ผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นเหรียญหล่อโบราณของวัดระฆัง
จัดร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ประมาณปี 2460 เท่าที่ทราบมีการสร้างด้วยกัน 2 ครั้ง
ครั้งแรก หล่อและปลุกเสกในอุโบสถ วัดระฆัง
ครั้งที่สอง หล่อและปลุกเสกที่หอกลาง คณะหนึ่ง
พุทธพิมพ์
เป็นเหรียญหล่อเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง ขนาด 1.3*2.0 ซม.
ด้านหน้า
พระประธานประทับนั่งปรางค์สมาธิบนอาสนะบัวสองชั้น ภายในวู้มครอบแก้ว ...
ด้านหลัง
เป็นแผ่นเรียบ แต่จะมีเอกลักษณ์ตรงที่รอยบุ๋ม คล้ายกับรอยค้อนตอก (ในความเป็นจริง น่าจะเกิดจากการยุบตัวของเนื้อโลหะเมื่อแห้งสนิทหลังจากการหล่อ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก "ระฆังหลังค้อน"..
การแยกแยะว่าหล่อ ครั้งแรก หรือครั้งสองนั้น ให้พิจารณาที่กระแสเนื้อเป็นหลัก คือถ้าเนื้อออกเหลืองคล้ายทองดอกบวบ หรืองเหลืองอมเขียวในบางองค์ จัดเป็นการหล่อครั้งแรก แต่ถ้าเป็นสีเหลืองอ่อน จะเป็นครั้งสอง
เพิ่มเติมครับ
บางองค์ด้านหลังจะมีรอยตะไบ และบางองค์จะมีห่วงเชื่อมอยู่ด้านบน ซึ่งมาเชื่อมกันทีหลังจากรับพระแล้ว ปัจจุบันพระที่สมบูรณ์มีห่วงติดอยู่จะหาอยากมาก ส่วนใหญ่จะหลุดหักตามกาลเวลา และการเชื่อมใช้ตะกั่ว จึงไม่แข็งแรงคงทน และบางองค์ก็จะไม่มีห่วงซึ่งเป็นส่วนใหญ่
ค่านิยม เหรีญหล่อครั้งแรกจะมีค่านิยมสูงกว่า และถ้ามีห่วง หรือรอยห่วงเชื่อม จะมีน้อยมาก ค่านิยมจะสูงตามไปด้วย
การพิจารณาเก๊-แท้ ให้พิจารณาพิมพ์ และความเก่ากระแสเนื้อ(การแห้งและการยุยตัวของโลหะต้องเป็นธรรมชาติ)
|
|