะสร้างโดยใช้วิธีหล่อเป็นพระขัดเงามีเรือนแก้วขนาดห น้าตักขนาดใหญ่เพื่อสำหรับจัดส่ง
ไปประจำจังหวัดต่างๆ ทั่วเมืองไทย พระพุทธรูปชะนิดนี้ หากประชาชนปรารถนาจะสร้างไว้สำหรับสักการะบูชา
ของตนเอง ก็ขอให้แสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งส่งเงินค่าสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท
ไปยังคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อจักได้รวบรวมจำนวนให้ช่างจัดการต่อไป
2. พระเครื่อง มีการสร้างพระเครื่องขึ้นเป็น 2 วิธีคือ โดยวิธีหล่อ และ โดยวิธีปั๊ม
- พระเครื่องชนิดหล่อ จะทำการหล่อด้วยโลหะและมีรูปลักษณะทำนองพระยอดธง ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราช
มีเรือนแก้ว และมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ข้างใต้ฐาน พระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ1 บาท
พระเครื่องชนิดปั๊ม จะสร้างขึ้นโดยวิธีปั๊ม มีรูปลักษณะคล้ายเสมา ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธชินราชมีเรือนแก้ว
ด้านหลังมีรูปดอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมห าธาตุพระเครื่องชนิดนี้ ค่าสร้างองค์ละ 50 สตางค์
ผู้ประกอบพิธี
สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในพิธีหล่อพร้อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิ ทยาคุณต่างๆ
ทั่วราชอาณาจักร
-พระชุดนี้ได้พิธีหล่อ และปลุกเศกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ (ปี พ.ศ.2485) โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสสเทวะ)
เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นผู้ดำเนินการ ได้ทำพิธีลงทองถูกต้องตามตำหรับการสร้างพระกริ่ง-พระชัย
ของวัดสุทัศน์นี้แล้ว ยังมีแผ่นทองจากท่านพระคณาจารย์ ที่นิมนต์มาร่วมพิธีปลุกเศกสมทบหล่อหลอมในครั้งนี้อี กด้วย จึงนับได้ว่า
พิธีหล่อพระรูปจำลองพระพุทธชินราช เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วย พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
ในยุคนั้น ดังปรากฏพระรายนาม ดังต่อไปนี้
รายนามพระอาจารย์ที่ร่วมปลุกเศก รูปจำลอง พระพุทธชินราช พ.ศ. 2485
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์
3. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8. หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตากล้อง
10. หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14.หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17. หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส็ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38. หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42. หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52. หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์มาลา
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54. หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่อฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำว
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65. หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมรี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80. หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุธาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100. หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102. หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104. พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106. หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ตัวท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่จารแผ่นทองเหลือง ทองแดงมาร่วมพิธี)
ปลุกเสก
สุด เกจิดัง ๆ ยุคนั้นร่วมปลุกเสกหมด
ค. กำหนดวันและสถานที่ทำการหล่อ
จะประกอบพิธีหล่อที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3
ตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2485 ซึ่งเป็นวันระหว่างงานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี
ง. นายช่างผู้ทำการหล่อ
กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการหล่อและออกแบบโดยตลอด
จ.สถานที่ติดต่อสั่งจองเฉพาะพระเครื่อง
ที่ข้าหลวงประชาจังหวัดและนายอำเภอทุกแห่งทั่วราชอาณ าจักร์ และที่นายประมวล บูรณโชติ เลาขาธิการของสมาคม
ณ สำนักงานพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชอุทยานสราญรมย์ จังหวัดพระนคร
ฉ. เงินรายได้
จำนวนเงินรายได้ทั้งสิ้น เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะได้แบ่งส่วนเฉลี่ยออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน เพื่อนำไปจัดการดังต่อไปนี้
1. ให้กรมการสาสนา กระทรวงศึกษาธิการ สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนาและการกุศลสาธ ารณะต่างๆภายในจังหวัด
2. ให้คณะกรรมการจังหวัดพิษณุโลก สำหรับบำรุงส่งเสริมกิจการพระพุทธศาสนา และการกุศลสาธารณะต่างๆภายในจังหวัด
3. ให้พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นทุนในการดำเนินกิจการเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาตา มวัตถุประสงค์ของสมาคม
ประวัติวัดสุทัศน์ย่อๆ พอสังเขปดังนี้
สำนัก วัดสุทัศน์ สมัยที่สมเด็จพระวันรัต(แดง) องค์อุปัชฌาย์ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ทรงครองวัดอยู่นั้น (ประมาณ พ.ศ.2420-2443) นับว่าเป็นสำนักตรรกะศิลาทั้งด้านคันธุระวิปัสสนาและพุทธาคม องค์สมเด็จพระวันรัต (แดง) เองทรงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่ง นัก เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป คราวหนึ่งนั้นได้ทรงโปรดให้ช่างชาวอิตาลีหล่อรูปจำลองขนาดบูชาของสมเด็จพระ วันรัต (แดง) สำหรับให้ข้าราชสำนักของพระองค์สักการะบูชาโดยทั่วกัน ศิษย์สำนักวัดสุทัศน์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้นและศิษย์สืบทอดวิทยา อาคมต่อๆ มา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีมีมากมายหลายท่าน ขอยกตัวอย่างสักหลายท่านหน่อยนะครับ
หลวงปู่บุญ (พระพุทธวิถีนายก) แห่งวัดกลางบางแก้ว เก่งทางด้านโหราศาสตร์ ตลอดจนด้านวิทยาคม ยาวาสนาที่หลวงปู่สร้าง นอกจากนั้นหลวงปู่ยังได้เมตตาสร้างพระชัยวัฒน์หลายพิมพ์ เหรียญเจ้าสัวตลอดจนพระเนื้อผงพิมพ์ ศิษย์เอกคือ หลวงปู่เพิ่มแห่งสำนักวัดกลางบางแก้ว
หลวงปู่กลีบ (พระครูทิวากรคุณ) วัดตลิ่งชัน มีชื่อเสียงโด่งดังมากด้านกระสุนธรรมคด และแหวนมงคลแปดชื่อว่าแหวนทิวากรคุณ
หลวงปู่นาค (พระพิมลธรรม) วัดอรุณราชวรารามมีชื่อในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
หลวงพ่อภักต์ วัดบึงทองหลาง มีชื่อเสียงด้านสร้างพระหล่อเนื้อโลหะและเหรียญ
พระใบฎีกาเกลี้ยง มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการสร้างพระผงอันลือลั่นหลายพิมพ์
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) อัจฉริยะเกจิอาจารย์ผู้ให้กำเนิดพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของสำนักวัดสุทัศน์ หลาย ๆ พิมพิ์อันลือลั่น เป็นที่ใฝ่ฝันและเสาะแสวงหาของนักนิยมพระกริ่งทั้งหลายยิ่งนัก หนึ่งในนั้นก็คือพระรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ด้วยนะครับ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเป็นองค์ประธานในการจัดสร้าง ส่วนเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นแม่งานในพิธีเดียวกัน
เจ้าคุณศรี (สนธิ์) สร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์และพระอื่นๆ เช่นชินราช รุ่นเสาร์ห้า หรือรูปหล่อพระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 เป็นต้น เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมพระทั้งหลาย ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) นับว่าท่านเป็นผู้แตกฉานในสรรพวิชาการทั้งหลายอย่างแท้จริง ไม่ว่าทางด้านคันธุระ วิปัสสนาธุระ และพุทธาคม นอกจากเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ตามพระอาจารย์
เจ้าคุณศรี (ประหยัด) ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่สืบทอดมรดกการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์สำนักวัด สุทัศน์อันเกรียงไกร ท่านเจ้าคุณศรี (ประหยัด)ได้บรรจงสร้างพระผงขาวพระกริ่งพิมพ์บัวสามชั้น พระกริ่งฟ้าลั่นและพระกริ่งราชาฤกษ์ เป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมพระกริ่งเช่นเดียวกัน
โดยสรุปจะเห็นได้ว่าสำนักวัดสุทัศน์มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการสร้างพระ กริ่งและพระชัยวัฒน์และศิษย์จากสำนักนี้หลายๆ ท่านได้ฝากฝีมือยอดเยี่ยมในแขนงต่าง ๆ กัน พระของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) นับเป็นอันดับหนึ่ง ต่อมาของศิษย์เอกคือท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ดังนั้นรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ก็ไม่น่าจะผิดหวังแน่ครับ ถ้าคิดจะเล่นให้จริงจังขึ้นมา
พระกริ่งบางรุ่นของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) มีค่านิยมสูงเท่าหรือสูงกว่าพระกริ่งของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นเพราะมีความสวยงามมาก เนื้อหาดีและผ่านพิธีการสร้างที่ได้มาตรฐานของสำนักวัดสุทัศน์ถูกต้องทุก ประการ ข้อสำคัญคือยังพอเสาะหาของแท้ๆ ได้ไม่ต้องเหนื่อยมากนักด้วย
พุทธานุภาพแห่งชินราช อินโดจีน 2585
พระรูปหล่อ พระพุทธชินราช อินโดจีน 2485 ถูกหุ้มจับขอบปิดสนิทจะมีพุทธคุณหรือไม่ อย่างไรบ้าง
พระ พุทธคุณหรือพุทธานุภาพคืออะไร เรามาศึกษากันในด้านปรัชญาดูบ้าง อาจจะซาบซึ้งและเข้าใจถึงเรื่องราวของอภินิหารที่เกิดขึ้น ว่าทำไมจึงเกิดการแคล้วคลาดและปลอดภัยจากเหตุร้ายได้ ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจกับคำว่า &#8220พุทธานุภาพ&#8221 เสียก่อน คำว่า &#8220พุทธานุภาพ&#8221 นั้นหมายถึงอะไร พุทธานุภาพหมายถึงอานุภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ใน บรรยากาศของโลกนี้และเหลืออยู่รอบๆตัวเรานี่เอง พุทธานุภาพเกิดขึ้นแก่ผู้มีศรัทธา (FAITH) ของกลุ่มพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะเท่านั้น เหตุไฉนเมื่อ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าซึ่งเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานมาแล้ว ยังคงหลงเหลือพุทธานุภาพอยู่อีกเล่า ขอให้เรามาพิจารณาตามหลัก วิทยาศาสตร์ทางจิตและทางวิทยาศาสตร์ Physic ทาง Machanic และ Electronic เกี่ยวกับพลังงานธรรมชาติตามทฤษฎี (LAW OF THERMODYNAMIC) ของไอน์สไตล์ คือกฎธรรมชาติของคลื่นความร้อน ซึ่งรักษาพลังงานไม่ให้สูญหายไปไหน และคงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเรานี่เอง ศาสตราจารย์ เจ.บี.ไรน์ แห่งมหาวิทยาลัย ดุคย์ สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวไว้ใน PASA PSY-CHOLOGY หรือปรจิตวิทยาว่า จิตและพลังของจิต คือพลังงานธรรมชาติชนิดหนึ่ง หากฝึกจิตทางสมาธิตามหลักสมถกัมมัฎฐาน โดยใช้เตโชกสิณหรือการเพ่งกองไฟหรือดวงไฟเป็นอารมณ์ จนกระทั่งบรรลุจตุถฌาน บุคคลผู้ฝึกจิตสามารถส่งคลื่นความร้อนกระแสจิต (PASYCHIC HEAT) ไปก่อให้เกิดการเผาไหม้วัตถุ ณ จุดใดจุดหนึ่งได้ นักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่า จิตคือพลังงานธรรมชาติชนิดหนึ่ง และมีคลื่นความร้อนเจือปนอยู่ในกระแสจิตของมนุษย์ (PASYCHIC HEAT) ฉะนั้น คลื่นกระแสจิตของมนุษย์ย่อมนำเอาหลัก (LAW OF THERMODYNAMIC) มาวิจัยข้อมูลได้ทันที โดยเฉพาะข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพลังงานธรรมชาติที่สำคัญที่สุดคือ คลื่นความร้อนของกระแสจิตนั้นเองได้รักษาพลังงานของจิตไม่ให้สูญหายไปไหน คงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆ ตัวเราเช่นเดียวกับพลังงานธรรมชาติอื่นๆ ตามทฤษฎีของไอน์สไตล์นั่นเอง
ท่านอ่านมาถึงตรงนี้พอจะจับเค้าความได้ว่า คลื่นความร้อนของกระแสจิตมิได้หายไปไหนคงเหลืออยู่ในบรรยากาศรอบๆตัวเรา พลังงานของจิตขั้นวิสุทธิจิต(จิตบริสุทธิ์หมดมลทิน) ขั้นโลกียฌานชั้นสูงสุด และขั้นโลกกุตระ (เหนือโลกพ้นวิสัยของโลก) ขั้นสูงสุดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบรรยากาศในโลกเรา นี่เอง เรียกว่า &#8220พุทธานุภาพ&#8221
พระคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่องรางของขลังที่บรรลุวิสุทธิจิตขั้นโลกียฌานฝึก จิตทาง สมาธิกัมมัฏฐานจนแก่กล้า สามารถนำพุทธานุภาพบรรจุในพระเครื่องหรือเครื่องรางของขลังต่าง ๆ นั้นได้โดยพระคณาจารย์นั้น ๆ จะสร้างหรือถอดหัวใจพระพุทธคุณเป็นบทสวดมนต์
เช่นตัวอย่างพระพุทธมนต์บทหนึ่งมีใจความว่า &#8220อิติปีโส วิเสเส พุทธนาเมอินาเม ชินตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ หรือ อิระชาคตะระสาอรหังปี ตังโลเกมิ&#8221 เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเครื่องจูงจิตให้เกิดพลังาน (AUTO SUGGESTON) ในเวลาที่ประจุพระเครื่องรางของขลังต่างๆ เมื่อพระคณาจารย์ผู้นั้น น้อมจิตระลึกถึงพระองค์และกล่าวข้อความถึงพระพุทธคุณและพุทธานุภาพกระแส คลื่นของสมองหรือกระแสของพระคณาจารย์ผู้นั้นไปสัมผัสกับกระแสคลื่นของวิ สุทธิจิตขั้นโลกุตระขั้น สูงสุดของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ที่คงเหลือค้างอยู่ในบรรยากาศในโลกเรานี้เอง
หากพระคณาจารย์ผู้นั้นได้ฝึกจิตทางสมาธิบรรลุฌานสมบัติขั้นสุด กระแสคลื่นสมองของพระคณาจารย์ผู้นั้นย่อมมีพลังงานสูง และสามารถดึงดูดพลังงานของพุทธานุภาพลงมาสู่พระเครื่องเหล่านั้นได้มาก ด้วยอำนาจของพลังงานของจิตของพระคณาจารย์ผู้นั้น ประกอบกับพลังงานของพุทธานุภาพซึ่งพระคณาจารย์บรรลุในพระเครื่อง เมื่อทั้งสองอย่างมาประกอบกันย่อมเกิดสนามคลื่นแม่เหล็กรอบพระเครื่องเหล่า นั้นทันทีหากนำไปใช้ป้องกันอันตราย สนามคลื่นแม่เหล็กของพระเครื่องจะสามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ผู้ใช้ได้ ข้อมูลโดยย่อเหล่านี้ผมได้มาจากหนังสือ วิจัยพุทธปรัชญา เปรียบเทียบกับหลักวิทยาศาสตร์ เรียบเรียงโดย พ.ต.อ. ชะลอ อุทกภาชน์ เมื่อผมได้นำเอาเหตุการณ์ที่หลายท่านได้ประสบมา แล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง พระพุทธคุณซึ่งประจุอยู่ในพระเครื่องหรือเหรียญนั้น ได้แผ่รังสีออกมานอกพลาสติกจนทำให้พลังสติกร้าวเพื่อส่งพลังมาคุ้มครองผู้ บูชา ดังนั้นจึงมาถึงปัญหาข้อสุดท้ายว่า การหุ้มพลาสติกพระเครื่องหรือเหรียญหุ้มให้มิดชิดเลยดีหรือไม่? แต่จะเจาะรูไว้สักรูหนึ่ง หากมีเหตุร้ายเกิดขึ้นเพื่อพุทธานุภาพจะได้แผ่รังสีออกมาคุ้มครองปกป้องท่าน ก็น่าจะทำได้มิใช่หรือ หากท่านเชื่อใจในอานุภาพของพระพุทธคุณไม่ต้องเจาะรูก็ได้
พระพุทธคุณมี เสื่อมหรือไม่? มีความเชื่อกันมาแต่เดิมว่าพระที่แตกทำลายก็ดีถูกไฟไหม้ก็ดีหรือสัมผัสกับ สิ่งที่เป็นอัปมงคลต่างๆ จะทำให้พระพุทธคุณเสื่อมไป รวมทั้งมีอาจารย์บางท่านยังกำหนดด้วยว่าสิ่งมงคลที่ท่านสร้างและแจกให้นั้น ผู้ได้รับจะต้องหลีกเลี่ยงต่างๆ เช่นห้ามด่าบุพการีผู้อื่นไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ผิดศีลห้า ฯลฯ ทีนี้ลองมาพิจารณาด้วยเหตุผลกันดูว่าอะไรคือความถูกต้อง พระสมเด็จไม่ว่าจะวัดเกศไชโย วัดบางขุนพรหม หรือวัดระฆังจะหักเหลือเศษเล็กน้อยก็ยังนำมาใช้ห้อยติดตัวกันอยู่ ซึ่งสมัยก่อนไม่มีผู้สนใจเลย สมัยนี้แม้จะหักแต่พระบางองค์ก็มีราคาเป็นแสนแล้ว ดังนั้นเรื่องการนำไปทิ้งไว้ที่วัดนั้นคงหมดสมัยเสียแล้ว ถ้าเรามองความจริงว่าการทำพิธีแผ่อธิษฐานจิตก็ดีปลุกเสกแล้วก็ดี ได้อธิษฐานแผ่ไปทั้งองค์พระ พระพุทธคุณไม่ได้เป็นวัตถุแตกหักตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อปลุกเสกทั้งองค์แล้วเกิดแตกหักขึ้นมาแต่ละชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็ น่าจะมีพระพุทธคุณอยู่ เพราะมิฉะนั้นก็คงไม่มีใครเอาพระที่แตกชำรุดแล้วไปผสมสร้างพระกันใหม่ และเป็นที่นิยมกันเช่น พระสมเด็จบางขุนพรหม พ.ศ. 2509 ซึ่งเอาผงเก่าในกรุมาบดผสมลงไป และก็ยังมีความนิยมอยู่มากดังนั้นพระที่แตกหักจึงไม่น่าจะเสื่อมพระพุทธคุณ ไปได้ พระที่ถูกไฟไหม้แล้วองค์พระไม่ได้ไหม้ไฟตามไป อาจจะเป็นเพราะอภินิหารของพระพุทธคุณ ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะนำพระหรือเครื่องรางของขลังเข้าไปในสถานที่ไม่ควร และก็เคยพบหรือมีข่าวบ่อยๆ ว่า ห้อยพระราคาแพงๆ เข้าไปในสถานอาบ อบ นวด แล้วปรากฏว่าพระหายไปเพราะลืมบ้าง เพราะถูกขโมยบ้าง จึงเห็นได้ว่าพระซึ่งปัจจุบันเป็นของหายากควรทะนุถนอมไว้ ส่วนใหญ่เห็นห้อยพระราคาแพงมักจะห้อยเอาไว้อวดกันเสียเป็นส่วนมาก ใส่สร้อยทองคำเส้นโตๆ ตลับฝังเพชร แต่วันๆ จะสวดมนต์ไหว้พระก็ไม่มี หรือแม้จะสวมใส่ก็ไม่เคยอาราธนาเลย ยังงี้จะให้พระพุทธคุณคุ้มครองได้อย่างไร คนที่ไม่มีธรรมมะแล้วจะให้ธรรมะคุ้มครองได้หรือ?
การเพิ่มพระพุทธคุณทำ ได้หรือไม่? ไม่ยากเลยที่จะให้พระพุทธคุณคุ้มครองได้ตลอดไปโดยอยู่ที่ตัวของเราเอง ด้วยการปฏิบัติตนให้มีความจริงใจต่อพระพุทธคุณด้วยการประพฤติดีมีความศรัทธา ด้วยใจจริง หมั่นสวดมนต์ไหว้พระด้วยความตั้งใจมีสมาธิ การตั้งใจสวดมนต์ด้วยการมีสมาธิจะทำให้บังเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด การสวดมนต์เพียงวันละ 2-3 นาที ด้วยการมีสมาธินั้นคือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ และสิ่งนี้เมื่อฝึกปฏิบัตินานๆ เข้า ผู้นั้นจะควบคุมจิตของตนเองได้ เมื่อควบคุมได้ก็จะทำให้เกิดปัญญาและเกิดความตั้งใจในการทำงาน เมื่อถอดพระออกจากคอควรวางไว้ในที่สูงหรือบนหิ้งพระและเจ้าของควรไหว้พระและ สวดมนต์ด้วยสมาธิทุกวันจะทำให้พระและเครื่องรางของขลังนั้นมีพระพุทธคุณยอด เยี่ยมจริงๆ บางท่านยังใช้ดอกไม้หอมบูชาทุกวันด้วยซ้ำไป
เมื่อปี ๒๔๘๓ กลิ่นอายสงครามได้กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคอินโดจีน หลายประเทศตกอยู่ในภาวะสงคราม ประเทศไทยก็คือหนึ่งในนั้น ทั้งๆ ที่พยายามหลีกเลี่ยงทุกวิถีทาง เพราะรัฐบาลและคนไทยต่างก็รู้ดีว่า ผลพวงจากสงครามท้ายที่สุดแล้วก็จะเหลือแค่เพียง "ความสูญเสีย"
ในภาวะสงครามสิ่งที่เป็นเสมือนเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยก็คือ "สิ่งศักดิ์สิทธิ์-พระคู่บ้านคู่เมือง" แต่สำหรับทหารที่ต้องอยู่แนวหน้า "พระเครื่อง" ถือเป็นมงคลวัตถุคู่กายที่หลายคนต้องพกพาหาติดตัวไป
ด้วยเหตุนี้เอง ชาวไทยในแนวหลัง นำโดย "พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย" จึงตัดสินใจดำเนินงานสร้าง "พระพุทธชินราช" จำลองขนาดบูชาขึ้นมา พร้อมทั้ง พระพุทธชินราชขนาดเล็กแบบหล่อที่สามารถคล้องคอได้ ซึ่งแต่เดิมเป็นความตั้งใจของ ๒ สมาคมพุทธฯ คือ "พุทธธรรมสมาคม" และ "ยุวพุทธศาสนิกธรรม" แต่ต้องระงับเรื่องค้างไว้ตั้งแต่ปี ๒๔๘๓ เพราะเกิดสงครามอย่างหนัก และเมื่อสงครามอินโดจีนสงบลง ในปี ๒๔๘๕ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย จึงเดินหน้าสานงานสร้าง "พระพุทธชินราช" อย่างจริงจัง
พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ ได้ประกอบพิธี เททองหล่อ ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก ในวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ ตรงกับวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๕ ก่อนที่คณะกรรมการ พุทธสมาคมจะมากราบทูล ขอพระเมตตา ท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวราราม ในเรื่องการประกอบพิธีพุทธาภิเษก
ทั้งนี้พระองค์ทรงพระเมตตาให้คณะกรรมการพุทธสมาคมนำพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทวมหาเถร) เป็นองค์ประธาน และท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี (สนธิ์) เป็นแม่งานผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งได้ ทำพิธี เททองหล่อพระตามตำรับตำราการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของวัดสุทัศน์อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์
พิธีพุทธาภิเษกที่จัดขึ้นในเวลานั้นถือว่ายิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ จนเป็นที่กล่าวขวัญมาถึงทุกวันนี้ เพราะพระคณาจารย์ ทั่วประเทศแ ละพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นได้มอบแผ่นพระยันต์ พร้อมทั้งเดินทางมาร่วม เมตตาอธิษฐานจิต กันอย่างมากมาย
การสร้างพระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี ๒๔๘๕ พล.ร.ต.หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกพุทธสมาคมและคณะกรรมการ กำหนดไว้ให้สร้างเพียงแค่ ๒ แบบ คือ พระบูชา และ พระเครื่อง โดยได้กรมศิลปากรเข้ามาช่วยดูแลการหล่อและออกแบบพิมพ์พระ
พระบูชา ที่จัดสร้างในคราวนี้ได้จำลองแบบจากองค์พระพุทธชินราช วัดใหญ่ เมืองพิษณุโลก โดยใช้กรรมวิธีการหล่อเป็นพระขัดเงา จากหลักฐานบันทึก การสร้าง ได้ระบุไว้ว่า
"พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในครั้งนี้มีขนาดหน้าตักค่อนข้างใหญ่ ก่อนจะส่งไป ให้ทุกจังหวัด ทั่วเมืองไทยไว้สักการบูชา และถ้าประชาชนคนไหน ปรารถนา อยากได้ พระบูชาไว้เป็น ส่วนตัว ต้องแจ้งความจำนงเป็น ลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้ง ส่งเงินค่าจัดสร้างองค์ละ ๑๕๐ บาท ไปให้คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อให้ช่างจัดสร้าง ตามจำนวนที่แจ้งความจำนงไว้เท่านั้น"
ในส่วนของ พระเครื่อง คณะผู้ดำเนินงานได้ใช้กรรมวิธี ๒ แบบ คือ "หล่อ" และ "ปั้น" พระหล่อ จัดสร้างประมาณ ๙๐,๐๐๐ องค์ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยมีทองเหลือง เป็นหลัก แต่สุดท้าย คัดเหลือ สภาพสมบูรณ์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ซึ่งให้ความหมายเท่ากับพระธรรมขันธ์
เสน่ห์ของพระเครื่องพระพุทธชินราชแบบหล่อจะอยู่ที่ผิวพระและโค้ดใต้ ฐาน จะตอกเป็นรูปตรา "ธรรมจักร" และ "อกเลา" ซึ่งอกเลานี้ได้คัดลอกแบบ มาจากรูปอกเลาที่ติดอยู่หน้าบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก
พระพุทธชินราชแบบหล่อนี้ในตอนแรกได้หล่อ "อกเลานูน" ติดไว้บริเวณใต้ฐานพระ แต่ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นก้นเรียบ แล้วใช้วิธีตอกโค้ดแทนจนครบ ๘๔,๐๐๐ องค์ ดังนั้นพระในส่วนที่เหลือจึงไม่ได้ตอกโค้ด
ในส่วนของราคาทางพุทธสมาคม นำออกให้เช่า บูชาองค์ละ ๑ บาท ถ้าองค์ไหนที่สภาพ สวยสมบูรณ์ราคาจะอยู่ที่ ๑.๕๐ บาท
สำหรับพระพุทธชินราชแบบปั๊มได้ทำเป็นเหรียญลักษณะคล้ายใบเสมา ด้านหน้าเป็น รูปพระพุทธชินราชมีซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลัง เป็นรูปอกเลา สร้างเป็น เนื้อทองแดงรมดำ จำนวน ๓,๐๐๐ เหรียญ ราคาค่าบูชาเหรียญละ ๕๐ สตางค์ สำหรับเหรียญรุ่นนี้ อนาคตจะกลายเป็นหนึ่งในสุดยอดเหรียญยอดนิยม ของวงการ
ราคาพระพุทธชินราชเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ปี ๒๕๐๐ ที่วัดยังมีให้เช่าอยู่บางพิมพ์ในราคา ๑๐ บาท ปี ๒๕๑๐ ราคาที่วัดเพิ่มเป็น ๒๐-๒๕ บาท และคาดว่าน่าจะจำหน่ายหมดในปี ๒๕๒๐ ในราคา ๑๐๐ บาท
จากนั้นในปี ๒๕๓๐ องค์ที่ไม่มีโค้ดราคาเพิ่มเป็นหลักพันต้นๆ ส่วนองค์ที่มีโค้ดราคา อยู่ในหลักพันปลายๆ ถึงหลักหมื่นต้นๆ
ส่วนราคา ณ ปัจจุบันอยู่ที่หลักหมื่นกลางๆ บางองค์และบางพิมพ์ก็มีกา รเช่าซื้อกันในราคาหลักแสน
เหตุผลที่ทำให้ราคา มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ พิธีกรรมการปลุกเสก ซึ่งได้ใช้พระคณาจารย์ร่วมสมัย ที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ), หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว, หลวงพ่ออี๋ วัดสัต***บ, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร, หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว, หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู, หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ, หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้, หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก, หลวงพ่อนาค วัดระฆัง เป็นต้น
อีกเหตุผลหนึ่งคือ ความเชื่อทางพุทธคุณ เพราะ จุดประสงค์และ เจตนาการสร้าง พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ของพุทธสมาคม นี้เพียงเพื่อต้องการให้ทหารและประชาชน ได้มีพระเครื่องไว้บูชาติดตัวในยามเกิดสงครามอินโดจีน แต่ปรากฏว่าหลังจาก สงครามอินโดจีนสงบลง ยังได้เกิดสงครามเกาหลีและสงครามเวียดนาม ทหารและประชาชน ที่ได้บูชาพระพุทธชินราช อินโดจีน ติดกายประสบพบ กับเหตุการณ์รอดชีวิตอย่างน่าอัศจรรย์ใจ หลายต่อหลายคน ซึ่งทุกคนต่างรับรู้ได้ถึงพระพุทธานุภาพและพระพุทธคุณ ของพระพุทธชินราช อินโดจีน กันเป็นอย่างดี จนมีเรื่องเล่าขานกันมากมาย
พระพุทธชินราช พระพุทธรูปที่หลายคนเชื่อว่า...เพียงแค่หลับตานึกถึงภาพองค์ท่าน ตั้งอธิษฐานจิตชีวิตก็จะพบแต่ความสุขและแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้ง ปวง
นอกจากนี้แล้วจำนวนพระที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง มีการประมาณการ ว่าพระที่สร้าง ๘๔,๐๐๐ องค์ น่าจะหลงเหลืออยู่จริงประมาณ ๕๐% ด้วยเหตุผลที่ว่า หาย ชำรุด ขณะเดียวกันผู้ที่เดินทางไปต่างประเทศ มักมอบพระพุทธชินราชไว้ให้ญาติ หรือเพื่อนสนิท ไว้เป็นที่ระลึก
จากความนิยมดังกล่าวนี้เอง ทำให้เกิดมีการปลอมแปลงขึ้น การปลอมแปลงนี้น่า จะเกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว หรือประมาณปี ๒๕๑๘ เพราะ พระเริ่มหายาก และมีราคาสูงขึ้น พระปลอมบางองค์ผ่านการใช้งานมานานเนื้อจัดจ้านมาก แต่มีข้อสังเกตที่ว่าพิมพ์ไม่ได้ โค้ดไม่ถูก รวมทั้งมีขนาดเล็กกว่าของแท้
อย่างไรก็ตาม มีการ ประมาณการว่าในตลาดพระเครื่องกรุงเทพฯ น่าจะมีพระปลอม เร่ขายประมาณ ๕๐% ส่วนตลาดต่างจังหวัดนั้นน่าจะสูงถึง ๙๐% ที่สำคัญคือ ฝีมือการปลอมทำได้ใกล้เคียงกับของแท้มาก บางองค์พระแท้แต่โค้ดปลอม ในขณะที่ส่วน ให้ปลอมทั้งพระปลอมทั้งโค้ด ด้วยเหตุนี้จึงอยากเตือนผู้เช่าพระพุทธชินราชว่า ไม่แน่จริงอย่าตัดสินใจซื้อตามลำพัง ถามเซียนที่ไว้ใจได้เป็นดีที่สุด หรือขอหลักประกันจากคนขายว่า หากเป็นพระไม่แท้ต้องรับคืนเงินให้ด้วย
ประกอบพิธีในช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา จัดสร้างโดยพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย พิธีปลุกเสกของพระรุ่นนี้จัดว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นเลยก็ว่า ได้
พระชุดนี้ ทางวัดได้ทำการ แจกแก่ทหารหาญของไทย นำไปร่วมสมรภูมิการรบ ประสบการณ์คงกระพันชาตรีสุดยอด จนทหารไทย ได้รับสมญาว่า "ทหารผี" เพราะถูกยิงด้วยลูกปืนจนหงายท้องแล้วก็ยังลุกขึ้นมาจับปืนสู้ใหม่ได้อีก |
|