ร่วมเสนอความคิดเห็น
หัวข้อกระทู้ :
ชอบขุนแผนเชิญทางนี้ครับ
(D)
คงไม่ต้องบรรยายของกระแสความแรงและพุทธคุณของพระกรุนี้นะครับ ส่วนใหญ่ประวัติความเป็นมาหาอ่านได้ตามหนังสือพระทั่วไป ทำให้คนชอบสะสมพระอย่างเรา ๆ หลาย ๆ คนอยากจะหาเก็บพระกรุนี้กัน ซึ่งแน่นอน จะมีของฝีมือส่งมาทดสอบตาอยู่เรื่อย ๆ ลองชมภาพต่อไปนี้นะครับ
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 11:18 น.]
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 11:27 น.] #9839 (1/12)
(D)
พลายคู่ตัดเดี่ยวหน้าเทวดาตามภาพหาก แม่นพิมพ์ จะเห็นได้ว่าพระผิดพิมพ์ แต่หากเป็นผู้เริ่มสะสม ดูจากเนื้อหาและสภาพผิวถือว่าค่อนข้างน่ากลัวครับโดยเฉพาะองค์จริง มีเนื้อสีดำผ่านบริเวณ ซีกซ้ายขององค์พระ ลองไล่เปรียบเทียบจากพิมพ์พลายคู่ที่ผมถ่ายรูปจากหนังสือมาให้ชมนะครับฝีมือนี้มีออกมา ประมาณ 2 ปี แล้วนั่งในสนามเห็นโดนกันอยู่เรื่อย
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 11:42 น.] #9840 (2/12)
(D)
ลองสังเกตบริเวณวงพระพักตร์จะเห็นแนวไรพระศกเป็นเส้น จะเห็นว่าของแท้จะมีช่วงห่างของพระศอแคบกว่า แนวรอยต่อระหว่างเส้นซุ้มและพระกรรณชัดเจน ลำพระกรดูหนากว่า ชายสังฆาติ จะมีรอยเว้าไม่ตัดทื่อ ไปตรง ๆ และปลายพระบาทชั้นล่างจะมีปลายแหลมยื่นออกมา
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 11:52 น.] #9841 (3/12)
(D)
ต่อมาเป็นเรื่องของเนื้อหาของพระ และรอยตัด เท่าที่ทราบขณะนี้ของฝีมือใช้ตอกผิวไม้ไผ่ในการทำร่องแกลบซึ่งผลที่ได้จะมีรอยลึกใกล้เคียงกับร่องแกลบที่เกิดในธรรมชาติเนื้อหาของพระบ้านกร่าง แต่จะผิดสังเกตที่รอยดูมีมากเหมือนกับจงใจ และขนาดของรอยจะเท่ากันหมด ลองสังเกตดูนะครับ สำหรับบ้านกร่างเนื้อหาหยาบ ส่วนรอยเนื้อหาที่เป็นชั้น ๆ ตามรอยแบ่งของฝีมือทำได้นานแล้วครับ จุดสำคัญของของฝีมือก็คือเนื้อหาของผิวพระค่อนข้างสดใหม่ ลองเปรียบเทียบดูกับก้างปลาองค์นี้ที่เป็นพระแท้นะครับ
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 12:02 น.] #9842 (4/12)
(D)
ส่วนมากของฝีมือจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้านหลังวึ่งไม่ค่อยมีความละเอียดในการตบแต่งผิวมากนัก หากพบพระบ้านกร่าง ประเภทเนื้อข้างหน้ากับด้านหลังลักษณะเนื้อหาและพื้นผิวต่างกัน เลี่ยงได้ก็เลี่ยงซะนะครับ พระพลายคู่หักเดี่ยวพิมพ์หน้าทงคลองค์นี้เพิ่งจะได้มา เห็นว่าเป็นเนื้อครูของพระบ้านกร่างเนื้อละเอียดได้เลยลงมาให้ชมกัน
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 12:07 น.] #9844 (5/12)
(D)
องค์ต่อไปเป็นขุนแผนใบพุทรา หนึ่งในสองมีดีกรีเคยผ่านงานประกวดมาแล้วครับ แต่ขอไม่บอกว่าที่ไหนแต่สิ่งที่อยากแจ้งให้ทราบก็คือ พิมพ์ทรงและจุดตำหนิถูกต้องครับ ที่แจ้งมานี้ไม่อยากให้เพื่อน ๆ นักสะสมโดนกัน และเนื่องจากผมเป็นแค่นักสะสมไม่ใช่เซียนหากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยครับ
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 12:19 น.] #9847 (6/12)
(D)
จะเห็นได้ว่าจุดตำหนิไม่ว่าจะเป็นรอยเขยื้อนของรัศมีประภามณฑล ปลายพระหัตถ์ที่ทะลุปลายฐานบัว หรือแม้กระทั่ง รอยชายสังฆาติในวงพระกร หรือเนื้อล้นที่บริเวณหน้าตัก ก็ทำได้แล้วครับ
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 12:30 น.] #9848 (7/12)
(D)
พระชุดนี้ส่วนใหญ่ที่เห็นเนื้อที่เป็นสากลจะเป็นลักษณะเนื้อที่เราเรียกว่าเป็นเนื้อมะขามเปียก เนื้อหยาบแบบพระบ้านกร่าง ก็มีครับ แต่พบหาได้ค่อนข้างยากและมีน้อย ลองดูรูปประกอบที่ถ่ายจากหนังสือเปรียบเทียบกันดูครับ ภูมิคุ้มกันของฝีมือสำหรับพระขุนแผนใบพุทราในชั่วโมงนี้น่าจะเป็นเนื้อหาต้องเก่าจริง และไม่แห้งจนกระด้าง โปรดสังเกตของที่ผมนำมาให้ชมทำมาทั้งสองเนื้อเลยครับ
โดยคุณ
jorawis
(
204
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 12:37 น.] #9852 (8/12)
ขอให้เข้าใจทั้งหมดที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับและพระฝีมือที่นำขึ้นมาโพสท์รูปนี้เป็นพระที่อยู่ในความครอบครองของผมเอง คือโดนมาหลายปีแล้ว และยังเห็นมีผู้โดนกันอยู่เรื่อย ๆ ไม่ได้มีเจตนาใด ๆ นอกเหนือจากนี้หากมีสิ่งใดบกพร่องหรือภาพไม่ชัดเจนต้องขออภัยด้วยครับ หากท่านใดมีข้อคิดเห็นประการใด เชิญครับ
จริงใจต่อกัน
Jorawis
โดยคุณ
ecespc
(
164
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 13:06 น.] #9854 (9/12)
ขอบคุณมากครับ ที่นำประสพการณ์มาเล่าสู่กันฟัง เป็นประโยชน์มากกับเพื่อนสมาชิก ผมจะคอยติดตามผลงานอันดับต่อไป
โดยคุณ
suprom
(
272
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 16:53 น.] #9914 (10/12)
THANK YOU
โดยคุณ
เอกจิตต์
(
1K
)
[จ. 12 ก.ย. 2548 - 21:55 น.] #9932 (11/12)
เยี่ยมจริงๆ...
โดยคุณ
nauts
(
2K
)
[อ. 13 ก.ย. 2548 - 10:09 น.] #9975 (12/12)
ดีครับ ขอบคุณคุณJorawis มากครับ
คุณเอกจิตต์ก็รู้เยอะถ่ายทอดบ้างก็ดีนะครับ
!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!
Copyright ©G-PRA.COM
www1