ขอขอบคุณคุณ lafhun กับท่านอาจารย์มหาเวส ที่เอ่ยนาม ผมขอขยายความ ดังนี้
เนื้อทองฝาบาตรจริง ๆ แล้วมีจำนวนอยู่สี่พันกว่าองค์ ได้นำเข้าชุดทองคำโดยที่เป็นพระผิวเดิม ๆ หนึ่งพันองค์
และที่เหลืออีกสามพันกว่าองค์ ได้นำไปจ่าเงาผิวหรือพูดแบบชาวบ้านก็คือนำไปชุบ เนื่องจากพระกระดำกระด่างมาก
เพราะในกระบวนการจะต้องผ่านการเป่าไฟแล้วก็ปั๊ม วนอยู่อย่างนี้หลายรอบกว่าพระจะพิมพ์คมสมบูรณ์ได้
สาเหตุที่ปั๊มได้จำนวนเพียงแค่นั้นเพราะในตอนที่ปั๊มเนื้อทองฝาบาตรซึ่งเป็นเนื้อสุดท้ายแล้วนั้น บล็อคได้ชำรุดเร็วมาก และอีกทั้งแม่พิมพ์ตัวผู้ได้ผ่านการถ่ายพิมพ์ไปแล้วเป็นจำนวนกว่าหลายสิบบล็อค หมดสภาพที่จะถ่ายพิมพ์ไปเป็นบล็อคได้อีก
ช่างตุ้มเลยขอหยุดการปั๊มไว้เพียงแค่นี้ บังเอิญว่า พระรูปเหมือนปั๊มเนื้อทองฝาบาตรนี้มียอดจองเข้ามาแค่ประมาณเกือบ ๆ หนึ่งพันองค์เอง จึงไม่เป็นปัญหาที่จะหยุดจำนวนการปั๊มไว้เพียงเท่านี้
พระปั๊มเนื้อทองฝาบาตรจึงได้มีจำนวนสร้างเพียงเท่านี้ (แต่ไม่ได้ลงโฆษณาแจ้งจำนวนจริงในหนังสือพระในช่วงนั้น)
จึงไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงสองวิธีที่จะพิสูจน์ก็คือถ้าใครรู้จักช่างตุ้มก็ลองถามช่างตุ้มดูได้ แล้วนำมาเล่าต่อให้ท่านอื่นได้
กับอีกวิธ๊ก็คือใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ คือ เมื่อพระกระจายตัวอย่างเต็มที่แล้ว จะพบเนื้อทองฝาบาตรได้น้อยมาก จะพบได้น้อยกว่าเนื้อนวะโลหะเลยทีเดียว ในห้าปีหรือสิบปีข้างหน้า
ข้อมูลยอดรับจองของพระรูปเหมือนปั๊มรุ่นนี้ คือ ชุดทองคำ 900 กว่าชุด เนื้อเงินเต็ม เนื้อนวะโลหะ 3,000 - 4,000 องค์
เนื้อทองฝาบาตรเกือบ ๆ หนึ่งพันองค์ เนื้อทองแดง ประมาณ 12,000 องค์
ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลเท่าที่พอจะจำได้ครับ |
|