(D)
พระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภฺมิ
วัตถุประสงค์
1. เป็นการทำบุญเนื่องจาก พล.ต.ต. ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช มีอายุใกล้ครบ 108 ปี (9 รอบ)
2. เพื่อบันทึกความทรงจำของตำนานชาดกไทยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และความเชื่อของคนโบราณที่คนไทย
เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และความเชื่อของคนโบราณที่คนไทยกำลังจะลืม
3. เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา
4. เพื่อระลึงถึงตำนานความเป็นมาในอดีตของอาณาจักรสุวรรณภูมิ
5. เพื่อตอบแทนพระเกจิอาจารย์ผู้มีพระคุณ ที่ร่วมพิธีการในการจัดสร้างพระผงว่าน 8 อรหันต์สุวรรณภูมิบูรณะ
เจดีย์ราย 163 องค์ รอบองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช
6. เพื่อนำถวายวัดที่ให้มวลสารมาสมทบในการจัดสร้างพระผงว่าน 8 อรหันต์สุวรรณภูมิจำนวนกว่า 20 วัดทั่ว
ประเทศ
7. เพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ นครอุทิศ
ประธานฝ่ายจัดสร้างวัตถุมงคล
พล.ต.ท.ณัฐพงษ์ วัฒนสุคนธ์
กรมวังผู้ใหญ่ในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร
** ประวัติความเป็นมา**
ตำนานเดิมและที่มาของพระบรมธาตุ
เนื่องจากเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ระหว่างท้าวโกสีหราชผู้ครองเมืองทนบุรีกับท้าวอังกุศราชผู้ครองเมือง
ชนทบุรีท้าวโกสีหราชเล็งเห็นว่าภัยจะเกิดเพราะมีกำลังน้อยกว่า จึงรับสั่งให้พระนางเหมชาราพระธิดากับพระโอรสทันตกุ
มารนำพระบรมธาตุหนีภัยสงครามลงเรือไปยังเมืองลังกา ขณะกำลังเดินทางผ่านเมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช (นครศรีธรรม
ราชในปัจจุบัน) ได้เกิดอาถรรพ์คลื่นลมปั่นป่วนด้วยอำนาจของครุฑและนาคที่มานมัสการพระบรมธาตุ จนเป็นเหตุให้สำเภา
แตกอับปางกลางทะเล เจ้าสองพี่น้องจึงนำพระบรมธาตุเสด็จขึ้นฝั่งและอธิษฐานฝังลง ณ กลางหาดทรายแก้วประมาณปี
พ.ศ. 6 - 8
เริ่มสร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย
ในราวปี พ.ศ. 272 พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราช เจ้าผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ (จังหวัดนครปฐม
ราชบุรีและเพชรบุรีในปัจจุบัน) คือ เจ้าเดือนเด่นฟ้า และเจ้าดาวเด่นฟ้า ผู้จดจารึกกระเบื้องจาร จากคำพยากรณ์ของพระโสณะ
มหาเถระ (หัวหน้าพระอรหันต์ที่มาเผยแพร่ศาสนาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ) ในคำโสณะพยากรณ์ได้กล่าวไว้ว่าสุวรรณ
ภูมิจะถึงกาลอวสานในภายภาคหน้า และจะได้เมืองหลวงใหม่ชื่อว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเมืองนั้นก็คือเมืองช้างค่อมศิริ
ธัมมาราช และก็กลายเป็นเมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบันนั่นเอง จากคำพยากรณ์ทำให้เจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้าเดิน
ทางมายังเมืองช้างค่อมและได้สร้างบ้านเรือน ก่อตั้งกองทัพเรือและโรงเรียนนายเรือ โดยมีชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมเป็น
กำลังช่วยเหลือ จนได้มาค้นพบเนินดินอันเป็นที่ฝั่งพระบรมธาตุ จึงสร้างพระเจดีย์ทรงศรีวิชัยคร่อมเนินดินไว้ให้เป็นที่สักกา-
ระบูชาเป็นต้นมา
จากตำนานที่ได้ถูกค้นพบในกระเบื้องจาร ที่มีชาวบ้านขุดพบในจังหวัดนครศรีธรรมราช เพชรบุรี ราชบุรี และใน
อีกหลายๆ จังหวัดของประเทศไทย ได้มีการกล่าวถึงประวัติของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิ หรือเมืองช้างค่อมศิริธัมมราชในอดีต
ที่มาขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ ตำนานของต้นกำเนิดของพระสงฆ์ไทยซึ่งเป็นพระอรหันต์สมัยแรกของประเทศไทยและตำ
นานของพระมหากษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับการบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ ในทุกๆ รอบ 700 ปี จนได้กลายมาเป็นตำนสนแห่ง
อาถรรพ์ลึกลับ เชื่อมโยงกาลเวลากับการบูรณะให้เป็นอัศจรรย์ปรากฏแก่ชาวพุทธ ซึ่งจะได้กล่าวดังต่อไปนี้
การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ครั้งที่ 1 ประมาณปีพ.ศ.1026-1040 (หลังสร้างมาได้ประมาณ 700 ปี)
ในขณะนั้นกษัตริย์ผู้ปกครองสุวรรณภูมิ (ดินแดนนับตั้งแต่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เรื่อยลงมาจนสุดแหลมมาลายู)
คือ พระเจ้าจันทรภานุ มีพระบารมีบุญญาธิการมาก ได้แผ่อำนาจขยายอาณาเขตออกไปถึงประเทศอินเดีย ไม่ยอมกลับมา
สุวรรณภูมิเป็นเวลากว่า 20 ปี พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าจันทรภานุ คือ ขุนอินทรไสเรนทร์และขุนอินทรเขาเขียว
เห็นบ้างเมืองทรุดโทรมลงขาดกษัตริย์ปกครอง จะตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แทนบิดาก็ไม่ได้ จึงร่วมกันย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่
เมืองช้างค่อมศิริธัมมาราช เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ. 1040 ตรงตามคำทำนายของพระโสณะมหาเถระ
ในฐานะที่ท่านเป็นปฐมกษัตริย์ของเมืองศรีวิชัยสุวรรณภูมิได้สร้าง ขยายเมือง และซ่อมแซมบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ที่เริ่ม
ทรุดโทรมลงเป็นครั้งแรกร่วมกับชาวชวากะชนพื้นเมืองเดิมด้วย ด้วยคุณงามความดีของพระโอรสสองพี่น้องหลังจากที่ได้
สิ้นประชนม์ลง ประชาชนทั้งหลายจึงได้ยกย่องให้เป็นเสื้อเมืองและทรงเมือง มีฐานะเป็นเทวดาประจำเมือง และเรียกพระนาม
ของท่านทั้งสองว่า " ท้าวจัตตุคาม " และ " ท้าวรามเทพ " ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
บูรณะครั้งที่ 2 (หลังจากบูรณะครั้งแรกประมาณ 700 ปีเศษ)
ประมาณปี พ.ศ. 1800 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชได้ทำการบูรณะเป็นเจดีย์ทรงลังกา คร่อมองค์เดิมที่เป็นทรงศรี
วิชัย ซึ่งชำรุดกองเป็นเนิน (ตามตำนสน) โดยได้รับความร่วมมือจากกษัตริย์อีกหลายๆ เมืองที่อยู่ในความปกครองของกรุงศรี
วิชัย โดยกษัตริย์จากเมืองต่างๆ ได้นำทรัพย์สินเป็นทองคำบ้าง เป็นเครื่องใช้บ้าง ต่างๆ นาๆ นำมาถวายเป็นพุทธบูชา ทำให้
การบูรณะครั้งนี้เสร็จเร็วมาก ในคราวนั้นมีผู้เดินทางมาจากทั่วทุกทิศ มาถึงบ้าง มาไม่ถึงบ้าง บางกลุ่มก็มาทางเรือ บางกลุ่มก็
มาทางบก บางกลุ่มก็มาตายระหว่างทางเพราะเกิดโรคระบาด มีอีกหลายกลุ่มที่มาถึงแต่ไม่ได้ร่วมบูรณะเพราะเจดีย์ได้สร้าง
เสร็จก่อน ก็ได้มาสร้างเจดีย์องค์ใหญ่เกือบเท่าพระบรมธาตุเจดียืที่ชาวนครศรีธรรมราชเรียกว่าเจดีย์ยัก เพราะยักย้ายไปอยู่
อีกฝั่งกนนขององค์พระบรมธาตุและสร้างเป็นวัดขึ้น (ปัจจุบันคือวัดพระเงิน อยู่ข้างเทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช) บางกลุ่ม
มาจากทางทิศเหนือเรือมาเกยตื้นที่ อ.ท่าศาลา ได้มาสร้างวัดนางตรา (วัดพระนังตรา) อีกกลุ่มมาสร้างวัดแจ้งแหยงที่ ต.กลาย
(สระแก้ว) กลุ่มที่มาทางทิศตะวันตกมาถึง ต.จันดี อ.ฉวาง เกิดโรคระบาดจึงเอาสมบัติกองบนพื้นดิน 3 กองและเอาดินถม
(เดี๋ยวนี้เป็นวัด) กลุ่มที่มาทางทิศตะวันออกมาทางทะเลมาเกยตื้น จึงนำทรัพย์สินบรรจุในถ้ำที่เป็นเกาะเล็กๆ ที่เกาะนางยม
โดย อ.ปากพนัง และยังมีอีกหลายๆ แห่ง บางแห่งมีแท่งทองคำ จารึกคำว่าพระธาตุที่แผ่นทองคำ รวมแล้วสมบัติทั้งหมดผู้
ที่นำมามีเจตนาเป็นกุศลหวังได้ร่วมบูรณะพระบรมธาตุทั้งสิ้นนับเป็นการบูรณะครั้งยิ่งใหญ่มากและต้องมีบุญมากจริงถึงได้
ร่วมบูรณะ และอยู่เห็นการบูรณะเสร็จสมบูรณ์ เพราะตายได้มากในระหว่างทางก็มี
บูรณะครั้งที่ 3 (หลังจากบูรณะครั้งที่ 2 ประมาณ 700 ปีเศษ)
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2497 หน่วยงานราชการและพุทธบริษัท ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระบรมธาตุเจดีย์ โบสถ์ วิหารและ
เสนาสนะต่างๆให้กลับมาอยู่ในสถาพสมบูรณ์เรื่อยๆ มา องค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเป็นพุทธสถานที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
ในดินแดนคาบสมุทรทะเลใต้ ซึ่งถึงคราวชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลาและได้รับการบูรณะมาตลอด แต่การบูรณะครั้งยิ่ง
ใหญ่จริงๆ นั้น ตามตำนานที่ปรากฏอยู่จะเกิดขึ้นในราวทุกๆ รอบ 700 ปี ต่อครั้งโดยประมาณ ซึ่งเป็นเสมือนอาถรรพย์กำหนด
แต่การบูรณะครั้งยิ่งใหญ่จริงๆ นั้น ตามตำนานที่ปรากฏอยู่จะเกิดขึ้นในราวทุกๆ รอบ 700 ปี ต่อครั้งโดยประมาณ ซึ่งเป็น
เสมือนอาถรรพ์กำหนดลึกลับที่มีมาแต่โบราณกาล และมีน้อยคนนักที่ได้ล่วงรู้ในช่วงการบูรณะรอบที่ 3 วัดพระมหาธาตุนคร
ศรีธรรมราช ได้รับการบูรณะเสร็จสิ้นไปแล้ว มีดังนี้
1. พ.ศ. 2479 บูรณะกำแพงและสร้างซุ้มประตูหน้า โดยพล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช กับอาจารย์ชุม ไชยศรี ร่วม
กันจัดสร้างพระผงชุดยอดขุนพล, พระผงท่าเรือ, พระผงนางตรา, พระขุนแผน, พระรอด, พระผงพระพวย และพระพุทธ
นิมิตร
2. พ.ศ. 2517 บูรณะและต่อเติมวิหารคดด้านทิศเหนือ โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชร่วมกับ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์
ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรม จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง ขนาด 12 นิ้ว, 9 นิ้ว, 5 นิ้ว, พระกริ่ง และเหรียญ 2 ขนาด
3. พ.ศ. 2537 บูรณะพระวิหาร 4 วิหาร โดยกรมศิลปากร
4. พ.ศ. 2538 โดยกรมศิลปากร บูรณะปลียอดทองคำและองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ให้กลับมาอยู่ในสภาพแข็งแรง
สมบูรณ์ดังเดิม และยังมีความประสงค์ที่จะได้บูรณะเจดีย์รายรอบๆ องค์พระบรมธาตุเจดีย์ที่เหลืออีกจำนวน 163 องค์เช่นกัน
แต่หมดงบประมาณเสียก่อน
5. พ.ศ. 2545 บูรณะพระวิหารกัจจายนะ และพระวิหารพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร่วม
กับ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธีกรรม ได้จัดสร้างพระพุทธสิหิงค์จำลอง มีพระปรมาภิไธยย่อ ภปร. ที่ผ้าทิพย์
ขนาด 12 นิ้ว, 9 นิ้ว, 5 นิ้ว, พระกริ่ง, พระชัยวัต และเหรียญ 2 ขนาด ทำพิธีพุทธาภิเษกตั้งแต่พ.ศ. 2537 โดยนำเงินมอบ
ให้กรมศิลปากร เมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 แต่เนื่องจากงบประมาณของกรมศิลปากรและเงินที่รับบริจาคของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ได้หมดลงก่อน ไม่เพียงพอที่จะได้นำไปบูรณะเจดีย์บริวารรอบเจดีย์พระบรมธาตุที่เหลืออีก 163 องค์ให้เสร็จสมบูรณ์
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช ร่วมกับ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดชและพ่อค้า
ประชาชนได้ร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคล เพื่อหาทุนมาสมทบกับงบประมาณของกรมศิลปากรเพื่อบูรณะเจดีย์รายรอบๆ องค์
พระบรมธาตุ ให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์คงทนถาวรดังเดิม ในการนี้จึงได้จัดสร้างรูปบูชา รูปเหมือนลอยองค์ ท้าวจัตตุคาม
และท้าวรามเทพ เหมือนรูปปูนปั้นที่นั่งอยู่สองฟากทางขึ้นพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งมีอยู่ในวัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราชมา
ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย สาเหตุที่ได้สร้างรูปของท่านก็เพื่อเป็นการให้ประชาชนระลึกถึงท่านทั้งสอง ที่ได้มาบูรณะวัดพระบรมธาตุ
เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ พ.ศ. 1026 - 1040 เศษ หลังจากที่พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าและพระเจ้าดาวเด่นฟ้าพระโอรสของพระ
เจ้าตะวันอธิราช กษัตริยืแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิได้มาสร้างเป็นเจดีย์ทรงศรีวิชัยไว้ โดยนิมนต์พระมูนียะเถระมาช่วยด้วย
และเปลี่ยนชื่อเมืองช้างค่อมเป็นชื่อเมืองว่านครธัมราช เมื่อประมาร พ.ศ. 270 เศษ
***
โดยในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระผงและเหรียญชื่อว่า พระอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ
เพื่อถวายตอบแทนแก่พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมทำพิธีให้กับวัดพระธาตุนครศรีธรรมราช ในการบูรณะเจดีย์รายและถวายแก่
วัดที่มอบ มวลสารมาให้สร้างพระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ เนื่องจากไม่มีการถวายให้กับพระเกจิอาจารย์ที่มา
ร่วมพิธีและไม่ได้ถวายให้กับวัดที่ให้มวลสารมา จึงจัดสร้างพระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิขึ้นเป็นการถวายตอบ
แทนพระคุณ**
ปัจจุบันนี้พระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้พระที่จัดสร้างจำนวน 50,000
องค์ หมดไปจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารภายในเวลาไม่ถึง 6 เดือน และพระเกจิอาจารยืที่ร่วมพิธีจัดสร้างพระผงว่าน
อุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ ได้ขอร้องให้ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช จัดสร้างให้กับวัดของท่านบ้าง เพราะทุกวัดก็มี
ภาระที่จะต้องทะนุบำรุงเช่นเดียวกับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ก็รับปากว่าจะจัดสร้างถวาย
ให้ แต่เนื่องจากมีอายุมาแล้ว และต้องให้ทุนทรัพย์มากมาย จึงปรารภให้กรรมการผู้ใหญ่ที่จัดสร้างพระผงว่านอุดมโชค 8
อรหันต์สุวรรณภูมิ (พระเจดีย์ราย) ในขณะนั้นช่วยรับเป็นภาระ จากวันนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ คณะกรรมการมิได้นิ่งนอนใจเริ่ม
ดำเนินกรออกแบบใหม่ เพื่อมิให้ประชาชนหลงผืดว่าเป็นพระชุดเดียวกันกับพระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ ส่วน
มวลสารใช้มวลสารเดิม ของพระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ ส่วนมวลสารใช้มวลสารเดิมของพระผงว่านอุดมโชค
8 อรหันต์สุวรรณภูมิทั้งหมด หามาสมทบเพิ่มอีกเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์โดยตรง รวมทั้งค้นคว้าประวัติของพระ
อรหันต์ต้นปฐมของไทยและบรรดาขุนเมืองที่รับพระพุทธศาสนาพระองค์แรก บรรพชาพระองค์แรก ทอดกฐินพระองค์แรก
จุลกฐินพระองค์แรก และบรรพบุรุษไทยที่ทำคุณประโยชน์ต่อแผ่นดินทุกยุคในแผ่นดินสุวรรณภูมิที่ปรากฏในจารจารึก ราย
ละเอียดปรากฏอยู่ในหนังสือคู่มือ ซึ่งจะออกมาพร้อมกับพระ ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ ได้จัดสร้างพระผงและเหรียญ
ชื่อว่า " พระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์สุวรรณภูมิ " โดยกำหนดรูปแบบและความหมายเพื่อเป็นการเคารพบูชาบรรพบุรุษ
ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายฆราวาส ดังนี้
**ด้านหน้า ประกอบด้วยรูปแบบและความหมาย
1. ตรงกลาง เป็นวงกลม 2 วงซ้อนกัน ตรงกลางมีอักขระขอม (ยะ) วงกลมหมายถึงกระดุมล้อเกวียน ส่วนอักขระ
(ยะ) คือพระศรีอริยะเมตตรัย ที่จะมาจุติในพุทธันดรที่ 5
2. ส่วนซี่ล้อทั้ง 4 เป็นรูปพระพุทธนั่งสมาธิ มีอักขระกลางอกองค์ละตัวคือ นะ มะ พะ ทะ เป็นธาตุประจำมนุษย์
ส่วนพระเศียรค้ำวงล้อเกวียน หมายถึง พระเป็นผู้ประกาศและยืนยันให้รู้ว่า สิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้น
ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรมชั้นสูงก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏจักรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3. ระหว่างองค์พระทั้ง 4 มีเลข 1 ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า กุกกุสนโธ คือ พระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ 1
ช่องที่ 2 มีเลข 2 ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า โกนาคมโน คือ พระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ 2 ช่องที่ 3 เมีเลข 3 ด้านล่าง
ด้านบนมีอักขระเขียนว่า กัสโป คือ พระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ 3 ช่องที่ 4 มีเลข 4 ด้านล่าง ด้านบนมีอักขระเขียนว่า สักกาย
บุตรโต คือ พระพุทธเจ้าในพุทธันดรที่ 4 ล้อมรอบด้วยวงล้อเกวียน หมายถึง พระธรรมจักร
4. รอบวงล้อเกวียน มีอักขระ 13 ตัว เป็นพระคาถาป้องกันอันตรายของอาจารย์ต้นสำนักเขาอ้อ
5. รอบอักขระ 13 ตัว มีอักขระล้อมรอบเป็นวงกลม คือพระคาถาเยธัมมาฯ มีอยู่ในแผ่นดินของไทยเมื่อ 2000 กว่า
ปีมาแล้ว เป็นคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องเหตุดังนี้ " ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุธรรม
เหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณมีปกติตรัสอย่างนี้ตรัสขึ้นแล้ว "
6. รอบพระคาถาเยธัมมาฯ มีรูปพระอรหันต์สาวก 10 รูป เป็นรูปแปลงธรรมสมาธินั่งบนธรรมสมาธินั่งบนธรรม
มาส ครอบด้วยตัวพุทครอบซ้อนหรือในตำรานะพิศดารเรียกว่า นะครอบจักรวาลหรือตัวสำเร็จเป็นตัวนะที่ พล.ต.ต. ขุนพันธ
รักษ์ราชเดชใช้ชักผง ซึ่งนะสำเร็จนี้ท่านบอกว่า ท่านเรียนมาจากพระอาจารย์หม่อมราชวงศ์ศรีทัศนาเรณูเป็นพระธุดงค์ ลูกศิษย์หลวงปู่โลกอุดร พระอาจารย์หม่อมบวชเมื่อรัชกาลที่ 3 และสอนท่านขุนพันธฯ ที่จังหวัดสระบุรีสมัยยังเรียนหนังสือ
วัดเบญจฯ ได้ใช้มาตลอด
7. รอบองค์พระสาวก เหนือตัวนะครอบจักรวาลเป็นชื่อกำกับพระสาวก ดังนี้
7.1 พระปุณณมหาเถระ อรหันต์ไทยองค์แรก ที่ได้ไปรับเอหิภิกขุจากพระบรมศาสดา ณ กรุงสาวัตถี เมื่อวันขึ้น
10 ค่ำ เดือน 7 พุทธพัสสา 19 ได้ชื่อว่า ปุณณเถระ ศึกษาอยู่ 3 ปี จึงกลับมา สูนาปรันตพริบพรี ในพุทธ
พัสสา 21 ตรงศักราชปีโลที่ 1166 ได้นำพระศาสนาเผยแพร่ที่สุวรรณภูมิพร้อมด้วยพระสาวก 449 รูป
ถึงสุวรรณภูมิเมื่อวันขึ้น 8 ค่ำเดือนอ้าย พุทธพัสสา 22
7.2 พระสัจจะพันธะมหาเถร อรหันต์ไทยรูปที่ 2 ที่ได้รับเอหิภิขุจากพระศาสดา เป็นรูปแรกในประเทศไทย ที่
เขาสัจจะพันคีรี จังหวัดสระบุรีและได้ทูลขอรอยตีนพุทธ ไว้ที่เขาสัจจะพันคีรี (พระพุทธบาท สระบุรี)
7.3 พระโสณมหาเถร พระอุตตรมหาเถร พระฌานียมหาเถร พระภูริยมหาเถร พระมูนียะมหาเถร พระอรหันต์
ทั้ง 5 รูปนี้เป็นชุดสมณฑูตที่พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมาเผยแพร่พระศาสนาสายที่8 ถึงเมือนครศรีธรรม
ราช แวะพักอยู่ระยะหนึ่งจึงเดินทางต่อมายังสุวรรณภูมิเมื่อ เดือนอ้าย ขึ้น 14 ค่ำ พ.ศ. 235 ปี ฉลู
7.4 พระญาณจรณ มหาเถระ เดิมชื่อ ทองดำ พระโสณเถระเป็นพระอุปัชฌาชย์ พระอุตตระเถระสวดญัตติ
จตุตถกรรมวาจาต่อมาเป็นพระสังฆราชองค์แรกของสุวรรณภูมิ
7.5 พระกัจจายนะเถระ เดิมชื่อผิว เป็นพระสงฆ์ไทยที่ไปช่วยพระโสณะเผยแพร่ศาสนาในอินโดนีเซีย (เมือง
จอกตากอ) และอยู่ชวาช่วยขุนลสูสุวาเทียน สร้างวัดพุทธภูมิจนเสร็จ
7.6 พระธัมมสุนันทโธ เป็นโอรสของพระเจ้าโศกลว้ากับนางหวานชื่นใจ บวชเป็นสามเณรรูปแรกของไทย เมื่อ
ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 4 พ.ศ. 236 สามารถท่องพระไตรปิฏกจบภายในระยะเวลา 8 เดือน ต่อมาเป็นสังฆราชองค์
ที่ 2 ของไทย เมื่อพ.ศ. 314
**ด้านหลัง ประกอบด้วยรูปแบบและความหมาย
1. ตรงกลางมีวงกลม ภายในวงกลมมีชื่อ ทัพไทยทอง เป็นตัวหนังสือแบบที่จดจารลงบนกระเบื้อง หมายถึง พระ
เจ้าทัพไทยทอง เป็นกษัตริย์ที่ครองสุวรรณภูมิ เมื่อศักราชปีโล 1112 และเสด็จไปเวฬุวันเฝ้าพระพุทธเจ้า รับพระพุทธศาสนา
เป็นศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เปลี่ยนชื่อจากเมืองทองไทยลว้าเป็นสุวัณณภูมิและสร้างวัดแรกในไทยชื่อ วัดปุณณาราม
2. ภายในวงกลมรอบนอกที่ 2 มีอักขระชื่อ ขุนสรวง ขุนนางสาง กลายร่างมาจากภัสสรเทพมหาพรหม หลังจากชิม
ง่วนดินแล้วเป็นต้นตระกูลไทยมีลูกหลานสืบมา
- อักขระชื่อ ขุนไทยแก้ว ขุนหญิงแก้วขวัญฟ้า เป็นชื่อของผู้มีหน้าที่เป็นเจ้าทะเล และแม่ย่านางเรือ ดูแลคนไทย
ในทะเลมาตั้งแต่ปลายยุคพุทธันดรที่ 2 น้ำท่วมโลก (เป็นเรื่องตามตำนสนของไทยที่เชื่อถือกันมาในอดีต)
- อักขระชื่อ ขุนดินเขาเขียว ขุนหญิงกวักทองมา เป็นชื่อของต้นครูไทย มีลูกชาย 13 คน ครองเมือง 1 คน อีก
12 คน มีชื่อตามนามปี มีลูกหญิง 7 คน มีชื่อตามนามวัน บรรดาลูกชายหญิงของท่านทั้ง 2 ต่างก็คิดวิธีทำมาหากินเพื่อดำรง
ชีพจนกลายเป็นต้นตระกูลไทยในสายวิชาต่างๆ สืบมา
3. ภายในวงกลมที่ 3 เป็นเปลวเพลิง และรัศมีสั้นยาวสลับกัน เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระเจ้าตะวันอธิราช กษัตริย์
ที่ยิ่งใหญ่ของสุวรรณภูมิ และทำนุบำรุงพระศาสนาจนตั้งมั่นยืนยาวถึงปัจจุบัน
4. รอบวงกลมที่ 3 เป็นเปลวเพลิง และรัศมีสั่นยาวสลับกัน เป็นเครื่องหมายแทนองค์พระเจ้าตะวันอธิราช กษัตริย์ที่
ยิ่งใหญ่ของสุวรรณภูมิและทำนุบำรุงพระศาสนาจนตั้งมั่นยืนยาวถึงปัจจุบัน
5. รอบรัศมีดวงอาทิตย์ มีอักขระ 8 ตัว เป็นหัวใจพาหุงทั้ง 8 บท เป็นบทสวดบวงสรวงสมโภชน์อนุโมทนา เพื่อให้
เทวดาบนสรวงสวรรค์เพื่อประกาศถึงความสำเร็จ
6. ระหว่างรัศมีพระอาทิตย์ มีวงกลมล้อมรอบดวงอาทิตย์ 8 ดวง แทนองค์เจ้าดาวเด่นฟ้า และเดือนเด่นฟ้า โอรส 2 พี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราช เปรียบเสมือนดาวนพเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองและรอบตัวเองและรอบดวงอาทิตย์ตามระบบ
สุริยะจักรวาลและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่เวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด ระยะเวลาแห่งกาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ไปเพื่อให้ทุกชีวิตที่เกิดมาได้มีโอกาสสร้างความดีและความชั่ว ตามขันทสันดานของแต่ละบุคคล
7. ภายในวงกลมทั้ง 8 ดวง เป็นหัวใจอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องประสบทุกคน และอักขระอีก 4 ตัว เป็นธาตุ
ทั้ง 4 ของมนุษย์ ที่อาศัยดำรงชีวิตนบดาวนพเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล เพราะมนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดตามวัฎจักร
ตราบใดที่ยังไม่บรรลุธรรม
8. ระหว่างดวงดาวทั้ง 8 ดวง เป็นที่ว่างเปรียบเสมือนท้องฟ้าอันเป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ชื่อของ
บรรดาขุนชาย ขุนหญิงที่มีพระคุณต่อแผ่นดินและลูกหลานไทย ตามรายชื่อและประวัติดังนี้ จากซ้ายมือด้านปีชวดตามเข็ม
นาฬิกา
8.1 ขุนลือต้นไทยทอง ขุนหญิงโพสพ ครองสุวรรณภูมิ เมื่อศักราชปีอินที่ 1402 ในสมัยของท่านทั้ง 2 ได้คิด
พิธีทำขวัญข้าว บวงสรวงเกี่ยวกับพืช และคิดค้นการเพาะปลูก การทำนาปลูกข้าวให้เป็นระบบ และการเก็บ
เข้ายุ้งฉาง เมื่อตายไปพระมเหสีคนนับถือเป็นเจ้าแม่โพสพ
8.2 ขุนสือไทยและขุนขอมฟ้าไทย ครองสุวรรณภูมิเมื่อศักราชปีอินที่ 1215 ทั้ง 2 ท่านช่วยกันคิดลายสือไทย
และลายสือขอม เป็นครั้งแรก ส่วนขุนหญิงไทยงามเป็นมเหสีของขุนสือไทย คิดการทอผ้าดอก ผ้ายก เช่น
ลายสือ ลายนกคู่ มีมาในแผ่นดินไทยนับพันปี เป็นต้นครูทอผ้า
8.3 พระเจ้าโลกลว้า พระนางก้านตาเทวี ครองสุวรรณภูมิเมื่อศักราชปีโลที่ 1410 ตรงกับ พ.ศ. 220 (พระบิดา
ของพระเจ้าตะวันอธิราช) เป็นผู้รับสมณฑูตทั้ง 5 รูป ที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งมาเผยแพร่ศาสนา หลัง
จากสังคายนาแล้วเป็นกษัตริย์ไทยที่ให้มีพิธีกฐิน ถวายกฐินเป็นพระองค์แรกและพิธีจุลกฐินก็มีขึ้นในสมัยของ
ของท่านเป็นครั้งแรก กลายเป็นประเพณีสืบมาและในสมัยของท่าน มีการส่งพระภิกษุสงฆ์ของไทยไปศึกษา
ที่ประเทศอินเดียว 11 รูป สามเณร 3 รูป
8.4 พระเจ้าตะวันอธิราช พระนางสิริงามตัวเทวี ครองสุวรรณภูมิเมื่อ พ.ศ.245 ในสมัยของท่านนอกจากการ
เสริมสร้างโรงเรียนและกองทัพบ้านเมืองแล้ว ยังส่งเสริมให้พระสงฆ์เรียนการสวด"สาธยายพระไตรปิฎก"
เรียนสวดสังโยคมีการปั้น ให้ปั้นพระพุทธรูปตั้งเป็นพระประธาน ณ ศาลา นำวิธีการกราบพระตั้งนะโม การ
สวดคณะสัชฌายสังคีติ คือ สังคีตีสาธยายเป็นคณะจัดให้มีการไหว้พระสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และ
ในพิธีการต่างๆ เช่นการถวายพระพระอนุโมทนาวิธี โกนจุก ทำบุญอายุ พิธีการศพ เช่น สวดมาติกา สวด
อภิธัมม 7 พระคัมภีร์ และสวดหน้าไฟ โดยมีพระโสณมหาเถระ เป็นผู้นำฝึกสอน และพระเจ้าตะวันอธิราช
เป็นผู้วางระเบียบให้เป็นประเพณีไทย จึงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
8.5 พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าอธิราช ครองสุวรรณภูมิเมื่อปี พ.ศ. 305 พระโอรสของพระเจ้าตะวันอธิราช เดือนเด่น
ฟ้าและดาวเด่นฟ้า ได้ช่วยกันวางรากฐานทางศาสนา ดูแลพระสมณฑูตตลอดเวลา ช่วยในการจดจารจารึก
เรื่องราว คำสอน พิธีการและเรื่องของบ้านเมือง ท่านทั้งสองได้สร้างวัดหลายวัด เช่น สร้างวัดพระธาตุ
เจดีย์ที่เมืองช้างค่อมแล้วให้ชื่อว่า นครธัมมราช นิมนต์พระมูนียะไปอยู่ช่วย
- สร้างวัดพระธาตุและวัดดงสัก ที่เมืองนองทอง (กาญจนบุรี) นิมนต์พระอุตตรไปอยู่ช่วย
- สร้างวัดพระธาตุ ที่เมืองเถือมทอง (นครปฐม) นิมนต์พระภูริยะไปอยู่ช่วย
- สร้างวัดพระธาตุ เมืองอู่ทองและวัดป่าเรไร (สุพรรณบุรี) นิมนต์พระอุตตรไปอยู่ช่วย
- นำศาสนาไปเขมร สร้างวัดพระธาตุ นิมนต์พระภูริยะไปอยู่ช่วย เมื่อวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 282
- สำหรับนครศรีธรรมราชนั้น นอกจากสร้างวัดพระธาตุแล้วยังสร้างโรงเรียนนายเรือ และตั้งกองทัพ
เรือใหญ่เพื่อสะดวกในการดูแลอาณาประเทศทางทะเลใต้ได้ทั่วถึง
8.6 ขุนจัทรภาณุ ครองสุวรรณภูมิ พ.ศ. 1000 เมื่อถึง พ.ศ. 1018 มอบเมืองให้อนุชาชื่อขุนหาญบุญไทยอยู่
รักษาเมืองแล้วยกทัพไปชมพูทวีป (อินเดีย) ถึง พ.ศ. 1020 ไปเป็นมหาราชในอินเดีย หลังจากนั้นเพียง
2 - 3 ปี ขุนอินไสเรนทร ลูกขุนจันทรภาณุคงจะนึกไปถึงคำโสณทำนายชะตาบ้านเมืองของสุวรรณภูมิ จึงมี
ความเห็นว่าควรย้ายเมืองและผู้คนไปเมืองธันมมราช (นครศรีธรรมราช) เพราะชอบดินฟ้าอากาศ ขุนหาญ
บุญไชยผู้เป็นอาคัด้านให้รอขุนจันทรภาณุกลับมาก่อน ขุนอินไสเรนทรไม่ฟังคำ จึงพาผู้คน 2,000 ไปสร้าง
เมืองใหม่ที่เมืองธัมมราชเมื่อ พ.ศ. 1023 และให้ชื่อว่า ศิริธัมมราช หรือศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ครั้น พ.ศ.
1026 สร้างเมืองเสร็จกลับมาอพยพ เอาแม่และน้องขุนดินเขาเขียวพร้อมพลเมืองอีก 15,000 คนไปอยู่ที่
ศรีวิชัยสุวรรณภูมิ เมื่อขุนจันทรภาณุกลับมาก็ลงมาอยู่ที่ศิริธัมมราชด้วย สุวรรณภูมิหมดกษัตริย์ หลังจาก
นั้นขุนจันทรภาณุกลับไปเยี่ยมสุวรรณภูมิพร้อมขุนหญิงสีมาทองมเหสีอีกครั้ง เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำเดือน 6 ปี
พ.ศ. 1027 จากข้อความในกระเบื้องจารจารึกขุดได้ที่ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่าในปี
พ.ศ. 1410 ขุนสีไสรนทรครองศรีวิชัยสุวัณณภูมิ แสดงว่าเมื่อ พ.ศ. 1410 นครศรีธรรมราชยังใช้ชื่อ ศรี
วิชัยสุวัณณภูมิ
8.7 ขุนหาญบุญไทย ครองสุวรรณภูมิ พ.ศ. 1030- 1035 สร้างเมืองใหม่ย้ายมาจากสุวรรณภูมิเดิมมาตั้งที่
หน้าเขางูและสร้างวัดสี่มุมเมืองบรรจุพระธาตุ ทิศตะวันออกสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทิศเนือสร้าง
วัดพระธรรมเจดีย์ ทิศใต้สร้างสัดพระพุทธเจดีย์ ทิศตะวันตกสร้างวัดอรัญญิกาวาส วัดนี้มีเจดีย์หินแกรนิต
บนเจดีย์สลักหินรูปพญาราหูอมจันทร์รอบ สร้างเสร็จ พ.ศ. 1035
หลังจากสุวรรณภูมิเสื่อมอำนาจ เกิดเมืองใหม่ขึ้นอีก 3 เมือง เป็น 3 ก๊กไทย
- พ.ศ. 1023 - 1026 ศรีวิชัยธัมมราช (นครศรีธรรมราช) ขุนอินไสเรนทรสร้าง
- พ.ศ. 1030 - 1035 ราชพลี (สุวัณณภูมิ) ขุนหาญบุญไทยสร้าง
- พ.ศ. 1112 - 1122 ไทยทวาลาว (เถือมทองนครปฐม) ขุนฟ้าเมืองไทยสร้าง
ต่อมาทั้ง 3 เมืองได้มีการรบกันหลายครั้งในชั้นหลังและเมื่อ พ.ศ. 1720 ขุนศรีเฉลิมฟ้า ครองไทยทวาลาวไม่ยอม
เสียค่าขวัญเมืองแก่ขุนราชพลี ปีละ 1,000 ตำลึง จึงเกิดรบกัน ขุนศรีเฉลิมฟ้าปราชัยและสิ้นชีพ
- พ.ศ. 1720 - 1721 ขุนศรีนาวนำถมครองไทยทวาลาวต่อจากขุนศรีเฉลิมฟ้า เกรงอิทธิพลและการทวงค่าขวัญ
เมืองของขุนราชพลีจึงอพยพขึ้นไปทางเหนือถึงถิ่นแดนสระหลวง ริมแม่น้ำสมพาย (แม่น้ำสำพัน) ตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า สุโขทัย
ดังนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย หากได้มีวัตถุอาถรรพ์อันเป็นมงคลนี้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ขอได้โปรดอาราธนา อธิษฐาน
เอาตามใจปรารถนาได้จากชื่อของครูอาจารย์ในแต่ละสาขา วิชาการ ดังปรากฏชื่ออยู่ในวัตถุมงคลนี้ เพื่อท่านจะได้หมดทุกข์
โศก โรคภัยที่ท่านประสบอยู่และขอให้ท่านจงประสพแต่ความสุขความเจริญทั่วหน้าทุกท่านเทอญ
ปล. ขอให้พุทธบริษัท บริจาคบูชาโดยใช้สติ อย่าบริจาคบูชาโดยคิดว่าราคาไม่แพงหรือคิดว่าต่อไปอนาคตจะดี
ความสิริมงคลจะยังเกิดผลได้อย่างเต็มที่นั้น อยู่ที่การปฏิบัติของท่านเองด้วย
เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่พุทธบริษัททั้งหลายที่ได้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการจัดสร้างพระผงว่านอุดมโชคปฐมอรหันต์
สุวรรณภูมิ เพื่อนำถวายแก่พระเกจิอาจารย์จากวัดต่างๆ 20 กว่าวัด จึงได้กำหนดพิธีกรรมตามลัทธินิยมของเมืองศรีวิชัย
สุวรรณภูมิ 12 นักษัตรเป็น 4 พิธี 4 วันดังนี้
* วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
เวลา 06.16 น. ที่เขางูราชบุรี (เทวาภิเษก ปลุกเสก)
* วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
เวลา 18.30 น. วิหารสูงมหาอุด นครศรีธรรมราช (บวงสรวง ปลุกเสก)
* วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547
เวลา 19.20 น. กลางทะเลปากอ่าว อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช (บวงสรวง ปลุกเสก)
* วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 พิธีพุทธาภิเษก
เวลา 15.31 น. จุดเทียนชัย วิหารหลวง วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช
พร้อมนี้คณะกรรมการได้ดำเนินการโดยใช้มวลสารเดิมที่เหลือจากพระผงว่านอุดมโชค 8 อรหันต์ (ชุดเจดีย์ราย)
และมวลสารที่เกี่ยวข้องกับพระอรหันต์และขุนเมืองเมือ่ครั้งสุวรรณภูมิในอดีต ดังนี้
มวลสารที่เป็นเนื้อผงว่าน มีมวลสารผสมต่างๆ คือ
1. ผงปูนจากองค์พระบรมธาตุเจดียืนครศรีธรรมราช ได้เก็บรวบรวมได้ตั้งแต่บูรณะ พ.ศ. 2538
2. ผงและคราบปูนจากองค์จริงของท้าวจัตตุคาม ท้าวรามเทพ ได้เมื่อบูรณะปิดทองใหม่ พ.ศ. 2544
3. ผงพระจาก กรุท่าเรือ สถานที่ซึ่งพระอรหันต์ พระโสณะเถร พระอุตระเถร พระฌาณียะเถร พระภูริยะเถร พระ
มูณียะเถร มาขึ้นเรือและเหยียบแผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก และพักแรมสร้างเป็นวัดโดยมีเจ้าเดือนเด่นฟ้าและ
ดาวเด่นฟ้ามาต้อนรับด้วยพระองค์เอง
4. ผงพระจาก กรุนาตรา อ.ท่าศาลา นครศรีธรรมราชเป็นวัดที่มีกระเบื้องจารเรื่องราวของท้าวจัตตุคามท้าวรามเทพ
5. ผงพระจาก กรุนาสน อ.เมือง นครศรีธรรมราช
6. ผงพระจาก ชุดยอดขุนพล พ.ศ. 2497
7. ผงพระจาก ชุดพระภูทราวดี พ.ศ. 2505
8. ผงพระจาก พระมหาว่าน เขาอ้อ พ.ศ. 2585 (อินโดจีน)
9. ผงว่าน ซึ่งทำพิธีขุดและลงอักขระโดย พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช
10. ผงสำเร็จที่ชักโดยพระเกจิอาจารย์เก่า พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เก็บรักษาไว้
11. ผงพระดินเดิมจากถ้ำนาสาร จ.สุราษฏร์ธานี
12. ผงพระจากรุกำแพงเพชร กรุสุพรรณบุรี และกรุอื่นๆ ทางภาคกลาง ภาคเหนือ หลายจังหวัด ที่พล.ต.ต.ขุนพันธ
ราชเดชไปรับราชการ
13. ผงอิฐและดินจากเจดีย์วัดปุณณารามที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี เป็นวัดแรกของสุวรรณภูมิที่พระปุณณะเถรจำ
พรรษาและเจ้าทัพไทยทองสร้างก่อนมีพุทธศักราช 21 ปี
14. ดินที่เขาสัจจะพันธ์คีรี พระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี ที่จำพรรษาของพระสัจจะพันธะเถร ผู้ขอให้พระพุทธเจ้า
เหยียบรอบพระพุทธบาทไว้
15. ดิน น้ำ ผงระฆังหิน จากวัดพริบพลี จ.เพชรบุรี เดิมเป็นบ้านเกิดของพระปุณณะเถระ พระนางสิริงามตัวเทวี
มเหสีของพระเจ้าตะวันอธิราช สร้างถวายเป็นที่ระลึกแก่พระปุณณะเถร ในฐานะที่ท่านเป็นลูกหลานเชื้อสายของ
พระปุณณะและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่พระปุณณะเถรผู้นำพระพุทธศาสนามาในสุวรรณภูมิเป็นครั้งแรก
16. คราบและผงทองจากองค์พระพุทธฉายที่เงางู จ.ราชบุรี พระที่พระปุณณะเถรแกะสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าองค์
แรกของไทย
17. คราบและผงพระนอนในถ้ำเขางู จ.ราชบุรีเป็นสถานที่ซึ่งพระเจ้าทัพไทยทองบรรพชาและจำพรรษาจนอายุ 119ปี
18. ผงและคราบตะไคร่เจดีย์พัทสีมา ระฆังหินและเจดีย์ที่สลักหินเป็นรูปราหูอมจันทร์ สร้างดดยขุนหาญบุญไทย ผู้
เป็นอาของท้าวจัตตุคาม ท้าวรามเทพ
19. ผงและคราบตะไคร่เจดีย์บรรจุอัฐิของพระญาระจรณะ และพระธัมมสุนันโธ จากวัดศรีพุทธารามที่พระเจ้าเดือน
เด่นฟ้าเป็นผู้สร้างแระมาณ พ.ศ. 300
20. ตะไคร่เจดีย์ปละโบสถ์เมียหลวง เมียน้อยที่พระเจ้าเดือนเด่นฟ้าสร้างเมื่อครองสุวรรณภูมิ อยู่ที่เขาบันไดอิฐ
จังหวัดเพชรบุรี
21. ดิน อิฐ และตะไคร่ จากวัดศรีสุวรรณภูมิแดนไทย (วัดโขง) สร้างโดยพระเจ้าตะวันอธิราช พระนางสิริงามตัว
เทวี ร่วมกับคนไทยสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.200 เศษ บรรจุอัฐิ พระโสณะเถร พระอุตระเถร พระภูมิยะเถรและ
พระมูณียะเถร
22. ผงจากไม้ตะเคียนต้นที่นำมาแกะสลักเสาเมืองนครศรีธรรมราช
23. ผงโลหะปล่องไฉนยอดพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เป็นโลหะผสมซึ่งนำมาจากเมืองต่างๆ โดยพระมหา
กษัตริย์ของแต่ละเมืองนำมาหลอมรวมกันเพื่อสร้างพระบรมธาตุ
24. ผงจากไม้ที่สบายคือ ไม้กาฝากกว่าร้อยแปดชนิด โดยมีไม้ที่เป็นประเภทส้ม 2 ชนิดคือ กระท้อน และมะขาม
25. ผงไม้กระบก ที่คนสมัยโบราณนำยางมาผสมกับผงดินทำเป็นแผ่นกระเบื้องจารเรื่องราวของสุวรรณภูมิและศรีวิชัย
26. ผงไม้ที่เป็นยาสมุนไพรหลายชนิดที่เป็นยาแก้ ยากัน
27. ผงเม็ดบัวและลูกกระจับ ผลไม้ที่ขุนดินนำมาป้อนให้ขุนหญิงกวักทองมากินและเกิดความรักกัน ได้ลูกแล้วตั้งชื่อ
เป็นนามปีและนามวัน ครบทั้ง 20 คน
28. ผงจากใบบัวหลวง 8 ใบ เพื่อระลึกถึงการปกป้องเมื่อครั้งขุนอินนำใบบัวมาปิดจองสงวนทั้งบนและล่างให้ขุน
หญิงกวักทองมาขณะขึ้นจากน้ำ
29. ผงจากใบตอง เพื่อระลึกถึงเครื่องนุ่งห่มของขุนชวด และใช้เป็นภาชนะห่ออาหารทำบายศรีไว้ครู
30. ผงดอกไม้ที่ใช้สมโภชพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกหลายสิบพิธี
31. ดอกไม้มงคลที่ใช้ใส่ในอ่างน้ำมนต์ในพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกหลายสิบพิธี
32. ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระประธานจากหลายวัดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสุวรรณภูมิ และศรีวิชัย
33. ผงแผ่นทองคำปิดพระประธานจากวัดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวในสุวรรณภูมิและศรีวิชัย
34. ผงทองคำปิดเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช
35. ผงจากไม้มงคลกว่า 150 ชนิด
36. ใบพลูร่วมใจ
37. ดิน 7 ท่า
38. ดิน 7 โป่ง
39. ดิน 7 ปราบ
40. ยอดรัก
41. ยอดสวาส
42. น้ำมนต์จากพิธีต่างๆ ผสมกับน้ำงนกลางแจ้งเพ็ญวันจันทร์ (วันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับวันจันทร์)
43. ผงจากไม้ค้ำฟ้ากายสิทธิ์
44. ผงจากพัทสีมาที่เจดีย์บรรจุกระดูกของพระปุณณะ เป็นพัทสีมาชุดแรกของประเทศไทย อายุกว่า 2,000 ปี
มวลสารที่เป็นโลหะ
โลหะจากยอดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ได้มาเมื่อบูรณะปลียอดทองคำ พ.ศ.2538 เป็นแร่ธาตุจากหลายเมือง
กษัตริย์ของแต่ละเมืองนำมาผสมหลอมเป็นปล่องไฉนสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ร่วมกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และมีการรื้อ
ลงมาเนื่องจากเกิดรอยชำรุดด้วยความเก่าแก่ของโลหะ ตั้งแต่สร้างเป็นทรงลังกา เมื่อราวปี พ.ศ. 1700 - 1800 จนปัจจุบัน
ประมาณ 700 ปีเศษ ในปี พ.ศ. 2538 กรมศิลปากรจึงคัดเลือกส่วนที่ชำรุดออกและซ่อมแซมปลียอดทองคำจนเสร็จสมบูรณ์
ส่วนโลหะที่ชำรุดบางส่วนได้นำมาผสมกับโลหะจากพระเก่าๆ ที่ชำรุดและชนวนพระจากการหล่อพระอีกหลายๆ พิธีที่
พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช เก็บรักษาไว้มาผสมเพื่อจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ร่วม
บริจาคในการจัดสร้างพระเพื่อถวายแด่วัดที่ทำคุณประโยชน์แก่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราชทุกท่าน
การสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ นอกจากการซ่อมบูรณะโบราณสถานของวัดพระบรมธาตุให้คงอยู่อย่างถาวรแล้ว ยังได้
ิอนิสงส์ในการที่ลูกหลานได้บูชาและนับถือบรรพบุรุษไทย เพราะการที่พุทธบริษัทได้มีโอกาสทำบุญแล้ว ยังได้มีวัตถุที่มีส่วน
ผสมของหยาดเหงื่อ แรงศรัทธาที่บรรพบุรุษทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจในการก่อสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ซึ่งยังคงมีหลัก
ฐานเหลือเป็นซากปรักหักพังไปตามกฏของไตรลักษณ์ที่ปรากฏความยิ่งใหญ่ในสมัยก่อนให้เห็น อันแสดงถึงความศรัทธาใน
พุทธศาสนา ซึ่งซากวัตถุที่นำมาผสม เกิดขึ้น มีขึ้น จากน้ำมือของบรรพบุรุษทั้งชีวิตและจิตใจของพวกเขายังคงฝังแน่นอยู่ใน
ประติมากรรมทุกอนูของวัตถุที่นำมาทำเป็นอิฐและปูนที่ก่อสร้าง ซึ่งจิตและวิญญาณยังคงติดตามและอนุโมทนาและอำนวย
อวยชัยแก่ผู้ที่ยังนับถือและระลึกถึง ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันว่าคนที่นับถือบรรพบุรุษ ย่อมประสพแต่ความเจริญและรอดพ้นอุปสรรคได้เสมอ |