(D)
พระกริ่ง -พระชัยวัฒน์ ปวเรศ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.๒๕๓๐ พระกริ่งปวเรศ เป็นสมัญญานามของพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายที่ทรงคุ้นเคยสนิทสนมและเจ้านายที่ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ มีจำนวนน้อยมาก ไม่เกิน 30 องค์ ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ พุทธลักษณะพระกริ่งปวเรศสร้างขึ้นโดยอาศัยเค้าจากพระกริ่งจีน ที่นิยมเรียกกันว่าพระกริ่งใหญ่ในปัจจุบัน ทรงสร้างขึ้นปีใดไม่มีใครทราบ ต่อมาภายหลัง หลวงชำนาญเลขา(หุ่น) สมุห์บัญชีในกรมของพระองค์ ได้ขออนุญาตนำแบบพิมพ์ไปสร้างขึ้นอีก มีจำนวนเท่าไหร่ไม่ปรากฎ นิยมเรียกกันทั่วไปว่า"พระกริ่งปวเรศ" ในอาณาจักรพระเครื่องถือว่าเป็นพระโลหะที่มีค่านิยมสูง และยากยิ่งที่จะเสาะแสวงหาไว้เป้นเจ้าของสักการะบูชา เป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ และมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฎิมาในลักษณะเดียวกันนี้ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลายด้วย เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตรในปี 2530 วัดบวรนิเวศวิหารได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลองแบบพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ปวเรศ ขึ้นใหม่เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัยและเทิดพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานผงจิตรลดา เพื่อบรรจุในองค์พระกริ่งปวเรศที่สร้างขึ้นใหม่นี้ทุกองค์ด้วย จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ปวเรศ รุ่นนี้ถึงได้เป็นที่นิยม ราคาพุ่งพรวดเป็นจรวดแบบไม่เคยพบเห็นในพระกริ่งรุ่นไหนๆในปัจจุบัน..... |