ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : -*-...ผมมั่วเองแหละคับพี่ naiae แวะอ่านหน่อยค้าบพี่



(D)


พอปิดประมูลปุ้บพี่ naiae ก็โทรมาถามปั๊บว่าเหรียญนี้ในภาพเป็น 3k ของวัดพระธาตุมั้ย ผมก็ตอบหน้าตาเช้ยว่าไม่มีสร้าง พอเข้ามาดูภาพในกระทู้ที่ลงขายไว้ ง่า -- --" ผมเข้าใจผิด มั่วเองคับพี่ ลงขายมากเกินเลยจำกระทู้จำรุ่นผิดๆถูกๆจำไม่ค่อยได้ต้องเห็นภาพถึงจะบอกได้ พอเห็นภาพเลยถึงบางอ้อคับ - -" ในภาพเป็น 3k ของ รุ่นมหามงคลพระทันตธาตุ 84000 ปี 2547 ของวัดพระมหาธาตุ รุ่นแรกของสายปริยัติธรรมคับ พระสายเจตนา วัดทำเอง ชาวบ้านร่วมบุญ เพื่อหาทุนสร้างอาคารเรียนให้พระเณร มหากาพย์แห่งความศรัทะที่ต้องสร้างพระ หลายรุ่น เพื่อสมทบทุน และรุ่นล่าสุดที่ออกมาให้เห็นก็คือเงินไหลมาคับ จึงยืนยันให้อีกครั้งคับว่า มีสร้างคับ เป้นความเข้าใจผิดคับ ขออภัยอีกครั้งคับพี่ที่บอกไม่มีสร้างเพราะ มั่ว มึน และเมาตอนเที่ยงๆเลยเบรอๆหลงๆลืมๆจำผิดจำถูกค้าบ ขอบพระคุณค้าบ

โดยคุณ (ZEN) (3K)  [อ. 07 ส.ค. 2550 - 00:10 น.]



โดยคุณ (ZEN) (3K)  [อ. 07 ส.ค. 2550 - 00:14 น.] #131996 (1/3)


(D)
แถมคับ ประวัติ
ปฐมกษัตริย์..ผู้ให้กำเนิดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช มหามงคลวัตถุแห่งศรัทธาที่น่าเก็บคับพี่ .พระทันตธาตุ 84000 ปี47
****รูปแบบด้านหน้า****
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร ผู้อัญเชิญพระทันตธาตุพระพุทธเจ้ามาไว้ ณ หาดทรายแก้ว (หาดทรายแก้วคือบริเวณวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน)จึงได้ อัญเชิญ พระรูปบูรพกษัตริย์ทั้งสองพระองค์มา จัดสร้างวัตถุมงคลไว้ด้านหน้า และล้อมรอบด้วย จตุรทิศผู้พิทักษ์ รักษาพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 4 ทิศ (อันได้แก่ ท้าวจตุคาม ท้าวรามเทพ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรุฬปัก ท้าวอนันตนาคราช )

**รูปแบบด้านหลัง**
ได้นำรูปแบบของพุ่มข้าวบิณฑ์อันเป็นส่วนที่เป็นสิ่งของเงินทอง รูปพรรณของมีค่านานาชนิด ผูกร้อยด้วยลวดทองคำ ตรึงติดอยู่รอบยอดส่วนบนสุดของพระมหาธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ไว้ด้านหลังองค์พระอีกทั้งเพื่อความเป็นศิริมงคลสูงสุด ได้อัญเชิญ**ปฐวีธาตุศักดิ์สิทธิ์ ** ณ ฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นพันปี มากดฝังไว้ด้านหลังองค์พระด้วย

**รุ่นนี้**
ทางวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมจัดสร้างวัตถุมงคล โดยรวบรวมมวลสารต่างๆจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ผงมหาว่านพุทธคุณต่างๆ **และที่ทรงคุณค่าคือได้นำเอาช่อฟ้าไม้ตะเคียนพระวิหารหลวง สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้นำลงมาในการบูรณะ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกช่อฟ้าพระวิหารหลวงใหม่ ในวันที่15 สิงหาคม พ.ศ. 2517 มาเป็นมวลสารหลักในการจัดสร้างวัตถุมงคลดังกล่าว ได้นำมวลสารมาผสมตำรวมเข้าด้วยกัน ทำการกดพิมพ์พระภายในบริเวณพระวิหารเดิม และจัดสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงการเสียสละของผู้บริหาร และนักเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดพระมหาธาตุ ด้วยความหวังจากผู้มีจิตศรัทธาที่จะบริจาคทรัพย์เพื่อนำไปสร้างอาคารเรียนให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งท่านเจ้าคุณพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีเมตตาตั้งชื่อวัตถุมงคลรุ่นนี้ว่า “รุ่นมหามงคลพระทันตธาตุ 84000”
วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
1. เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณของพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร ผู้อัญเชิญพระสารีริกธาตุบรรจุที่พระบรมธาตุเจดีย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เพื่อนำรายได้จัดสร้างอาคารเรียน โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

กำหนดการพิธี
1. พิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ณ วิหารโพธิ์พระเดิม วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราชในวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2547
2. พิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ณ กลางทะเลอ่าวปากพนัง อ.ปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม 2547
3. พิธีพุทธาภิเศกวัตถุมงคล ณ พระวิหารทับเกษตรใต้ฐานองค์พระบรมธาตุ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในวันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2547

**ประวัติ**
หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้มีการแก่งแย่ง เพื่อนำพระบรมสารีริกธาตุนำไปกราบไหว้สักการบูชา พระยามหากษัตริย์พราหมณ์ แห่งกรุงโกสินารา ได้ให้โทณพราหมณ์ เป็นผู้ดำเนินการแบ่งสันปันส่วนพระบรมสารีริกธาตุที่เป็นภินนธาตุ ตวงด้วยทะนานถวายแก่พวกมหากษัตริย์ใน ครั้งนั้น มีพระอรหันต์ นามว่า พระเขมะเถระผู้มีญาณสมาบัติ ได้เข้าไปอัญเชิญพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้วเบื้องขวา และพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้ายอย่างละ 1 องค์ ออกจาก จิตกาธาน เพื่อนำไปถวายพระเจ้าพรหมทัตกษัตริย์แคว้นกลิงคราษฏร์ เนื่องจากมิได้รับแจกจาก โทณพราหมณ์ และพระทันตธาตุได้ ประดิษฐาน เคลื่อนย้ายไปยังนครต่างๆ ครั้งหลังสุดได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองทันทบุรี อันมีพระเจ้าโคสีหราช ซึ่งมีพระนางมหาเทวี เป็นอัครมเหสี ทรงมีพระราชโอรส และพระราชธิดา คือ พระนางเหมชาลาและเจ้าชานทนทกุมาร
ในยุคเดียวกันนั้นประมาณ พ.ศ. 852 ยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่ง ชื่อขันธบุรี กษัตริย์ชื่อท้าวอังกุศราชได้รวบรวมกำลังยกทัพมาตีเมืองทันทบุรี เพื่อช่วงชิงพระทันตธาตุ พระเจ้าโคสีหราชทรงทราบดีว่าต้องการพระทันตธาตุไปทำลาย เพื่อตัดกำลังมิให้ศาสนาพุทธตั้งมั่นในลุ่มน้ำมหานที และได้เสียทีถูกข้าศึกฟัน พระศอ ขาดเหนือคอช้าง ฝ่ายพระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมาร ได้ปลอมพระองค์อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไว้ที่เกล้าเมาลีเสด็จหนีลงเรือมุ่งไปกรุงลังกา
ระหว่างเดินทางก็เกิดพายุจัดคลื่นใหญ่จนเรืออับปางลง พระนางเหมชาลาและเจ้าทนทกุมาร ก็พากันเดินดั่นดงไพรหลายเพลา จนมาถึงหาดทรายแก้วจึงได้พักอาศัยและอัญเชิญพระทันตธาตุจากเกล้าเมาลีลงประทับฝังไว้ที่หาดทรายแก้ว ทั้งสองพระองค์ทรงพบพระมหาเถรพรหมเทพ ผู้มีอภิญญาสมาบัติ แก่กล้าได้ทำนายว่า ต่อไปภายภาคหน้าจะมีพระยาองค์หนึ่งชื่อ **พระยาศรีธรรมาโศกราช **จะมาสร้างเมืองสร้างเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ หาดทรายแก้วแห่งนี้((หาดทรายแก้วคือบริเวณวัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน))
หลังจากนั้นพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารก็อัญเชิญ พระทันตธาตุขึ้นจากที่ฝังห่อใส่เกล้าเมาลีออกเดินทางโดยเรือสำเภาถึงกรุงลังกา ก็ขึ้นเฝ้ากษัตริย์กรุงลังกาถาวายพระทันตธาตุ และกราบทูลเรื่องราวแต่หนหลังให้ฟังตลอด พระเจ้ากรุงลังกาทรงดำริเห็นว่าหาดทรายแก้วเคยเป็นที่ฝัง พระทันตธาตุชั่วระยะเวลาหนึ่ง จึงได้คืนถวายพระทันตธาตุเบื้องซ้ายและพระบรมสารีริกธาตุที่หักย่อย 1 ทะนาน ให้พระนางเหมชาลา เจ้าชายทนทกุมาร อัญเชิญด้วยเรือสำเภาใหญ่จากลังกาสู่หาดทรายแก้วโดยมีมหาพราหมณ์อำมาตย์ 4 คน เป็นผู้ควบคุมดูแลช่วยเหลือระหว่างเดินทาง
เมื่อถึงหาดทรายแก้วมหาพราหมณ์ ทั้ง 4 ทำการก่อเจดีย์อัญเชิญพระทันตธาตุ และ พระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนาน บรรจุลงในผอบแก้ว ประดิษฐานในแม่ขันทองคำ แล้วนำไว้ภายในเจดีย์ ณ รอยเดิมที่เคยฝังพระทันตธาตุไว้ ทำพิธีไสยเวทย์ ผูกภาพยนตร์เป็นกา 4 ฝูง คือ กาสีขาว 1 ฝูง เรียกว่า กาแก้ว เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศตะวันออก กาสีเหลือง 1 ฝูง เรียกว่า การาม เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศใต้ กาสีแดง เรียกว่า กาชาด เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศตะวันตก และกาสีดำ เรียกว่า กาเดิม เฝ้ารักษาอยู่ทางทิศเหนือ ให้เฝ้า รักษาอยู่ไม่ให้เกิดอันตรายใดๆ ขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 854 ส่วนพระบรมสารีริกธาตุอีก ครึ่งทะนาน พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมาร ได้อัฐเชิญไปเมืองทันทบุรี ประทับอยู่ด้วยความสุขสบายตลอดพระชนม์ชีพ
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร จึงได้อัญเชิญ พระรูปมา จัดสร้างวัตถุมงคลไว้ด้านหน้า และนำรูปของพุ่มข้าวบิณฑ์อันเป็นส่วนที่เป็นสิ่งของเงินทอง รูปพรรณของมีค่านานาชนิด ผูกร้อยด้วยลวดทองคำ ตรึงติดอยู่รอบยอด ส่วนบนสุดของพระมหาธาตุเจดีย์ไว้ด้านหลังโดยได้นำเอาบริวารต่างๆซึ่งเฝ้ารักษาพระบรมบรมธาตุเจดีย์มาไว้ที่วัตถุมงคล เพื่อไห้เป็นสิริมงคล และปกป้องคุ้มครองผู้มีจิตศรัทธาสืบ

โดยคุณ nurseman (2.1K)  [อ. 07 ส.ค. 2550 - 05:15 น.] #132069 (2/3)

โดยคุณ ซาตาน (99)  [อ. 07 ส.ค. 2550 - 12:30 น.] #132196 (3/3)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1