(N)
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
ที่มา: หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับดับทุกข์" จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ (หน้า 41-42), หนังสือ "พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิกฉบับบาลี 45 เล่ม" (หน้า 510) จัดทำโดย สุชีพ ปุญญานุภาพ, หนังสือ "ธรรมาธิบาย หลักธรรมในพระไตรปิฎก" (หน้า 620 - 621) เรียบเรียงโดย อาจารย์ปัญญา ใช้บางยาง และคณะ
----------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีพระจะถามครับ แค่อยากบอกว่าสังคมปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมากมายจริงๆ ในทุกวงการ รวมทั้งวงการพระเครื่องด้วยเช่นกัน จะเชื่ออะไรควรพิจารณาให้ดีก่อนครับ
ผ่านมาสองพันห้าร้อยกว่าปี ธรรมของพระพุทธองค์ก็ยังนำมาใช้ปฏิบัติได้ดีครับ...สาธุ..
|
|