ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เหรียญหล่ออะไรเอ่ย??? เห็นผ่านตาอยู่เรื่อย แต่เล่นยากจัง



(D)


เป็นเหรียญหล่อหูขวางพระประจำวัน ออกที่วัดห้วยสุวรรณ สุพรรณบุรีครับ ออกเมื่อประมาณปี 2493-94 ด้านหน้าจะเป็นรูปพระพิมพ์สมาธิ และด้านหลังจะเป็นรูปพระประจำวันปางต่าง ๆ ส่วนใหญ่ตามสนามนักเล่นจะนำมาเล่นเป็นของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่ผิด เพราะหลวงพ่อจงเป็นประธาน ในพิธีการ แต่เหรียญนี้ปลุกเศกหมู่ครับ มีเกจิดัง ๆ ยุคนั้น เข้าร่วมพิธีมากมาย เช่น หลวงพ่อมุ่ยวัดดอนไร่ ฯลฯ มีชนวนโลหะบางส่วน จากวัดสุทัศน์ฯ และโลหะอาถรรพ์ต่าง ๆ จากทั่วทุกสารทิศ นับเป็นเหรียญหล่อที่มีอายุการสร้างนานพอสมควรน่าเล่นหาสะสมมาก แต่มีอุปสรรคที่หลาย ๆ คนท้อไม่ยอมเล่นหานั่นคือ ของเก๊แยะมาก ลองมาดูเหรียญเหล่านี้ แล้วสมมุติว่าเพื่อน ๆ กำลังเดินในสนาม หาเหรียญนี้ ลองทำแบบฝึกหัดดูนะครับ พรุ่งนี้จะกลับมาพร้อมคำตอบ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:22 น.]



โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:28 น.] #16405 (1/14)


(D)
ด้านข้างของเหรียญสมาธิ 2 หน้า (วันพฤหัส) องค์ที่1 ครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:30 น.] #16406 (2/14)


(D)


เหรียญสมาธิ 2 หน้า (วันพฤหัส) องค์ที่2 หน้าหลังครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:32 น.] #16407 (3/14)


(D)
รูปด้านข้างของเหรียญหล่อสมาธิ 2 หน้า (วันพฤหัส)องค์ที่2 ครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:35 น.] #16408 (4/14)


(D)


องค์ที่3ต่อไปเป็นเหรียญหล่อ 2 หน้า(วันอังคาร) ทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:36 น.] #16409 (5/14)


(D)
รูปด้านข้างของเหรียญหล่อวันอังคารองค์ที่3 ครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:43 น.] #16410 (6/14)


(D)


เหรียญสุดท้าย เหรียญที่4 พิมพ์ไสยาสน์เหมือนกันครับ ลองดูรูปหน้าหลังนะครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 11:51 น.] #16411 (7/14)


(D)
รูปด้านข้างของเหรียญที่ 4 ครับ
และทั้งหมดขอถามเล่น ๆ เอาสนุกนะครับว่า
1. เหรียญใด แท้ เก๊ หรือ แท้ ทั้งหมด หรือ เก๊ ทั้งหมด
2. ขอคำอธิบายด้วยนะครับ
คำตอบที่เตรียมไว้ขอเป็นพรุ่งนี้เข้ามาเฉลยแล้วกันนะครับ ใครตอบถูก มีรางวัลให้ครับ ขอย้ำไม่ได้ตั้งตนเป็นเกจิ นะครับ ความรู้ผมยังไม่ถึงขั้นนั้น รายการนี้คิดซะว่า เล่าสู่กันฟังให้ได้รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้โดยไม่ต้องเสียกะตัง+ความรู้สึก เหมือนตอนซื้อของในสนามก็แล้วกันครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมครับ

โดยคุณ สเก็ต (527)  [พ. 23 พ.ย. 2548 - 20:06 น.] #16429 (8/14)
เป็นเนื้อสัมฤทธิ์มีไหมครับพี่ ผมมีอยู่ครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [ศ. 25 พ.ย. 2548 - 10:34 น.] #16516 (9/14)


(D)


ว้า!!!!!! ไม่มีคนมาเล่นด้วยแฮะ ยังดีที่มีคุณสเก็ตเข้ามาตั้งคำถาม ขอตอบคุณสเก็ต ก่อนแล้วกันนะครับ เนื้อสัมฤทธิ์เท่าที่พบของแท้ ๆ ยังไม่เคยเห็นนะครับ อาจเป็นไปได้ที่เป็นเนื้อโลหะแก่ทองแดง จนมองดูคล้ายสัมฤทธิ์ ต้องขอท้าวความถึงยุคสมัยในการสร้างพระในช่วงก่อนปี2500 ก่อนนะครับว่า พระเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง หรือเนื้อทองเหลืองในยุคนั้น ส่วนใหญ่ จะถูกใช้งานครั้งเดียว หรือน้อยครั้ง ในยุคนั้นยังไม่มีการ Recycle โลหะ เนื่องจากทรัพยากรยังมีเหลือเฟือ เพราะแน้น หากเป็นพระหล่อหรือเหรียญหล่อเนื้อทองเหลือง จึงเป็นทองเหลืองเนื้อบริสุทธิ์ เนื้อหาจะออกเหลืองอมเขียวเป็นลักษณะทองดอกบวบ ถึงแม้ว่าจะมีการผสมชนวนเก่าหรือโลหะต่าง ๆ ที่เกจิฯ ลงยันต์ต่าง ๆ มาให้ ลักษณะของเนื้อโลหะที่ได้ก็จะมีลักษณะใกล้เคียงกับที่กล่าวมา ผิดกับเนื้อหาของทองเหลืองในปัจจุบัน เนื้อจะถูกหลอมมาใช้หลายครั้งหลายหนจนหมดยาง ผิวและเนื้อหาที่ได้จะเป็นสีเข้มกว่าออกไปทางน้ำตาล มีความมันวาวมากกว่า ออกเป็นสีทอง เหรียญหล่อชุดนี้ก็เช่นกัน เนื้อหาจะต้องมีลักษณะเดียวกัน มีทั้งออกเขียวและออกน้ำตาล มีความแห้ง ผิวไม่มีมันหรือเหลือบเป็นลักษณะสีรุ้ง เมื่อพลิกไปมา ลองดูรูปที่ถ่ายเปรียบเทียบกันนะครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [ศ. 25 พ.ย. 2548 - 11:00 น.] #16517 (10/14)


(D)
จากรูปบนที่ใช้เปรียบเทียบจะเห็นได้ชัดเจนว่า องค์ทางด้านซ้ายมีขนาดใหญ่กว่าองค์ทางด้านขวา ลักษณะขององค์พระตลอดจนเส้นซุ้ม องค์ทางด้านซ้ายมีความใหญ่หนามากกว่า ตลอดจนดูสภาพเนื้อหาและผิวของพระที่แห้งหมดความแวววาว และมีเศษโลหะ และเศษดินเบ้า(ในบางองค์ )ติดอยู่ตามพื้นผิว ซึ่งเป็นธรรมดาของพระที่หล่อด้วยกรรมวิธีโบราณ ด้วยการผสมดินกับมูลโค จากนั้น จึงหลอมโลหะเทเป็นลักษณะของช่อชนวน แล้วจึงตัดช่อเพื่อมา ตบแต่งให้เรียบร้อยที่สุดในยะเวลาสั้น ๆ ด้วยตะไบเบอร์ใหญ่ หากมีรอยตะไบด้วยเบอร์ขนาดเล็กละเอียด ในร่องรอยตะไบจะต้องแห้งผิวเป็นผิวเดียวกัน ไม่สดใหม่หรือเหลือบวาว เพื่อให้ทันตามฤกษ์ยามที่จะตั้งเครื่องพิธี พุทธาภิเษก ลองดูรูปเพื่อเปรียบเทียบด้านข้างของทั้ง 2 องค์นะครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [ศ. 25 พ.ย. 2548 - 11:24 น.] #16519 (11/14)


(D)


ตามธรรมชาติของพระหล่อ ผิวจะพรุน สภาพพระจะไม่ค่อยเรียบร้อย ทำให้ผู้ที่รับพระมาในยุคนั้น ไม่ค่อยสนใจที่จะนำมาอาราธนาติดตัว ส่วนห่วงจะมาเชื่อมติดกันทีหลัง จากรูปเปรียบเทียบ จะเห็นความแตกต่างของพิมพ์สมาธิทางด้านหลัง องค์พระจะไม่มีซุ้มครับ ผิดพิมพ์โดยชัดเจน เข้าใจว่าพระฝีมือองค์นี้ น่าจะถอดพิมพ์มานานแล้ว สังเกตุได้จากผิวของพระที่เริ่มแห้ง แม้กระทั่งในรอยตะไบ และผ่านการชุบน้ำยาเคมี ให้มีคราบสีคล้ำ ทำให้มองดูเก่า และเนื่องจากพิมพ์สมาธิด้านหลังไม่สวยงาม จึงใช้พิมพ์ด้านหน้ามาทำเป็นอีกด้านหนึ่งด้วย องค์ด้านซ้ายเป็นของคุณแม่ของผมเอง ได้มานานกว่า 40 ปี แล้วครับ ผ่านการเช็คจากงานต่าง ๆ และผู้ชำนาญการ มาเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกองค์ได้มาจากสนาม เป็นฝีมือเก่า การถอดพิมพ์ เข้าใจว่าน่จะใช้สารประเภทยางหรือซิลิโคนซึ่งจะคมชัด แต่มีการหดตัวขนาดจะเล็กกว่าของแท้ เป็นที่สังเกตง่าย หากเป็นฝีมือปัจจุบัน การถอดพิมพ์ที่ใช้ยางหรือซิลิโคน จะถูกนำไปแช่สารประเภท โซลเว้นท์ หรือพวกเบนซิน ซึ่งจะทำให้ยางแม่พิมพ์บวม หากหล่อออกมาขนาดจะเท่ากันหรือใกล้เคียงกับของแท้ แต่หลังจากที่หล่อออกมาแล้ว จะต้องตบแต่งพิมพ์อีกเล็กน้อย เนื่องจากการที่แม่พิมพ์บวม จะทำให้รายละเอียดเบลอ ติดไม่คมชัดเท่าของแท้ครับ ลองดูรูปแล้วลองนึกว่า หากไม่มีของแท้เทียบจะเกิดอะไรขึ้นหากพบเจอในสนาม นั่งอยู่ในสนามเห็นอยู่บ่อย ๆ ที่หลงเล่นกันเป็นของแท้ แม้กระทั่งใน Web พระเครื่องทั่วไป ก็ยังเห็นอยู่เรื่อย ๆ ถือว่าเล่าสู่กันฟังก็แล้วกันนะครับ ผมไม่ได้มีเจตนาตั้งตนเป็นผู้รู้แต่อย่างใด

โดยคุณ jorawis (204)  [ศ. 25 พ.ย. 2548 - 11:27 น.] #16520 (12/14)


(D)
รูปเปรียบเทียบด้านข้างของเหรียญหล่อไสยาสน์ครับ

โดยคุณ สเก็ต (527)  [ศ. 25 พ.ย. 2548 - 22:40 น.] #16549 (13/14)
อืม....อย่างนี้นี่เองเข้าใจเเล้วครับพี่ ได้ความรู้มากเลยครับ

โดยคุณ พันชาติ (499)  [ส. 26 พ.ย. 2548 - 06:43 น.] #16607 (14/14)
เยี่ยมเช่นเคยครับคุณJorawis

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1