(D)
เสื้อยันต์หลวงพ่อพรหม มีแค่ 12 ตัว ที่เหลือมาจากไหน
เสื้อยันต์หลวงพ่อพรหม เท่าที่สอบถามคนเก่าคนแก่ และเป็นกรรมการวัดช่องแค ในยุดนั้นและทัน (ก่อนปี 2512 คือก่อนหลวงพ่อดังจากรุ่นฟ้าผ่า) รวมทั้งผู้ที่เล่นหาเสื้อยันต์หลวงพ่อก่อนที่หลวงพ่อจะดังเมื่อ 20 กว่าปีก่อน
ปีที่สร้างรู้แต่ว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งช่วงนั้น แถว ต.ช่องแค ตากฟ้า โคกสำโรง แถวนั้นเป็นบ้านป่า เมืองเถื่อนถึงขนาดปิดตลาดปล้นกัน ปิดเมืองปล้น ประกอบกำลังตำรวจมีน้อย ดาบพิมจึงได้ขอหลวงพ่อและกำนันและผู้ใหญ่บ้าน สมัยนั้นจำชื่อไม่ได้ครับ ได้ขออนุญาตหลวงพ่อทำเสื้อยันต์ ขึ้นจำนวน 12 ตัว แจกคนใกล้ชิดและพรรคพวกเพื่อป้องกันภัย
ช่างที่ตัดเย็บชื่อซ้งปัก ซึ่งผมเรียกว่า อาซ้งปัก เป็นช่างเย็บเสื้อผ้าจากฮ่องกง ได้หนีภัยสงครามมามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสงครามโลก โดยมาตามคนในหมู่บ้านที่ย้ายเข้ามาอยู่ก่อน เช่น เถ้าแก่ฟุก ซึ่งทำกิจการร่ำรวยจนซื้อโรงโง่หินได้ อาซ้งปักปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว
เนื่องจากเสื้อยันต์สมัยหลวงพ่อทำแค่รุ่นเดียวด้วยเหตุคนมองว่าเป็นของล้าสมัยไม่สวย ใส่ไปไหนก็ลำบากใส่ไม่สบายตัว ผ้าสีแดงประกอบกับมีผ้าขาวม้าที่มีประสบการณ์เล่าลือกัน คนในสมัยนั้นจึงนิยมใช้ผ้าขาวม้าดีกว่า สะดวกและง่ายต่อการใช้ ด้วยเหตุนี้สมัยหลวงพ่อจึงทำขึ้นมาแค่รุ่นเดียว ต่อมาถ้าสมัยอาจาย์แบ็งยุดที่ลัทธิคอมมิวนิวส์กำลังระบาดทั่วประเทศ ก็มีทหารตำรวจ มาถามหากันมาก ร่วมทั้งลูกศิษย์ที่เป็นทสปช. ลูกเสือชาวบ้าน แต่เนื่องจากมีแค่ 12 ตัว อาจารย์แบ๊งจึงทำขึ้นมาใหม่ให้เช่าบูชา แล้วลูกศิษย์บางท่านร่วมมือกับเซียนพระบางคนในกรุงเทพฯ หาเสื้อยันต์ให้คนเช่าไม่ได้ จึงร่วมมือกัน เอารุ่นนี้ยัดเป็นขอหลวงพ่อ
ข้อสังเกตในเสื้อยันต์หลวงพ่อ ที่ทำขึ้นมา จะเป็นผ้าแดง เต็มตัว คือเวลาใส่ คนไซด์ธรรมดา จะใส่แล้ว ถึงเอว ไม่ใช่ตัวสั้น ถ้าเป็นรุ่นตัวสั้น(ใส่แล้วเอวลอย) จะทำสมัยอาจาย์แบ๊งเป็นเจ้าอาวาส อีกอย่างถ้าเป็นเสื้อสมัยหลวงพ่อนั้น ยันต์ต่างๆที่เขียน จะเขียนด้วยดินสอ และจะเขียน ยันต์ สองด้านเต็มที่ไม่เกิน 3-4 ยันต์ ยันต์ที่นิยมเขียนจะเป็นยันต์สิบ ยันต์องค์พระ หรือยันต์น้ำเต้า ยันต์ที่ท่านใช้ประจำและคุ้นเคยกันดีครับ โดยจะเขียนทั้งสองด้าน ของตัวเสื้อ ตัวที่อาจาย์แบ๊งสร้างจะเขียนยันต์เยอะมากแต่ไม่มีรูปหลวงพ่อ และถ้ามีรูปหลวงพ่อพรหม ก็จะเป็นของปลอมแน่นอนครับ เพราะอาจารย์อ๋าเท่าที่ทราบก็ไม่ทำขึ้นมาอีก ข้อสังเกตอีกอย่างรุ่นอาจารย์แบ๊งทำจะตัวเล็กกว่า คือตั้งใจไว้ใส่ภายในแล้วใส่เครื่องแบบต่างๆๆ หรือเสื้อต่างๆๆสวมทับ เพื่อให้เหมาะสมกับยุดสมัย
ปัจจุบันนี้เท่าที่ตรวจสอบได้ ทั้ง 12 ตัว มีรายชื่อผู้ถือครองดังนี้
1) อาจารย์ออ ลูกศิษย์หลวงพ่อพรหม ไม่แน่ใจยังอยู่หรือเปล่าตอนนี้
2) นายแก้ว เจ้าของตลาดช่องแค น้องชายเถ้าแก่เทียนซัง เจ้าของโรงหนังช่องแค และอดีตเป็นกรรมการวัดตั้งแต่ปี 08 จนถึงปี 30 โดยเช่าต่อจากหมวดสำลี ปัจจุบันอยู่กับลูกชายคนโต
3) เฮียชวน ร้านอิ่นอันโอสถ ในช่องแค อดีตอยู่ในคณะหนุ่มน้อย
4) คุณเกลียวพันธ์ ตั้งสุวรรณ์ ปัจจุบัน ได้อยู่กับ เฮียอ้า ขายก๋วยเตียวในตลาดช่องแค ได้มาโดยซื้อบ้านต่อจากคุณเกลียวพันธ์ แล้วเจอขณะรื้อเพื่อซ่อมแซมบ้าน โดยพบซ่อนอยู่ในวงกบประตูห้องนอน
5) ร้านฮึ้งสุฮะ (ร้านเกียงศักดิ์) ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่กับ เฮียเกียง หรือ เฮียทิว กันแน่ (นามสกุลท่านคือ เหลืองเกียงไกร)
6) ของ กำนันประวิทย์ ได้เสียชีวิต และทราบข่าวว่าขายไปแล้วให้
7) กำนันพรง วรโพธิ์ ได้เสียชิวิตแล้ว ปัจจุบันไม่ทราบอยู่กับใคร
8) ดาบพิม หลวงพลู ยังอยู่ เป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อคนแรกเลย ตั้งแต่หลวงพ่อยังหนุ่ม เป็นเด็กวัดกินข้าวก้นบาตรจนโตก็มาเป็นตำรวจประจำที่ช่องแค พอจีไอมาตั้งฐานทัพที่ตาคลี ก็โดนย้ายไปเฝ้าเขาเรดาห์ตาคลี
9) เจ๊กกุ้ย ร้านเนตรมิตร ได้เสียชีวิต แล้ว ปัจจุบันไม่ทราบอยู่กับใคร
10) นายอำนวย หุนคล้ำ โรงโม่หินพยัคฆ์ศิลา ปัจจุบันไม่ทราบว่านายอำนวยยังถือครองอยู่หรือไม่
11) ร้านทองตงทวี ในช่องแค ยังอยู่
12) ร้านสหเกรียงขายวัสดุก่อสร้าง ในช่องแค ยังอยู่
สรุปจากจำนวน 12 ตัว ทราบคนถือครองอยู่ 9 และไม่ทราบ 3 ตัว แต่มีบุคคลหนึ่งใน จำนวนที่ทราบและถือครองอยู่ใน 9 ตัวนั้น (ขอไม่เอยนาม) ได้ดูในหนังสือเล่มแดงหนา ของ คุณ....... (เล่มที่บอกว่าเป็นยอดนิยมนะครับ) แล้ว บอกว่าที่ลงในหนังสือ เก้หมด แต่จริง น่าจะให้ความเป็นธรรม ผมจะลองไล่วิเคราะห์ดูเป็น ตัวๆเลยละกัน ใครมีหนังสือเล่มนี้ ลองหยิบขึ้นมา ดูตามละกัน ไม่ต้องเชื่อผมนะครับ ลองคิดตาม อยู่หน้า 218
นับไล่จากจากด้านล่างซ้ายมือเรา เป็นตัวที่ 1 วนมาทางขวา ตัวที่ 2 ขึ้นลงไปข้างล่างซ้ายมือ ตัวที่ 3 และตัวสุดท้ายอยู่ด้านบนขวามือ ล่างสุด
ขอเริ่มจากตัว ที่ 4 (ล่างขวา)
ตัวนี้คิดว่าไม่ใช่ของหลวงพ่อพรหม และของอาจาย์แบ็ง เนื่องจากมียันต์นะโมพุทธายะใหญ่ ด้านล่างตัวเสื้อมุมขวาครับ(ให้คิดถึงยันต์ที่หลวงพ่อเดิมใช้นะครับสำหรับคนที่นึกยันต์ไม่ออก) ซึ่งตามประวัติหลวงพ่อไม่เคยใช้ นึกง่ายๆๆละกันนะครับท่านเขียนด้วยตัวท่านเองเป็นไปได้หรือ ที่จะเขียนยันต์ที่ท่านไม่ถัด ยุดต่อมาไม่ว่าจะจารหรือเขียนยันต์ชายธงต่างๆๆ ท่านก็ไม่เคยเขียนยันต์นะโมพุทธายะใหญ่ แล้วเป็นไปได้หรือจะเขียนยันต์นี้เองตอนทำเสื้อยันต์ ทั้งอาจาย์แบ๊ง จะว่าลูกศิษย์ทำขึ้นไปถวาย ก็ไม่มีประวัติ ว่าใช้ยันต์นะโมพุทธายะใหญ่ในวัตถุมงคลที่ลูกศิษย์ทำขึ้นถวาย คิดดูถ้าเป็นศิษย์อาจารย์กันจริงจะไม่รู้หรือว่าอาจาย์ชอบใช้ยันต์อะไร ทำไมใช้ยันต์อื่นที่อาจารย์ตัวเองไม่ใช้ แต่ผมก็เคยเห็นนะแผงพระบางที่ ศูนย์พระบางแห่ง เอาของที่มียันต์นะโมพุทธายะใหญ่ แล้วบอกว่าเป็นของหลวงพ่อพรหม เช่นมีดหมอ ถ้าจะยัด ยัดเป็นของหลวงพ่อเดิมไม่ดีกว่าหรือ ได้ราคาดี แต่ผมบอกอย่างนะครับมีดหมอ หลวงพ่อโอด ก็เป็นลูกศิษย์ และเป็นอาหลานแท้ๆๆหลวงพ่อเดิม ก็ทำ ถ้าบอกเป็นของหลวงพ่อโอดกับหลวงพ่อพรหม อันไหนจะปล่อยได้ราคาดีกว่า อันไหนจะปล่อยได้ง่ายกว่าครับ เพราะมีดหมอยุดหลวงพ่อโอดทำ โลหะใหม่กว่าของหลวงพ่อเดิมมาก แผงพระ ศูนย์พระที่มีประสบการณ์ ถ้าจะยัดก็น่าจะยัดยุดที่ใกล้กันไม่ดีกว่าหรือ ง่ายกว่ากันเยอะ แต่ถ้าบอกว่าคนอื่นทำขึ้นไปแล้วไปถวายให้หลวงพ่ออธิฐานจิต ผมก็บอกว่าเป็นไปได้ ผมก็จนปัญญาจะพิสูจน์ เพราะกรณีนี้มีเยอะมาก ต้องดูที่มาที่ไปอย่างเดียว แต่สำหรับกรณีเสื้อยันต์ผมคิดว่าไม่น่าใช่แน่ ตัดประเด็นลูกศิษย์ได้เลย เพราะในหนังสือที่เห็นเป็นดินสอเขียน ดังนั้นสรุป ตัวนี้เก้ครับ
ตัวที่ 3 (ล่างซ้าย)
ขอไม่ออกความเห็นนะครับ แต่ให้ข้อสังเกตไว้ เสื้อสั้น ใส่แล้วเอวลอย ยันต์เยอะมาก
ตัวที่ 2 (บนขวา)
ตัวนี้เช่นกันครับไม่ขอออกความเห็น ตัวที่ 3 แต่ตั้งข้อสังเกตว่า เสื้อสั้น ใส่แล้วเอวลอย ยันต์เยอะมาก
ตัวที่ 1 (บนซ้าย)
ตัวนี้คิดว่าดูจากลายมือ ไม่ว่าจะยันต์น้ำเต้า ยันต์สิบ ยันต์เทา แล้วลองเปรียบเทียบ กับในรูปที่ผมลงให้ชมนะครับ แล้วลองคิดเอาเอง ว่าใช่หรือไม่ หรือจากในหนังสือเล่มเดียวกันก็ได้ ที่เขาบอกหลวงพ่อจารเองหลังรูป หน้า 192 ใกล้เคียงกับยุดที่ทำเสื้อ และ หน้า 196 ซึ่งเป็นยุดหลังต่อมา แล้ว เพื่อนๆพี่ๆ ลองใช้วิจารณญาณกันเองนะครับ เพราะถ้าผมบอกว่าเก้หรือไม่ทันทั้ง 4 ตัวคงโหดร้ายไป
ที่สำคัญทั้งสี่ตัว ลายมือคนเขียนยันต์บนเสื้อเป็นลายมือคนเดียวกันครับ ลองพิจารณาดีๆๆนะครับ ที่สำคัญคนละลายมือกับที่หนังสือเล่มเดียวกันบอกเองว่าลายมือหลวงพ่อ หน้า 192 ใกล้เคียงกับยุดที่ทำเสื้อ และ หน้า 196 ซึ่งเป็นยุดหลังต่อมา แล้วลองเทียบกับลายมือของเสื้อตัวที่ผมโชว์ดูนะครับ ว่าลายมือใครน่าจะเป็นลายมือหลวงพ่อมากกว่ากัน อยากให้ตั้งข้อสังเกตอีกอย่าง คือว่า หนังสือหลายฉบับ จะบอกตรงกันว่า หลวงพ่อท่านบุคคลิกเป็นคนพูดน้อย เวลาท่านเขียนท่านก็จะเขียนน้อยเช่นกัน แต่ทำไมกับเสื้อยันต์ในหนังสือท่านถึงได้กลายเป็นคนเขียนเยอะครับ เป็นไปได้หรือเปล่าครับ
แต่น่าสังเกตนะครับ ว่าหนังสือเล่มนี้บอกข้างใต้แค่
ลูกศิษย์ที่เป็นตำรวจประจำอยู่ตำบลช่องแค
จัดทำแล้วนำไปให้หลวงพ่อปลุกเสกใช้ไว้ป้องกันตัว
ทางวัดไม่ได้จัดสร้างเพื่อจำหน่าย
โปรดใช้วิจารณญาณกันเองนะครับ อันนี้ไม่ออกความเห็น
สำหรับหนังสือเล่มอื่นๆ ไม่มีใครเอยถึง เนื่องจากเป็นของหายากมาก ถ้าไม่รักกันจริง หรือไว้ใจ ไม่เอาออกมาให้ศึกษาหรอกครับ นีเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการบิดเบือนวัตถุมงคลของหลวงพ่อ ที่มีหลักฐานและจับได้
|