(D)
เพื่อนๆเมลล์มาแจ้งให้เอาบทความตอนที่แล้วมาใส่ให้ครบเลยในกระทู้น่ะครับ เลยขออนุญาตลงซ้ำอีกครั้งนะครับ ....
ก่อนอื่นต้องขอบอกตามตรงว่าพระสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปีนั้นเล่นและเช่าหาไม่ยากดังที่บางท่านเข้าใจครับ กระทู้นี้เขียนขึ้นสืบเนื่องจากว่า ผมมีความคิดว่าควรจะมีมาตรฐานให้สำหรับนักสะสมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและเพิ่งเข้ามาสะสมพระสมเด็จรุ่นนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกท่านสะสมได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากลครับ..
การจะสะสมพระให้เป็นและมีความชำนาญนั้น ก่อนอื่นต้องเข้าใจถึงจุดเริ่มต้นของการสร้างพระพิมพ์นั้นๆครับ สำหรับพระสมเด็จ รุ่น๑๐๐ปีวัดระฆังฯก็เช่นกันนะครับ เราต้องเข้าใจถึงมวลสารการสร้าง แม่พิมพ์ที่กด และองค์ประกอบโดยรวม
ในกระทู้นี้จะขอแจงเฉพาะพระเนื้อผงนะครับ สำหรับพระบูชาและพระกริ่งพระหล่อ คงต้องหาอ่านในหนังสือเอาน่ะครับเพราะรูปแบบลักษณะและโค๊ตตอกต้องยอมรับว่าผมไม่มีรูปเก็บไว้อยู่เลย
เริ่มเลยนะครับ
พระชุดสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปี แบบเนื้อผงมีอยู่ด้วยกันดังนี้
1.พิมพ์พระสมเด็จชิ้นฟัก พิมพ์พระประธานใหญ่
2.พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์คะแนน
3.พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโต
4.พิมพ์พระรูปเหมือนสมเด็จโตพิมพ์คะแนน
*********************************************************
มวลสารการสร้าง แม่พิมพ์ที่กด และวิธีการสร้าง
1.มวลสาร
มวลสารของพระชุดสมเด็จวัดระฆังรุ่น๑๐๐ปี มีดังนี้ ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จพุทธจารย์โต, ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม, ผงเก่าที่แตกหักของสมเด็จปิลันท์(ใบลาน), เกสรดอกไม้แห้งว่านศักดิ์สิทธิ์ที่เก็บรวบรวมไว้, ผงธูปและเศษผนังปูนที่กระเทาะในพระอุโบสถพระประธานของวัดระฆัง มวลสาระสำคัญที่พระเกจิมากมายนำมาร่วมผสม
2.แบบแม่พิมพ์
สร้างจากการกดต้นแบบพระสมเด็จที่สมเด็จพุทธจารย์โต พรหมรังสี สร้างและทางผู้สร้างแบบได้เพิ่มเอกลักษณ์ลงไปในพิมพ์คือจุดไข่ปลาตรงบริเวณเข่าขวาพระประธานในพิมพ์ สมัยนู้นก่อนที่จะมีหนังสือ อ.ธีรยุทร ที่พิมพ์ครั้งที่๒รวมพระสมเด็จวัดใหม่อมตรส+วัดระฆัง๑๐๐ปีนั้น ด้วยตัวผมเองที่เช่าหาสะสมทุกพิมพ์และทุกสภาพ ประมาณ๒๐๐-๓๐๐องค์ได้ พอมีเวลาว่างก็มานั่งแยกพิมพ์เป็นsetเป็นกลุ่ม สามารถแยกย่อยในพิมพ์ได้มากกว่า๑๓พิมพ์นะครับ เอาไว้จะเปรียบเทียบให้ดูจากภาพนะครับว่าทำไมถึงแยกได้มากกว่าที่แจ้ง แต่ด้วยหนังสือ อ.ธีรยุทรนี้ผมจัดว่าเป็นเล่มมาตรฐานเล่มหนึ่งเลยนะครับเพราะข้อมูลที่ผมเองได้รับทราบจากกรรมการวัดที่ทันการสร้างพระชุดนี้เข้าตรงตามที่ได้
บรรยายในหนังสือครับ เหมาะที่จะมีไว้เป็นต้นฉบับในการศึกษาและสะสมอย่างมีหลักการครับ
3.วิธีการสร้าง
พระชุดนี้จัดสร้างโดยวัดระฆังโฆษิตารามและทำการกดพิมพ์ที่โรงงาน(โรงปั๊มพระ) โดยทางวัดได้นำเอามวลสารต่างๆและส่วนผสมแจ้งกับทางโรงงานเพื่อทำการกวนผสมมวลสารเนื้อพระ โดยพระชุดนี้แบบแม่พิมพ์สร้างจากการกดต้นแบบพระสมเด็จที่สมเด็จพระพุทธจารย์โต พรหมรังสี ได้สร้างไว้ในสมัยที่ท่านยังอยู่และทางผู้สร้างแบบได้เพิ่มเอกลักษณ์ลงไปในพิมพ์คือจุดกลมคล้ายจุดไข่ปลาตรงบริเวณเข่าขวาพระประธานในพิมพ์ ลักษณะแม่พิมพ์เป็นแบบตอกตัด บล็อคมีตัวผู้เพียงบล็อคเดียวคือ พิมพ์ด้านหน้าพระประธาน ส่วนด้านหลังเป็นแผ่นโลหะสำหรับวางเนื้อมวลสารเพื่อเสียบเข้าแม่พิมพ์พระแล้วทำการกดครับ เนื่องจากเวลาที่น้อยมีผลโดยตรงกับการกดพิมพ์พระให้ได้จำนวนตามที่ต้องการทางโรงงานจึงได้ทำการกอปปี้แม่แบบออกมาอีกจำนวนหนึ่งเพื่อเพิ่มจำนวนการกดให้ได้จำนวนมากขึ้นในเวลาเดียวกัน ยังผลให้ได้จำนวนพระสมเด็จตามเวลาที่กำหนด จากการก๊อปปี๊ต่อก๊อปปี๊จึงทำให้พิมพ์บางพิมพ์ตำหนิบางจุดก็หายไปและบางจุดก็เกิดขึ้นใหม่เอง พิมพ์ทรงจึงผิดเพียนไปบ้างเป็นธรรมดา แต่ถ้าลองเทียบดูบางแม่พิมพ์ลักษณะจะคล้ายๆกันมากเลยนะครับ
เนื่องจากเป็นพระที่กดมือและทำการวางมวลสารที่สำหรับกดพระบนแผ่นโละหะ บวกกับชั้นเชิงในด้านของความชำนาญในเรื่องการจัดสร้างพระแบบมืออาชีพของโรงงาน(อันนี้ต้องขอบอกว่าแต่ละโรงงานที่จัดสร้างพระนั้นเขาก็จะมีเอกลักษณ์ของแต่ละโรงงานเหมือนกันนะครับ) ดังนั้นจะมีจุดสังเกตุหลักและเป็นเอกลักษณ์ของพระชุดนี้ที่จัดทำจากโรงงานนี้จึงพอสรุปได้ดังนี้คือ
ผู้ทำการกดทำการหยิบเนื้อมวลสารมาจากส่วนที่ผสมเสร็จเป็นก้อนๆแล้วทำการวางลงแผ่นโลหะแบบเรียบเสียบเข้าล็อคที่จัดทำไว้แล้วกดกับแม่พิมพ์ พอกดเสร็จก็ทำการชักแผ่นเสียบออกมาแล้วหยิบพระไปตากให้แห้ง จุดสังเกตุตรงนี้หล่ะครับให้นึกภาพตามกันนะครับ ..คือการกดพระนั้นเป็นการกดแม่พิมพ์จากด้านบนลงล่างดังนั้นขอบตัดรอบกรอบองค์พระจะมีเส้นวิ่งแนวตั้งฉากกับด้านหน้าไปยังหลังพระและพอกดเสร็จยกแม่พิมพ์ขึ้นช่วงที่ทำการชักพระออกจากล็อค ขอบด้านข้างซ้าย-ขวาของพระสมเด็จจะถูกโมด้านข้างขูดไปจึงทำให้เกิดเส้นในแนวขนานขอบพระวิ่งอยู่ทั้งสองด้านองค์พระครับ เสร็จแล้วผู้ทำการกดก็หยิบพระไปตากรอแห้ง
จุดสังเกตอีกจุดคือบริเวณด้านหลังองค์พระ..นึกภาพตามนะครับ ผมขอเอาหลักวิทยาศาสตร์มาอ้างอิงนิดหน่อยคือ ตอนที่นำเอาเนื้อมวลสารที่ปั๊นเป็นก้อนวางลงโลหะแล้วกดนั้นช่วงที่แม่พิมพ์บังคับให้เนื้อมวลสารวิ่งไปติดเป็นรูปร่างตามแม่พิมพ์นั้น(กดจากข้างบนลงล่าง) เนื้อที่ถูกกดลงมีความอ่อนตัวย่อมแพร่ขยายออกเต็มพื้นที่ที่ถูกกดทับจนเต็ม ด้วยการที่กดลงนั้นช่วงเนื้อมวลสารกับแผ่นโลหะย่อมมีอากาศแทรกอยู่โดยทั่วไป ดังนั้นตอนกดแม่พิมพ์ลงเนื้อมวลสารถูกรีดแพร่ตามแม่พิมพ์ตรงบริเวณแผ่นเหล็กกับเนื้อพระก็จะมีอากาศเล็กๆที่ถูกไล่ออกไม่หมดเมื่อไล่ออก อย่าลืมนะครับอากาศก็เป็นสะสาร ไม่หมดมันจึงต้องหาพื้นที่ให้ตัวเองอยู่ได้คือฟองอากาศเหล่านี้จะดันตัวเองจากแผ่นโลหะขึ้นบนเนื้อพระที่แนบติดแผ่น(หากยังนึกภาพไม่ออกอันนี้ให้นึกถึงตอนแทน้ำลงหม้อเพื่อต้มน้ำนะคัรบจะสังเกตุเห็นที่ก้นหม้อจะมีพองเล็กติดอยู่ที่ผิวหม้อหลักการเดียวกันเลย) ผลที่ได้ออกมาคือ ผิวฟองอากาศที่ดันเนื้อพระจะเป็นร่องหลุมแบบไม่มีมิติสังเกตจากหลายๆองค์จะเห็นว่าร่องหลุมอากศที่เกิดไม่มีตำแหน่งที่ตรงกันเสียเลยในแต่ละองค์ อันนี้จะเป็นอีกเอกลักษณ์ที่มักปรากฏบนด้านหลังองค์พระสมเด็จรุ่น๑๐๐ปีนี้ครับ.. |