(D)
หลายๆท่านอาจสงสัยว่า พระหลวงปู่ทวดหลังเตารีดวัดคอกหมูมีด้วยหรือ แล้ววัดคอกหมูคือวักไหนกันแน่ ก่อนอื่นมารู้จักวัดคอกหมูกันก่อนนะครับ ...วัดคอกหมูมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า วัดสิตาราม อยู่ถนนดำรงรักษ์ บนถนนจักรพรรดิพงษ์เยื้องวัดสะเกศจะมีสี่แยกย่อย(เดิมเรียกว่าแยกสะพานสาวร้องไห้) ก่อนถึงสี่แยกหลานหลวง เลี้ยวขวาเข้าถนนดำรงรักษ์ทางจะไปมหานาค บริเวณวัดนี้เมื่อก่อนชาวจีนได้มาเลี้ยงหมูจนร่ำรวยภายหลังได้ถวายที่ดินส่วนนี้ให้สร้างวัด ชื่อวัดแต่ดั้งเดิมจึงเรียกกันว่า วัดคอกหมูและต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อวัดสิตาราม..ละแวกวัดนี้ในอดีตมีช่างหล่อและโรงหล่อของช่างอิน(บางท่านเรียกว่าช่างแสวง) นายอินผู้นี้คือช่างผู้หล่อพระกริ่งหน้าอินเดียให้กับวัดสุทัศน์ ต่อมาในปี2491 นายอินพาทีมช่างหล่อลงใต้ไปสงขลาเพื่อทำการหล่อพระกริ่งโภคทรัพย์ให้ พ่อท่านเส่ง วัดปหลมทราย
ครั้นในปี2505 พระอาจารย์ทิม แห่งวัดช้างให้ สร้างพระพ่อปู่ทวดหลังเตารีดขึ้นที่วัดช้างให้ ปรากฎว่าเนื่องด้วยเวลาที่กระชั้นชิดช่างหล่อทำงานไม่ทันกำหนด จึงได้ให้ช่างอินในกรุงเทพฯ ช่วยหล่ออีกแรงหนึ่ง พิมพ์ที่ช่างอินทำการหล่อคือ ลป.ทวดเตารีดใหญ่พิมพ์เอ พระของช่างอินที่หล่อจะแก่ทองเหลืองไม่ออกแดงอย่างที่หล่อพระลป.ทวดพิพม์เตารีดที่วัดช้างให้ ..ครั้นเมื่อช่างอินหล่อพระเสร็จแล้วก็จะคัดงานดีที่หล่อสวยแยกไว้ในลัง ส่วนงานพระที่หล่อติดไม่คมชัดหรือชำรุดหล่อติดแต่ไม่สวย ได้คัดแยกไว้ต่างหากและทำการตอกโค๊ตรูปหมูไว้ที่หลังองค์พระ จุดประสงค์เพื่อนำไปถวายวัดคอกหมู พระทั้งสองแบบได้ถูกนำส่งผ่านไปทางรถไฟเพื่อไปยังวัดช้างให้สำหรับเข้าในพิธีปลุกเสกปี๒๕๐๕ ครั้นเมื่อ พระอาจารย์ทิมปลุกเสกในพิธีเสร็จแล้ว ท่านก็นำพระในส่วนที่ช่างอินคัดสวยให้เอาไปแจกญาติโยมที่วัดช้างให้ ส่วนอีกส่วนที่ช่างอินคัดไว้และตอกโค๊ตรูปหมูไว้ด้านหลัง ท่านก็ส่งกลับคืนมายังช่างอินที่กรุงเทพฯ เพื่อให้ช่างอินนำไปถวายที่วัดคอกหมู นั้นหมายความว่า พระลป.ทวดหลังเตารีดที่แจกที่วัดคอกหมูนั้นเป็นพระเข้าในพิธีเดียวกับพระลป.ทวดหลังเตารีดวัดช้างให้ พุทธคุณจึงเสมอเหมือนกันทุกประการ ...สำหรับโค๊ตรูปหมูที่ตอกไว้ด้านหลังนั้น มีปรากฏตั้งแต่๑ตัว ๒ตัว ๓ตัว ๔ตัว จนถึง๙ตัว ซึ่งราคาเช่าหาจะถูกหรือจะแพง ก็อยู่ทีความสูงและจำนวนตอกของโค๊ตหมูที่ด้านหลังองค์พระครับ พระชุดนี้สมัยก่อนเคยมีคนหัวหมอเอาพระไปลบโค๊ตรูปหมูออกและขายเป็นพระลป.ทวดเตารีดวัดช้างให้มาแล้วนะครับ...
+++อ้างอิงบทความจาก..หนังสือเซียนพระเล่มที่๔๓๑+++ |