ตอบให้แบบคร่าวๆนะครับ...(ข้อมูลด้านล่างนี้ผมได้มาจากอาจารย์หลายท่านที่ได้ให้ผมไว้เป็นวิทยาทาน เท็จจริงประการใดไม่ทราบ ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเสริมหรือแย้งได้นะครับ)
1. นอกจากบล็อคไข่ปลาเลือนและบล็อคเส้นด้าย(ตั้งชื่อในภายหลัง) แล้วยังมีบล็อคอื่นๆอีก คือ บล็อคไข่ปลาใหญ่ บล็อคแขนบ่วง บล็อคล่ำ บล็อกอกใหญ่ บล็อคต้อ บล็อคลึก บล็อคลึกซุ้มจุด และบล็อคแขนตรง เนื่องจากทางวัดมีการจัดสร้างกว่าแสนองค์จะจัดสร้างหรือใช้เพียงแค่สองบล็อคก็คงจะเสี่ยงไป ส่วนบล็อคหลังเต่า บล็อคหลังเต่าตื้น และบล็อคเศียรรูปไข่ที่เรียกกันนั้นมีที่มาไม่ค่อยชัดเจนนักบางท่านก็บอกว่าเป็นบล็อคที่จัดทำขึ้นพร้อมๆกับบล็อคอื่นๆ บางท่านก้อบอกว่าจัดทำเพิ่มหลังจากบล็อคอื่นๆ บางท่านก็บอกว่าจัดทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2519-2521 เรื่องนี้ต้องเรียนว่าไม่ชัดเจนนัก....ส่วนพิมพ์ไข่ปลาเลือนและพิมพ์เส้นด้ายถือเป็นพิมพ์นิยมเนื่องจากพิมพ์นี้มีความสวยงามอ่อนช้อยและจัดสร้างเป็นจำนวนมาก
2. ไม่ชัดเจนและยังสรุปกันไม่ได้จนทุกวันนี้
3. เรื่องนี้ต้องยอมรับครับว่าจริง...ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับกรรมการแต่ละชุด
4. เรื่องของตรายางผมได้รับทราบข้อมูลมาว่าทำการปั๊มก่อนเข้าพิธีเนื่องจากบางพิมพ์ที่เป็นพิมพ์หายากคือพิมพ์แช่นำมนต์ในพิธีก็ยังพบว่ามีการปั๊มตรายางมาก่อนหน้าแล้วและปัจจุบันพิมพ์นี้ยังคงเห็นตรายางเลือนๆอยู่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตรายางจะถูกปั๊มทุกองค์นะครับเนื่องจากในขณะนั้นตรายางที่จัดสร้างขึ้นมาไม่เพียงพอกับจำนวนพระที่จัดสร้างขึ้นที่คาดว่าจะสร้างเพียง 84,000 องค์ แต่พอถึงเวลาสร้างจริง ได้ถึง 130,000-135,000 องค์และไม่ได้มีการจัดสร้างตรายางวัดขึ้นมาเพิ่มอันเนื่องมาจากกำหนดวันที่กระชั้นชิดของพิธี ส่วนเรื่องสีที่ใช้ในการปั๊มมีเพียงสองสีเท่านั้นคือ สีแดงใช้ปั๊มพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และ สีน้ำเงินสำหรับปั๊มพิมพ์ประธาน ซึ่งทางวัดได้แบ่งออกเป็นสองชุด คือ สำหรับปั๊มพิมพ์ประธานและสำหรับปั้มพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต และในภายหลังตรายางที่ใช้ปั้มพิมพ์ประธานได้เกิดสึก จึงได้นำตรายางที่ใช้ในการปั้มพิมพ์รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์โต มาปั๊มพิมพ์ประธาน (ดังนั้นเราจะเห็นพิมพ์ประธานบางองค์ปั๊มตรายางสีแดงซึ่งเกิดจากการปั๊มผิดพบเห็นน้อยมาก) สีของตรายางที่พบเห็นในปัจจุบันจึงมีทั้งสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วงหรือน้ำเงินอมม่วง(หมึกสีน้ำเงินผสมกับสีแดง) น้ำเงินเข้มหรือนำเงินอมดำ(หมึกเข้มซึ่งเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งน้ำหมึกจะค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อพระเราจึงเห็นเป็นตะกอนสีดำ) สีเขียวหรือสีเงินอมเขียว(หมึกที่ไม่เข้มข้นหลักการเดียวกับหมึกเข้ม) และในภายหลังตรายางได้สึกทุกตัวจึงเลิกการปั๊มตรายางไปเนื่องจากไม่สวยงามและขาดความคมชัดของรอยเส้นเกรงว่าประชาชนจะไม่นิยม ซึ่งนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพระที่ไม่ได้ทำการปั๊มตรายางจะเป็นพระที่ไม่ได้เข้าพิธี
5. เรื่องของจำนวนกล่องก็เช่นกันครับเนื่องจากมีการจัดสร้างพระสมเด็จมากกว่าที่คาดไว้ กล่องที่ทางวัดได้จัดเตรียมไว้ (COSMO) ก็ไม่พอตามไปด้วย ซึ่งในพิธีปลุกเสก ปี 2515 จึงมีการแจกพระสมเด็จ 100 ปี ที่ไม่มีกล่องใส่มา และไม่มีตรายางปั๊มที่ด้านหลังปะปนเข้าเข้ามาด้วย ซึ่งในภายหลังก็ได้มีการสั่งกล่องจาก VISION เข้ามาเพิ่มแต่ก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนพระ ความศรัธทาและความต้องการของประชาชน
***ข้อมูลข้างต้นผมได้รับการถ่ายทอดและบอกต่อจากท่านอาจารย์หลายท่านข้อมูลที่ได้มาอาจมีการคลาดเคลื่อนบ้าง จริงเท็จประการใดก็มิอาจทราบซึ่งตัวผมเองก็เริ่มศึกษามาไม่กี่ปีมานี้ลองผิดลองถูกมาบ้าง แรกๆที่ได้มาก็แท้บ้างไม่แท้ก็เป็นเรื่องปกติที่ทุกท่านคงเข้าใจดีเนื่องจากศึกษาด้วยตัวเอง ผู้อ่านควรมีวิจารญาณ และข้อมูลข้างต้นนี้ผมให้เป็นวิทยาทานด้วยจิตสุจริตเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่นิยมและมีความศรัทธาในพระสมเด็จพระพุฒาจารย์เช่นกันกับข้าพเจ้าได้ศึกษาและเก็บเป็นความรู้ ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝง ข้อมูลถูกผิดประการใดรบกวนท่านอาจารย์ทุกท่านช่วยชี้แนะด้วย...ด้วยควาเคารพ |
|