(D)
**..ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหมพิมพ์ เนื้อชาร์ปรถไฟ...**
http://www.soonphra.com/board/index.php?s=c84b926a389274fab0dd3fa9df1e8227&showtopic=76822
**...ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหม เนื้อชาร์ปรถไฟ... **
.....................................................
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน..หลวงพ่อพรหมเนื้อช้าร์ปรถไฟ จัดสร้างโดย คุณ วินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ฝ่าย การช่างกล ( ตำแหน่งที่ดำรงท้ายสุดคือ พนักงานขับรถไฟ ) ได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ( ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ) ได้หารือร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหมในขณะนั้น ว่าทางพนักงานการรถไฟฯ.อยากจะสร้างพระที่เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับพนักงานการรถไฟฯไว้ติดตัวเพื่อบูชา และมอบให้ทางวัดเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั่วไปบ้าง ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีชาวบ้าน และบุคคลทั่วไปต่างก็สร้างพระมาถวายให้ ลพ.พรหม ทำการปลุกเสกให้ด้วยความเคารพในตัว ลพ.พรหม หลายคณะหลายบุคคล ซึ่งคุณวินัยฯ.ได้หารือกับเพื่อนพนักงาน และผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่า เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ ที่ทางการไม่ใช้แล้ว และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานอีกได้ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำหน่วยงานของ การรถไฟฯ เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว และเป็นวัสดุที่ บุคลภายนอกจะหารวบรวมให้เป็นจำนวนมากได้ยากมากเมื่อนำมาทำเป็นชิ้นงานออกมาแล้วจะยากแก่การปลอมแปลง จึงได้ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น
หลังจากที่ทางวัดได้มีการจัดสร้างพระชุดหลวงพ่อพรหมรุ่นเสาร์ 5 ปี พศ.2512 แล้ว ทางคุณวินัย อยู่เย็นและคณะ จึงได้มีการขออนุญาตจัดสร้างพระขึ้นดังต่อไปนี้.
1. สร้างรูปเหมือนหล่อโบราณโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ไม่ทราบชื่อผู้แกะแม่พิมพ์ ลักษณะไม่เหมือนรูปหล่อของหลวงพ่อในชุดใด เมื่อหล่อไปจะแก้ไขพิมพ์ไปทำให้บุคลที่ได้ครอบครองในภายหลังเกิดความสับสน ลักษณะเนื้อโลหะที่ใช้ ทราบจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการหล่อพระบอกว่ามีส่วนผสมของเนื้อเงิน ผสมกับ เนื้อชาร์ปรถไฟ จำนวนการสร้างประมาณ 100 องค์
หลังจากที่สร้างพระรูปเหมือนดังที่กล่าวในข้อ 1. แล้วพระที่ได้มีรูปแบบ ที่ไม่น่าพอใจจึงได้มีการขออนุญาต ทำพระขึ้นมาใหม่ดังนี้.
1.1 แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ ตอกโค๊ตใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 2512 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้าคือ ปี 2512 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร (พนักงานขับรถไฟ) ที่ลงพักค้างคืน ที่สถานีรถไฟช่องแค ซึ่งในอดีตสถานีรถไฟ ช่องแค เป็นศูนย์รวมของพนักงานการรถไฟฯ.อยู่หลายฝ่าย เช่นการเดินรถ, ช่างกล,ฟืน,หิน และเอกชนที่รับเหมาช่วงงานอีกมาก ( พระที่สร้างเน้นมอบฝ่ายช่างกล ) และได้มอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ให้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน เนื่องจากได้มอบเศษ เนื้อชาร์ปรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ปสร้าง.จำนวนพระ ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 497 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ คือ คุณ อัมพร ดวงทอง ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว )
***&#8230ลักษณะเนื้อพระ&#8230 ในพระชุดนี้เป็นพระที่เริ่มสร้างจากเศษเนื้อชาร์ป ที่ได้มาจากเศษชาร์ปที่เกิดจากการละลายเนื่องจากขาดการหล่อลื่น (รถพ่วงเพลาร้อน..) เนื้อชาร์ปจะละลายตกลงในอ่างน้ำมันของหม้อเพลาล้อรถไฟ เนื้อชาร์ปจะดำเป็นก้อน เนื่องจากมีน้ำมันเพลาจับเกาะอยู่ที่ผิวของชาร์ปที่ละลาย เมื่อหล่อพระออกมาแล้วผิวพระส่วนมากจะมีผิวสีออกดำเหมือนผิวตะกั่วเก่า ของปลอมจะทำได้ใกล้เคียงมาก โดยใช้ตะกั่วผสมชาร์ป แต่จะมีเนื้อชาร์ป ผสมเป็นส่วนน้อย เนื่องจากหายาก
โค๊ดที่ใช้ตอกใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์( เดิมผู้สร้างตั้งใจทำให้เป็นตัว พ ในดอกบัว ) พระอีกส่วนหนึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่เป็นจำนวนที่น้อยมากจะไม่ตอกโค๊ดที่ใต้ฐานแต่จะมีจาร ตัว มะ อะ อุ แทน และยังมีพระอีกประมาณ 10 องค์ที่ คุณ อัมพรฯ.ได้นำพระมาเจาะที่ใต้ฐานและนำเกศา,จีวร,ผงพุทธคุณ ของหลวงพ่อมาบรรจุไว้
1.2 พิมพ์หล่อโบราณแบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุ ปี พศ. 2513 สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์ ผู้ที่แกะแม่พิมพ์คือ คุณ ประสิทธิ์ ประภัทสร
1.3 พิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์
1.4 พิมพ์แบบแผ่นปั๊ม ( ถอดพิมพ์แผ่นปั๊ม ปี 2512 ลพ.พรหม ) สร้างจำนวน 12 องค์
***&#8230เนื้อพระในการสร้างครั้งต่อมาช่วงหลังจากที่ได้สร้างพระเนื้อชาร์ปครั้งแรกแล้ว จะเป็นเศษชาร์ปที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาชาร์ปให้เรียบ โรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ ทำให้เนื้อพระที่หล่อได้มีความสวยขึ้นกว่าเดิม สีพระจะมีหลายสีเช่นผิวขาวเหมือนผิวปรอทที่เกิดจากดีบุก, ผิวปรอทเหลือบทองเกิดจากขณะที่หลอมเนื้อชาร์ป แล้วไฟแรงเกินไปจะมีลักษณะเหมือนไฟไหม้สีผิว พระที่ได้จึงมีสีออกเหลือบทองเนื้อพระชนิดนี้ เมื่อถูกจับต้อง โดนเหงื่อจากการนำไปใช้บูชาจะมีสีเหมือนสนิมแดงบนผิว เกิดจากคราบสนิมของนิเกิล และแทรกอยู่ตามซอกองค์พระ&#8230.
&#8230..ผิวพระแบ่งออกได้เป็นสองแบบคือแบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆคล้ายฝอยขัดหม้อ และแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย ซึ่งผิวพระทั้งสองแบบนี้เกิดจากขั้นตอนในการหล่อพระ
หลังจากที่มีการสร้างพระชุดนี้ออกมาแล้วทางพนักงานการรถไฟและบุคคลทั่วไปมีความต้องการที่จะได้พระไว้บูชาเป็นจำนวนมากจึงมีการจัดหาวัสดุที่จะสร้างพระคือเศษช้าร์ปรถไฟมอบให้ทางคุณวินัยฯ.และคณะรวบรวมเพื่อขออนุญาตสร้างพระขึ้นอีก วัสดุที่ได้ มีที่มาดังนี้ จากพนักงานโรงงานรถไฟที่มักกะสัน จากพนักงานโรงงานที่อุตรดิตถ์ จากพนักงานรถพ่วงปากน้ำโพ จากพนักงานหน่วยซ่อมที่แม่น้ำ และหน่วยพนักงานซ่อมที่ช่องแคอีกด้วย ทางคุณวินัยและคณะจึงมีการสร้างพระขึ้นอีกครั้งการสร้างเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมา การสร้างไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน จะสร้างไปเรื่อยๆแล้วแต่วัสดุและเวลาจะอำนวย เพราะคณะผู้จัดสร้างล้วนแต่มีหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว สร้างจนถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2516 เศษเนื้อชาร์ปรถไฟหมด และประกอบกับแบบแม่พิมพ์เริ่มชำรุด จึงได้หยุดการสร้าง จำนวนพระที่สร้างได้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 10000 องค์ เศษ
2. พระชุดหลังที่กล่าวได้ว่าเป็นชุดที่ 2 ที่จัดสร้างตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมามีแบบพิมพ์ดังนี้
2.1 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่1 สร้างประมาณ 4000 องค์แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ แบบละประมาณ 2000 องค์
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็นตัวใหญ่
- แบบที่ 2 จะตอกโค๊ด ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็นตัวเล็ก พิมพ์นี้จุดมุงหมายสำหรับแจกพนักงานฝ่ายช่างกลโดยเฉพาะ
2.2 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่ 2 สร้างประมาณ 4000 องค์ แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ แบบละประมาณ 2000 องค์
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทยใหญ่
- แบบที่ 2 ตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทย เล็ก
แบบโค๊ดทั้ง 2 แบบ ตัวเลขไทยใหญ่ สำหรับแจกพนักงานตั้งแต่ระดับชั้น ตรี ขึ้นไป ส่วนตัวเลขไทยเล็ก สำหรับแจกพนักงานโดยทั่วไป
พระที่สร้างเมื่อถึงปี 2515 ได้มีการสร้างพระเพิ่มอีก 1 พิมพ์โดยใช้แบบแม่พิมพ์ดียวพิมพ์หูกางที่ตอกโค๊ดเลข ๕ ไทยด้านหลัง แต่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลมแทน และโค๊ดเลข ๑๕ นี้ยังได้ใช้ตอกลงในพิมพ์ก้นระฆังด้วย พิมพ์ก้นระฆังตอกเลข ๑๕ ในวงกลม สร้างประมาณ 500 องค์ พระที่ตอกโค๊ตเลข ๑๕ นี้ทางผู้สร้างเจตนามอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์)
ในปี 2515 นั้นทางคณะผู้สร้างเห็นว่าในปี 2516 จะเป็นปีที่จะมีการปลุกเสกพระในพีธีเสาร์ 5 จึงได้มีการสร้างพระสมเด็จหลังยันต์ 10 ขึ้น เมื่อสร้างพระไประยะหนึ่งแม่พิมพ์เกิดรอยแตกชำรุดขึ้นเรื่อยๆพระที่ได้โดยมากจะเป็นพิมพ์ปล๊อกแตกพระที่สมบูรณ์จริงๆ มีน้อย พระสมเด็จมีจำนวนการสร้างประมาณ 1000 องค์โค๊ดที่ใช้ตอกเพื่อมิให้สับสนกับพิมพ์อื่นจึงใช็โค๊ดเลข ๑๕ อยู่ในวงกลมตอก บริเวณใหล่ขวาขององค์พระ( แม่พิมพ์แกะต่างหากไม่เหมือนของวัด )
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นพระที่สร้างจะทำการสร้างไปเรื่อยๆเมื่อคุณ วินัย ฯ ทำขบวนมาลงพักค้างคืนที่สถานีรถไฟช่องแค ก็จะนำพระที่หล่อเสร็จมามอบให้หลวงพ่ออธิฐานจิต หลวงพ่อจะอธิฐานจิตให้ตลอดคืนตอนเช้าเมื่อจะทำขบวนรถไฟกลับ จึงจะมารับพระคืนและก็ได้นำมาแจกต่อๆกันไป ดังนั้นพระชุดนี้บุคคลภายนอกจึงไม่ค่อยทราบประวัติ หรืออีกนัยหนี่งที่ทำเช่นนี้ก็เป็นเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับทางคณะกรรมการวัด พระที่สร้างเมื่อสร้างมาจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนปี 2516 จึงหยุดสร้าง และมีพระที่เหลืออยู่กับคุณวินัยที่ยังไม่ได้แจกให้กับเพื่อนพนักงาน จำนวนมากพอสมควร คุณวินัยฯ.ได้นำมาเข้าพิธี ปลุกเสกครั้งสุดท้าย.เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 โดยคุณวินัย ฯ.ได้นำพระจำนวนดังกล่าวมาเข้าร่วมในพิธีโดยการใส่มาในปี๊ปน้ำมันก๊าด จากที่ได้ทราบมาพระที่คุณ วินัยฯ.ได้สร้างมานี้ตั้งแต่ที่ได้เริ่มสร้าง ปี 2513 &#8211 ปี 2516 เมื่อทางวัดมีพีธี ปลุกเสกหากคุณวินัยฯ. มีพระเหลืออยู่ คุณ วินัย ฯ.จะนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกกับทางวัดทุกครั้ง
หลังจากปลายปี 2516 เป็นต้นมาทางบุคลทั่วไป และแม้แต่พนักงานเองในบางกลุ่มได้กล่าวถึงคุณวินัยฯ.และพระชุดนี้ไปในทางที่ไม่ค่อยดีต่างๆนาๆ ทางคุณวินัยฯ จึงไม่ได้มีการนำพระชุดนี้ออกมาแจกจ่ายอีกเลย แม้แต่บุคลที่สนิท เมื่อมาเยี่ยมคุณ วินัย ฯก็ไม่เคยได้รับพระชุดนี้ ถ้าสนิทมากๆ คุณวินัยฯ.ก็จะให้พระที่เป็นพระเนื้อผง ( จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ ) ในระยะหลังมานี้
&#8230เหตุที่มีพระออกมาหมุนเวียนในสนามมากพอสมควร เป็นเพราะทายาท บุตรหลาน ของผู้ที่มีพระอยู่ในครอบครอง โดยมากจะเป็นบุคลในการรถไฟฯ ที่ได้รับพระตกทอดกันมา แต่ไม่รู้ประวัติความเป็นมา แต่ภายหลังได้ทราบจากสื่อ หนังสือพระเครื่องต่างๆบ้าง หรือทราบจากการสืบเสาะหาจากทางบุคคลที่ต้องการบ้าง จึงรู้ว่าเป็นพระที่มีราคา จึงมีการนำออกมาแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อีกหลายคน และที่ไม่สามารถจะอ้างถึงนามบุคลเหล่านั้นได้เพราะยังไม่ได้ขออนุญาตโดยตรงจากท่านเหล่านั้น
&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230
............ขอขอบคุณ คุณ อัมพร ดวงทอง พนักงาน การรถไฟฯผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้น ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว ) และอดีตพนักงานการรถไฟ ฝ่ายการช่างกล พนักงานการรถไฟฯ สังกัดงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ พนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ และอดีตนายสถานีรถไฟ ช่องแค ฯลฯ
&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230.
รวบรวมข้อมูลโดย คุณ จรัญ ปั้นโฉม ผู้ช่วยสารวัตรแขวงงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ
คุณ สุภศักดิ์ แสนเย็น พนักงานรถจักร ๖ งานรถพ่วงปากน้ำโพ
คุณ เศกสรร คงไพรสันต์ พนักงานรถจักร ๖ งานสารวัตรรถจักรบางซื่อ
....ชาร์ปคือ อะไร ???
....ชาร์ป คือ ชิ้นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้ใน รถจักรไอน้ำ และ รถพ่วง ในรถยุคแรกๆ ของรถไฟ ทำหน้าที่เดียวกับ ..บูทลูกปืนล้อรถ ในปัจจุบันนี่แหละครับ (ในสมัยรถจักรไอน้ำ ยังไม่มี บูทลูกปืน ครับ) ..และปัจจุบันเลิกใช้ ชาร์ปมานานแล้วนะครับ โดยการเปลี่ยนมาใช้ บูทลูกปืน แทนครับ..
...เนื้อชาร์ปรถไฟ..ทำปลอมไม่ได้นะครับ..เพราะการรถไฟเลิกใช้ชาร์ปรถไฟ..มานานแล้วครับ..และเนื้อชาร์ปรถไฟก็ไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ..เหมือน เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อทองเหลือง ทองแดง นะครับ..
***.....รีบเก็บก่อน..ราคาไปไกลกว่านี้นะครับ......*** |
|