ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : หล่อโบราณ หลวงพ่อกัน

(D)
เรียนถามท่านผู้รู้ครับ
ไม่ทรายว่าหล่อโบราณหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว( คล้ายหลวงพ่อเงิน)
มีกี่เนื้อครับ

โดยคุณ TheNUy (183)  [พ. 07 ม.ค. 2552 - 12:35 น.]



โดยคุณ uthai211 (2.2K)  [พฤ. 08 ม.ค. 2552 - 08:02 น.] #476985 (1/7)
เนื้อชินตะกั่วเนื้อเดียวนะท่เคยเห็นมา ทองเหลืองที่เห็นมาเก๊ทั้งนั้น

โดยคุณ TheNUy (183)  [พฤ. 08 ม.ค. 2552 - 08:39 น.] #477042 (2/7)
เท่าที่ค้นกระดานเดิมๆ ในเว๊ป
ผมเห็นลงแต่เนื้อทองเหลืองทั้งนั้น
ไม่เห็นลงเนื้อชินตะกั่วกันเลย

และไม่ทราบว่ามีจุดสังเกตุ ตรงไหนบ้างครับ
รบกวนด้วยครับ

โดยคุณ supperA (2.1K)  [พฤ. 08 ม.ค. 2552 - 23:32 น.] #478225 (3/7)
เท่าที่รู้มีเนื้อตะกั่วเป็นพิมพ์สังกจายซึ่งดูคล้ายหลวงพ่อเงินวับางคลานครับ...แล้วจะนำภาพมาให้ดูเปรียบเทียบวันหลังนะครับเพื่อความชัดเจน...

โดยคุณ supperA (2.1K)  [ส. 10 ม.ค. 2552 - 16:33 น.] #480150 (4/7)


(D)
รุ่นที่สอบถามมา คือรุ่นนี้ใช่มั๊ยครับถ้าใช่ รุ่นนี้ที่นิยมเล่นหาสะสม เป็นเนื้อตะกั่วแบบในภาพ เรียกว่ารูปหล่อพิมพ์สังกัจจาย เนื้อตะกั่ว (ซึ่งดูเผิน ๆ คล้าย รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน)ซึ่งเป็นรุ่นที่มีในงานประกวดพระท้องถิ่นนครสวรรค์ ทุกปี. ..

โดยคุณ TheNUy (183)  [จ. 12 ม.ค. 2552 - 14:07 น.] #482185 (5/7)


(D)


ขอบคุณ พี่ uthai211 และพี่ supperA ที่กรุณาในข้อมูลนะครับ

ไม่ทราบว่าของผมประมาณนี้ น่าจะผ่านมั้ยครับ

โดยคุณ jikkolo (2.6K)  [อ. 23 มิ.ย. 2552 - 20:50 น.] #694860 (6/7)
รูปหล่อโบราณ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2500 เนื้อตะกั่วเกียบโบราณ ตามประวัติที่ได้คุยกับคุณลุงชลอ หลวงอินทร์ กรรมการวัด ปัจจุบัน อายุ 80 ปี (ปี 52) ซึ่งเป็นผู้ร่วมสร้างคนหนึ่ง ได้เล่าให้ฟังว่า ในปี พ.ศ. 2500 ได้จัดสร้างรูปหล่อโบราณหลวงพ่อกันขึ้นมา 4 พิมพ์ คือ
1. ขนาดจิ๋ว สังฆจายพิมพ์เล็ก สร้างจำนวน 800 องค์
2. ขนาดเล็ก รูปหล่อลอยองค์พิมพ์เล็ก (ขนาดเท่ารุ่นหัวไม้ขีด) สร้างจำนวน 500 องค์
3. ขนาดกลาง พิมพ์สังฆจายพิมพ์ใหญ่ หรือที่เรียกว่า "พิมพ์หลวงพ่อเงิน" สร้างจำนวน 500 องค์
4. ขนาดใหญ่ รูปหล่อลอยองค์พิมพ์ใหญ่ (ลักษณะคล้ายหล่อโบราณหลวงพ่อพรหม) สร้างจำนวน 500 องค์
ทั้ง 4 พิมพ์นี้ แกะแบบจากงาช้าง เมื่อแกะองค์พระจนพอใจแล้ว ก็ทำแบบพิมพ์ขึ้นมาจากวัสดุที่หมอใช้ทำฟันเทียม แล้วหล่อด้วยเนื้อตะกั่วเกียบโบราณ ซึ่งขณะนั้นโลหะอื่นมีราคาแพง จึงได้นำตะกั่วเกียบโบราณจากชาร์ปเรือเอี้ยมจุ๊นมาทำ(ซึ่ง อ.พยุหะคีรี ขณะนั้นเป็นศูนย์กลางค้าข้าว พาหนะขนส่ง และโดยสาร จะเดินทางโดยเรือ จึงมีเครื่องเรือเสียจำนวนหนึ่ง) แต่ไม่พอ จึงไปซื้อตะกั่วเกียบโบราณ (ลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมตีตารางเหมือนกระดานหมากรุก เนื้อจะแข็งคงทน) ที่กรุงเทพฯ มาทำการหล่อ ดังนั้น พิมพ์พระ ทั้ง 4 พิมพ์ จะมีเพียงเนื้อตะกั่วเกียบโบราณเพียงเนื้อเดียว
เมื่อหล่อเสร็จหลวงพ่อกันจะให้กรรมการวัดเจาะองค์พระ แล้วท่านจะจารตะกรุดสาริกาลิ้นทอง และเศษตะปูสังฆวานร จากโบสถ์วัดเขาแก้ว ใส่ในองค์พระด้วยตัวท่านเอง ทุกพิมพ์ ทุกองค์ แล้วให้กรรมการอุดด้วยตะกั่ว โดยทำกันในโบสถ์ เมื่อสร้างเสร็จ หลวงพ่อกันก็ทำการปลุกเสกเดี่ยวในโบสถ์ 1 ไตรมาส ( 3 เดือน ) ปัจจุบันพบหาได้ยาก
ข้อมูลที่นำเสนอให้สมาชิกทราบนี้ เป็นเพียงข้อมูลด้านหนึ่งเพื่อให้ได้ศึกษา และพิจารณากันนะครับ ต้องขอออกตัวว่าไม่เกี่ยวกับการเล่นหาในวงการพระ หรือหนังสือเล่มใด เป็นเพียงคำบอกเล่า สู่กันฟัง

โดยคุณ peeto (906)  [ส. 13 ก.ย. 2557 - 11:52 น.] #3469862 (7/7)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM