(N)
ท่านเจ้าคุณอนุสรณ์ธรรมศาสน์ ซึ่งชาวบ้านเรียกท่านว่า
หลวงพ่อฉุย เป็นเจ้าอาวาส นามเดิมว่า ฉุย ได้เปลี่ยนในภายหลังเป็น ประสิทธิ์
เกิดเมื่อ พศ 2441 เมื่อท่านมีอายุได้ 17 ปีได้บวชเป็นสามเณรที่วัดไทร
และท่านได้อยู่ในสมณเพศถ้าจะนับทั้งเณ์ด้วยก็รวมเป็น 48 พรรษาแล้ว
ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อพัฒน์ วัดใหม่ หลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส ซึ่งนับว่า
เป็นพระอาจารย์ชั้นยอดในภาคใต้ทั้งสององค์
พระอนุสรณ์ธรรมศาสน์ (หลวงพ่อฉุย) กำเนิดเกิดเมื่อ วัดพฤหัสสบดี ขึ้น
10ค่ำ เดือน6 ปีกุน ตรงกับ วันที่ 4 พฤษาคม พ.ศ 2442 ณ อำเภอ
บางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี
เปนบุตรคนที่ 3 ของนายล้ำ นางเป้า วัชราภรณ์ ซึ่งมีพี่น้อง ร่วมบิดา มารดา
รวม 4 คน พี่น้องทั้ง 3 คนได้ถึงเเก่กรรมเสียแล้ว คงเหลือเเต่ท่านเจ้าคุณ
เพียงองค์เดียวเมื่อมีอายุ 3 ขวบ บิดามานดาได้ย้ายครอบครัวจากธนบุรี ลง
มาตั้งภูมิลำเนา ณ ตลาดบ้านดอน สุราษฎร์ธานี โดยบิดาดำเนิดอาชีพค้าขาย
ในปี พ.ศ 2446 ปิดได้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด้จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น นานอากรผูกภาษี ณ ตำบล
เกาะสมุย จึงจำเป็นต้องติดตามบิดาไปอยู่เกาะสมุย ด้วย
เนื่องจากความผันผวนทางการค้า บิดามารดาต้องกลับมาหากินที่บ้านดอน
อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้วัยเรียนหนังสือฝึกหัดการเขียนการอ่านอยู่กลับบ้านบ้าง
เรียนเองบ้าง ส่วนใหญ่การศึกษาขระนั้นฝึกนักเรียนในภาคปฎิบัติ เกี่ยวกับ
การคำนวณ โดยช่วยงานบิดาคิดบัญชี ช่วยนับเงิน จึงเรียนตัวเลขตั้งเเต่อายุ
น้อย
ครั้งบิดาถึงเเก่กรรม อายุได้ 12 ขวบ ก็เข้าฝากตัวเปนศิษย์วัดไทร โดย
ท่านอาจารย์แดง สีลวณฺโณ เจ้าอาวาส (หลวงพ่อแดง ท่านเป็น พระอาจารย์ของหลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์ ) เป็นผู้อุปการะ และได้เริ่มเรียน ทั้งภาษ
ไทย และภาษาขอม หรือจะเรียกว่า เรียนหนังสือจากตำราพุทธศาสนา การ
เรียนในสมัยนั้นใช้เรียกจากหนังสือใบลาน ซึ่งจารลงในใบล้าน เป็นตัวอักษร
ขอม เรียกยากมาก แต่ก็ปรากฎว่า ท่านเจ้าคุณได้เรียนแตกฉาน สามารถ
เขียนอ่านทั้งไทยทั้งอักษรของได้เคร่องเเคล่วกรณีที่ต้องเรียนหนังสือขอม ที่
จารึกลงในใบลาน ซึ่งเป็นกัณฑ์เทศน์นั้นเนื่องจากยังไม่มีใครคิดแปลหนังสือ
เทศน์ให้เป็นภาษาไทยอย่างสมัยนี้ แต่ผลที่ได้รับจากการเรียนหนังสือของทำ
ให้เกิดประโยชน์ในความรู้ทางพุทธรรมเป็นอันมากมีศรัทธาปสาทะในพระ
บวรพระพุทธศาสนามาแต่เยาว์วัย
จึงได้สละเพศฆราวาส ออกบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุ 17 ปี เมื่อ พ.ศ
2458 ด้วยการสนับสนุนของท่านอาจารย์แดง โดย มีพระครูวิฑูรธรรม
ศาสน์(หลวงพ่อกล่อม) วัดโพธิ์ (วัดโพธาวาส) เป็นพระอุปัชาณาย์ การ
บรรพชา ได้กระทำ ณ วัดโพธิ์ แต่ได้เจริญศีลภาวนา ณ วัดไทร เมื่อท่านยัง
เป็นสามเณรอยู่ วัดไทรคงมีสภาพเป็นป่าดงพงไพร ย้อนหลังไปเมื่อ 60 ปี
ก่อนโน้น ดังได้กล่าวแล้ว ได้เริ่มศึกษาพระธรรมวินัย ภาระหน้าที่ ในการปฎิ
บัติท่าน อาจารย์แดง วัดไทร ( ท่านอาจารย์แดง เป็นพระอาจารย์ของ หลวงพ่อเพชร วัดวชิรประดิษฐ์ ยอดเกจิสุราษฎร์ อีกท่าน )
จวบจนลุปี 2461 ก็ครบอายุอุปสมบท จึงได้บรรพชาจากสามเณรเป็นพระ
ภิกษุ ท่ามกลางคณะสงฆ์ ณ พัทธสีมา วัดกลางเก่า โดนมีท่านพระครูวิฑูร
ธรรมศาสน์ (หลวงพ่อกล่อม) เป็นพระอุปัชาณาย์ ท่านอาจารย์มหายุติ ธม
มฺวิริโย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระเถระเป็นพระอนุศาสนาจารย์ เมื่อ
วันที่ 18 พฤษภาคม 2461
เมื่อเป็นพระภิกษุโดยสมบูรณ์แล้ว ก็ได้รับภาระแบ่งเบาหน้าที่ในกิจการพระ
ศาสนาจากเจ้าอาวาสมากขึ้น มีความขยันหมั่นเพียนในการบำเพ็ญประโยชน์
ให้แก่วัดไทร โดยสมควรเเก่สมณภาวะ แต่ถึงกระนั้นก็ดี การปฎิบัติรับใช้
ท่านอาจารย์แดงก็มิได้ลดน้อยถอยลง เมื่อเป็นสามเณรเคยปฎิบัติเช่นไร ก็ปฎิ
บัติเช่นนั้นอย่าเสมอต้นเสมอปลาย โดยอาศัยเหตุเเห่งความตั้งในหลักของ
ความกตัยญูกตเวทิคุณ การศึกษาเล่าเรียนทางพระธรรมวินัยก็มิได้หยุดยั่ง
เมื่อปี พ.ศ 2465 ท่านเจ้าคุณมีพรรรษาได้เพียง4 พรรษาเท่านั้นก็ต้อง
รับตำแหน่งเจ้าอาวาส สืบต่อจากท่านอาจารย์แดง ซึ่งถึงแก่มรณภาพ เมื่ออายุ
ยังน้อย และพรรษายังน้อยด้วยแต่ก็มิได้ไหวหวั่น มีความมุ่งมั่นขยังหมั่นเพียร
มีความมุ่งหมั่นเพียร
ในสมัยนั้นโรงเรียนพระปริยัติธรรมยังไม่มีในจังหวัดสุราษฎร์ธานีต้องต้อง
ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนกระทั้งได้เปิดการสอบธรรมสนามหลวงขึ้นใน
สุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ 2471 ท่านก็เข้าสมัครสอบ และสอบได้
นักธรรมชั้นตรีในปีนั้น
รุ่งขึ้นปี พ. 2472 ก็สมัครสอบนักธรรมชั้นโท ปรากฎว่าสอบได้อีกแต่
เป็นที่น่าเสียดาย ที่การเรียนนักธรรมจำเป็นต้องหยุดชยังไม่ได้เข้าสอบ
นักธรรมชั้นเอก เพราะมีภารกิจ และความรับผิดชอบใน มีความสรัทธาที่จะ
สถาปนาวัดไทรให้เป็นพระอารามที่รุ่งเรืองถาวรให้จงได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงไม่มี
เวลาที่จะศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป แต่ก็พยายามศึกษาหลักพระพุทธธรรม
ด้วยตนเองอย่างแตกฉานเพื่อให้สมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส และมุ่งหมายที่จะ
พัฒนาวัดไทร ในทางก่อสร้าง ถาวรวัตถุ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องสร้างให้
วัดไทรเจริญรุ่งโรจน์
สมณศักดิ์
พ.ศ 2471 พระใบฎีกา(ฐานาของพระครูวิฑูรธรรมศาสน์ -หลวงพ่อ
กล่อม วัดโพธาวาส)
พ.ศ 2473 พระปลัด (ฐานาของพระครูโยคาฯ -ทอง วัดธรรมบูชา)
พ.ศ 2482 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8)ทรง
กรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ เป็น พระครูประกาสิต
ธรรมคุณ
พ.ศ 2500 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ พระบาทสมเด็จพระเจ้า
อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ เลื่อน
สมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นเอกในนามเดิม พระครูประกาสิตธรรมคุณ
พ.ศ 2502 เนื่องในวันเฉลิมพระชนพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ เลื่อน สมณศักดิ์
จากพระครูชั้นเอก เป็นพระราชคณะ พระราชนามว่า "พระอนุสรณ์ธรรม
ศาสน์"
ตำแหน่งหน้าที่
พ.ศ 2465 เจ้าอาวาสวัดไทร
พ.ศ 2473 เจ้าคณะหมวด
พ.ศ 2473 กรรมการสอบธรรมสนามหลวง
พ.ศ 2500 พระอุปัชณาย์ |