สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใบ มีรสหวาน ใช้แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ใบชงน้ำรับประทานแทนน้ำชา ใบต้มน้ำดื่มแก้เจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ตับอักเสบ กระตุ้นน้ำลาย ขับปัสสาวะ แก้ปวดบวมตามข้อ ปวดตามแนวประสาท ตำพอก แก้ปวดบวม แก้อักเสบ และแก้จุดด่างดำบนใบหน้า รากใช้แก้เจ็บคอ ไอแห้ง ขับปัสสาวะ ราก รสเปรี้ยวขื่น ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง กล่องเสียงอักเสบ แก้ไอ แก้หวัด เถาและราก รสจืด ชุ่ม เป็นยาสุขุม ไม่มีพิษ ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับพิษร้อน แก้คออักเสบ คอเจ็บ คอบวม ขับเสมหะ แก้เสียงแห้ง แก้ไอหวัด แก้หืด แก้ไอแห้ง แก้หลอดลมอักเสบ แก้อาเจียน แก้ตับอักเสบ แก้ดีซ่าน ขับปัสสาวะ และขับเสมหะ เมล็ด เป็นพิษ ใช้ได้เฉพาะภายนอก รสขมเผ็ดเมาเบื่อ บดผสมน้ำมันพืช ทาแก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิผิวหนัง ฝีมีหนอง และใช้ทำยาฆ่าแมลง
ข้อควรระวัง เมล็ดมีพิษมาก ห้ามรับประทาน หากเคี้ยวกินเพียง 1-2 เมล็ด จะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องรุนแรง ตับและไตถูกทำลาย ชัก และเสียชีวิตได้
องค์ประกอบทางเคมี
ใบ พบสารหวานชื่อ abrusosides (หวานกว่าน้ำตาลทราย 30-100 เท่า), glycyrrhizic acid มีความหวานสูง และไม่มีพิษ เมล็ดพบสารโปรตีนที่มีพิษชื่อ abrin |
|