ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ++ขอความกระจ่าง++ เกี่ยวกับหลักในการแขวนพระ จำนวน ลำดับ ชนิด ฯลฯ

(D)
ผมเชื่อว่าเป็นอย่างนี้(เกือบ)ทุกคนแหล่ะ
----------
เริ่มแรกก็ "แขวนเดี่ยว"

พอเริ่มศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องได้ไม่นานนัก ก็เริ่มมีพระใน collection อยู่จำนวนหนึ่ง

ทีนี้เริ่มชอบ หลายองค์

แล้วก็รู้ว่าพุทธคุณแต่ละองค์ เข้ม ขลัง ไม่เหมือนกัน (คนละด้าน)

เมื่อชอบหลายองค์ ก็อยากห้อยหลายๆ องค์ ไม่อยากวางไว้หิ้งอีกแล้ว

"ทำไมจะไม่ได้" ในเมื่อเบญจภาคีอันลือลั่น ยังเป็นสายยาว 5 องค์เลย

ปัญหาคือ จะแขวนอย่างไรให้ถูกต้อง
(เพราะเบญจภาคีก็มีลำดับให้เห็นชัดเจน องค์ไหนอยู่กลาง อยู่ซ้าย-ขวา บน-ล่าง แสดงว่า "ลำดับ" มีความสำคัญ ที่น่าสังเกตุคือมีเบญจภาคีหลายสาย เบญจภาคีพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระเกจิ พระผง ฯลฯ หรือว่าต้องแขวนแยกประเภท)

ถามใครก็อ้ำอึ้ง "แล้วแต่" "สบายใจก็ห้อย ไม่สบายใจก็ไม่ต้องห้อย" (รู้หลักการ จึงจะทำให้สบายใจจริงๆ นะครับ)
บ้างว่า
"เมื่อพระประธานตรงกลางเป็นพระพุทธ ห้อยพระเกจิสูงกว่าพระพุทธไม่ได้ คือต้องห้อยพระพุทธทั้งเส้นเลย"
บ้างว่า
"จัดลำดับเบื้องซ้าย เบื้องขวา แล้วถ้าห้อย 5 องค์ 9 องค์ จะทำยังไง"
"้ห้อยโดยคำนึงถึงขนาดหรือน้ำหนัก เพื่อให้สมดุล"
"ห้อยคู่ ห้อยเดี่ยว" (กรณีนี้ กระทู้ก่อนหน้านี้มีตอบไปแล้วครับ)
"พระผง พระหล่อ" "หินธิเบต" ฯลฯ

--------
ผมถามมาหลายคนแล้ว เห็นห้อยกันเต็มคอ แต่ตอบผมไม่ได้
-----
ผู้รู้กรุณาด้วยครับ ถือเป็นวิทยาทาน ผมเชื่อว่า "หลัก" มันมี เพียงแต่เราจะ "ใส่ใจ" หรือ "เอาใจใส่" หรือไม่เท่านั้น เพราะมีคนเคยบอกผมว่า บางคนก่อนจะห้อยต้องดูพระก่อนว่า "ชง" (เข้ากัน เสริมกัน) หรือไม่ แสดงว่ามันต้องมีวิธี
-------
กระทู้นี้จะเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ขอความกรุณาสละเวลาแสดงความคิดเห็นหรือข้อมูลด้วย ขอบคุณครับ

โดยคุณ tomcody (3)  [พฤ. 22 มี.ค. 2550 - 10:58 น.]



โดยคุณ โตมอน (106)  [พฤ. 22 มี.ค. 2550 - 13:03 น.] #85584 (1/25)
ของผมแขวนพระพุทธอยู่ข้างบนสุด ส่วนด้านล่างก้อแขวนพระเกจิ แต่บังเอิญผมมีสร้อยหลายเส้นครับ แยกเครื่องราง ปิดตา อยู่อีกเส้นนึงส่วนคนอื่นเป็นยังไงช่วยบอกกล่าวกันหน่อยนะครับ...

โดยคุณ yacool (3.1K)  [พฤ. 22 มี.ค. 2550 - 17:20 น.] #85633 (2/25)
ผมเคยเป็นอาการอย่างนี้เหมือนกันครับ พอมีมากๆ ก็มึนๆ ปวดหัวกับลำดับแบบนี้มาก่อน ผ่านมาหลายปี สรุปให้เลยครับ สูงสุดคืนสู่สามัญ แขวนองค์ที่ท่านศรัทธาจริงๆ มีความผูกพัน อาจจะเป็นพระสงฆ์รูปที่ท่านศรัทธาในแนวทาง คำสอนก็ได้ แขวนให้ระลึกถึงท่าน ถึงคำสอน ถึงแนวทาง เป็นพอครับ อย่าแขวนแล้วหวังรอปาฏิหารย์ครับ ปัจจุบันผมแขวนองค์จตุคาม ด้วย ยึดถือแนวคิดตามหลักพระโพธิสัตว์ เป็นผู้ให้ สร้างบุญกุศล ช่วยเหลือผู้อื่นตามปัญญาและกำลังครับ ตอนนี้ก็แขวนองค์เดียวเดียวๆ พระที่เคยเก็บก็เก็บไว้อย่างนั้นก่อนครับ ตอนนี้ไม่มีปัญหาปวดขมองแบบก่อนอีกแล้วว่าจะแขวนอะไรดี ทำตัวให้เป็นคนดีเข้าไว้สิ่งดีๆ จะมาหาเองครับท่านนนนน

โดยคุณ เอบ้านกร่ำ (758)  [พฤ. 22 มี.ค. 2550 - 17:57 น.] #85646 (3/25)
ผมแขวนพระพุทธกริ่งหน้ายักษ์ หลวงพ่อโตตรงกลาง แล้วเป็นอุปคุตในเต่า แล้ว คล้ององค์จตุคามไว้ด้านหลัง ครับ บางทีก็แขวนหลวงพ่อสินเดี่ยวๆครับ
ผมว่าแล้วแต่ ใครชอบนะ
อ้อแล้วก็ปีหมูเลยแขวนเสือแก่นไม่มะขามหลวงพ่อสาครด้วยอุดผงพรายที่ก้นด้วย

โดยคุณ tomcody (3)  [พฤ. 22 มี.ค. 2550 - 22:56 น.] #85734 (4/25)
ด้วยความเคารพทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นครับ

แต่ว่า....ยังไม่ "โดน" เลยครับ

ไม่น่าเชื่อว่าใช่มั๊ยว่า ที่เราๆ (รวมทั้งผมด้วย) แขวนกันอยู่เนี่ย อาศัย "ความรู้สึก/ความอยาก" ล้วนๆ เลย

ให้มันรู้ไปว่าใน g-pra จะไม่มีใครมีเหตุผล รู้วิธีแขวนพระให้ถูกต้องตามหลัก

โดยคุณ เอบ้านกร่ำ (758)  [ศ. 23 มี.ค. 2550 - 13:51 น.] #85863 (5/25)
ขอโทษนะที่เข้ามาตอบ

โดยคุณ tomcody (3)  [ศ. 23 มี.ค. 2550 - 14:17 น.] #85867 (6/25)
คุณ "เอบ้านกร่ำ" อย่าเข้าใจผมผิดครับ

ผมไม่ได้ตำหนิอะไรเลย เพียงแต่กังวลว่าจะมีแต่คนมาบอกว่า "ตัวเองห้อยอะไร" ซึ่งไม่ตรงคำถาม (และกระทู้ก่อนหน้านี้ก็มีการพูดถึงเรื่องห้อยพระอะไรกันไปแล้วด้วย)

เอาว่า ตกลง ใน g-pra เนี่้ย ไม่มีใคร(รวมทั้งผม)รู้เรื่องนี้จริงๆ เลยซักคนเหรอครับ

(ผ่านไป 1 วันแล้ว)

โดยคุณ พุฒิพัฒน์ (179)  [ส. 24 มี.ค. 2550 - 09:28 น.] #86074 (7/25)
ไม่รู้จริงๆครับ เด๋วรอผมเรียนปริญญาโทต่อให้จบก่อนนะครับ คงจะพอมีคำตอบ...อิ่ๆ...(หยอกนิดๆให้หายเครียดคร๊าบบ ) แต่ส่วนตัวผม ไม่สนใจหลักการดอกครับ ตามแต่ใจคนไหนชอบ อย่างที่พี่ๆข้างบนตอบก็ถูกของเค้า แม้จะไม่ใช่คำตอบที่ตรงใจคุณ แต่อย่าลืมน้ำใจที่พี่ๆเค้าเอาใจใส่กระทู้ที่คุณตั้งแล้วเข้ามาร่วมสนทนาด้วยนะคร๊าบบบ หวังว่าคุณคงจะได้คำตอบที่คุณต้องการนะครับ...ชะแว๊บ...

โดยคุณ เอบ้านกร่ำ (758)  [ส. 24 มี.ค. 2550 - 18:07 น.] #86153 (8/25)

โดยคุณ pichainan (49)  [ส. 24 มี.ค. 2550 - 19:35 น.] #86167 (9/25)
เคยอ่านเจอ หลวงพ่อเกษม เขมโก ท่านให้แขวนพระพุทธอยู่สูงกว่าพระเกจิ
พระเกจิอยู่สูงกว่าเทพหรือกษัตริย์ คำพูดของพระอริยะสงฆ์เชื่อถือได้ไม่ต้องสงสัยครับ

โดยคุณ kasemchonburi (3K)  [ส. 24 มี.ค. 2550 - 22:39 น.] #86194 (10/25)
ไม่เห็นจะยากเลยจัดไปตามราคานั่นแหละครับ


องค์กลางเป็นประธาน (แพงที่สุดในชุด)


องค์ที่สองด้านขวา (แพงอันดับสอง)


องค์ที่สองด้านซ้าย (แพงอันดับสาม)


องค์ที่สามด้านขวา (แพงอันดับสี่)


องค์ที่สามด้านซ้าย (แพงอันดับห้า)


ชุดสามองค์...ชุดห้าองค์....ชุดเจ็ดองค์.....ชุดเก้าองค์ ก็จัดไล่เรียงไปแบบนี้


สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ขนาดและน้ำหนักพระแต่ละองค์ที่นำมาจัดเป็นชุด...ถ้าไม่เหมาะสมกันก็ไม่สวยงาม..สวมใส่แล้วไม่สบายเพราะหนักไปข้างหนึ่งข้างใด


พระเบญจภาคีผมว่าตอนแรกจัดตามขนาดและน้ำหนักมากกว่าอย่างอื่น


การจัดตำแหน่งไม่มีรูปแบบแน่นอน...แล้วแต่ใครมีพระอะไรก็จัดไปตามใจชอบ....แต่เท่าที่เห็นในคอพรรคพวกก็องค์ที่แพงที่สุดในชุดนั่นแหละครับอยู่ตรงกลาง


อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ..ใครไม่เห็นด้วยก็ไม่ต้องทำตามผมครับ

โดยคุณ tomcody (3)  [อา. 25 มี.ค. 2550 - 09:38 น.] #86242 (11/25)
ขอบคุณทุกความคิดเห็นอีกครั้งครับ
เท่าที่ผมได้จากกระทู้นี้ พอสรุปได้ดังนี้
1. "ทฤษฎี" ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ น่าจะเป็นไปตาม คุณ "pichainan" ว่าไว้ เพราะอ้างอิง หลวงพ่อเกษม ผมไม่มีข้อสงสัยใดๆ ครับ ทั้งยังไม่ขัดแย้งกับ เบญจภาคี (เนื่องจากเป็นพระพุทธทั้งสิ้น)
2. "ในทางปฏิบัติ" และเราพบเห็นกันบ่อยที่สุด คงเป็นไปตามคุณ "kasemchonburi" ว่าไว้ คือเน้นที่ราคา อันนี้ต้องยอมรับ ส่วนใหญ่พระในคอที่ราคาสูงที่สุด มักห้อยตรงกลาง เป็นประธาน

เมื่อวานนี้ ผมลองสืบค้นข้อมูลเพิ่ม (จำเว็บไม่ได้แล้ว) เขาว่าไว้ประมาณว่า เขาห้อยหน้า-หลัง ด้านหน้าห้อยองค์เดียว เพราะถ้าห้อยหลายองค์ พระจะกระทบกัน ไม่ดี
นอกจากนี้ ยังได้อ่านเรื่อง "พระขุนแผนพลายคู่" คือตั้งแต่สมัยสุพรรณบุรีอ่ะครับ เนื่องจากพระมีขนาดใหญ่ ก็เลยตัดครึ่งแบ่งเป็นสององค์ แต่ห้อยในเส้นเีดียวกัน ห้อยด้านหน้าทั้งคู่ อันนี้ก็แปลก (สำหรับผม) เลยมาเล่าสู่กันฟัง

อย่างไรเสีย ผมจะยังคงค้นคว้าเรื่องนี้ต่อไป ได้ความรู้อะไรใหม่ๆ จะเข้ามาเขียนครับ เพราะไม่แ่น่ว่า "มันอาจจะเปลี่ยนแปลงความคิดของใคร ไปตลอดกาล"

เอาว่า ตอนนี้ ผมใส่อะไรยังไงก็ได้ 95% ของคนพระ "ไม่สามารถทักท้วงได้" ส่วน ถูกผิด เป็นเรื่องที่ต้องค้นคว้ากันต่อไป

ใครมีข้อมูลใหม่ "ร่วมด้วยช่วยกัน" นะครับ ผมยังเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อคนจำนวนมาก

โดยคุณ tomcody (3)  [จ. 26 มี.ค. 2550 - 19:05 น.] #86639 (12/25)
วันนี้สืบค้นได้เพิ่มเติม ข้อมูลนี้อ้างอิงการจัดหิ้งพระกับการแขวนพระอย่างมีเหตุผล และสอดคล้องกับคุณ "pichainan" ( http://luangpoosupa.invisionzone.com/index.php?showtopic=4380)
--
คำว่าพระ หมายถึงพระพุทธ กับพระสงฆ์

พระพุทธ คือพระพุทธเจ้า พระสาวกทั้งหมดคือพระสงฆ์

พระสงฆ์มีศีล 227 ข้อ

เทพทั้งหลายไม่ใช่สงฆ์ เทพคือผู้ที่สร้างสมบุญ มีบุญมากพอ ก็ได้เป็นเทพ

ฆราวาสสามารถสร้างสมบุญและเป็นเทพได้โดยการถือศีล 8 หรือแค่ศีล 5 ก็ยังได้ ถ้าถือศีลและบำเพ็ญบารมีอย่างเคร่งครัด ส่วนจะบรรลุเป็นเทพชั้นไหนก็ขึ้นอยู่กับแรงบุญบารมีที่สร้าง

ในทางธรรมก็มีการแบ่งชนชั้นเหมือนระบบศักดินา ผู้มีศีลมากเป็นชนชั้นสูงกว่าผู้มีศีลน้อย พระจึงเป็นผู้อยู่ในชนชั้นสูงสุด พระจะไม่นั่งร่วมอาสนะกับผู้มีศีลน้อยกว่า และไม่นั่งในที่ต่ำกว่า ในการจัดหิ้งพระจึงต้องแยกพระกับเทพอยู่คนละส่วน โดยพระต้องอยู่สูงกว่า ในระหว่างพระกับพระ พระพุทธต้องอยู่สูงสุด พระสงฆ์ต้องจัดลำดับตามอาวุโสภันเต โดยดูว่าใครบวชก่อนบวชหลัง บวชก่อนอยู่สูงกว่า

ถ้าเราเอาหลักการจัดหิ้งพระมาตอบคำถามของคุณ tar ก็น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนครับ
------
แต่ถ้าเวลาเอามาห้อยบนคอ ผมจะอธิษฐานบอกท่าน

ว่าให้ปกป้องคุ้มครองผมด้วย ผมนับถือบนคอหมด

อย่าถือสาการจัดลำดับสูงต่ำของตำเเหน่งพระที่ห้อยในคอ

เคยมีคน(ใช้ตาใน)ดูผมเค้ามองเห็นพระพุทธอยู่บนหัว พระสงฆ์อยู่บ่าขวา

และซ้ายและเทพอยู่รอบๆดัวผม เค้าทักเลยว่าในคอห้อยทั้งพระพุทธ

พระสงฆ์และเทพเลยนะ แต่ละองค์คอยคุ้มครองตลอดเลย

ผมเลยเอาสร้อยในคอให้เค้าดูแล้วถามเค้าว่าผมเอาสมเด็จไว้ตรงกลาง

ถัดขึ้นมาเป็นจตุคาม ถัดขึ้นไปเป็นหลวงพ่อมุ่ยและท้าวเวสสุวรรณ

แบบนี้เป็นอะไรไหม เค้าบอกว่าเวลาพระหรือเทพไปไหนกับเรา

ท่านไม่ได้อยู่สูงต่ำตามลำดับที่เราห้อยหรอก ท่านจัดลำดับของท่านเอง

ไม่ต้องเครียด ทุกอย่างอยู่ที่ใจ แต่สำหรับผม พระพุทธมาที่ 1 เสมอครับ
---
ในกรณีที่พระจริงๆท่านมานั่งประชุมกัน ท่านมีการจัดลำดับกันตามระดับสูงต่ำ และตามอาวุโสภัณเต

เวลาจัดหิ้งพระ ก็ควรจัดให้ถูกตามลำดับสูงต่ำด้วย

แต่ในการอาราธนาพระติดตัว ผมเห็นด้วยกับคุณหมีครับ ไม่รู้ว่าจะเรียกอันไหนสูงอันไหนต่ำ เช่นเวลาแขวนพระไว้ตรงกลาง เราเรียกว่าเป็นองค์ประธาน พระที่แขวนอยู่ข้างๆเป็นองค์บริวาร แต่พอเอาพระมาแขวนคอ องค์ประธานท่านกลับห้อยลงไปอยู่ต่ำสุด องค์บริวารที่ junior ที่สุดท่านกลับมาอยู่ในระดับสูงสุด จะแยกสร้อยแบบแยกหิ้งก็คงจะยุ่งพิลึก คอเราก็มีคอเดียว แขวนสร้อยหลายเส้นก็พะรุงพะรัง พระท่านเองก็ยังผสมพระกับเทพเข้าด้วยกันในองค์เดียวก็มี อย่างเช่นหลวงพ่อพรหมวัดขนอนเหนือ อยุธยาท่านสร้างพระสมเด็จด้านหน้าเป็นพระพุทธหลังเป็นพระพรหม หรือวัดสุทธารามมีพระพุทธหลังท้าวเวสสุวรรณฯลฯ ถ้าไปถือแบบที่หนังสือเล่มที่ว่าแล้วจะแขวนพระแบบนี้ได้อย่างไร ที่ด้านหน้าเป็นพระพุทธด้านหลังเป็นนางกวักก็เยอะ นางกวักน่ะเป็นผู้หญิงนะครับ ท่านยังสร้างเอาไว้ในองค์เดียวกันได้เลย แต่เอาไว้คนละด้านเพื่อความเหมาะสม ในกรณีพระกับเทพอยู่แยกกันคนละองค์แขวนไว้ในสร้อยเส้นเดียวกันก็ยิ่งไม่น่าจะเป็นไร

อยากจะสรุปแบบไม่เป็นทางการครับว่า เวลาแขวนพระติดตัวอย่าไปซีเรียสมากเกินไป เพราะออกจะเหลือวิสัยที่จะทำให้ถูกต้อง แต่ถ้าจัดหิ้งพระ อยากจะแนะนำให้จัดให้ถูกต้อง เพราะอยู่ในวิสัยที่จะทำได้

ทั้งนี้ เครื่องรางบางชนิดยังไงผมว่าก็ต้องแยกครับ เช่นตะกรุดนางพิมพา-ดำเซน ควรจะแยกเส้นออกไปต่างหากจากตะกรุดที่ลงด้วยคาถาบทพุทธคุณ หรือเครื่องรางหลวงพ่อผินะที่สร้างจากวัตถุอะไรก็รู้ๆกันอยู่ ไม่ว่าพระท่านจะว่าอะไรหรือไม่แต่ผมว่ายังไงก็ควรแยกออกจากกันครับ
---

เท่านี้ก่อนครับ

โดยคุณ yacool (3.1K)  [อ. 27 มี.ค. 2550 - 19:43 น.] #86765 (13/25)
แหม เห็นโพสต์กันหมดหยด ขอกลับมาตอบอีกรอบ โดยสรุปหลักการแขวนเพิ่งมีมาในยุคไม่เกินสิบปี ย้อนกันไปก่อนหน้านี้สัก 60ปีก่อน ชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมเก็บพระไว้ในบ้านนะครับ เพราะถือว่าเป็นของสูง ถ้าจะมีก็เป็นพระบูชา ที่ติดตัวกันจะเป็นเครื่องราง ซะมากกว่า ดังนั้นถ้าถามหลักการแขวนคงต้องบอกว่าผิดหลัก ตั้งแต่ยังไม่แขวน ผมพูดอย่างนี้ งง มั๊ย คือจะแขวนน่ะไม่ผิด แต่ผิดในการคิดหาหลักการแขวน ซึ่งแต่เดิมมันไม่มี พระท่านก็ไม่เคยระบุ เพียงแต่ให้ตระหนักถึงความเหมาะสม ในการวางตำแหน่งพระพุทธ พระสงฆ์ หรือเครื่องราง ถ้าวางตำแหน่งไม่เหมาะสม ก็แสดงให้เห็นว่าท่านไม่เคารพ ไม่ศรัทธา หรือสักแต่ว่าแขวนอย่างเดียวไม่ได้มีสติปัญญาในการพิจารณาเลย พระท่านจึงแนะให้บางครั้งตามความเหมาะสม
บางตำราแนะหลักการแขวนในเรื่องธาตุ ว่าตัวท่านธาตุอะไรต้องห้อยพระเนื้ออะไรเพื่อเสริมธาตุ
บางท่านก็มองในแง่ความเหมาะสม ดูเรื่องขนาด เรื่องเนื้อ เรื่องยุค เช่นจัดเซทพระกริ่ง จัดเซทพระสมเด็จ เซทพระกรุ
บางท่านก็จัดตามราคาพระ เอาแพงสุดโชว์ตรงกลาง ดังนั้นที่พิมพ์มาทั้งหมดเพื่อจะบอกว่าขึ้นอยู่กับท่านจะใช้หลักไหนในการเลือก ท่านเลือกได้แล้วค่อยบอกดีกว่า เพื่อนๆ จะได้ช่วยจัดเซทให้ถูก ท่านต้องมีคำตอบให้ตัวท่านเองก่อน ว่าจะจัดตามลักษณะใด หากแม้นตนเองยังไม่รู้ใจตน ใครจะช่วยตอบแทนใจท่านได้ละครับ
ปล. หากตอบไม่โดนใจก็อย่าเคืองกันนะครับ ติเพื่อก่อ

โดยคุณ Koh3955 (1.4K)  [พ. 28 มี.ค. 2550 - 10:36 น.] #86918 (14/25)
ขออนุญาตตอบสั้น ๆ นะครับ " คนดีหรือคนชั่ว ไม่ได้วัดกันที่พระห้อยในคอ แต่เมื่อมีพระห้อยอยู่ในคอแล้ว จะต้องละอาย ที่จะคิดหรือทำชั่วครับ "

โดยคุณ tomcody (3)  [พ. 28 มี.ค. 2550 - 17:54 น.] #87027 (15/25)
ตามที่สืบค้นมา การแขวนพระนั้นน่าจะมีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นแน่แท้ครับ
-------
http://www.soonphra.com/content/viewtopic/viewtopic.php?topicid=92&topicdetailid=112&PHPSESSID=ebd28a40010573eb4362cd3434e79c69
แขวนพระ-คล้องพระ-ห้อยพระ-เพื่ออะไร?
โดย จ.ส.อ. เอนก เจกะโพธิ์
( หน้า 1/1)



แขวนพระ-คล้องพระ-ห้อยพระ-เพื่ออะไร?

คนเราเกิดมาทุกคนนั้นไม่ว่ายากดีมีจนชนิดไหนอย่างไร ล้วนมีเวรมีกรรม
แต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มีกรรมอย่างหนึ่งที่เหมือนกันคือ การถึงแก่กรรม (การตาย)
มีประจำอยู่ในตัวทุกคน ทุกเวลานาที ทุกวันทุกเดือนทุกปี จะต้องถึงตัวเราคือ แก่ เจ็บ
และตาย เราเรียกว่ากรรมเหล่านี้มีเท่ากันหมด แต่การประกอบกรรมของบุคคล
เรานั้นไม่เหมือนกัน การประกอบกรรมมีสองประการกล่าวคือ

1. การประกอบกรรมดี และ
2. การประกอบกรรมชั่ว (กรรม=การกระทำ)

การประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต และการประกอบสัมมาอาชีพที่สุจริต
ก็คือกรรมอย่างหนึ่งของบุคคลนั้นๆ จะเลือกประกอบ คนที่ชอบประพฤติปฏิบัติดี ประกอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต กรรมนั้นจะสนองตอบด้วย
ความดี ส่วนคนชอบพระพฤติปฏิบัติแปลกแหวกแนวประกอบสัมมาอาชีพด้วยการ
ทุจริต กรรมนั้นก็จะสนองตอบตามความประพฤตินั้นทั้งความชั่วและความดี กรรมเสมือนประกาศนียบัตร เกียรตินิยมอันดับหนึ่งของชีวิตคนเราเท่าเทียมกันหมด


ทุกคนที่เกิดมาต่างก็อยากจะกระทำความดี ความงามด้วยกันทุกคน แต่กรรมที่ประจำตัวของแต่ละคนนั้นก็มีไม่เหมือนกัน
อีกนั่นแหละ เราเรียกควาไม่เหมือนกันนั้นว่า "ดวง" ดวงของคนเราต่างคนต่างไม่เหมือนกันอีก คือ บางคนร่ำรวยล้นฟ้า บางคน
ยากจนถึงกับขอทาน ถ้าเราเอาทั้งดวงและกรรม มารวมกันเข้าก็จะได้คำจำกัดความเพียงสั้นๆ ว่า "ดวงกรรม" คือดวงของคน
ที่มีกรรมแต่ละอย่างแต่ละชนิดประจำชีวิตของตนไม่เหมือนกัน มีเหมือนกันอยู่อย่างเดียวคือ "ถึงแก่กรรม" คือการตายของ
แต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกันอีก บางคนคนถูกรถชนตาย, บางคนถูกยิงตาย, บางคนตกเครื่องบินตาย, บางคนออกไปทอดแห
หาปลาจมน้ำตาย ,บางคนหัวใจวายตาย, บางคนเป็นโรคเอดส์ตาย, บางคนตายด้วยพิษต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีการตายไม่ค่อย
ตรงกันหรือเหมือนกันก็เพราะเวรกรรมหรือดวงกรรมของคนเราที่มีอยู่ในตัวไม่เหมือนกัน ทุกคนที่ประกอบกรรมดีและกรรมชั่ว
นั้น มีความตายเป็นที่พึ่งครั้งสุดท้ายของชีวิตทุกคนไป ไม่ว่าจะเป็นไพร่ผู้ดี หรือยากจนเข็ญใจมีความตายของแต่ละคนเท่าเทียม
กันหมด เว้นไว้แต่ว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น สรุปแล้วทุกคนต้องตาย

การตายมีหลายชนิด อาทิเช่น ตายวาย, ตายวอด, ตายจอด,ตายจม,ตายงมกระดูก,ตายผูก,ตายพันธ์,
ตายงก,ตายตก,และตายตาม

คนเราเกิดมาพอรู้ความพ่อแม่ พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือญาติสนิทมิตรสหายก็จะนำเอาพุทธโอวาทปาฏิโมกข์
ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (เจ้าของพระพุทธศาสนา) นำมาบอกกล่าวสั่งสอนให้ผู้คนทั้งหลายทั้ปวงประพฤติดีประพฤติชอบ
ประพฤติควร ทั้งกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในศีลในธรรม อย่าสร้างเวรสร้างกรรมหรือกระทำในสิ่งตรงกันข้าม หลักธรรมอย่างแรกนั้น
องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าอบรมสั่งสอนมนุษย์ที่เกิดมาในโลกทั้งปวงพึงปฏิบัติ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงมาจากคำว่า พระพุทธศาสนา คือพระพุทธเจ้านั่นเอง

ชนชาติทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้มีศาสนาประจำชาติของตนเอง เช่น ศาสนาพุทธ,ศาสนาพราหมณ์,ศาสนาคริสต์,
ศาสนาฮินดู,ฯลฯ คนเหล่านี้มีความเคารพสัการะบูชาและเชื่อมั่นในคำสอนของแต่ละศาสนานั้นๆ คล้ายคลึงกัน เพราะแต่ละ
ศาสนา สั่งสอนให้คนเรากระทำความดีทั้งนั้น และเกิดนับถือสิ่งแทนศาสนา เช่นรูปเคารพต่างๆ อาทิ รูปไม้กางเขน,
รูปพระบูชา,พระเทวรูป พระพุทธรูปหรือสิ่งซึ่งแทนการเคารพสักการะในแต่ละศาสนานั้น

รูปเคารพสักการะแทนศาสนาของชาวพุทธเรานั้น ได้แก่ "พระพุทธรูป" มีทั้งขนาดใหญ่ที่สุดถึงขนาดเล็กที่สุด การสร้าง
พระบูชาหรือพระเครื่องทั้งในอดีตและปัจจุบัน ตลอดไปจนถึงอนาคตนั้นเราสร้างขึ้นเพื่อทดแทนองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ตาม
เรื่องราวพระพุทธประวัติ อิทธิพลทางศาสนา และได้มีการสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ยังมีพระชนม์ชีพอยู่

ปฐมเหตุหรือสาเหตุแห่งการสร้างมีขึ้นนั้น"มีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปโปรด
พุทธมารดาเบื้องบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าประเสนทิราชา แห่งกรุงโกศลรัฐมิได้ทรงเห็นพระพุทธเจ้า
มาเป็นเวลาช้านาน และทรงมีพระทัยระลึกถึง จึงมีพระราชบัญญชารับสั่งให้ช่วงเอาไม้แก่นจันทร์แดงมาแกะสลักทำเป็น
พุทธรูปแล้ว ทรงให้ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่สมเด็จพระพุทธองค์เคยประทับ

ครั้นเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จพุทธดำเนินกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาถึงที่ประทับนั้น
ด้วยอำนาจพระพุทธานุภาพบันดาลให้พระพุทธรูปที่จำลองขึ้นด้วยไม้แก่นจันทร์แดง ขยับเขยื้อนเลื่อนหนีออกไป
จากพระพุทธอาสนะประจักษ์แก่ตาคนทั้งหลาย สมเด็จพระชินศรีจึงทรงรับสั่งให้เก็บพระพุทธรูปนั้นไว้เพื่อเอาไว้เป็น
แบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชนที่ต้องการ จะสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ สำหรับสักการะบูชาภายหลังเมื่อสมเด็จพระพุทธองค์
ได้เสด็จพระปรินิพพานแล้วนั่นเอง นี่คือปฐมเหตุหรือต้นเหตุแห่งที่มาที่ทำให้เกิดมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นดังกล่าว

ภายหลังเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว การสร้างพระพุทธรูปเพื่อไว้สักการะ
บูชาแทนพระพุทธองค์ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายนัก ส่วนมากนิยมสร้างวัตถุต่างๆ แทน เช่น สร้างพระสถูปเจดีย์
พระเสมาธรรมจักร หรือรอยพระพุทธบาท ไว้เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์แทน จวบจนกระทั่งพระพุทธศักราชล่วงไป
แล้วเกือบ 400 ปี การนิยมสร้างพระพุทธรูปขึ้นไว้ ทำการสักการะบูชาแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้แพร่หลาย
ออกไปอย่างกว้างขวาง เจริญรอยตามกันมาตลอดจนตราบเท่าทุกวันนี้

เนื่องจากศาสนาพราหมณ์ได้ถือดำเนิดมาก่อนพระพุทธศาสนา และคติตามไสยาศาสตร์ของพราหมณ์ซึ่งถือเอาเทพเจ้า
เป็นสรณะคือที่พึ่ง บรรดาเทพเจ้าผู้เป็นผู้ใหญ่ทั้งหลายสามารถบันดาลความสุขสวัสดีหรือความพิบัติได้ จึงได้เกิดมีพิธี
การบวงสรวงกระทำยัญขึ้น ผู้ใดทำการบวงสรวงบูชายัญแก่เทพเจ้า เทพเจ้าก็จะบันดาลให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขสวัสดิ์
พิพัฒนมงคล "ผู้ใดละเว้น" เทพเจ้าก็จะพิโรธ บันดาลให้ได้รับความทุกข์ จะมีภัยพิบัตินานัปการ ดังนั้นเมื่อพระพุทธศาสนา
ได้กำเนิดขึ้นและเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ บรรดาผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น ได้หันเห มาให้ความเคารพนับถือ
ในพระพุทธศาสนา จึงได้นำเอาคติประเพณีทางศาสนาพราหมณ์มาดัดแปลงแทรกคติทางพระพุทธศาสนาลงไป เป็นการ
ผสมผสานความศรัทธาเชื่อถือของตน โดยนับเหตุว่าคติศาสนาของพราหมณ์นั้นยังมีอานุภาพเป็นที่เชื่อถือกันอยู่แล้ว
ถ้าหากรวมคติทางพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่าเป็นของจริงแน่แท้ อันอาจพิสูจน์ได้ทุกกาลสมัย
เข้าไปในคติลัทธินั้นย่อมจะเรืองอานุภาพกว่าเป็นแน่แท้

โดยคติทางศาสนาพราหมณ์ถือว่า บรรดามนุษย์ที่ได้อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ย่อมมีเทพเจ้าเข้าคุ้มครองรักษาตั้งแต่เกิด
มาทีเดียว เมื่อคตินี้ได้เข้ามาปะปนในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีพิธีการบวงสรวบูชายัญ ดังนั้นที่พึ่งของพุทธศาสนิกชนของเรา
นั้น ก็ไม่มีอะไรจะดีไปกว่า พระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้า (รูปแทนองค์พระพุทธเจ้า), พระธรรม (คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า),
พระสงฆ์ (คือสาวกของพระพุทธเจ้า) เป็นสรณะที่พึ่ง ของพุทธศาสนิกชนเรามาทั้งในอดีตและปัจจุบันนี้

จึงเกิดการสร้างพระพุทธรูปประจำวันปางต่างๆ และพระเครื่องตามนัยคตินี้ ท่านโบราณจารย์จึงได้นำเอาพระพุทธคุณ
พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เข้ามาเป็นเครื่องนำบำบัดทุกข์ภัยและส่งเสริมความสุขสวัสดิพิพัฒมงคล อันเกี่ยวกับผลที่เทพยดา
แต่ละองค์เข้ามาเสวยอายุหรือเข้ามาแทรก โดยกำหนดตกแต่งพระปริตรแต่ละบท มาเป็นเครื่องสวดมนต์คุ้มครองป้องกันภัย
ให้เข้ากับเรื่องของเทพยดาแต่ละองค์ไป ทั้งยังกำหนดเอาพระพุทธรูป เพราะเครื่องปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวัน
ให้ตรงกับเทพยดาที่เข้ามาเสวยและเข้ามาแทรกเป็นรายองค์ไป เพื่อที่พุทธศาสนิกชนจะได้สร้างพระพุทธรูปประจำวันเกิด
ของตนเองไว้สักการะบูชา เพื่อขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยพิบัติ ให้เกิดความสุขสวัสดิ์พิพัฒมงคลแก่ตน ซึ่งถ้าได้ทำการสักการะบูชา
เป็นกิจวัตรแล้วจะเกิดโชคลาภผลศุภมงคลสวัสดิมีชัยทุกค่ำคืน

พระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรก็ตามที เราไม่สามารถจะนำพกติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา
เราเรียกว่า "พระพุทธรูปบูชา" ส่วนพระที่มีขนาดเล็ก เราสามารถนำติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกกาลเวลา เราเรียกพระชนิดนี้ว่า
"พระเครื่อง" ไม่จำกัดว่าจะสร้างด้วยวัสดุอะไรเราจำลองแบบมาจากพระพุทธประวัติ หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นการแทนรูปลักษณะของพระพุทธองค์ มีปางต่างๆ มากมายหลายขนาด มีพระอริยบถหลายรูปลักษณะ แล้วแต่ผู้สร้าง
เป็นผู้ออกแบบสร้าง แต่ต้องมีหลักเกณฑ์อยู่ว่า ต้องเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธประวัติทั้งหมดทั้งสิ้น

ถ้านอกเหนือไปจากนี้เห็นทีจะเป็นเรื่องแปลก เราท่านทั้งหลายคงจะได้ยินได้ฟังหรืออ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับลงข่าว
ว่า มีพระปางพิสดาร "เหยียบโลก" ขึ้นในประเทศไทย ผู้คนต่างก็ฮือฮาแสดงการคิดเห็นกันมาหลายอย่าง ผมไม่เห็นจะเป็น
เรื่องพิลึกกึกกืออะไรหนักหนา คนไทยเราชอบตื่นข่าวเดี๋ยวเดียวก็ลืมเป็นปลิดทิ้งและไม่เฉพาะพระเหยียบโลก ในปัจจุบัน
อาจจะเกิดศาสนาเจ้าแม่กวนอิมขึ้นในประเทศไทยก็ได้นา (เป็นความคิดของผมเอง) เพราะตามวัดตามวาต่างๆ มีเจ้าแม่ที่ว่านี้
หลายแห่งก็เป็นเรื่องของการเลื่อมใส ไม่สามารถจะบังคับใครได้ ความศรัทธาของคนแล้วแต่ละคนไปว่าจะศรัทธามาก
หรือไม่ศรัทธาเลยก็ได้ ไม่มีใครหวงไม่มีใครห้าม สำหรับเรื่องศาสนานั้นทุกคนมีสิทธิในตัวเองอยู่แล้วว่าใครจะนับถือศาสนา
อะไรก็ได้ ไม่มีการบังคับหรือขู่เข็ญแต่ประการใดทั้งปวง

แขวนพระ, คล้องพระ, ห้อยพระ, เพื่ออะไร เป็นข้อใหญ่ใจความของเรื่องนี้ถ้าถามแต่ละคนที่แขวนพระ, คล้องพระ,
ห้อยพระ ก็จะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไปคนละอย่าง การนำพระที่เรานับถือศรัทธาและเลื่อมใส มาภาวนาหรืออาราธนา
โดยตั้งจิตอธิษฐานถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราควรจะตั้งนะโม 3 จบ และกล่าวคำอาราธนาพระว่า พุทธฺ อาราธนานํ
ธมฺมํอาราธนา สงฺฆํ อาราธนานํ กล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบิดามารดา ครูอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายอันได้แก่ พระแก้ว
มรกด พระหลวงพ่อโตวัดไชโย พระพุทธชินราช หลวงพ่อพุทธโสธร เจ้าพ่อพระกาฬ เจ้าพ่อหลักเมือง พระเสื้อเมือง
พระทรงเมือง ที่เรืองฤทธิ์ ลูกขออำนาจบุญบารมีอันศักดิ์สิทธิ์และอิทธิฤทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้า ....
ให้ปลอดภัยต่อภยันตรายทั้งหลายด้วยเถิด สาธุ

คนแขวนพระ,คล้องพระ, ห้อยพระแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนชอบแขวนพระเนื้อผงปางคนชอบแขวนพระเนื้อดิน
บางคนชอบแขวนพระเนื้อชิน แต่ละอย่างแต่ละคน คล้องพระแต่ละอย่างไม่ค่อยเหมือนกัน บางคนชอบแขวนเหรียญ
รูปเหมือนหลวงพ่อต่างๆ ....บางคนชอบประเภทเครื่องรางของขลัง(ที่รู้อาจารย์ปลุกเศก) พระเครื่องแต่ละอย่างแต่ละชนิด
มีอิทธิปาติหาริย์และประสบการณ์จากผู้ใช้ไม่เหมือนกันอีก บางชนิดสามารถให้ความคุ้มครองในเรื่องกันปืนได้ บางชนิด
มีเมตตามหานิยมบางชนิดแขวนแล้วมีโชคมีลาภ บางชนิดคล้องคอแล้วอยู่ยงคงกระพันชาตรี ทั้งหมดนี้เราเรียกว่าแขวนพระ,
คล้องพระ, ห้อยพระ, คำทั้ง 3 คำมีความหมายเดียวกัน แต่ก่อนพระเครื่องขอกันได้ให้กันฟรีๆ แต่ปัจจุบันไม่ได้แล้วต้องเป็น
เงินเป็นทองทั้งนั้นโดยให้เช่าบูชา พูดภาษาตลาดก็คือซื้อขายนั่นเอง

ถ้าถามคนทั้งหลายว่าคล้องพระ, แขวนพระ,หรือห้อยพระ, เพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะต้องตอบว่า คล้องเพื่อเป็น
เครื่องยึดเหนี่ยวทางใจ ถ้าถามคนต่อไปว่าแขวนพระเพื่ออะไร? คนที่ถูกถามจะตอบว่าเพื่อความปลอดภัยต่อภยันตราย
ทั้งหลายทั้งปวง ถ้าถามคนต่อไปอีกว่า ห้อยพระเพื่ออะไร เพื่อให้เกิดความมีเสน่ห์ เมตตามหานิยม ถ้าถามคนทั้งหมดที่
ชอบพระต่างก็จะได้รับคำตอบที่ไม่เหมือนกับแค่คล้ายคลึงกัน ถ้าถามผมว่าแขวนพระเพื่ออะไร คำตอบของผมก็คือ แขวนพระเพื่อความเคารพสักการะบูชาในองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นมงคลชีวิต

โดยคุณ yacool (3.1K)  [พ. 28 มี.ค. 2550 - 19:57 น.] #87063 (16/25)
คุณ tomcody ครับเรื่องการแขวนพระผมไม่เถียงว่ามีมานาน อย่างพระขุนแผนบ้านกร่างได้ชื่อว่าเป็นพระที่สร้างมาเพื่อใช้(ออกรบ) ถามว่ารบเสร็จพระไว้ไหน ก็เก็บลงกรุอ่ะครับ สังเกตจากพระบางองค์มีคราบหมากติดอยู่ (เพราะอมไว้ในปาก) โบราณท่านอาราธนาคุณพระ ไม่ได้มานั่งจัดชุดกันอ่ะครับท่านน ตามที่ท่านได้ reference ถึงข้อมูล อ.เอนก ท่านก็ไม่ได้พูดหลักการจัดชุดอะไรเลยนี่ครับ บอกแต่แขวนทำไม ผมชักจะงงๆ ว่าท่านต้องการหาคำตอบอะไรกันแน่??? ถ้าท่านถาม อ.เอนก โดยตรงผมเชื่อว่าท่านก็คงงง ว่าจะจัดยังไง ท่านก็ต้องย้อนถามกลับ ว่าคุณจะจัดตามหลักไหนล่ะ (ท่านเป็นปรมาจารย์เนื้อชิน อันดับต้นๆ ของเมืองไทย)
หากอยากได้คำตอบจริงๆ ต้องถามก่อนว่า "ท่านศรัทธาใครอยู่" ค่อยนำมาเป็นประเด็นในการจัดชุดจะเหมาะสมกว่าครับ เช่น ท่านศรัธาพระสายกรรมฐาน ก็โพสต์ไปเลยให้สมาชิกใน web ช่วยกันจัดชุด พระสายกรรมฐาน 3องค์ 5องค์ ก็ว่ากันไป หรือโพสต์ว่า จัดชุดรูปหล่อ สมาชิกก็จะหาทางช่วยท่านได้ ตอนนี้คำถามที่ท่านโพสต์มันเป็นคำถามแบบ ปลายเปิด มากเกินไป ถ้าท่านต้องการคำถามที่ตรงใจกว่านี้ควร focus ให้ตรงประเด็นมากกว่านี้ครับ ท่านจึงจะได้คำตอบที่ตรงใจ

โดยคุณ yos_yos_yos (1.9K)  [พ. 28 มี.ค. 2550 - 22:34 น.] #87114 (17/25)
กระทู้นี้ขอโหวดครับ หลากหลายแง่มุม ให้เราได้ขบคิด ขอบคุณทุกๆท่าน ทั้งผู้ตั้งกระทู้และตอบกระทู้ครับ มีประโยชน์ทุกความคิดเห็นเลยครับผม

โดยคุณ tomcody (3)  [พฤ. 29 มี.ค. 2550 - 17:21 น.] #87277 (18/25)
ผมขอน้อมรับความปรารถนาดีจากคุณ yacool ที่จะให้่เพื่อนสมาชิกช่วยจัดพระในคอให้ ผมขอขอบคุณ
หากแต่การศึกษาหลักการแขวนพระนี้ เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนทั่วไป ไม่ลำพังเพียงแค่ตัวผมเอง
อีกประการหนึ่งคือ เพื่อนสมาชิกคงไม่สามารถช่วยจัดพระให้ผมได้ตลอดไป คือสมมติว่าผมได้พระใหม่ ต้องการเปลี่ยนหรือเพิ่ม หากรู้หลัก รู้วิธีการ ก็คงไม่ต้องอาศัยคนอื่นให้ยุ่งยากลำบากไปด้วย

ผมพอจะรับรู้ได้ว่า หลายท่านที่ตอบในกระทู้นี้ ตำหนิ ผมอยู่ไม่น้อย อาจจะด้วยคำพูดตรงๆ หรือไม่ชัดเจน หรือเพราะความไม่รู้ของผม หรือสาเหตุใดๆ ก็ตามแต่ จะอย่างไรก็ขอขอบคุณทุกความคิดเห็น จากใจจริง ผมยังคงค้นคว้่าหาความรู้เรื่องนี้ต่อไป ไม่เฉพาะในเน็ต ผมถามไปทั่ว ปัจจุบันยังไม่มีคำตอบที่อ้างอิงได้เท่ากับที่ คุณ pichainan เขียนไว้ ตอนที่ตั้งกระทู้นี้ผมแขวนพระ 3 องค์ ปัจจุบันผมปลดออกเหลือองค์เดียว เพราะไม่สบายใจ ไม่ถูกตามหลักที่หลวงพ่อเกษมว่า แต่ความรู้เรื่องนี้ยังไม่สิ้นสุดเท่านี้ ผมจึงค้นคว้าต่อ ไม่รู้ว่าท้่ายที่สุด อาจจะไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ เลยก็ได้

ท่านทั้งหลายอยู่ในวงการพระ มีประสบการณ์มากกว่าผมทั้งสิ้น หากช่วยกันถามปากต่อปาก จากเซียนต่อเซียน จากแผงพระต่อแผงพระ พอเข้าหู "ปรมาจารย์" เราก็คงได้คำตอบไม่ยาก นำคำตอบนั้นมาเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผมและคนอื่นๆ หรืออย่างน้อยก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างไร

โดยคุณ tpost (0)  [อ. 03 เม.ย. 2550 - 17:50 น.] #88369 (19/25)
ไม่มีหลักเกณฑ์ใดผิดหรือถูกที่สุดครับ มันขึ้นอยู่กับความศรัทธา กับ วิจารณญาณของแต่ละคน โบราณแต่ละท้องถิ่นก็บอกกันไว้ไม่เหมือนกัน เพราะค่านิยมของแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่นบางคนไม่เอาเครื่องรางมาแขวนคอ บางคนแขวนได้บางอย่าง คล้องพระต้องให้ครบทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้างว่าให้พระพุทธอยู่สูง บ้างว่าให้อยู่ตรงกลาง อย่างนี้เป็นต้น คุณชอบแบบไหนก็คล้องไปเถอะ ไม่ชอบก็เปลี่ยนใหม่ ไม่ต้องคิดมาก ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวมีคนมาบอกว่าสร้อยคุณยาวเกินไปพระอยู่ต่ำเป็นการไม่เคารพ คุณก็จะต้องมาปวดขมองอีกว่าที่ถูกต้องแล้วสร้อยต้องยาวเท่าไร.......

โดยคุณ tpost (0)  [อ. 03 เม.ย. 2550 - 18:06 น.] #88375 (20/25)
แนะนำให้ไหมครับ
1. ถ้าคุณคล้องพระเพื่อเป็นที่บูชา ก็คล้องให้ครบทั้งพระพุทธ พระธรรม(เช่นพระปิดตา ฯลฯ) และพระสงฆ์
2. ถ้าคุณคล้องเพื่อพึ่งพุทธคุณก็ให้ครบทั้งเมตตา โชคลาภ คงกระพัน แคล้วคลาด ฤทธิ์อำนาจ อภินิหาร ฯลฯ
3. ถ้าคุณคล้องเพื่อระลึกถึงพระอาจารย์ของคุณ ก็คล้องล็อกเก็ต หรือเหรียญ รูปเหมือน
4. ถ้าคุณบูชาเทพอะไรก็คล้องเทพองค์นั้น
เห็นไหมครับว่า ถ้าคุณมีวัตุถุประสงค์ในการคล้องพระอย่างหนึ่งแล้วไปคล้องอีกอย่างหนึ่ง ผลจะเป็นอย่างไร ยกเว้นว่าพระอาจารย์ท่านสร้างพระเครื่องขึ้นมาแล้วระบุไว้ว่าต้องคล้องอย่างไร ก็ควรทำตามนั้นนะ

โดยคุณ tomcody (3)  [พ. 04 เม.ย. 2550 - 08:48 น.] #88636 (21/25)
ขอบคุณ คุณ tpost สำหรับแง่คิดที่มีเหตุมีผลครับ

เท่าที่ศึกษาเพิ่มเติมอยู่เวลานี้ ก็เป็นไปคล้ายๆ กับที่คุณ tpost ว่าไว้ คือสามารถยึดได้หลายหลัก ผมกำลังรวบรวมอยู่และพยายามศึกษาต่อไป ยอมรับว่าบางทีก็รู้สึก "ไม่สำคัญ" แต่บางครั้งกลับรู้สึก "สำคัญมาก"

เพราะธรรมชาติของ"คนพระ"เป็นคนมีแนวปฏิบัติ เรียกว่ายึดถือหลักการเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการค้นหาหรือรวบรวมหลักการจะช่วยให้แต่ละท่านใช้ตอบคำถามในใจตนเองได้ ผมคิด

"ผมแขวนตามหลัก ก." "ผมหลัก ข." อะไรก็ว่าไป แต่คงไม่ใช่ แขวนตาม(สบาย)ใจ

ผมสัญญาว่าจะทำให้เสร็จ จะรวบรวมข้อมูลไว้ให้ได้คิดกัน ส่วนผู้ใดจะปฏิบัติตามหรือไม่นั้น ไม่ใช่ point ของผมครับ

โดยคุณ burengnong (1.7K)  [พ. 04 เม.ย. 2550 - 14:28 น.] #88713 (22/25)
เรียงตามพรรษาซิครับ เหมือนพระท่านนั่งสวด ผมก็มีปัญหาเหมือนกันบางทีคิดไม่ตกว่าจะห้อยพระองค์ไหน แต่ที่นิยมกันองค์ประธานต้องหนักครับ

โดยคุณ tpost (0)  [ศ. 06 เม.ย. 2550 - 04:06 น.] #89090 (23/25)
เข้าใจแล้ว...tomcodyคงกำลังหาว่าแต่ละหลักการมีแนวปฏิบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรและหลักการใดเป็นหลักสากลใช่ไหม จะเป็นกำลังใจให้ก็แล้วกัน ก่อนอื่นลองตอบคำถามนี้ในใจก่อนนะว่า ชุดเบญจภาคีใครเป็นคนกำหนดขึ้น กำหนดจากอะไร และภายหลังใครเป็นคนเปลี่ยน เปลี่ยนเพราะอะไร ขอให้ประสบความสำเร็จครับ

โดยคุณ ขาจรประจำ (622)(1)   [อา. 20 พ.ค. 2550 - 15:33 น.] #100296 (24/25)
ไปหาข้อมูลทำเป็น "วิทยานิพนธ์" เลยก็ดีนะคับบบ

จะได้เป็นหลักฐาน/หลักปฏิบัติได้ด้วย

แหะๆ

โดยคุณ pieant (52)  [พ. 23 ก.ค. 2557 - 02:12 น.] #3408704 (25/25)
เพิ่งเข้ามาดูครับ
พอดีช่วงนี้กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจัด(ตำแหน่ง)สร้อยพระว่าจะจัดยังไงดี
กลัวเกิดปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมครับ
อย่างที่ผมฟังๆมาจากเพื่อน เขาว่า"ให้เอาพระพุทธไว้ตรงกลาง"
หลังจากนั้นก็เป็น"พระพิมพ์ต่างๆที่ไม่ใช่พระพุทธ"กรณีเช่น พระขุนแผน/พระปิดตาหรืออื่นๆ
ถัดจากนั้นก็เป็น"พระสงฆ์หรือเกจิ"
อันนี้ตอบของพี่tomcodyนะครับ

ส่วนปัญหาของผมคือ ถ้าเราเอาครุฑไว้ตรงกลาง
กล่าวคือ เจาะ3ห่วงลักษณะคล้ายรูปตัวYแล้วจุดด้านล่างเราห้อยพระพุทธต่อลงไป
แบบนี้ไหวไหมครับ คือจะกลายเป็นว่าพระพุทธอยู่ใต้ครุฑรึเปล่า?เหมาะสมรึเปล่า?
ขอบคุณครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1