ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ประวัติวัดห้วยเขน บางขุนพรหมแห่งเมืองพิจิตร

(D)
วัตถุมงคลของวัดห้วยเขน จ.พิจิตร ตอนนี้ถือว่ากำลังมาแรงมาก นับวันก็จะหายากขึ้นทุกที และราคาก็ไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากประวัติการสร้างเริ่มมีความชัดเจน อีกทั้งผู้ที่นำไปใช้ต่างมีประสบการณ์ต่าง ๆ นานา แต่ความที่ผมเป็นคนช่างสงสัย ไม่ค่อยจะเชื่ออะไรใครง่าย ๆ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสผมจึงขับรถไปที่วัดห้วยเขนด้วยตัวคนเดียวเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ม.ค. 2551 พอไปถึงฝนก็ตกพรำ ๆ ผมได้มีโอกาสพบพระคุณเจ้ารูปหนึ่งที่มีอายุค่อนข้างมาก ท่านได้เมตตาพาผมไปที่อุโบสถที่หลวงพ่อเงินมาสร้างเอาไว้ พร้อมทั้งเปิดประตูให้เข้าไปชมข้างใน นอกจากนี้ผมยังได้มีโอกาสพบกับท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ผมจึงได้สอบถามท่านถึงประวัติการสร้างวัดและวัตถุมงคลของวัดห้วยเขน ท่านได้เมตตาเล่าให้ฟังว่า พระครูล้อม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในสมัยนั้น ได้ขี่ช้างไปหาหลวงพ่อเงิน ที่วัดบางคลาน เพื่อขอให้ท่านมาช่วยสร้างวัดโดยท่านไม่ลืมที่จะนำนกกระทาไปฝากหลวงพ่อเงินด้วย เพราะท่านทราบว่าหลวงพ่อเงินชอบนกกระทา พอไปถึง หลวงพ่อเงินเห็นหลวงพ่อล้อมนำนกกระทามาฝาก ท่านก็หัวเราะชอบใจ พร้อมกับชมหลวงพ่อล้อมว่าช่างรู้ใจท่าน หลวงพ่อเงินจึงรับปากว่าจะไปช่วยสร้างถาวรวัตถุให้วัดห้วยเขน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2456 หลวงพ่อเงินจึงได้ขี่ช้างมายังวัดห้วยเขน ซึ่งหากดูในแผนที่ประเทศไทยแล้วตีเป็นเส้นตรงจากวัดบางคลานมายังวัดห้วยเขนจะเป็นระยะทางประมาณ 20 ก.ม. ท่านเจ้าอาวาสได้กรุณาชี้ให้ผมดูจุดที่หลวงพ่อเงินเมื่อขี่ช้างมาถึงวัดแล้วนำไปผูกที่ใต้ต้นโพธิ์ แต่ปัจจุบันต้นโพธิ์ต้นนั้นได้ล้มตายไปแล้ว ทางวัดได้ปลูกขึ้นใหม่ในจุดใกล้ ๆ กัน เสียดายที่ผมไม่ได้นำกล้องติดตัวไปด้วย ท่านยังได้เล่าถึงวัตถุมงคลที่สร้างในยุคนั้นให้ฟังว่า มีทั้งรูปหล่อ จอบ เหรียญหล่อ ภาพถ่ายหลวงพ่อเงินขาวดำ พระที่สร้างด้วยเนื้อดินพิมพ์ต่าง ๆ เช่น พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ยืน พิมพ์พระสมเด็จ เป็นต้น โดยวัตถุมงคลทุกชิ้น หลวงพ่อเงินได้กำหนดราคาเท่า ๆ กันคือ 1 บาท โดยเฉพาะพระที่สร้างด้วยเนื้อดินมีความพิเศษที่คนทั่วไปไม่ค่อยรู้ กล่าวคือ พระชุดนี้หลวงพ่อเงินจะผสมผงและคนด้วยมือของท่านเองจนได้ที่แล้วจึงให้พระและเณรไปช่วยกันกดพิมพ์ หลวงพ่อเงินเคยแจกพระเนื้อดินให้เด็กในวัด ต่อมาเด็กคนนี้ถูกสุนัขกัดแต่ไม่เข้า ชาวบ้านจึงมาเล่าให้หลวงพ่อเงินฟัง หลวงพ่อฟังแล้วก็หัวเราะชอบใจ พระเนื้อดินชุดนี้ตอนหลังได้ถูกขโมยลักลอบขุดหลายครั้ง ทางวัดจึงเปิดใต้ฐานชุกชีเพื่อนำพระออกให้ประชาชนบูชา เคยมีคนอยากได้พระชุดนี้แต่เมื่อทราบว่าหมดไปแล้ว ก็เข้าไปในโบสถ์อธิษฐานแล้วเอามือไปรองใต้ฐานชุกชี ปรากฏว่ามีพระหล่นใส่มือมา 1 องค์ ท่านเจ้าอาวาสกล่าวว่าเมื่อดูจากหลักฐานการขอเขตวิสุงคามสีมาปรากฏว่ามีการขอและอนุญาตประมาณปี 2460 - 2461 แสดงว่าหลวงพ่อเงินมาที่วัดห้วยเขน ปี 2456 และอยู่จนกระทั่งสร้างวัดเสร็จ รวมระยะเวลาประมาณ 5 ปีเศษ
ปัจจุบันทางวัดกำลังสร้างวิหารและอุโบสถหลังใหม่ โดยวิหารหลังใหม่ออกแบบโดยท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน รูปแบบสวยงามมาก คะเนแล้วคงจะก่อสร้างไปได้ราว 80% ส่วนอุโบสถหลังใหม่จะใช้แทนหลังเก่าที่หลวงพ่อเงินท่านสร้างเอาไว้เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา แต่ทางวัดจะเก็บอุโบสถหลังเก่าไว้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
มีข่าวดีที่จะมาบอกก็คือ พระเนื้อดินที่ทางวัดเก็บไว้ยังมีเหลืออยู่ประมาณ 100 องค์เศษ ๆ ให้บูชาองค์ละ 500 บาท เพื่อนำทุนไปก่อสร้างวิหารและอุโบสถ เนื่องจากพระชุดนี้ทางวัดไม่ได้นำใส่ตู้ให้บูชา ประชาชนที่ไปวัดจึงไม่ทราบว่ายังมีหลงเหลืออยู่ ต้องสอบถามท่านเจ้าอาวาส ผมเองพอรู้ประวัติว่าหลวงพ่อเงินท่านผสมผงด้วยมือของท่านเองเลยขอบูชามา 9 องค์
ต้องยอมรับว่าในบรรดารูปหล่อแล้ว สุดยอดที่ถือเป็นจักรพรรดิ์ต้องเป็นของหลวงพ่อเงิน ดังนั้นหากจะเทียบว่าวัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน คือวัดระฆังแห่งเมืองพิจิตร พระชุดของวัดห้วยเขนก็คือวัดบางขุนพรหมแห่งเมืองพิจิตรดี ๆ นี่เอง เพราะประวัติการสร้างคล้ายกับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) ไปช่วยสร้างวัดบางขุนพรหม อย่างไรอย่างนั้น
ข้อสงสัยของอีกหลายท่านที่ยังไม่แน่ใจในประวัติการสร้าง หากต้องการพิสูจน์ด้วยตนเอง ขอเชิญที่วัดห้วยเขนได้เลยครับ นอกจากท่านจะได้ทราบความจริงแล้ว ยังได้ฟังเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกด้วย ผู้ที่จะขับรถไปด้วยตนเอง ขอแนะนำว่าให้ไปทางสายนครสวรรค์ - พิษณุโลก เมื่อถึงแยกโพทะเลให้เลี้ยวขวาไปจนถึงแยกบางมูลนาก (จะผ่านทางเข้าวัดบางคลานทางด้านขวามือก่อน) หลังจากนั้นให้ตรงไป จะข้ามสะพานและมีไฟจราจร ให้ตรงไปอีกประมาณ 200 เมตร จะถึงสามแยกให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 10 ก.ม. ก็จะถึงวัดห้วยเขนทางด้านซ้ายมือครับ

โดยคุณ ลงรักปิดทอง (45)  [ส. 26 ม.ค. 2551 - 19:11 น.]



โดยคุณ ลงรักปิดทอง (45)  [อา. 27 ม.ค. 2551 - 10:32 น.] #219109 (1/9)
เพิ่มเติมครับ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ยืน พิมพ์พระสมเด็จ เป็นพระเนื้อดินขนาดจิ๋วสูงประมาณ 1 ซ.ม. ไม่ใช่ขนาดพระสมเด็จแบบวัดระฆัง

โดยคุณ tanakiton (1.5K)  [อ. 29 ม.ค. 2551 - 22:49 น.] #221104 (2/9)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

โดยคุณ ท๊อปturbo (4.1K)(1)   [พ. 30 ม.ค. 2551 - 17:20 น.] #221599 (3/9)


(D)


สุดยอดครับพี่กิตติ สบายดีนะครับพี่ข้อมูลแน่นปึ้ก ขอถือโอกาสโพสรูปหล่อให้ได้ดูกันนะครับ

โดยคุณ ท๊อปturbo (4.1K)(1)   [พ. 30 ม.ค. 2551 - 17:21 น.] #221600 (4/9)


(D)



โดยคุณ ท๊อปturbo (4.1K)(1)   [พ. 30 ม.ค. 2551 - 17:22 น.] #221601 (5/9)


(D)

โดยคุณ ท๊อปturbo (4.1K)(1)   [พ. 30 ม.ค. 2551 - 17:22 น.] #221602 (6/9)


(D)
....

โดยคุณ ลงรักปิดทอง (45)  [พฤ. 31 ม.ค. 2551 - 09:59 น.] #222023 (7/9)
เดือนหน้าตั้งใจว่าจะไปวัดอีก มีคนฝากไปทำบุญ คุณท๊อปturbo อย่าเพิ่งไปเหมาหมดนะครับ

โดยคุณ ท๊อปturbo (4.1K)(1)   [พฤ. 31 ม.ค. 2551 - 13:39 น.] #222142 (8/9)
อิอิ...ยังมีให้เหมาอีกเหรอครับพี่ องค์2องค์ยังไม่เจอเลย...พี่ไปทำบุญเมื่อไรครับ เผื่อมีโอกาสจะได้ไปด้วยคน

โดยคุณ brain (160)(2)   [ศ. 04 เม.ย. 2551 - 10:34 น.] #262780 (9/9)
>> กระทู้ > ข่าวสารความรู้ > ลำดับที่ # 107290
หัวเรื่อง : โชคดีที่มีคนก็อป / บูรณาการ ประวัติพระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
รายละเอียด :
บทความชิ้นนี้ ผมเขียนขึ้นเมื่อปีที่แล้ว และลงในเว้บนี้ และได้ลบไปแล้ว โดยที่ไม่ทันได้เซฟไว้ นึกว่าสาบสูญไปแล้ว โชคดีที่มีคนเห็นประโยชน์ก็อปเอาไว้
เลยทำให้ ผมค้นหาเจอ และ ขอนำกลับมาไว้ที่เดิมอีกรอบ ( นี่แหละข้อดีของอินเทอร์เน็ต และการไม่หวงความรู้ )
ผู้ลงประกาศ : Login name: เค้าแมว
ลงประกาศเมื่อวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2551 13:30:03 น.
IP:172.16.1.81/

:: ผู้สนใจลำดับที่ 837394
ข้อความ : พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน บางคลาน จ.พิจิตร จัดเป็นพระรูปหล่อเกจิ องค์แรกสุด ได้รับความนิยมสูงสุดราคาแพงที่สุด

และประวัติการสร้างที่คลุมเครือสับสนมากที่สุด

ในวงการสากลและสื่อพระเครื่องส่วนกลาง ในระบอบพุทธพาณิชย์ ยอมรับกันว่า
พระรูปหล่อหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา สร้างขึ้นเป็นชุดแรก ที่ บางคลาน พิจิตร
ตามด้วยรูปหล่อพิมพ์นิยม ซึ่งยอมรับกันว่า สร้างโดยช่างบ้านช่างหล่อ และมาทำพิธีหล่อที่วัดชนะสงคราม (ข้อมูลจาก อ.เล็ก รูปหล่อ)
ต่อจากนั้น เป็นเหรียญจอบเล็ก สร้างโดย คุณยายวัณ ช่างฝีมือดีแห่งบ้านช่างหล่อ
ส่วนเหรียญจอบใหญ่ เป็นพระโรงงาน ที่โรงงานหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริงหลวงพ่อเงิน สร้างมาให้วัด
เพื่อให้วัดออกเช่าบูชาชดเชยการขาดทุนจากการ จ้างหล่อรูปเหมือน ( บางคนเรียกว่ารุ่นล้างหนี้ )

ตามข้อมูล ยอมรับกันว่า พระเหล่านั้น มีการสร้างเพียงอย่างละครั้งเดียว เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่มีเสริมนอกจากนั้น สื่อวงการพระเครื่อง มักจะเน้นการเล่าประวัติอภินิหาร ของหลวงพ่อเงิน โดยละเอียดยิบ มีคำพูดโต้ตอบราวกับหนังกำลังภายใน แต่ในทางตรงกันข้าม กลับละเลย ประวัติ การจัดสร้างพระเครื่อง ของ หลวงพ่อเงิน
นั่นอาจจะเป็นเพราะการหาข้อยุติ ไม่ได้ประการหนึ่ง และ จะยิ่งสร้างความสับสนคลุมเครือ ให้เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่ง
โดยความสนใจส่วนตัว ผมพยายาม ติดตามสืบเสาะ ประวัติการจัดสร้าง วัตถุมงคลของหลวงพ่อเงิน และโดยส่วนตัว เห็นว่า หนังสือของ อ. ชัยรัตน์ โมไนยพงศ์ แห่งค่ายลานโพธิ์ เป็นหนังสือที่ น่าเชื่อถือ น่าสนใจมากที่สุด เพราะท่านได้ใช้เวลาในการ สืบเสาะ ค้นคว้าประวัติและวัถุมงคลของหลวงพ่อเงิน ทั้งจากหลักฐานเอกสารและการลงพื้นที่) สัมภาษณ์ ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ นับแต่พ.ศ. 2518-2526 จึงตีพิมพ์หนังสือเป็นรูปเล่ม และมีการปรับปรุงใหม่ ในปี 2535

ผู้ติดต่อ : Login Name : เค้าแมว
ตอบเมื่อวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2551 13:30:34 น.
IP:172.16.1.81/No IP2 แก้ไขประกาศนี้

:: ผู้สนใจลำดับที่ 837397
ข้อความ : ในหนังสือฉบับนี้ ทำให้ผมได้รับทราบว่า
พระหลวงพ่อเงิน"พิมพ์ขี้ตา" สร้างที่วัดท้ายน้ำ มีการจัดสร้างกันหลายครั้ง และมีหลายพิมพ์ "
พระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา มีช่างจีน หน้าวัด ซึ่งมีแม่พิมพ์อยู่ ได้รับจ้างชาวบ้าน หล่อพระตามสั่ง นอกนากทองเหลืองแล้ว เนื้อหาก็แล้วแต่ออร์เดอร์ ( ไม่ได้บอกช่วงเวลา บอกเพียงว่า มีเรื่อเล่าสืบต่อกันมา )ผมจึงมีข้อสังเกตว่า ถ้าเป็นอย่างนั้น การเล่นหาที่เป็นสากล จะมีการแยกแยะพิมพ์ทรง รุ่น ให้ถูกต้องได้อย่างไร


เพราะวงการพระสากล เพิ่งจะสนใจเล่นหาพระหลวงพ่อเงิน อย่างคืกคักในราคา 30 ปีที่ผ่านมา ( ราคา พระหลวงพ่อเงิน ปี 2515 ประมาณ 1,000 บาท อย่างสวยๆ มราคาประมาณ 2,000 บาท ข้อมูลจาก จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) หลังจากได้มีการสร้างแล้วประมาณ 60 ปี โดยเฉพาะพระที่ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน และพระเหล่านั้นก็เชื่อได้ว่า เป็นการ ยืมพิมพ์กันสร้างบ้าง ถอดพิมพ์จากพระองค์สวยๆมาสร้างบ้าง
ผู้ติดต่อ : Login Name : เค้าแมว
ตอบเมื่อวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2551 13:31:07 น.
IP:172.16.1.81/No IP2 แก้ไขประกาศนี้

:: ผู้สนใจลำดับที่ 837398
ข้อความ : หลวงพ่อเงินในความหมายกว้าง


ยิ่งได้มาอ่านบทความของ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ เรื่อง ประวัติ หลวงพ่อเงิน บางคลาน เทพเจ้าและเพชรน้ำเอก ของจังหวัดพิจิตร เก็บข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ ท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก หนึ่งในศิษย์ทีรับใช้หลวงพ่อเงินและเป็น ผู้สร้างพระหลวงพ่อเงิน ให้หลวงพ่อปลุกเสก ( ในหนังสือพระเครื่องกรุงสยาม ฉบับที่ 1 ปี2537 ของเสี่ยอุ๊ กรุงสยาม และตีพิมพ์ซ้ำใน ดัชนีพระ ฉบับที่ 5 ปี 2537 ก่อนยุคเสี่ย กอบชัย )ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น อาจารย์ปู่ แห่งวงการพระเครื่อง แล้ว ก็ยิ่ง ทำให้ได้รับทราบว่า



พระหลวงพ่อเงิน ทุกพิมพ์ ทั้ง นิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ มีการจัดสร้าง กันหลายครั้งหลายคราว หลายวัด หลายกลุ่มบุคคล
และที่หนักกว่านั้น ก็คือ หลังจากหลวงพ่อเงินมรณภาพแล้ว ชาวบ้าน( ช่างแม้น ช่างกรุ่น ชาวบ้านบางคลาน ) ได้มีการสร้างพระหลวงพ่องเงินกันเอง เพื่อสนองดีมานด์ ตั้งแต่ปี 2492 จนถึงปัจจุบัน พระหล่านี้ก็มีอายุปาเข้าไปเกือบ 60 ปี จนเล่นเป็นแท้ ในยระบบสากลกันไปมากแล้วการจัดสร้าง พระรูปหล่อ หลวงพ่อเงิน ตามที่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ รายงานไว้มีดังนี้ ( อ้างข้อมูลจากท่านพระครู พิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) เจ้าคณะอำเภอบางมูลนาก และ นายพริ้ง เข็มครุฑ ( บิดาเพื่อน จสอ.เอนก ) ชาววัดวังตะโก ร่วมยุคหลวงพ่อเงิน )
ผู้ติดต่อ : Login Name : เค้าแมว
ตอบเมื่อวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2551 13:32:03 น.
IP:172.16.1.81/No IP2 แก้ไขประกาศนี้

:: ผู้สนใจลำดับที่ 837399
ข้อความ : 1. ทางวัดวังตะโก ได้จัดสร้าง พิมพ์ขี้ตา นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ ขึ้น เป็นชุดแรก
2. หลังจากพระหมด ในงานประจำปีวัดวังตะโก เดือน 11 ของทุกปี หลวงพ่อเงิน ให้จัดสร้าง พระหล่อทั้ง 4 ชนิด ขึ้นให้ประชาชนทำบุญ

3.ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ที่เคารพนับถือหลวงพ่อเงิน ได้จัดสร้างรูปหล่อไปจากกรุงเทพบ้าง นำช่างจากกรุงเทพไปหล่อที่วัดบ้าง บ้างก็ยืมแม่พิมพ์จากวัดไปให้ช่างที่กรุงเทพหล่อแล้วกลับมาให้หลวงพ่อปลุกเสก มีทั้งเนื้อทองเหลือง ทองแดง ตะกั่ว สำริด เงิน ทองคำ แล้วแต่ฐานะ

4. พระวัดท้ายน้ำ 1
ซึ่งเป็นวัดที่หลวงพ่อเงินไปๆมาๆและมีพระรูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงพ่อเงินสร้างขณะท่านมีชีวิต
และที่วัดนี้ โดย พระครู วัตฎสัมบัญ ( ฟุ้ง ) ลูกศิษย์ใกล้ชิดหลวงพ่อเงินก็ได้จัดสร้าง พระเครื่องรูปหล่อ ทั้ง 4 ชนิด เช่นเดียวกับวัดวังตะโก ให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก ( ต่อมาหลวงพ่อฟุ้งได้เป็นเขจ้าอาวาสวัดท้ายน้ำและเจ้าคณะอำเภอโพทะเล

5. พระวัดท้ายน้ำ 2
เมื่อหลวงพ่อเงิน จากวัดท้ายน้ำกลับมาอยู่ที่วัดวังตะโก และที่วัดท้ายน้ำ พระเครื่องหมด ทั้ง 4 ชนิด หลวงพ่อฟุ้ง จึงได้ให้ช่างหล่อขึ้นใหม่ทุกพิมพ์ ทั้งนิยม ขี้ตา จอบเล็ก จอบใหญ่ แล้วนำไปให้หลวงพ่อเงินปลุกเสก และกลับมาแจกที่วัดท้ายน้ำ


6. พระหลวงพ่อเงินวัดวังตะโก และวัดท้ายน้ำ บางพิมพ์เหมือนกัน บางพิมพ์ไม่เหมือนกัน บางพิมพ์ขนาดต่างกัน เพราะมิได้สร้างในครางวเดียวกัน ( ผู้เขียนมิได้แสดงภาพประกอบ )

7. นอกจาก 2 วัด ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 5 วัดที่ได้สร้างพระรูปหล่อและพระอื่นๆให้หลวงพ่อเงิน ปลุกเสก ดังนี้

7.1 วัดหลวง หลวงพ่อหอม ได้สร้างพระ "เนื้อดิน " ล้วนๆ พิมพ์ พิมพ์ นิยม พิมพ์ขี้ตา พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์ซุ้มกอ และพิมพ์สังกัจจายน์
7.2 วัดขวาง สร้างเหนือโลหะ พิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม และพิมพ์สังกัจจายน์

7. 3 วัดห้วยเขน พระครูล้อมสร้าง เนื้อโลหะพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม จอบเล็ก จอบใหญ่ และมีพระเนื้อดิน พิมพ์ นั่ง นอน ยืน

7.4 วัดบางมูลนาก พระครูพิทักษ์ ศิลคุณ ( น้อย ) (หมายเหตุ ผู้ให้ข้อมูลแก่ จสอ. เอนก เจกะโพธิ์ ) กับหลวงพ่อพิธ (ก่อนอยู่วัดฆะมัง ท่านจำพรรษาอีกหลายวัด) สร้างพิมพ์นิยม พิมพ์ขี้ตา จอบใหญ่ จอบเล็ก

7.5 วัดคงคาราม หลวงพ่อน้อย (ตาบอด) สร้างพิมพ์ขี้ตา พิมพ์นิยม โดยจ้างให้ เจ๊กชัย หล่อ
และยังมีพิมพ์นิยมและพิมพ์ขี้ตา เนื้อดินด้วย

ผู้ติดต่อ : Login Name : เค้าแมว
ตอบเมื่อวันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2551 13:32:37 น.
IP:172.16.1.81/No IP2 แก้ไขประกาศนี้

:: ผู้สนใจลำดับที่ 837401
ข้อความ : หมายเหตุ
จากการสอบทานจาก เสี่ยแบน พิจิตร บ้านอยู่สี่แยกตะพานหิน ที่เคยเอาพระเนื้อดินวัดห้วยเขนมาให้ผมแจกในเว็บยืนยันในข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่ และยังแถมให้ข้อมูลอีกว่า ที่วัดช้าง ก็มีพระหลวงพ่อเงิน พิมพ์ขี้ตา ที่หลวงพ่อเงินมาเททองปลุกเสกไว้ ขนาดจะเล็กกว่าพิมพ์ที่ส่วนกลาง เล่นหากันเล็กน้อย

สรุป......ผมลอกเขามาครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1