ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : สืบสานตำนาน " สุดยอดพระกริ่ง "



(D)


พระกริ่งนเรศวร รุ่น นเรศวรเผด็จศึก และ รุ่นนเรศวรผ่านศึก

พิธีมหาพุทธาภิเษก
ครั้งที่ 1 ประกอบพิธีบวงสรวงหน้าพลับพลา โดยพราหมณ์หลวง ประจำสำนักราชวัง ณ.พลับพลาสมเด็จพระนเรศวร - พระเอกาทศรถ ณ วัดผ่านศึกอนุกูล ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2539
ครั้งที่ 2 พิธีปลุกเสกเดี่ยวโดย หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ณ พระอุโบสถวัดผ่านศึกอนุกูล วันที่ 12 มกราคม 2539
ครั้งที่ 3 พิธีพุทธาภิเษกเสาร์ 5 โดยพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม จำนวน 39 รูป ในวันเสาร์ 5 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 23 มีนาคม 2539
นับเป็นวัตถุมงคลเข้มขลัง ในสายพระกริ่งอีกรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อคูณ ที่มีพุทธคุณ ครบเครื่อง ทั้งเนื้อหามวลสารถือว่า ฤกษ์ดี พิธีขลัง รูปแบบงาม นามมงคล พระศักดิ์สิทธิ์

โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 08:42 น.]



โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 08:43 น.] #1287371 (1/13)


(D)
.

โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 08:52 น.] #1287375 (2/13)


(D)
พระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และศึกพระยาละแวก เจ้าเมืองกัมพูชา(เขมร) ........................... เมื่อกรุงศรีอยุธยาต้องตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่าเป็นครั้งแรก เมื่อวันอาทิย์ เดือน๙ แรม๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๒๒ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหินทราธิราชแล้วนั้นทำให้คนไทยได้มีองค์พระมหากษัตรย์พระทรงหนึ่งที่ทรงเป็น "มหาราช" พระองค์แรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" ซึ่งคนไทยทุกคนต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ตราบเท่าทุกวันนี้ พระองค์ทรงเหนื่อยยากตรากตรำพระวรกาย เพื่อกอบกู้เอกราชที่ไทยต้องเสียให้แก่พม่ากลับคืนมา ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติบ้านเมืองทรงเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง ปลุกปลอบขวัญและผนึกกำลังสามัคคีคนไทยทั้งชาติเข้าด้วยกัน ขับไล่ศัตรูให้พ้นไปจากผืนแผ่นดินไทย พระบรมเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือและเกรงขามทุกทิศานุทิศ แม้ในวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพก็กำลังเสด็จไปในงานพระราชสงคราม เพื่อความเป็นไทอันไพบูลย์ของพสกนิกรในพระองค์ พระกฤดาภินิหารของพระองค์นั้นเป็นที่ยำเกรงแก่ข้าศึกศัตรู ถึงแม้นว่าจะเสด็จสวรรคตแล้วก็ตาม แผ่นดินไทยก็ยังว่างเว้นศึกสงครามอีกเป็นเวลานาน เพราะบรรดาประเทศเพื่อนบ้านย่อมตระหนักดีว่า ไทยมีจิตใจรักความสามัคคีเสรีภาพ เมื่อได้ผู้นำที่ปรีชาสามารถก็เปรียบเสมือนเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง น่าสะพรึงกลัวสำหรับผู้ที่จะคิดรุกรานและย่ำยีประเทศไทย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรส "สมเด็จพระมหาธรรมราชา"(สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์) กับ "พระวิสุทธิกษัตริย์"พระราชบิดาสืบเชื้อสายราชสกุลมาจากสกุลมาจากราชวงศ์ "พระร่วง" แห่ง"กรุงสุโขทัย" ส่วนพระราชมารดาเป็นพระธิดาใน "สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์" กับ "สมเด็จพระสุริโยทัย" (วีรกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๑) ราชวงศ์ "สุพรรณภูมิ" ทรงพระราชสมภพ เมื่อปีเถาะ พ.ศ.๒๐๙๘ ณ พระราชวังจันทร์ เมืองพิษณุโลก ขณะยังทรงพระเยาว์มีพระนามสามัญว่า "พระองค์ดำ" ทรงมีพระพี่นางหนึ่งองค์พระนามว่า"พระสุพรรณเทวี"(สุวรรณกัลยาณี)และพระอนุชาหนึ่งองค์พระนามว่า "พระเอกาทศรถ"(พระองค์ขาว) ก่อนที่พระเจ้าหงสาวดี(บุเรงนอง) จะเลิกทัพออกจากกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก พระมหาธรรมราชา เจ้าเมืองพิษณุโลก(เมืองสองแคว)ขึ้นเป็นปฐม กษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย ครองกรุงศรีอยุธยา และในเวลาเดียวกันนั้นก็ทรงขอ "พระองค์ดำ"ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ขณะที่ทรงเจริญพระชันษาได้ ๑๓พรรษาเป็นราชบุตรบุญธรรม ให้ตามเสด็จไปอยู่ ณ กรุงหงสาวดี ประเทศพม่าด้วย โดยทรงกล่าวอ้างว่า "เพื่อเป็นเกียรติของผู้ที่ชนะสงคราม และพระองค์ดำก็ทรงมีบุคลิกดีสมควรได้รับการอุปถัมภ์บำรุงให้ได้ดีที่สุด ต่อไปในวันข้างหน้าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนไทยให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข" ในระหว่างที่ไทยกำลังบอบช้ำอันเนื่องมาจากภัยสงครามทำให้หย่อนทั้งกำลังพลและอาวุธ เจ้ากรุงกัมพูชา หรือ "พระยาละแวก"(พระยาละแวกเดิมเป็นเพียงเจ้าเมืองครองเมืองละแวก ต่อมาได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า "พระเจ้าบรมราชา"แต่คนทั่วไปก็ยังคงเรียกขานกันโดยสามัญว่า "พระยาละแวก" กษัตริย์เขมรได้ฉวยโอกาสที่ไทยยับยับเยินอยู่ที่นำกำลังกองทัพ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน เข้ามารุกรานซ้ำเติมไทยถึงชานนครถึง ๒ ครั้ง หมายจะกวาดต้อนผู้คนและเก็บทรัพย์สินที่หลงเหลืออยู่เอาไปเป็นของกรุงกัมพูชา ฝ่ายทางกรุงศรีอยุธยาไม่กล้าออกต่อสู้เพราะกำลังน้อยึงได้แต่เพียงรักษาพระนครมั่นไว้ ครั้นไทยมีมานะนำกำลังออกต่อต้านสู้รบกันจริงๆ พวกเขมรก็สู้ไทยไม่ได้ต้องถอนหนีกลับไป และได้แต่ลอบส่งกองทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนตามชายแดนไปเป็นเชลยเท่านั้น ต่อมาในปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๑๓๖ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จยกกองทัพหลวงไปตีกรุงกัมพูชา และได้พักทัพที่บริเวณเทือกเขาดงพญาไฟ ก่อนถึงเมืองนครราชสีมา (บริเวณที่วัดตั้งอยู่) เพราะเห็นเป็นทุ่งกว้างและมีลำน้ำที่สะอาดเหมาะเป็นที่พักทัพเป็นอย่างยิ่ง ฝ่ายพระยาละแวก ก็ได้เตรียมการป้องกันเมืองไว้อย่างเข้มแข็ง เพราะรู้แน่อยู่แก่ใจว่ายากที่จะมีโอกาสหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นการสู้รบของทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการรบที่นำความเสียหายมาสู่กองทัพทั้งสองฝ่ายอย่างหนักเสียงปืนใหญ่ที่ยิงต่อสู้กันดังกึกก้องทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นเวลาถึง ๒ วัน ๒ คืน พอรุ่งเช้า วันเสาร์ เดือนเมษายน ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๑๓๗ กรุงกัมพูชาก็แตกแพ้พ่ายให้แก่กองทัพไทย บ้างก็หนี บ้างก็ยอมวางอาวุธให้ทหารฝ่ายไทยจับกุมเป็นเชลยแต่โดยดี และชั่วระยะยังไม่ถึงครึ่งวัน พระยาละแวก พร้อมกับพระประยูรญาติก็ถูกจับกุมตัวได้ ที่หลบหนีเอาชีวิตรอดไปได้ก็แต่องค์ราชบุตรของพระยาละแวกเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อทหารนำพระยาละแวกตลอดพระประยูรญาติเข้ามาถวายบังคมสมเด็จพระนเรศวร แย้มพระโอษฐ์มีพระราชโองการตรัสถาม ซึ่งพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ได้บันทึกความตอนนี้ไว้ว่า "ท่านเป็นกษัตริย์ขัตติยาราชดำรงแผ่นดินกรุงกัมพูชาบดีมีกรุฐานเป็นแว่นแคว้นขัณฑเสมาฝ่ายมหากรุงศรีอยุธยาแผ่เสมามณฑลให้กว้างขวาง เหตุไฉนจึงมิยกเป็นพยุหโยธาไปกระทำสงครามให้ตรงตามทำนองขัตติยราชรณยุทธอัน เป็นที่บันเทิงราชหฤทัยดังกษัตราธิราช แต่ก่อนจึงคอยแต่ว่าศึกกรุงหงษาวดีมาตีติดพระนครศรีอยุธยาครั้งใดก็มีแต่ยกพลไปพลอยซ้ำเติมตีเอาเมืองชนบทประเทศ กวาดครัวอพยพมาทุกครั้งทำศึกดุฉกาอันมาลักลอบฝูงสกุณปักษา ฉะนั้นควรด้วยราชประเพณีแล้วหรือประการใดทั้งนี้ท่านถึงซึ่งปราชัยแก่เราแล้วจะคิดอันใดเล่าให้ว่าไปตามสัตย์ตามจริงจะได้เป็นเยี่ยงอย่างกษัตริย์ไปภายหน้า" พระยาละแวกถวายบังคมแล้วทูลว่า "ซึ่งข้าพระองค์เป็นคนโลภเจตนา มิได้กระทำสงครามตามราชประเพณีกษัตริย์ไปลักลอบกระทำเสี้ยนหนามแก่พระนครศรีอยุธยานั้น โทษผิดถึงตายถ้าพระองค์พระราชทานไว้ชีวิตกรุงกัมพูชาบดีจะเป็นข้าขอบขัณฑเสมากรุงศรีอยุธยาถ้ามิเลี้ยงแล้วก็จะก้มหน้าตาย" สมเด็จพระนเรศวรทรงได้ฟังพระยาละแวกดังนั้น จึงตรัสว่า "เราได้ออกวาจาไว้แล้วว่า ถ้ามีชัยแก่ท่าน เราจะทำพิธีปฐมกรรมเอาโลหิตท่านล้างบาทาเสียให้จงได้ ท่านอย่าอาลัยแก่ชีวิตเลย จงตั้งหน้าหาชอบในปรโลกนั้นเถิด บุตร ภรรยา ญาติ ประยูรวงศ์ ท่านนั้นเราจะเลี้ยงไว้ให้มีความสุขดุจแต่ก่อน" เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้กระทำพิธีปฐมกรรมแก่พระยาละแวกแล้วก็ได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาธานี

โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 09:12 น.] #1287384 (3/13)


(D)


.

โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 09:15 น.] #1287387 (4/13)


(D)


..

โดยคุณ nonarsenal (2.4K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 09:23 น.] #1287396 (5/13)

โดยคุณ โมบายล์ (1.6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 09:57 น.] #1287426 (6/13)

โดยคุณ มหาเวส (3.3K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 10:21 น.] #1287448 (7/13)


(D)
((( คุณหน่องโค๊ก เสนอข้อมูลชัดเจนละเอียดมาก เป็นอีกรุ่นที่น่าจับตามอง )))

โดยคุณ Ronado (10.2K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 11:50 น.] #1287521 (8/13)
เยี่ยมเลยครับ

โดยคุณ boonyarujana (2.4K)(2)   [จ. 06 ก.ย. 2553 - 12:05 น.] #1287535 (9/13)

โดยคุณ หน่องโค๊ก (6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 12:23 น.] #1287556 (10/13)


(D)


พระกริ่งนเรศวรเผด็จศึก &#8220รุ่นเสาร์5 บารมีพระนเรศวร&#8221 ประกอบพิธีบวงสรวงโดยพราหมณ์หลวง ประจำสำนักราชวัง ณ.พลับพลาสมเด็จพระนเรศวร- พระเอกาทศรถ วัดผ่านศึกอนุกูลวราราม จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2539 หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ประกอบพิธีปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2539 และวาระที่3 ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเสาร์ 5 โดยพระคณาจารย์ชื่อดัง 39 รูป อีกครั้ง ณ.อุโบสถวัดผ่านศึกอนุกูลวราราม เมื่อวันเสาร์ที่5 ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 (23 มีนาคม 2539)หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ร่วมปลุกเสกอีกครั้ง ลักษณะองค์พระเป็นกริ่งใหญ่ สูงประมาณ 3.8 ซ.ม. ใต้ฐานตอกโค้ดและหมายเลขกำกับไว้ทุกองค์ เนื้อนวะสร้างน้องแค่ ๑,ooo องค์

โดยคุณ bangbai (3.9K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 13:37 น.] #1287596 (11/13)
ยอดเยี่ยมากๆนะครับ

โดยคุณ พระธุดงค์ (2.6K)  [จ. 06 ก.ย. 2553 - 23:15 น.] #1288331 (12/13)


(D)


พระกริ่งดีสวยสวย พิธีปลุกเสกยิ่งใหญ่ มวลสารเข้มขลัง พระเกจิดังดังเพียบ สุดยอด...ของดีราคายังเช่ากันได้รีบหน่อยนะครับ

โดยคุณ พรหลวงพ่อ (1.2K)  [พ. 08 ก.ย. 2553 - 16:13 น.] #1290126 (13/13)


(D)
สุดยอดครับบ ชัดเจนมากเลยครับ คุณพี่.....

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1