**..ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหมพิมพ์ เนื้อชาร์ปรถไฟ...**
.....................................................
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน ..**..หลวงพ่อพรหมพิมพ์ ก้นระฆัง โค๊ด พ ในใบโพธิ์ จัดสร้างโดยคุณ วินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟฯ สังกัดฝ่าย การช่างกล ปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการไปนานแล้วครับ ร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค ในขณะนั้น และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหม ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหม แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 12 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้า ปี 12 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร ที่ลงพักค้างคืนกลางแปลง ที่สถานีรถไฟ ช่องแค และมอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ให้ที่โรงงานมักกะสัน ที่ได้นำเศษ เนื้อชาร์ปรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ปสร้างครับ
***...จำนวนพระที่สร้าง ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 479 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ครับ ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ในการรถไฟฯใกล้เกษียณอายุราชการแล้วนะ ครับ)
........ในการสร้างพระครั้งนี้ไม่ใช่มีเพียงแค่พิมพ์ก้นระฆังโค๊ด พ ในใบโพธิ์ เท่านั้นนะครับ ยังมีพิมพ์ หล่อโบราณแบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุ ปี พศ. 2513 จำนวน 200 องค์ แบบพิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ จำนวน 200 องค์ แบบพิมพ์หน้ากาก ( ถอดพิมพ์ ปี 2512 ลพ.พรหม ) จำนวน 12 องค์
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน ..**..หลวงพ่อพรหมพิมพ์ ก้นระฆัง โค๊ด ๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ เนื้อชาร์ปรถไฟ..**..จัดสร้างโดยอดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ร่วมกับ พนักงาน ด้านการเดินรถ พนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค โดยขออนุญาต ลพ.พรหม วัดช่องแค จัดสร้างพระรูปเหมือน หลวงพ่อพรหม แบบพิมพ์ ก้นระฆังปี 2512 และตอกโค๊ด..๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ โดยให้หลวงพ่อพรหมอธิฐานจิต และปลุกเสกให้..เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 ...โดยใช้เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ ที่การรถไฟไม่ใช้แล้ว จากหน่วยงาน ต่างๆดังนี้คือ 1.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากแขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ 2.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากโรงซ่อมรถพ่วงอุตรดิตถ์ 3.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากหน่วยซ่อมรถพ่วงที่โรงงานมักกะสัน วัตถุประสงค์ เพื่อ นำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานรถไฟในส่วนต่างๆ โดยการตอกโค๊ด ไว้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆกันในแต่ละหน่วยงานมีดังนี้
ดังนี้
1.โค๊ดตัวเลข ๙๐ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงาน ด้านการเดินรถ และพนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
2.โค๊ดตัวเลข ๙๙๙ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงานที่ปฏิบัติงานตามรายทาง สถานีรถไฟ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
3.โค๊ดตัวเลข ๑๕ มอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์) จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์ (พิมพ์หูกาง +พิมพ์ก้นระฆัง + พิมพ์สมเด็จหลังยันต์สิบ)
หมายเหตุ..
...ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก อดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ผู้ขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการ จากการรถไฟฯไปเกือบ 10 ปี แล้วครับ..และปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่นะครับ..
..................................................................................................
***...พระชุดนี้เป็นการจัดสร้างโดยการขออนุญาตโดยตรงจากหลวงพ่อพรหม และเป็นการสร้างโดย คณะลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ส่วนต่างๆ และจำนวนพระส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ซึ่งทุกๆคนต่างหวง และเคารพบูชา ต่อองค์ ลพ.พรหม จึงทำให้ ไม่มีพระหมุนเวียนในสนามพระ โดยทั่วไปเหมือนพระรุ่นอื่นๆ ของ หลวงพ่อ...
..................................................*****.......******......*****...............................................................
............ขอขอบคุณ อดีตพนักงานการรถไฟ ฝ่ายการช่างกล พนักงานการรถไฟฯ ผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ด พนักงานการรถไฟฯ สังกัด หัวรถจักรบางซื่อ และอดีต นายสถานีรถไฟ ช่องแค ฯลฯ |
|