ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ประวัติหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่



(N)


สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราจะมาคุยกันถึงประวัติและเบี้ยแก้ของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่ ตำบลตลาดใหม่ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เรื่องประวัติของหลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่นี้ ผมเองพยายามค้นหามานานแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จ จนได้คุณสมชัย จงทวีทรัพย์ เขยคนวิเศษฯ ได้ช่วยหาให้ โดยมีคุณบุญส่ง รอดเสียงล้ำ (ลุงส่งคานเรือ) และคุณไพชยนต์ ดิษพงศ์ (ครูปู ร.ร.อนุบาลวัดนางใน) ได้กรุณาค้นข้อมูลและรูปถ่าย นำมาให้เพื่อเผยแพร่กิตติคุณของหลวงพ่อซำ ต้องขอบคุณทั้ง 3 ท่านมา ณ ที่นี้ด้วยครับ
หลวงพ่อซำ อินทสุวรรณโณ นามสกุลเดิม ลีสุวรรณ์ เป็นบุตรของนายจีนซึง กับนางอินท์ แซ่ลี้ มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน 3 คน หลวงพ่อท่านเกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2415 ที่บ้านหลักขอน ตำบลห้วยคันเหลน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และได้อุปสมบทที่วัดตลาดใหม่ ตอนอายุได้ 23 ปี เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2438 โดยมีพระอธิการดี วัดฝาง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแป้น วัดสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จันทร์ วัดท่าสุวรรณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่อุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเคารพในหลวงปู่คุ่ย พระอริยสงฆ์ผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาธรรมอีกทั้งยังเป็นพระสงฆ์ผู้ทรงวิทยาคมเลิศล้ำในทุกๆ ด้าน จึงขอจำพรรษารับใช้หลวงปู่คุ่ย จนมีความผูกพันและกลายเป็นศิษย์รักในเวลาต่อมา จนได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ครั้นจำพรรษาได้เพียง 2 พรรษา หลวงปู่คุ่ยเห็นแววใฝ่รู้อีกทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร จึงส่งหลวงพ่อซำให้มาศึกษาหาความรู้ร่ำเรียนภาษาบาลี ศึกษาพระคัมภีร์พระธรรมวินัยอยู่ที่วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. จึงได้พบและรู้จักกับพระมหาอยู่ ญาโณทัย (สมเด็จพระสังฆราช อยู่ ญาโณทัย วัดสระเกศวรมหาวิหาร) จนเป็นสหธรรมิกกันตั้งแต่นั้นมา
หลวงพ่อซำเรียนอยู่ที่วัดระฆังฯ ได้เพียง 1 พรรษา ท่านก็ย้ายมาที่วัดสร้อยทอง จนถึงปีพ.ศ.2442 ก็กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดตลาดใหม่ ด้วยความเป็นห่วงโยมบิดา-มารดา และต้องการกลับมาดูแลรับใช้หลวงปู่คุ่ย สำหรับสรรพวิชาอาคมต่างๆ ได้รับการถ่ายทอดจากหลวงปู่คุ่ยจนหมดสิ้นทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ หลวงพ่อซำชอบมาก เพราะเคยได้รับรู้ถึงพลังพุทธาคม ได้ประจักษ์แก่สายตาท่านเมื่อครั้งยังเป็นเด็ก ท่านจึงสนใจเป็นพิเศษ อีกทั้งด้านยาสมุนไพรและแพทย์แผนโบราณและดูแลงานแทนหลวงปู่คุ่ยได้ จนเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน ต่อมาเมื่อถึงปีพ.ศ.2446 หลวงปู่คุยมรณภาพลงด้วยโรคชรา ชาวบ้านจึงพากันนิมนต์หลวงพ่อซำ เป็นเจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่สืบต่อมา
หลวงพ่อซำท่านเริ่มสร้างวัตถุมงคลเมื่อปีพ.ศ.2480 เรื่อยมานับว่าเป็นของดีที่มีประสบการณ์มากมาย ไมว่าจะเป็นเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ผ้ายันต์กันภัย ตะกรุดโทนคู่ใจ และครั้งหลังสุดเหรียญรุ่นแรกสร้างปีพ.ศ.2506 มีสองพิมพ์ พิมพ์แรกคือเกศบัวตูม(นิยม) พิมพ์ที่คือสองเกศแหลม การสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำ หลวงพ่อท่านจะทำการสร้างในวันอาทิตย์ วันอังคาร และวันเสาร์ หากในสามวันนี้วันใดที่ตรงกับวันพระ หลวงพ่อท่านจะหยุดสร้างหนึ่งวัน สรุปว่าในวันพระหลวงพ่อท่านไม่สร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์แน่นอน และการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ ในแต่ละครั้งหลวงพ่อท่านสร้างเพียงจำนวนกำลังวันที่สร้างในวันนั้น เช่น วันอาทิตย์มีกำลังคือ 6 ท่านก็สร้างเพียง 6 ตัว วันอังคารมีกำลังคือ 8 ท่านก็สร้างเพียง 8 ตัวและวันเสาร์มีกำลังคือ 10 ท่านก็สร้างเพียง 10 ตัว ในแต่ละครั้งที่หลวงพ่อท่านทำการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์นั้น ท่านจะประกอบพิธีให้แล้วเสร็จในคราวเดียว



กรรมวิธีในการสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ของหลวงพ่อซำนั้น จากข้อมูลพระอาจารย์สมุห์ประเมษฐ์ เจ้าอาวาสวัดตลาดใหม่องค์ปัจจุบัน หลวงพ่อซำท่านจะประกอบพิธีการทำเบี้ยแก้วอาถรรพณ์ ท่านจะตั้งศาลเพียงตาบูชาบรมครู ก่อนที่ท่านจะลงมือสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ทุกครั้ง ท่านจะนำเบี้ย (หอยพู) ตามจำนวนกำลังวันที่สร้างมาใส่พานวางไว้พร้อมกับปรอทและชันโรงตั้งในพิธีตอนบวงสรวงอัญเชิญบรมครูให้มาสถิตประสิทธิ์ประสาทวิชาและเพื่อขออนุญาตในการประกอบพิธีสร้างเบี้ยแก้อาถรรพณ์ให้เกิดพลังความศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชันโรง ท่านจะใช้แต่ชันโรงที่ทำรังใต้ดินในป่าบริเวณรอบๆวัด เมื่อประกอบพิธีไหว้ครูเสร็จหลวงพ่อซำท่านจะหยิบเบี้ยขึ้นมาแล้วเทปรอทลงอุ้งมือจากนั้นหลวงพ่อจะบริกรรมคาถาเรียกแร่แปรธาตุ สักพักหนึ่งจึงเทปรอทลงในตัวเบี้ย จากนั้นก็นำชันโรงที่เตรียมไว้มาอุดปิดปากเบี้ย เพื่อป้องกันปรอทไหลออกจากตัวเบี้ย และได้นำแผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมมาปิดทับชันโรงอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์และง่ายต่อการจดจำ ซึ่งเบี้ยแก้ที่มีลักษณะนี้เรียกได้ว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หลวงพ่อซำท่านสร้างไว้ในยุคต้นๆ (เมื่อปีพ.ศ.2480-2485) แต่ภายหลัง ในปี พ.ศ.2499 มีประกาศจากเถรสมาคม เรื่อง ห้ามพระภิกษุสามเณรประกอบอาชีพเป็นหมอหรือแพทย์รักษาโรค ท่านเลยสร้างเบี้ยแก้ให้กับญาติโยมไปใช้แทนจนถึงท่านมรณภาพในปี 2509

หมายเหตุ - เบี้ยของท่าน สมัยก่อนท่านทำแจกให้ญาติโยมแถววัด โยมที่มารักษา และผู้ที่บวชแล้วลาสิกขาบทกับท่าน จะได้ผ้ายันต์เขียนมือเพิ่มอีกคนละหนึ่งผืนพร้อมกับเขียนชื่อลงในผ้ายันต์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
แทน ท่าพระจันทร์ จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2551

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 13:34 น.]



โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 13:37 น.] #3843672 (1/6)


(N)


0

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 13:39 น.] #3843673 (2/6)


(N)


0

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 13:40 น.] #3843674 (3/6)


(N)


0

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 14:00 น.] #3843676 (4/6)


(N)
จุดสังเกตุการดูเบี้ยแก้หลวงพ่อซำ วัดตลาดใหม่
1. ฟอยล์สีเงินรุ่นเก่าที่บาง
2. ชันโรงจะออกสีแดงดำ (แต่ไม่ใช่สีดำที่เอาไปเผา)
3. ตรงฟอยล์ จะมีคราบน้ำของชันโรงแดงๆ
4. บางตัว จะมีคราบดินติดตามขอบเบี้ย

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 14:03 น.] #3843677 (5/6)


(N)


2 ภาพนี้ แสดงจุดสังเกตเพิ่มเติมครับ

โดยคุณ บางขุนเทียน (596)  [พ. 25 ต.ค. 2560 - 14:06 น.] #3843678 (6/6)
https://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=118223

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1