ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : รูปหล่อ อาจารย์นำ วัดดอนศาลา แท้ไหมครับ



(D)


นะวะตอกโค๊ต...เรียกไม่ถูกครับ...รู้แต่ว่าน่าจะเป็นของอ.นำ รบกวนทุกท่านด้วยครับ ออกปีใหน

โดยคุณ sawang (596)  [จ. 02 ส.ค. 2553 - 07:29 น.]



โดยคุณ sawang (596)  [จ. 02 ส.ค. 2553 - 07:31 น.] #1244783 (1/3)


(D)

โดยคุณ phaisan (3.8K)  [จ. 02 ส.ค. 2553 - 16:15 น.] #1245197 (2/3)
พระพุทธดอนศาลาปาละ รุ่นแรก เนื้อนวะโลหะ หลังตราสัญลักษณ์ "ภปร" อ.ศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง ปี 2530
***พระพุทธดอนศาลาปาละรุ่นแรก เนื้อนวะโลหะ หลังตราสัญลักษณ์ "ภปร" รูปแบบสมัยลพบุรีพิมพ์สวยมาก พิธีใหญ่ อ.กาชาติ อ.ศรีเงิน ท่านขุนพันธ และเกจิสายเขาอ้อร่วมเสก สร้างโดยจิตกุศลของพระองค์เจ้าภานุพันธ์ ยุคล หรือเสด็จฯ องค์ชายใหญ่ โดยต้องการบรูณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดดอนศาลาในปี ๒๕๒๙- ๒๕๓๐ ขณะนั้นสภาพทรุดโทรม โดยท่านได้นำมวลสาระสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ มาสร้างเป็นพระรุ่นนี้ออกมา
***ขอเอ่ยถึง ศิลปะปาละ – เสนะ (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-18) ในสมัยนี้ราชวงศ์ปาละมีอำนาจมาก ในแถบเบงกอล และแคว้นพิหารของอินเดียในยุคนี้เป็นช่วงเวลาที่มหายานเจริญมาก จึงนิยมสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปัญญาปารมิตา และนางตารา งานชิ้นเยี่ยมของปาละ ได้แก่ รูปสำริด Sanchi torso ซึ่งเป็นรูปพระโพธิสัตว์สะพายหัวมฤคพาดบนพระอุระเบื้องซ้าย พระโพธิสัตว์องค์นี้เข้าใจกันว่าเป็นพระอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ ยืนอยู่ในท่าตริภังค์อย่างอ่อนช้อย งานประติมากรรมสมัยนี้นิยมใช้หินชนวนสีดำ มีการสร้างสถูปเจดีย์จำลองด้วยศิลา เช่น ที่พุทธคยา ศิลปะปาละได้แพร่อิทธิพลไปทางเหนือสู่เนปาล ธิเบต จีน เอเซียกลาง พุกาม ศรีวิชัย ทวาราวดี ขอม และชวา
***พุทธลักษณ์ “ด้านหน้าเป็นพุทธศิลป์ปาละ ด้านหลังได้ขอพระบรมราชนุญาตนำพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ไว้ด้านหลัง ขนาดเ สูง 3.5 ซม * กว้าง 1.8 ซม โดยประมาณ มีโค๊ตปั้มที่ใต้ฐานองค์พระฯ
***พุทธภิเษกที่วัดดอนศาลา โดยครูบาอาจารย์สายเขาอ้อ ร่วมพิธีอย่างหนาแน่น โดยมีพระครูกาชาดและพระอาจารย์ศรีเงิน เป็นแม่งานฝ่ายสงฆ์ ส่วนฆราวาส มีเสด็จฯ องค์ชายใหญ่ เป็นแม่งานฝ่ายฆราวาส
***สรุป***
แม้จะเป็นวัตถุมงคลที่มีอายุการสร้างไม่มาก แต่ถือเป็นวัตถุมงคลดีนอก ดีใน คือดีนอก หมายถึงเชิงศิลป์จัดเป็นเชิงศิลป์ชั้นสูง ส่วนดีใน
๑. พระอวโลกิเตศวร โพธิสัตว์ เป็นที่ทราบกันดีว่าท่านยังคอยช่วยเหลือพวกเราอยู่ในคราวมีทุกข์โศก
๒.รวมทั้ง สัญลักษณ์ปรมาภิไธยย่อ ภปร เป็นมิ่งขวัญเพื่อเป็นอนุสติในเรื่องการครองตัวโดยธรรม
๓. ได้รับการพุทธภิเษกโดยสำนักที่เชื่อว่า เป็นตักศิลาเรื่องพุทธกฤติยคม เบอร์ ๑ เมืองไทย
***ขอบพระคุณข้อมูลอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต

โดยคุณ sawang (596)  [จ. 02 ส.ค. 2553 - 17:52 น.] #1245363 (3/3)


(D)
ขอบคุณท่านphaisanมากครับ....ข้อมูลสุดยอด....

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1