ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ประวัติพระหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุพรรณบุรี



(D)


พระหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว สุพรรณบุรี


จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นจังหวัดที่มีพระเกจิอาจารย์ในอดีตที่โด่งดังจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ด้วยเหตุที่ว่าพระเครื่องและวัตถุมงคลของท่าน เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในด้านพุทธคุณ และประสบการณ์มากมายให้ประจักษ์ เลื่องลือกันมาช้านานแล้วในอดีต พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย ไม่ได้รับความสนใจจากนักสะสมพระเครื่องเท่าที่ควร เพราะจำนวนพิพม์และจำนวนพระมีมาก ทำให้เสาะหามาสะสมได้ไม่ยากนัก
แต่ในปัจจุบันหาเป็นเช่นนั้นไม่ จำนวนพระเครื่อง ของหลวงพ่อโบ้ยได้ร่อยหรอและหายากขึ้น มิได้เป็นพระราคาเยาวชนเหมือนในอดีต แต่กลับกลายเป็นพระที่มีความนิยมกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นหลวงพ่อโบ้ย เกิดเมื่อปี ๒๔๓๕ (ปีมะโรง) ไม่ทราบวันเดือนที่แน่ชัด ณ บ้านสามหมื่น ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี โยมบิดาชื่อ โฉมศรี ส่วนโยมมารดาไม่ทราบชื่อ อาชีพทำนาต่อมาเมื่อปี ๒๔๕๖ อายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ศึกษาพระธรรม และจำพรรษาอยู่ที่วัดมะนาว ได้ราว ๓ พรรษา จึงได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านพระธรรมวินัย และอักขระขอม ที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) ธนบุรี เมื่อปี ๒๔๕๙ จากนั้นจึงได้ศึกษาต่อด้านวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดอมรินทร์โฆสิตาราม เป็นเวลา ๘-๙ ปี จึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาว ในปี ๒๔๖๖ และในปีถัดมาจึงได้มีโอกาสไปศึกษาต่อวิชาวิปัสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นเวลา ๑ พรรษาจึงได้กลับมาจำพรรษาที่วัดมะนาวต่อไป


หลวงพ่อโบ้ยเป็นพระที่ถือสมถะ สันโดษ มักน้อย ไม่สะสมทรัพย์สมบัติใดๆ ได้รับกิจนิมนต์ไป โปรดญาติโยม ไปสวดมนต์ ไม่ว่าที่ใด หากญาติโยมถวายเงินปัจจัยเป็นจำนวนมากๆ ท่านจะ ไม่ยอมรับไว้ เหตุนี้ท่านจึงไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาส ทั้งไม่รับครองผ้ากฐินวัตรปฏิบัติของท่านที่ทำเป็นประจำคือ ท่านจะตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน และทำวัตรสวดมนต์ จนกระทั่งรุ่งเช้า จึงออกไปบิณฑบาต เมื่อกลับมาถึงวัดท่านจะนิมนต์ พระทุกรูปในวัดยืนเข้าแถว แล้วจะตักข้าวในบาตรของท่านถวายแด่พระทุกรูป เป็นเช่นนี้ประจำอยู่ทุกวันดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับการสร้างวัตถุมงคลแจกฟรี โดยไม่ยอมรับปัจจัยเด็ดขาด จึงนับได้ว่าท่าน เป็นพระผู้สละแล้วซึ่งทุกสิ่ง ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๘ พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย มีมากมายหลากหลายพิมพ์ให้ศึกษา สะสม ส่วนมากที่พบมักจะเป็น พระเนื้อโลหะผสม โดยสร้างล้อพิมพ์ต่างๆ จากพระเก่า พระกรุ และพระเกจิอาจารย์ที่ท่านนับถือ และมีชื่อเสียงในอดีต เช่นที่เป็นพิมพ์พระกรุ ได้แก่ พิมพ์ลีลา พิมพ์ขุนแผน (จักรนารายณ์) พิมพ์มเหศวร พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ซุ้มระฆัง เป็นต้น ส่วนพิมพ์ของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ได้แก่ พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ พิมพ์ขี่ครุฑ (หลวงพ่อปาน) พิมพ์สร้อยสังวาลย์ พิมพ์งบนํ้าอ้อย พิมพ์นางกวัก พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก และพิมพ์อื่นๆ อีกมากที่ได้รับการยอมรับเป็นพิมพ์มาตรฐาน ในการเล่นหาและสะสม พระเครื่องรุ่นแรกของหลวงพ่อโบ้ย จัดสร้างเมื่อประมาณปี ๒๔๗๓ เป็นพระเนื้อโลหะผสม โดยกระแสหลักคือทองเหลือง โดยมากเป็นฝาบาตร ขันลงหิน ช้อนทัพพี เชี่ยนหมาก เงินและทองคำที่ชาวบ้านและญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญถวายเพื่อสร้างพระเครื่อง ดังนั้นพระของท่านจึงมีเนื้อหาหลายกระแส เช่น เนื้อขันลงหิน บางองค์เป็นเนื้อสำริดแก่เงิน และบางองค์ก็เป็นสำริดแก่ทอง สีสันและผิวพรรณจะไม่เท่ากันทุกองค์ ดังนั้นจึงต้องพิจารณาจากพิมพ์ทรงเป็นสำคัญ


โดยคุณ การันตีพระ-02 (12)  [พ. 20 เม.ย. 2548 - 13:36 น.]



โดยคุณ การันตีพระ-02 (12)  [พ. 20 เม.ย. 2548 - 13:37 น.] #4594 (1/5)


(D)


พระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย ใช้พระกรุพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เป็นแบบโดยใช้พิมพ์ดิน และต่อชนวนเข้าเป็นแผงแล้วเท ดังนั้นจึงทำให้พระส่วนใหญ่มีลักษณะบาง แต่ก็จะมีบางพิมพ์ ที่มีความหนากว่าบ้าง และมีรอยแต่งขอบด้วยตะไบแทบทุกองค์ จุดพิจารณาที่สำคัญคือ "รอยย่น" ในเนื้อพระ ด้วยเหตุที่ว่าหลวงพ่อโบ้ย ใช้โลหะหลายชนิดผสมลงหลอม จึงทำให้เนื้อโลหะ ผสมเกาะตัวกันไม่ดีเท่าที่ควร จึงเกิดรอยย่น และในบางองค์ก็จะพบเศษทอง ที่ไม่ผสมรวมตัวกับเนื้อหาอื่นที่ภาษาเซียนเรียกว่า "เกล็ดกระดี่" ซึ่งเป็นคุณลักษณะของเหรียญหล่อโบราณ
ปี ๒๔๗๙ ท่านได้สร้างพระเครื่องรุ่นต่อมา เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา ขึ้นอีกชุดหนึ่ง ซึ่งมีพุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระเครื่องของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค แต่ก็มีเอกลักษณ์เป็นของท่านเอง เป็นพระเนื้อดินเผาชุด พระเจ้าห้าพระองค์ มีพุทธลักษณะคือ เป็นรูปพระพุทธประทับอยู่บนสัตว์พาหนะต่างๆ คือ พิมพ์ทรงโค พิมพ์ทรงราชสีห์ พิมพ์ทรงเต่า พิมพ์ทรงนก และพิมพ์ทรงพญานาค เป็นเนื้อดินเผารูปสี่เหลี่ยม มีผงพุทธคุณอุดอยู่ด้านบน
ปี ๒๕๐๐ จึงได้สร้างพระผงรูปเหมือนตัวท่านเอง โดยเป็นเนื้อดินผสมผงชานหมาก ซึ่งสร้างจากชานหมากที่ท่านฉันแล้ว ตากแห้งเก็บไว้เป็นเวลาหลายปี ผสมกับผงธูปกรรมฐาน และดอกไม้แห้งบูชาพระผสมดิน แล้วกดพิมพ์ ต่อมาพบว่าเนื้อร่วนซุยไม่ประสานกัน จากนั้นท่านจึงใช้นํ้าตาลโตนดมาเป็นตัวประสาน จึงทำให้เนื้อหามวลสารมีลักษณะแตกต่างกันไป ๓ แบบคือ ๑.เนื้อผงธูป ๒.เนื้อผงชานหมาก ๓.เนื้อดิน เป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิเต็มองค์ ด้านล่างมีอักขระลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยพระผงรูปเหมือนทั้งหมดได้สร้างในคราวเดียวกัน

ปี ๒๕๐๕ ท่านได้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ๑ องค์ มีพุทธลักษณะเป็นพระปางสมาธิ ประดิษฐานอยู่ใกล้กับกุฏิของท่าน ภายในองค์พระพุทธรูปได้บรรจุพระเครื่อง และวัตถุมงคล ของท่านไว้ ซึ่งก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ปี ๒๕๐๘ สร้างเหรียญรูปเหมือนในงานฉลองผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต มีอยู่ด้วยกัน ๒ ลักษณะคือ ๑.เหรียญสี่เหลี่ยมตัดมุม (นั่งเต็มองค์) ๒.เหรียญกลม (นั่งเต็มองค์) ส่วนเหรียญกลม (ครึ่งองค์) สร้างในโอกาสงานฌาปนกิจหลวงพ่อโบ้ย หลักในการศึกษาพิจารณา พระหล่อเนื้อโลหะผสม หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ประกอบด้วย ๑.พิมพ์ทรงมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ ๒. เนื้อหากระแสโลหะ ๓.รอยย่นในเนื้อพระ ๔.เกล็ดกระดี่ ๕.รอยตะไบแต่งขอบและชนวน และ ๖.ความหนาบางขององค์พระ เนื่องจากพระหล่อเนื้อโลหะผสมของหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว มีมากมายหลากหลายพิมพ์ จึงทำให้มีการนำพระหล่อโบราณของสำนักอื่น ที่ไม่มีประวัติชัดเจน มาเล่นหายัดเยียดเป็นพระของหลวงพ่อโบ้ย ดังนั้น จึงขอให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาพิมพ์ทรงมาตรฐานที่ได้รับ การยอมรับจากผู้มีความชำนาญ เพื่อจะได้ไม่ต้องเช่าพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ย ผิดวัด ผิดราคา

ขอให้ท่านผู้อ่านจงโชคดี มีโอกาสได้เป็นเจ้าของพระหลวงพ่อโบ้ยแท้ๆ โดยทั่วกัน


โดยคุณ การันตีพระ-02 (12)  [พ. 20 เม.ย. 2548 - 13:38 น.] #4595 (2/5)


(D)



โดยคุณ การันตีพระ-02 (12)  [พ. 20 เม.ย. 2548 - 13:38 น.] #4596 (3/5)


(D)



โดยคุณ ศรีปราชญ์ (1)  [พ. 20 เม.ย. 2548 - 19:02 น.] #4597 (4/5)

โดยคุณ พันชาติ (499)  [ส. 23 เม.ย. 2548 - 08:10 น.] #4648 (5/5)
ดีครับเพือนๆท่านใดมีอะไรดีๆพบเห็นเอามาเล่าสู่กันฟังครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1