ขอแสดงความคิดเห็น ด้วยความเคารพทุกท่าน,
อ่านดูแล้ว ผู้ขายใบจอง(ใบจริง)ไม่ผิดเลยครับ, ไม่ใช่หน้าที่ที่ต้องไปรับผิดชอบอะไร, ท่านขายใบจองต้วจริง ไม่ได้เปิดรับจองพระ แล้วจัดส่งของให้เมื่อพระออก, เป็นความสะเพร่าของผู้ซื้อใบจองเองทั้งหมด ผู้ที่ซื้อไปย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่า ต้องไปรับของด้วยตัวเอง ไม่ได้เกี่ยวกับผู้ขายใบจองเลย
สิ่งที่ควรจะทำจริงๆแล้วคือ ต้องไปเจรจากับทางวัด ไปขออนุโลม ขอความเมตตากับเจ้าอาวาส เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ท่านฟัง เพราะจริงๆแล้ว ผู้ที่ได้รับเงินไป ก็คือวัด วัดจะต้องเป็นผู้จ่ายพระให้กับผู้จอง แต่มาอ้างว่าเลยเวลารับตามที่ระบุในใบจองแล้ว เลยไม่จ่ายพระให้( ซึ่งถ้ายังอยู่ในเวลาที่กำหนด วัดจะต้องจ่ายของ ไม่ใช่ผู้ขายใบจอง)
ถ้าผู้ซื้อใบจอง ต้องการเอาเรื่อง อยากจะแจ้งความหรือฟ้องศาล ต้องแจ้งความเอาผิดกับทางวัดครับ ไม่ใช่ผู้ขายใบจองตัวจริง
ยกตัวอย่างเช่น ไปจอดรถในห้าง แล้วรถหาย เจ้าของห้างไม่รับผิดชอบ เพราะเขียนในใบรับรถไว้แล้วว่า "ไม่รับผิดชอบความเสียหายทุกกรณี", กรณีแบบนี้ศาลตัดสินออกมาเป็นตัวอย่างหลายคดีแล้วว่า ผู้ที่ต้องเป็นคนรับผิดชอบคือ เจ้าของสถานที่นั้นๆครับ จะมาอ้างว่าเขียนระบุไว้แล้ว ไม่ได้ (แต่จะรับผืดชอบเท่าไหร่ ก็แล้วแต่กรณีไป)
กรณีนี้ผมว่า ก็เช่นกัน มาอ้างว่าเลยกำหนดวันรับของตามที่ระบุไว้ในใบจองแล้ว ไม่น่าจะได้ เพราะจริงๆแล้ว วัดเป็นผู้ได้รับเงินจองตัวจริง เป็นผู้ออกเอกสารจองฉบับนี้ ก็สมควรจะต้องให้ของตามใบจอง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ตาม, ถ้าเวลาผ่านไปนาน จนทางวัดไม่มีของเหลืออยู่แล้ว สมควรที่ทางวัดจะต้องเป็นผู้คืนเงินจอง (ตามราคาจองของวัด เท่านั้น)ให้กับผู้ถือใบจองตัวจริงนั้นๆ, ส่วนเงินส่วนต่างที่ผู้ซื้อใบจอง โดนบวกมาจากผู้ขายใบจองนั้นๆ ต้องเป็นผู้รับสภาพขาดทุนไปเอง เพราะเกิดจากความสะเพร่า ที่หาใบจองไม่เจอ จนเป็นเหตุให้มารับของไม่ทัน(ตามเวลาที่วัดกำหนด)เอง, จะไปโทษใครไม่ได้หรอกครับ...ด้วยความเคารพ |
|