ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : **@ปฐมบท:พระสมเด็จ อนุสรณ์๑๐๐ปี วัดระฆังโฆษฺตาราม กทม.@**



(D)


จัดให้ตามคำขอของคุณTrongเลยนะครับ บวกกับหลังจากที่กระแสจตุคามได้ซาลงไปพระเครื่องก็มีการเคลื่อนไหวกันอย่างต่อเนื่อง และกระแสพระสมเด็จ๑๐๐ปีชุดนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้นครับ ตอนนี้มาแรงเหลือเกินนะครับ เนื่องจากผู้คนใฝ่หาและมีความสนใจเก็บมากๆใบสั่งตามศุนย์พระปลิวว้อนไปมาเลเกินการเคลื่อนไหวและแน่นอนราคาก็เขยิบขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และผมก็มีความมั่นใจมากๆเสียด้วยว่าของเทียมเลียนแบบVersionใหม่แบบปลาดคอเซียนก็น่าจะออกมาในเวลาอันใกล้นี้แน่นนอน ก็เลยเอาวัคซีนมาให้เพื่อนๆพี่ๆ เอาไว้ป้องกันโดนของเทียมกันนะครับ...สำหรับบทความพระชุดบางขุนพรหมก็มีนะคัรบแต่ผมคิดว่าในG-Praมีผู้ชำนาญหลายคนน่าจะมากกว่าสมเด็จ๑๐๐ปีวัดระฆัง ผมเองคงขอไม่นำมาลงดีกว่านะครับให้ผู้ชำนาญท่านอื่นมาลงให้ความรู้ดีกว่า...กระทู้นี้มีลงหลายช่วงนะโปรดติดตามหลายครั้งหน่อย เพราะไม่ค่อยมีเวลาผลเนื่องจากงานหลักแล้วจะเข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มครับ...พรีวิวรูปไปก่อนนะครับแล้วจะนำเรื่องของการสร้างและแม่พิมพ์ รายละเอียดวิธีดูขอบตัด และวิจารณ์เรื่องพระเทียมฝีมือกันนะครับ

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:25 น.]



โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:30 น.] #178709 (1/29)


(D)


ในรูปคือพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ไข่ปลาเลือน เมื่อสมัย๕-๑๐ปีที่แล้ว จัดเป็นพิมพ์นิยมสุดและแพงสุดสมัยเมื่อเกือบ๑๐ปีที่แล้วผมเช่าองค์แชมป์เปี้ยนในราคา๖,๕๐๐ บาทน่ะครับส่วนสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์๕จุดตอนนั้นยังราคาเพียงพันปลายๆถึงสองพันกลางๆเองครับ..

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:52 น.] #178723 (2/29)


(D)


1

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:57 น.] #178727 (3/29)


(D)


2

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:58 น.] #178729 (4/29)


(D)


3

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:58 น.] #178730 (5/29)


(D)


4

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:59 น.] #178732 (6/29)


(D)


5

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 08:59 น.] #178734 (7/29)


(D)


6

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:00 น.] #178735 (8/29)


(D)


7

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:01 น.] #178739 (9/29)


(D)


8.พิมพ์แขนตรง พิมพ์ใกล้เคียงพิมพ์ไข่ปลาเลือนและพิมพ์เส้นด้ายครับ หากเรียงตามหนังสือที่อ.ธีรยุทรจัดทำจะเข้าในพิมพ์ที่๑๓ครับ

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:03 น.] #178743 (10/29)


(D)


9.พิมพ์ซุ้มมีจุด หากเรียงตามหนังสือที่อ.ธีรยุทรจัดทำจะเข้าในพิมพ์ที่๑๒ครับ และพิมพ์ต้อ

โดยคุณ กระเช้าทอง (892)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:03 น.] #178744 (11/29)
รบกวนสอบถามหน่อยครับ เรื่องสีของยันต์ด้านหลัง มีกี่สีครับ หรือสีเดียว ช่วยบอกให้เป็นความรู้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:04 น.] #178745 (12/29)


(D)


10.พิมพ์ซุ้มลึกและพิมพ์อกใหญ่

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 09:05 น.] #178747 (13/29)
555...พรีวิวรูปก่อนนะคัรบ หรับตรายางจะนำมาให้ความรู้ในกระทู้ถัดไปครับ

โดยคุณ nipat (580)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 12:41 น.] #178896 (14/29)
พิมพ์หลังเต่า เค๊าว่าเป็นพิมพ์เสริมกัน จริงหรือไม่ครับ

โดยคุณ เด็กวัดเขาถ้ำบุญนาค (1.4K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 14:03 น.] #178937 (15/29)
ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลดีๆ

โดยคุณ phubeto (309)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 17:27 น.] #179049 (16/29)
เยี่ยมครับ...เนื้อพระสมเด็จ 100ปีต้องอย่างนี้ครับ...ถ่ายรูปได้สวยสมจริง (ส่วนใหญ่สมาชิกที่ลงรูปมา ไม่ว่าจะในกระดานประมูลหรือกระทู้ถาม สีมักจะผิดเพี้ยนดูแล้วเหมือนพระเก๊..จนผมขี้คร้านจะชม)...ขอบคุณ คุณ nukro09มากครับ ที่นำข้อมูลดีๆและของสวยๆมาให้ชมกัน

โดยคุณ chanasak (322)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 19:20 น.] #179097 (17/29)
ขอบคุณมาก สำหรับ ความรู้ และภาพงามๆ มาให้ชม

โดยคุณ Trong (5)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 20:16 น.] #179162 (18/29)
ด้วยน้ำใจดีจริงๆ ที่อุตสาห์มาตั้งเป็นกระทู้ใหม่เพื่อให้รายละเอียดสำหรับผู้สนใจหน้าใหม่ ต้องขอขอบคุณ คุณnukro09 มากๆครับ พร้อมนี้อยากขอให้ช่วยแนะข้อสังเกตุรุ่นหลังไม่มีตรายางที่ต้องควรระมัดระวังตรวจสอบให้ดี ว่าต้องสังเกตและยึดอะไรเป็นหลัก จากที่เสาะหาดูในเว็ปต่างๆและตามตัวอย่างที่ท่านให้มารู้สึกจะมีมากกว่า 1 พิมพ์ เพราะองค์พระที่ถูกตาต้องใจบางองค์เป็นรุ่นไม่มีตรายาง สำหรับหลังตรายางพอจะมีที่ยืนยันมั่นใจได้บ้างครับ

โดยคุณ โพธโชคชัย (3K)  [พฤ. 08 พ.ย. 2550 - 23:12 น.] #179313 (19/29)
เยี่ยมครับ ขอบคุณในความมีน้ำใจครับพี่nukro

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 08:34 น.] #179408 (20/29)
สวัสดีทุกท่านนะครับ กระทู้นี้ยังไม่สมบูรณ์ เรียบร้อยดีอย่างที่แจ้งไว้ข้างต้นน่ะครับ ถ้าวันนี้หากพอมีเวลาว่างพอจะนำการจัดสร้างวิธีการทำพระชุดนี้และจะมีกระทู้วิเคราะห์และการดูอย่างถูกหลักการตามมาตรฐานสากลให้นะครับ ...ส่วนตอนนี้ขออนุญาตไปสะสางงานหลักก่อน..ขอบคุณครับ

**ตอบคำถามคุณnipat นะคัรบ: สำหรับพิมพ์หลังเต่ามีจริงนะครับ แต่ขอแนะนำให้เช่าเก็บเป็นพิมพ์สุดท้ายหรือต้องมีความชำนาญมากๆนะครับเนื่องจากปัจจุบันที่พบเห็นในสนามมักจะเป็นของฝีมือที่ทำออกมาใหม่ฝีมือนี้ผมมีเก็บไว้เหมือนกันเดี๋ยวจะถ่ายรูปให้ศึกษากันนะครับในกระทู้วิเคราะห์พระฝีมือน่ะครับ
**ตอบคำถามคุณกระเช้าทอง นะคัรบ: ตราที่ประทับด้านหลังพระชุดนี้มีเพียง๒สีครับคือสีน้ำเงินและสีแดง ปัจจุบันมีตราเทียมเลียนแบบเหมือนเด๊ะๆเลยครับแต่วงของตรายางจะขนาดจะย่อมกว่าของจริงเล็กลงไปประมาณ๑มม.เข้าใจว่าถอดแบบจากcomputerมาครับ...

โดยคุณ tangmo03 (1.3K)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 15:35 น.] #179572 (21/29)
ขอบคุณมากครับผมสำหรับความรู้ ดีมากเลยสำหรับมือใหม่อย่างผม และผู้กำลังศึกษา
น้ำใจงามมากครับผม ขอยกย่องครับ

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 18:04 น.] #179660 (22/29)
ก่อนอื่นต้องขอบอกตามตรงว่าพระสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปีนั้นเล่นและเช่าหาไม่ยากดังที่บางท่านเข้าใจครับ กระทู้นี้เขียนขึ้นสืบเนื่องจากว่า ผมมีความคิดว่าควรจะมีมาตรฐานให้สำหรับนักสะสมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและเพิ่งเข้ามาสะสมพระสมเด็จรุ่นนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านสะสมได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากลครับ..
การจะสะสมพระให้เป็นและมีความชำนาญนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างพระพิมพ์นั้นๆครับ สำหรับพระสมเด็จ รุ่น๑๐๐ปีวัดระฆังฯก็เช่นกันนะครับ เราต้องเข้าใจถึงมวลสารการสร้าง แม่พิมพ์ที่กด และองค์ประกอบโดยรวม
ในกระทู้นี้จะขอแจงเฉพาะพระเนื้อผงนะครับ สำหรับพระบูชาและพระกริ่งพระหล่อ คงต้องหาอ่านในหนังสือเอาน่ะครับเพราะรูปแบบลักษณะและโค๊ตตอกต้องยอมรับว่าผมไม่มีรูปเก็บไว้อยู่เลย

เริ่มเลยนะครับ
พระชุดสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปี แบบเนื้อผงมีอยู่ด้วยกันดังนี้
1.พิมพ์พระสมเด็จชิ้นฟัก พิมพ์พระประธานใหญ่
2.พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์คะแนน
3.พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโต
4.พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโตพิมพ์คะแนน
*********************************************************
มวลสารการสร้าง แม่พิมพ์ที่กด และวิธีการสร้าง
1.มวลสาร
มวลสารของพระชุดสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปี มีดังนี้ ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จพุทธจารย์โต, ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จปิลันท์(ใบลาน), เกสรดอกไม้แห้งว่านศักดิ์สิทธิ์ที่เก็บรวบรวมไว้, ผงธูปและเศษผนังปูนที่กระเทาะในพระอุโบสถพระประธานของวัดระฆัง มวลสาระสำคัญที่พระเกจิมากมายนำมาร่วมผสม
2.แบบแม่พิมพ์
สร้างจากการกดต้นแบบพระสมเด็จที่สมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังสี สร้างและทางผู้สร้างแบบได้เพิ่มเอกลักษณ์ลงไปในพิมพ์คือจุดไข่ปลาตรงบริเวณเข่าขวาพระประธานในพิมพ์ สมัยนู้นก่อนที่จะมีหนังสือ อ.ธีรยุทร ที่พิมพ์ครั้งที่๒รวมพระสมเด็จวัดใหม่อมตรส+วัดระฆัง๑๐๐ปีนั้น ด้วยตัวผมเองที่เช่าหาสะสมทุกพิมพ์และทุกสภาพ ประมาณ๒๐๐-๓๐๐องค์ได้ พอมีเวลาว่างก็มานั่งแยกพิมพ์เป็นsetเป็นกลุ่ม สามารถแยกย่อยในพิมพ์ได้มากกว่า๑๓พิมพ์นะครับ เอาไว้จะเปรียบเทียบให้ดูจากภาพนะครับว่าทำไมถึงแยกได้มากกว่าที่แจ้ง แต่ด้วยหนังสือ อ.ธีรยุทรนี้ผมจัดว่าเป็นเล่มมาตรฐานเล่มหนึ่งเลยนะครับเพราะข้อมูลที่ผมเองได้รับทราบจากกรรมการวัดที่ทันการสร้างพระชุดนี้เข้าตรงตามที่ได้
บรรยายในหนังสือครับ เหมาะที่จะมีไว้เป็นต้นฉบับในการศึกษาและสะสมอย่างมีหลักการครับ
3.วิธีการสร้าง
พระชุดนี้จัดสร้างโดยวัดระฆังโฆษิตารามและทำการกดพิมพ์ที่โรงงาน(โรงปั๊มพระ) โดยทางวัดได้นำเอามวลสารต่างๆและส่วนผสมแจ้งกับทางโรงงานเพื่อทำการกวนผสมมวลสารเนื้อพระ โดยพระชุดนี้แบบแม่พิมพ์สร้างจากการกดต้นแบบพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังสี ได้สร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังอยู่และทางผู้สร้างแบบได้เพิ่มเอกลักษณ์ลงไปในพิมพ์คือจุดกลมคล้ายจุดไข่ปลาตรงบริเวณเข่าขวาพระประธานในพิมพ์ ลักษณะแม่พิมพ์เป็นแบบตอกตัด บล็อคมีตัวผู้เพียงบล็อคเดียวคือ พิมพ์ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นแผ่นโลหะสำหรับวางเนื้อมวลสารเพื่อเสียบเข้าแม่พิมพ์พระแล้วทำการกดครับ เนื่องจากเวลาที่น้อยมีผลโดยตรงกับการกดพิมพ์พระให้ได้จำนวนตามที่ต้องการทางโรงงานจึงได้ทำการกอปปี้แม่แบบออกมาอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเพิ่มจำนวนการกดให้ได้จำนวนมากขึ้นในเวลาเดียวกัน ยังผลให้ได้จำนวนพระสมเด็จตามเวลาที่กำหนด จากการก๊อปปี๊ต่อก๊อปปี๊จึงทำให้พิมพ์บางพิมพ์ตำหนิบางจุดก็หายไปและบางจุดก็เกิดขึ้นใหม่เอง พิมพ์ทรงจึงผิดเพียนไปบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าลองเทียบดูบางแม่พิมพ์ลักษณะจะคล้ายๆกันมากเลยนะครับ
เนื่องจากเป็นพระที่กดมือและทำการวางมวลสารที่สำหรับกดพระบนแผ่นโละหะ บวกกับชั้นเชิงในด้านของความชำนาญในเรื่องการจัดสร้างพระแบบมืออาชีพของโรงงาน(อันนี้ต้องขอบอกว่าแต่ละโรงงานที่จัดสร้างพระนั้นเขาก็จะมีเอกลักษณ์ของแต่ละโรงงานเหมือนกันนะครับ) ดังนั้นจะมีจุดสังเกตุหลักและเป็นเอกลักษณ์ของพระชุดนี้ที่จัดทำจากโรงงานนี้จึงพอสรุปได้ดังนี้คือ
ผู้ทำการกดทำการหยิบเนื้อมวลสารมาจากส่วนที่ผสมเสร็จเป็นก้อนๆแล้วทำการวางลงแผ่นโลหะแบบเรียบเสียบเข้าล็อคที่จัดทำไว้แล้วกดกับแม่พิมพ์ พอกดเสร็จก็ทำการชักแผ่นเสียบออกมาแล้วหยิบพระไปตากให้แห้ง จุดสังเกตุตรงนี้หล่ะครับให้นึกภาพตามกันนะครับ ..คือการกดพระนั้นเป็นการกดแม่พิมพ์จากด้านบนลงล่างดังนั้นขอบตัดรอบกรอบองค์พระจะมีเส้นวิ่งแนวตั้งฉากกับด้านหน้าไปยังหลังพระและพอกดเสร็จยกแม่พิมพ์ขึ้นช่วงที่ทำการชักพระออกจากล็อค ขอบด้านข้างซ้าย-ขวาของพระสมเด็จจะถูกโมด้านข้างขูดไปจึงทำให้เกิดเส้นในแนวขนานขอบพระวิ่งอยู่ทั้งสองด้านองค์พระครับ เสร็จแล้วผู้ทำการกดก็หยิบพระไปตากรอแห้ง
จุดสังเกตอีกจุดคือบริเวณด้านหลังองค์พระ..นึกภาพตามนะครับ ผมขอเอาหลักวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงนิดหน่อยคือ ตอนที่นำเอาเนื้อมวลสารที่ปั๊นเป็นก้อนวางลงโลหะแล้วกดนั้นช่วงที่แม่พิมพ์บังคับให้เนื้อมวลสารวิ่งไปติดเป็นรูปร่างตามแม่พิมพ์นั้น(กดจากข้างบนลงล่าง) เนื้อที่ถูกกดลงมีความอ่อนตัวย่อมแพร่ขยายออกเต็มพื้นที่ที่ถูกกดทับจนเต็ม ด้วยการที่กดลงนั้นช่วงเนื้อมวลสารกับแผ่นโลหะย่อมมีอากาศแทรกอยู่โดยทั่วไป ดังนั้นตอนกดแม่พิมพ์ลงเนื้อมวลสารถูกรีดแพร่ตามแม่พิมพ์ตรงบริเวณแผ่นเหล็กกับเนื้อพระก็จะมีอากาศเล็กๆที่ถูกไล่ออกไม่หมดเมื่อไล่ออก อย่าลืมนะครับอากาศก็เป็นสะสาร ไม่หมดมันจึงต้องหาพื้นที่ให้ตัวเองอยู่ได้คือฟองอากาศเหล่านี้จะดันตัวเองจากแผ่นโลหะขึ้นบนเนื้อพระที่แนบติดแผ่น(หากยังนึกภาพไม่ออกอันนี้ให้นึกถึงตอนแทน้ำลงหม้อเพื่อต้มน้ำนะคัรบจะสังเกตุเห็นที่ก้นหม้อจะมีพองเล็กติดอยู่ที่ผิวหม้อหลักการเดียวกันเลย) ผลที่ได้ออกมาคือ ผิวฟองอากาศที่ดันเนื้อพระจะเป็นร่องหลุมแบบไม่มีมิติสังเกตจากหลายๆองค์จะเห็นว่าร่องหลุมอากศที่เกิดไม่มีตำแหน่งที่ตรงกันเสียเลยในแต่ละองค์ อันนี้จะเป็นอีกเอกลักษณ์ที่มักปรากฏบนด้านหลังองค์พระสมเด็จรุ่น๑๐๐ปีนี้ครับ..

โดยคุณ chanasak (322)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 18:18 น.] #179664 (23/29)
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับความรู้

โดยคุณ koala (37)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 18:23 น.] #179666 (24/29)
สวยงามทุกองค์เลยครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ

โดยคุณ nukro09 (2.2K)  [ศ. 09 พ.ย. 2550 - 18:28 น.] #179671 (25/29)


(D)


สรุปให้นะครับ
ลักษณะที่เกิดจากการกดพระลงในแม่พิมพ์จนตากแห้ง
1.ขอบตัดตอกเป็นเส้นแนวตั้งฉากจากด้านหน้าองค์พระไปหลังองค์พระ
2.มีเส้นวิ่งขนานขอบทั้งสองด้าน(ซ้าย-ขวา)ขององค์พระ
3.ด้านหลังมีหลุมอากาศเป็นแอ่งทั้วไป
เอารูปมาให้ดูเพื่อจะได้เห็นภาพและเข้าใจมากขึ้น

โดยคุณ LITTLEGIFT (1.5K)(1)   [อา. 11 พ.ย. 2550 - 18:47 น.] #180625 (26/29)

โดยคุณ กระเช้าทอง (892)  [จ. 26 พ.ย. 2550 - 23:39 น.] #188523 (27/29)
สุดยอดไร้เทียมทานจริงๆครับ

โดยคุณ stampjj (238)(2)   [พฤ. 07 ก.พ. 2551 - 14:35 น.] #226529 (28/29)

โดยคุณ donberlin (10)  [จ. 16 ก.พ. 2552 - 10:15 น.] #522836 (29/29)
ได้ความรู้เยอะมากๆๆครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1