ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : พระชุดนี้ -ขอเสนอด้วยความภูมิใจครับ



(D)


เป็นพระชุดพระหล่อประจำวัน ของท่านเจ้าคุณศรีสัจจญาณมุนี(สนธิ์)แห่งวัดสุทัศน์เทพวราราม ผู้เป็นศิษย์เอกแห่ง สมเด็จพระสังฆราช(แพ)แห่งวัดสุทัศน์ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์)เป็นผู้สืบทองสรรพวิทยาการในการสร้าง พระโลหะ ทั้งพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ตลอดจนสูตรการผสมโลหะ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามตำรา ซึ่งตอนนี้ พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ของทั้งอาจารย์และศิษย์ เอกท่านนี้ หากไม่นับพระกริ่งปวเรศ ของพระมหาสมเจ้ากรมพระยาปวเรศวิทยาลงกรณ์แล้วละก็ ทั้งพระกริ่ง และ พระชัยวัฒน์ของสายวัดสุทัศน์ ถือว่าได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งราคาและ พิธีกรรมในการสร้าง พระชุดนี้สมัยก่อนถือว่าเป็นชุดของดีราคาถูกของเนื้อโลหะ ของสายวัดสุทัศน์ นอกเหนือจากชุดเนื้อผง อันประกอบไปด้วย พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ ครึ่งซีก และพระสังกัจจายน์ เนื้อผง ปัจจุบันพระชุดนี้ค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะบางพิมพ์เช่น พิมพ์ป่าเลไลย์ และ พิมพ์นาคปรกเป็นต้น
พระชุดนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ปี 2493-94 โดยเป็นเหรียญ เทหล่อด้วยกรรมวิธีโบราณ เบ้าดิน หล่อเป็นช่อชนวน พิมพ์พระจะเป็นพระประจำวัน อันได้แก่ ปางห้ามสมุทร -วันจันทร์
ปางไสยาสน์ - วันอังคาร( ไม่มีแม้แต่รูป ให้เห็น บ้างก็ว่ามี บางฝ่ายก็บอกไม่มี )
ปางยืนอุ้มบาตร - วันพุทธกลางวัน
ปางป่าเลไลย์ - วันพุทธกลางคืน
ปางสมาธิ - วันพฤหัส
ปางรำพึง - วันศุกร์
ปางนาคปรก - วันเสาร์
ปางถวายเนตร - วันอาทิตย์
นอกจากนี้ยังปรากฏพิมพ์พิเศษ เท่าที่เล่นหากันประกอบด้วย พิมพ์พุทธกวัก หรือปางรับผลมะม่วง และปางนั่งอุ้มบาตร ยังมีอีกหนึ่งพิมพ์ ที่มีการเล่นหาแต่ยังไม่แน่ชัด คือ พิมพ์นางกวัก ซึ่งพระชุดนี้มีทั้ง แบบ หลังเรียบ หลังยันต์จม และ หลังยันต์นูน เนื่องจากการสร้างมีการสร้างขึ้นหลายครั้ง จึงปรากฏพิมพ์หลายพิมพ์ ทั้งที่ปางเดียวกัน มีทั้งขนาด เล็ก ใหญ่ตลอดจนความหนาไม่เท่ากัน กระแสเนื้อหา มีทั้งทองดอกบวบ เหลือง อมเขียว เหลืองอมน้ำตาล แกระแสเนื้อกลับออกพรายเงินในเนื้อ หรือแม้กระทั่งเนื้อตะกั่วเก่าก็เคยพบ แต่ไม่เล่นหากันเป็นสากล เท่ากับเนื้อทองผสม อันเป็นเนื้อมาตรฐาน ส่วนใหญ่ ด้านหลังและด้านข้างจะมีร่องรอยการแต่งด้วยตะไบขนาดเบอร์ใหญ่เพื่อความเรียบร้อย ในรอยตะไบเองจะมีความแห้งของเนื้อโลหะ ไม่มีเหลือบรุ้ง ซอกจะมีคราบเบ้า และ คราบความเก่าในเนื้อหา
ในการจัดสร้างแต่ละครั้ง ท่านเจ้าคุณสรี(สนธิ์)จะเป็นผู้คำนวณ ฤกษ์อันเป็นมงคล พร้อมทั้งนิมนต์พระเกจิฯ ผู้เชี่ยวชาญวิทยาคม ในยุคนั้น เข้าร่วมพิธีพุทธาภเศก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชุดที่เข้าร่วมในพิธีใหญ่ ๆ ทั้งวัดราชบพิตร วัดบวรฯ และวัดสุทัศน์เอง เท่าที่มีหลักฐานยืนยันได้ อาทิ เช่น สมเด็จพระสังฆราช(อยู่)วัดสระเกศ , สมเด็จพระพุทธาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม , หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา , หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ , หลวงพ่อ จง วัดหน้าต่างนอก , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ฯลฯ และ มีความเป็นไปได้ที่ พระชุดนี้ บางส่วนไปออกที่วัดกลางบางแก้ว ซึ่ง แน่นอน อาจรวมถึง หลวงปู่บุญ แห่งวัดกลางบางแก้วด้วย เนื่องจากหลวงปู่บุญ เคยพำนักที่วัดสุทัศน์ เป็นเวลานาน และมีความสนิทสนม เป็นสหธรรมิกกับท่านเจ้าคุณศรีฯ เป็นอย่างดี รวมถึง หลวงพ่อไพฑูรย์ แห่ง วัดโพธินิมิตร ซึ่งได้มีการสร้างพระหล่อบูชาปางประจำวันใน ปี93-94 ซึ่งได้นิมนต์ท่านเจ้าคุณศรี ไปร่วม และเป็นประธานในพิธีด้วยเช่นกัน

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 10:57 น.]



โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:00 น.] #16722 (1/22)


(D)


รูปท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ขณะทำพิธี หล่อพระประจำวันครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:10 น.] #16725 (2/22)


(D)
อีกรูปครับ ปัจจุบันพระชุดนี้ค่อย ๆ หมดไปจากตลาด ของเก๊ แยะมากราคาสูงขึ้นเยอะจน เคยเห็นบางพิมพ์ เลยพันกลาง มาค่อน ๆ แล้วละครับ ของเก๊ส่วนมากจะบางแต่ไม่ได้หมายความว่า บางแล้วจะต้องเก๊นะครับ ให้ดูที่เนื้อหา ของกระแส ความแห้งของผิว และรอยตะไบ ตลอดจนความคมชัดของพิมพ์เป็นหลัก พระชุดนี้ขอให้จำเค้าหน้าให้ดี เกือบทุกพิมพ์จะคล้ายกันครับ เม็ดพระศกเด่นชัด โครงพระพักตร์ยาว พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เจ่อตำแหน่งของพระโอษฐ์ จะอยู่ใกล้บริเวณปลายคาง ทุกพิมพ์จะมีเค้าโครงนี้ทั้งนั้นครับ ยกเว้นพิมพ์นั่งอุ้มบาตร ที่มีทั้งแบบหล่อโบราณ และแบบปั๊ม โครงพระพักต์จะสั้น และอวบอ้วนกว่า

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:16 น.] #16726 (3/22)


(D)


กว่าจะครบชุดนี้ได้ เดินตามเก็ยอยู่เป็นปีครับ และไม่ใช่ปีเดียวด้วย ต้องอดทนครับ ลองชมภาพหน้า-หลังของพิมพ์วันจันทร์ - ปางห้ามสมุทรครับ องค์นี้ผิวจะเดิม ๆ เห็นกระแสทองค่อนข้างชัดและหนามาก ทากเทียบกับพระพิมพ์นี้ทั่ว ๆ ไป

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:20 น.] #16727 (4/22)


(D)


ปางยืนอุ้มบาตร หน้า-หลังประจำวันพุธ กลางวันครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:23 น.] #16728 (5/22)


(D)


ปางป่าเลไลย์ หน้า-หลัง สำหรับวันพุธ กลางคืนครับ พิมพ์นี้มีความสวยงามในเนื้อหาครับ มีทั้งช้างและลิงอยู่ด้านข้างองค์พระครับ จัดเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยได้พบเจอ ตอนนี้แพงแล้วครับพิมพ์นี้

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:28 น.] #16729 (6/22)


(D)


ปางสมาธิหน้า - หลัง ประจะวันพฤหัส ครับ องค์นี้จะหนา พิมพ์นี้พบบ่อย ๆ ในสนาม แต่ระวังของเก๊หน่อยนะครับ มีมานานแล้ว ทั้งหล่อ ทั้งแบบฉีด ซึ่งปัจจุบันฝีมือฉีดชอบทำผิวพรุน หลอกให้หลงว่าเป็นพระหล่อ แต่จะคมชัดเกินความเป็นจริง ให้สังเกตุผิวคล้ำ แต่ต้องแห้ง และไม่มีเหลือบมันวาวครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:31 น.] #16731 (7/22)


(D)


ปางรำพึง ประจำวันศุกร์ หน้า -หลังครับ องค์นี้ด้านหลังจะล้างผิวมา ครับ ทำให้เห็นกระแสเนื้อได้ชัดเจน

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:34 น.] #16732 (8/22)


(D)


ปางนาคปรก ประจำวันเสาร์ หน้า - หลังครับ ล้างมาเช่นกัน องค์นี้จะออกกระแสน้ำตาลครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:40 น.] #16733 (9/22)


(D)


ปางถวายเนตร ประจำวันอาทิตย์ หน้า - หลัง หน้าผิวเดิม ๆ ครับ ด้านหลังมีการล้างมา

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:44 น.] #16735 (10/22)


(D)


พิมพ์พิเศษ 2 พิมพ์ สายตรงบางท่านที่เชื่อว่า ไม่มีพิมพ์ไสยยาสน์ ให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นพิมพ์ที่แทนพิมพ์ไสยยาสน์ของวันอังคาร พิมพ์แรกเป็นปางพุทธกวักหรือปางรับผลมะม่วง หน้า-หลัง ครับ องค์นี้ได้ผิว เดิม ค่อนข้าง คมชัด และ หากว่าพิมพ์อื่น ทั่วๆ ไ ปครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 11:48 น.] #16736 (11/22)


(D)


อีกพิมพ์ เป็น ปางนั่งอุ้มบาตร ครับ วันหลังมีอะไร ที่เป็นประโยชน์ จะเก็บมาเล่าให้ฟังอีก ขอบคุณทุกท่านที่เข้าชมครับ

จริงใจต่อกัน

JORAWIS

โดยคุณ suprom (272)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 13:17 น.] #16743 (12/22)
แจ่มมากเลยครับ ทั้งพระและการถ่ายภาพ เยี่ยมมากครับ

โดยคุณ พันชาติ (499)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 14:40 น.] #16747 (13/22)
เยี่ยมครับ รบกวนเอาชุดนี้มาแบ่งให้ชมในงานดูพระพักแค้มปิ้งที่ปากช่องวันที่ 3 ธันวาคมนี้ด้วยครับ

โดยคุณ punpun (3K)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 15:42 น.] #16754 (14/22)
สวยมากครับพี่ อยากเห็นองค์จริงเร็วๆจังครับ

โดยคุณ tara14 (435)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 20:32 น.] #16776 (15/22)
เยี่ยมครับ อีกรูปแบบหนึ่งของการสะสม ไม่จำเป็นต้องเก็บเฉพาะพระหลักราคาแพง

โดยคุณ เอกจิตต์ (1K)  [จ. 28 พ.ย. 2548 - 22:16 น.] #16788 (16/22)
สวยงามครับคุณ jorawis เสียดายจังครับ งานที่ปากช่องคงไม่ได้ไป...

โดยคุณ rushman (480)  [อ. 29 พ.ย. 2548 - 08:46 น.] #16815 (17/22)
สวยงามมากเลยครับ ขอบคุณมากที่เอามาให้ได้ชมกัน

โดยคุณ jorawis (204)  [อ. 29 พ.ย. 2548 - 08:49 น.] #16816 (18/22)
ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ กลัวผู้เข้าชมหลาย ๆ ท่านจะเข้าใจผิดเป็นบาปกรรมเปล่า ๆ ท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) เป็นชาวจังหวัดสระบุรี เกิดเมื่อ 17 กรกฎาคม 2466 เมื่ออายุได้ 11 ปี บิดามารดาได้ นำท่านมาฝาก ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่บุญแห่งวัดกลางบางแก้ว ซึ่งต่อมาได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่สำนักวัดสุทัศน์ที่คณะ15 เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาพระธรรมวินัย ที่วัดสุทัศน์ ก่อนที่จะย้ายไปจำพรรษากับหลวงปู่บุญที่วัดกลางบางแก้ว กระทั่งเมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ที่วัดสุทัศน์ โดยมี สมเด็จพระสังฆราช(แพ) เป็นองค์อุปปัชฌาย์ และพระมงคลราชมุนี(ผึ่ง)เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว เมื่อใดที่ว่างท่านจะไปพำนักกับหลวงปู่บุญ เรียนวิปัสนากรรมฐาน ตลอดจน ศึกษาคาถาอาคมในช่วงเวลาเหล่านี้ จน ภายหลังได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระสังฆราช(แพ) ให้เป็นแม่กองในการจัดพิธีพุทธาภิเศก ในช่วงหลัง ๆ อยู่เสมอ จนได้รับการสืบทอดตำราในการสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ในที่สุด
เพราะฉะนั้น คำว่าท่านเป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่บุญในที่นี้ก็คือ ความหมายที่ว่า หลวงปู่บุญมีส่วนเกื้อหนุนในทางธรรม หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า หลวงปู่บุญเป็นอาจารย์ของท่านอีก องค์ก็ได้ครับ

โดยคุณ เอ_วัดเสด็จ (5.1K)  [อ. 29 พ.ย. 2548 - 21:23 น.] #16863 (19/22)
ข้อมูลแน่นปึ๊กแบบนี้ต้องขอฝากเนื่อฝากตัวเป็นศิษย์ซะแล้ว..........จะรับมั้ยครับพี่โรจน์

โดยคุณ digitalpicture (4.6K)  [อ. 29 พ.ย. 2548 - 23:52 น.] #16872 (20/22)
ยอดเยี่ยมๆๆๆๆ พี่เราไม่ธรรมดา อิ อิ อิ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 30 พ.ย. 2548 - 10:43 น.] #16882 (21/22)


(D)


ขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติที่ทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชมนะครับ ทั้งคุณSUPROM ,คุณพันชาติ, คุณPUNPUN , คุณTARA14 ,คุณRUSHMAN , และสำหรับคุณเอ วัดเสด็จ ผมยังไม่มีความสามารถขั้นนั้นหรอกครับ แต่ยินดี หากมีอะไรที่ผมพอให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้ โพสมาได้เลยครับ และ สำหรับคุณDIGITALPICTURE ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผมเสมอมา ลองดูรูปพระที่เป็นพิมพ์ปริศนาคาใจของผมอยู่นะครับว่าเป็นอย่างไร ใครมีคำแนะนำอะไรช่วยชี้แนะด้วยครับ

โดยคุณ jorawis (204)  [พ. 30 พ.ย. 2548 - 10:45 น.] #16883 (22/22)
เอ!!!! ขอโทษคร้าบลืมทักคุณเอกจิตต์เจ้ากรมพระสวยได้ไงเนี่ยได้ไงเนี่ย

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1