(N)
...พระประวัติ หลวงปู่ลำภู คงคฺปัญโญ...
ท่านนามเดิมว่า "ลำภู เรืองรักเรียน" เกิดเมื่อ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธ แรม ๒ ค่ำ
เดือน ๑๒ ปีฉลู ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องรวม ๑๐ คน เป็นบุตรของ
นายคงและนางผิว เรืองรักเรียน เมื่อท่านครบ อายุ ๒๑ ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดบ้านไก่จ้น
ตรงกับ วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๕ โดยมีเจ้าอธิการบัติ อินฺทโชติ เจ้าอาวาสวัดสะตือ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตามหน้าที่พระภิกษุใหม่ มีอุปัชฌาย์วัตร อาจาริวัตร
เป็นต้น กระทั่งเป็นที่ชื่นชมของพระอุปัชฌาย์ เมื่อมีพรรษาหลุดพ้นจากการดูแลของพระอุปัชฌาย์อาจารย์ คือ ๕ พรรษาล่วงไปแล้ว
ท่านได้ศึกษาและปฏิบัติวิปัสนากัมมัฏฐาน จากหลวงพ่อเชื่อม วัดจันทร์บุรี หลวงพ่อเอี่ยม วัดถลุงเหล็ก(อาจารย์พระมหาทองดี วัดบัวงาม)
พระอาจารย์บุญ วัดช่างทอง ท่านศึกษาโดยเรียงตามลำดับที่กล่าวมา ซึ่งพระอาจารย์ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นพระผู้มีชื่อเสียงในการปฏิบัติ
วิปัสนากัมมัฏฐานในสมัยนั้น หลังจากหลวงปู่ลำภู ท่านศึกษาเล่าเรียนทั้งฝ่ายปริยัติและปฏิบัติเป็นที่พอใจแล้ว ท่านจึงเริ่มออกธุดงค์วัตร
ไปตามป่า ถำ้เขาที่ลำเนาและเงียบสงบ เพื่อเป็นการฝึกสมาธิจิตและทบทวนวิทยาคมให้สูงยิ่งขึ้น หลวงปู่ลำภูท่านได้ปฏิบัติธุดงค์วัตรเป็น
นิตย์มิได้ขาด พร้อมทั้งได้ไปศึกษาวิทยาคมจากสำนักพระภาวนาจารย์ที่มีชื่อเสียงหลายสำนัก หนึ่งในสำนักนั้นที่พุทธสาสนิกชนอย่างเรา
ท่านรู้จักเป็นอย่างดี คือ พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) หรือ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม กรุงเทพพระนคร
ที่สำนักนี้ หลวงปู่ลำภู ท่านศึกษาวิทยาคมและปฏิบัติกรรมฐาน อีกทั้งศึกษากรรมวิธีต่างๆในการสร้างพระสมเด็จ
ในช่วงเวลาที่หลวงปู่ลำภู ท่านออกเดินธุดงค์ พระเถระที่ร่วมเดินธุดงค์กับท่านในป่าเขาและถ้ำมีด้วยกันหลายท่าน อาทิ เช่น
พระอาจารย์จำรัส พระอาจารย์บุญ วัดช่างทอง หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น
ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ หลวงปู่ลำภูท่านเข้าสู่พระนครไปอยู่ที่ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) กรุงเทพฯ แม้หลวงปู่ลำภูท่านได้
เข้ามาอยู่จำพรรษาที่ วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)แล้ว เมื่อมีเวลาว่างท่านก็จะออกธุดงค์วัตรเหมือนอย่างเช่นเคยที่ถือปฏิบัติมา
ในปีพ.ศ.๒๕๐๒ ท่านได้รับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ทั้งที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส
แต่หลวงปู่ลำภู ท่านกล่าวว่า "ผมแก่แล้วไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าอาวาสได้ ขอให้พิจารณาพระที่มีอายุพรรษาสมควรแก่หน้าที่ต่อไป "
การสละสิทธิ์ที่จะพึงได้ของหลวงปู่ลำภูได้ประกาศในที่ประชุมคัดเลือกเจ้าอาวาสในครั้งนั้น เป็นการเสียสละที่ทำให้เราพึงเห็นว่าท่านไม่
ยึดติดกับลาภยศ
ในปี พ.ศ.๒๕๑๐ ท่านได้ตำแหน่งฐานานุกรม เป็นพระครูสังฆรักษ์
ในปี พ.ศ.๒๕๑๒ ต่อมาได้รับตำแหน่งรักษาการแทน เจ้าอาวาส วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)
ด้วยคุณธรรมความดี เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรอันเป็นสุปฏิฺบัติที่ดีงาม หลวงปู่ลำภูท่านจึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของศาสนิกชนมากมาย
ในช่วงที่หลวงปู่ลำภูท่านมีอายุมากแล้ว ท่านได้สร้างวิหารส่วนตัวไว้ที่วัดไก่จ้น
ท่านได้รับสั่งกับศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า ยามเมื่อท่านสิ้นอายุขัยแล้วให้ย้ายศพท่านกลับมาบ้าน
เกิดที่วัดไก่จ้น ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ หลวงปู่ลำภู ท่านได้สิ้นอายุขัยด้วยโรคชราที่กุฏิของ
ท่านที่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)
ท่านมรณะภาพ เมื่อ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๓ เวลา ๒๐.๑๕ น.
สิริอายุ ๘๘ ปี ๙ เดือน ๔ วัน สังขารของท่านได้ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ที่ วัดบางขุนพรหม
(วัดใหม่อมตรส) เป็นเวลา ๑ ปี จากนั้นจึงได้ย้ายสังขารท่านมาไว้ที่วิหารส่วนตัวที่
วัดไก่จ้นตามที่ท่านดำริไว้ และจวบจนปี พ.ศ.๒๕๕๒ คณะศิษย์ส่วนมากเห็นพ้องต้อง
กันว่า ควรจะจัดการพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม เพราะเป็นการปลงภาระ
ซึ่งคณะศิษย์รับไว้ ยิ่งนานวันต่อไปในภายหน้าคณะศิษย์ก็ลดลงทุกวัน จึงเห็นพ้องเป็น
ความสมควรอย่างยิ่ง โดยมีการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ
วันเสาร์ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ เวลา ๑๖.๐๐ น. นับเป็นเรื่องอัศจรรย์
ปรากฎว่า สังขารของหลวงปู่ลำภูนั้นไม่เน่าไม่เปื่อย |