(D)
พระพิมพ์ป้ำซ้ำ เป็นพระอีกพิมพ์ที่สร้างพร้อมกับ รุ่นหลังเตารีด
และ หลังตัวหนังสือ
ในปี 2505 คณะกรรมการจัดสร้างโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร เป็นประธาน ได้ทรงขอให้ท่านพระครูวิสัยโสภณ หรืออาจารย์ทิม นั่งทางในขออนุญาตต่อหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ซึ่งท่านก็ได้อนุญาตให้จัดสร้างเป็นพระเนื้อโลหะ
พระที่สร้างในพิธีปี 2505 มีจำนวนมากมายหลายพิมพ์ จัดเป็นพิธียิ่งใหญ่ในยุคนั้น ในพิธีมีการจัดสร้าง &#8220พระหลังเตารีด&#8221 พิมพ์ใหญ่ กลาง และเล็ก เนื้อทองผสม เนื้อนวโลหะ เนื้อแร่ และเนื้อเมฆพัด &#8220พระหลังหนังสือ&#8221 พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์เล็ก เนื้อทองเหลืองรมดำ เนื้อทองเหลืองกะไหล่ทอง
นอกจากนี้พระหลังตัวหนังสือยังมีเนื้อนวะ และเนื้ออัลปาก้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก
&#8220พระพิมพ์ใหญ่ ปั้มซ้ำ&#8221 ที่จริงก็เป็นพระ รุ่นหลังเตารีด แรกเริ่มแต่เดิมเป็นพระหลังเตารีดหล่อเนื้อทองผสม แต่ปรากฏว่ามีพระจำนวนหนึ่งที่เทหล่อออกมาไม่สวยงามสมบูรณ์
ทางวัดจึงคัดพระจำนวนนี้ส่งไปเข้ากระบวนการปั้มอีกครั้งเพื่อให้
พระดูสวยขึ้น พระพิมพ์ใหญ่ ปั้มซ้ำ ึจึงเป็นพระปั้มที่มีรอยปั้มเขยื้อนในหลายจุด
อย่างเช่น บริเวณใบหน้า จมูก ปาก ฐานบัว มีครีบเนื้อ และรอยปั้มจนเกิดเส้นเสี้ยนสาดกระจายที่ฟื้นผนัง และกลีบบัว ด้านหลังรับแรงปั้มกระแทกจนพื้นเรียบแน่นขึ้น
แต่ขณะเดียวกันด้วยความเป็นพระหล่อมากก่อน ผิวจึงปรากฏคราบขี้เบ้าดินเบ้า และคราบน้ำยาสีดำเหมือนที่ปรากฏบนผิวพระหลังเตารีดพิมพ์ใหญ่ และเล็กทุกประการ
การแบ่งพิมพ์ &#8220พิมพ์ใหญ่ปั้มซ้ำ&#8221
ในส่วนของแม่พิมพ์ตัวปั้มนั้น เมื่อพิจารณาจากพระปั้มซ้ำที่พบเห็น ในเวลานี้ เข้าใจว่าน่าจะมีแม่พิมพ์อยู่ประมาณ 4-5 บล็อก
การแบ่งแยกบล็อกแม่พิมพ์ให้ชัดเจนนั้นยังไม่เคยปรากฏมาก่อน เพราะการนำพระรุ่นหลังเตารีดทั้งองค์มาปั้มซ้ำ ต้องมองให้เห็นภาพว่า
องค์พระไม่ได้เป็นแผ่นเรียบเหมือนแผ่นโลหะที่ปั้มเหรียญ ดังนั้นเมื่อปั้มแล้วจึงเกิดรอยเขยื้อน และเนื้อปูดเนื้อเกินที่ถูกปั้มบี้แบนในหลายจุดหลายที่
แต่ละองค์จะประกฎให้เห็นไม่เหมือนกัน
ทำให้การแบ่งพิมพ์ให้ชัดเจนโดยพิจารณาจากองค์พระอาจ
เกิดความคลาดเคลื่อนได้
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะขอแบ่งพิมพ์ใหญ่ ปั้มซ้ำออกเป็น 2 กลุ่มพิมพ์คือ
1.กลุ่มพิมพ์ริ้วจีวรขวาง-สังเกตจากเส้นริ้วจีวรที่อกด้านขวาของพระ
(ซ้ายมือเรา) มีเส้นริ้วในแนวขวางหรือแนวนอนจำนวน 3 เส้น
2.กลุ่มพิมพ์ริ้วจีวรดิ่ง-พิมพ์นี้เส้นริ้วจีวรที่อกด้านขวาขององค์พระ
อยู่ในแนวดิ่งลง (จำนวนพระพิมพ์นี้น้อยกว่าพิมพ์ริ้วจีวรขวาง)
สำหรับบล็อกนิยมจริงๆ แล้วจะเป็นองค์ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน เช่น
&#8220องค์บล็อคแตก&#8221 คือ มีเส้นแตกจากใต้จมูกลงไปถึงคาง
&#8220องค์ปีกกว้าง&#8221 คือ มีขอบข้างกว้างกว่าปกติ
..........................................
ที่มา หนังสือศึกษาและสะสม หลวงปู่ทวด ฉบับ &#8220ยอดนิยม&#8221 โดยคุณธีรพิพัฒ สิงหศิริธรรม
แต่เอ๋พระผมหายไปไหนหว้า.... |
|