ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : บทวิเคราะห์เส้นทาง พระหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล โดย R9999



(D)


-ข้อมูลการเปิดกรุและประวัติ เทาที่ผมไปเจาะมาตามนี้เลยครับ https://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=message&No=73368
........มาถึงบทวิเคราะห์เส้นทางพระหลวงพ่อผาด วัดดงตาล หลวงพ่อปาน ปลุกเสก ซึ่งขอนำเสนอเป็น 2 หัวข้อดังนี้....
1. ทำไมพระชุดนี้ เพิ่งมาเริ่มดัง เมือเวลาผ่านมาเกือบ 80 ปี...
2. บทวิเคราะห์เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ ลพ.ปาน วัดบางนมโค และ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า...

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 11:09 น.]



โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 11:27 น.] #282865 (1/21)
.......หัวข้อที่ 1.ทำไมพระชุดนี้ เพิ่งมาเริ่มดัง เมือเวลาผ่านมาเกือบ 80 ปี...
..................1.1 เมื่อช่วงปี 2470 คนสมัยนั้น นิยมพระแนวนักเลง หรือแนวคงกระพัน-มหาอำนาจ ไม่มิยมพระแนวเมตตา ...พระหูยาน ลพบุรี แพงกว่าสมเด็จวัดระฆัง ขนาด 5 แลก 1 ยังเฉยๆ ...และช่วงนั้นคนนิยมแขวนพระกรุกันมาก และลองนึกดู ลพบุรี เป็นแดนพระกรุศิลปะเขมร ซึ่งเรื่องชือด้าน คงกระพัน-มหาอำนาจ แล้วทำไมต้องมาแขวนพระเนื้อดินใหม่ๆ ที่รับแจกมาจากพระผาด ซึ่งตอนปี 2470 อายุประมาณ 28 ปี อีกทั้งลพ.ปาน ก็ยังไม่มีชื่อมากนัก(มีชื่อเฉพาะเป็นพระหมอ-รักษาคน) เมือปี 2500 พระลพ.ปาน ยังเป็นพระน้ำจิ้มอยู่เลย เพิ่งจะมาเปรี้ยงเมื่อสัก 30 ปีที่ผ่านมานี่เอง พระลพ.ผาด ส่วนมากจะบรรจุกรุ มีแจกบ้างเล็กน้อย เฉพาะคนละแวกพื้นที่ และคนที่เข้าไปรักษากับท่าน จึงทำให้พระไม่เผยแพร่ แต่ลพ.ผาด ไม่ธรรมดานะครับ อายุ 28 ปี สามารถสร้างวัดได้ ขนาดเกจิยุคเก่า ยังต้องใช้ช่วงปลายของชิวิต 5-60 ปี จึงจะรวบรวมความศรัทธาหาคนมาร่วมสร้างวัด นี่แค่อายุ 28 ปี สร้างวัดที่เป็นวัดๆจริงๆ มีโบสถ์มีพระประธาน มีศาลา มีกุฏิ ไม่ใช่แบบสำนักสงฆ์ โดยที่เป็นแค่วัดในบ้านนอก ย่อมไม่ธรรมดาครับที่จะสามารถรวบรามเงินบริจาค รวบรวมความศรัทธาได้มากขนาดนั้น แสดงว่าเก่งจริงและต้องรวมได้ก่อนอายุ28ปี ถึงได้ทำการใหญ่ได้ ไม่ธรรมดาครับ ไม่ธรรมดา....

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 11:44 น.] #282874 (2/21)
.......1.2 ลองเปรียบเทียบเกจิ ของ ลพบุรี ช่วงปี 2468-2490 ดูครับ...
1. พระอุปัชณาย์ก๋ง วัดเขาสมอคอน มรณะเมื่อปี 2468 อายุกว่า 100 ปี
2. ลป.จันทร์ วัดนางหนู มรณะเมื่อ ปี 2490 อายุ 97 ปี
3. ลป.สาย วัดพยัฆคา(วัดเสือ) มรณะปี 2498 อายุ 92 ปี
4. ลป.กรัก วัดอัมพวัน มรณะปี 2487 อายุ 85 ปี
5.ลป.เนียม วัดเสาธงทอง มรณะปี 2485 อายุ 78 ปี
....และยังมีเกจิเรื่องชื่อร่วมยุคอีก เช่น ลพ.กบ วัดเขาสาริกา-ลพ.เภา วัดเถ้ตะโก-ลพ.เล็ก วัดไลย์-ลพ.รุ่ง วัดเชิงท่า...ลองลบเอาเองนะครับว่าปี 2470 พระผาด อายุ 28 ปี เกจิท่าน ที่กล่ามาอายุเท่าไหร่...
.......มาถึงคำถาม....ว่า...ถ้าท่านอยู่ช่วง ปี 2470 พระกรุก็แสนหาง่าย เรียกว่าขอกันได้เลย เกจิเก่าก็ชั้นยอด ถ้าจะหาพระแขวนคอสักองค์ ท่านจะมาเลือกพระใหม่ๆของพระผาด ที่อายุแค่ 28 ปี มาแขวนคอหรือไม่...คำตอบคือ ไม่....นี่เองเป็นสาเหตุหลัก อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ คำเล่าขานจากประสบการณ์มีน้อย มีเฉพาะคนพื้นที่จริงๆ ส่วนมากที่ได้ไป ก็จะเก็บไว้เฉยๆบางครั้งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นพระอะไร จึงทำให้ช่วงเวลาขาดหายไปครับผม...

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 12:06 น.] #282883 (3/21)
........1.3 พระชุดนี้มีแจกช่วงก่อนบรรจุกรุ 2470-2474 ไม่มากนัก จะมาแตกกรุจริงๆก็เมือปี 2543 แต่ก็ยังไม่ค่อยเผยแพร่มากนัก เนื่องจากเป็นวัดบ้านนอก อีกทั้งกรรมการวัดไม่ค่อยมีความเข้าใจเรื่องการนำเสนอ คงปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพิ่งจะมาเผยแพร่เมื่อปี 2546-47 นี่เองก็พอมีหนังสือพิมพ์ลงข่าวอยู่บ้าง แต่เนื่องจากพระแตกกรุมาเป็นจำนวนมาก และช่วงนั้นตลาดพระมีพระหมุนเวียนมาก อีกทั้งพระที่หมุนเวียนเข้าตลาด เป็นพระเกรด C เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งพระเกรดนี้จะหย่อนสวย พิมพ์จะไม่ลึก พระจะบาง (คนพื้นที่จะเก็บพระสวยเกรดA-Bไว้หมด) ประวัติการสร้าง ช่วงนั้นยังไม่ค่อยชัดเจนทำให้ตลาดไม่ค่อยขานรับเท่าที่ควร.....
........แต่ ณ ตอนนี้สถานะการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว มีคนนำประวัติไปเผยแพร่ นำพระสวย เกรด A-B ออกจากรังในพื้นที่ไปสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ตลาดขานรับ ซึ่งถ้าท่านเดินสนามประกวด จะเห็นว่าช่วงเมื่อ 2 เดือนที่แล้วยังพอเห็นกันอยู่ทั่วไป แต่ ณ ปัจจุบัน แทบไม่มีให้เห็นแล้ว จะมีเฉพาะ พระเกรด C และราคาก็ตีกันที่ 3-500 บาทครับ ส่วนสวยๆ เก็บเงียบ ถ้ามีก็ขึ้นพันหมด.....
.......และสาเหตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วงนี้ ตลาดพระเงียบมาก ไม่มีพระกรุหรือเกจิหลักออกมาเปลี่ยนมือเลย พระสวยก็แพงหูฉี่ จะมีแต่พระไม่สวยและพระซอมเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เป็นจังหวะที่ดี ที่พระชุดนี้ จะทำให้ตลาดตื่น และอีกไม่ถึง 2 เดือน พระชุดนี้จะลงหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ขอทายล่วงหน้าครับว่า จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตลาดแตก ครับผม....

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 12:17 น.] #282890 (4/21)
......หัวข้อที่ 2 2 บทวิเคราะห์เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ ลพ.ปาน วัดบางนมโค และ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า... (เอาไว้ต่อ ภาค 2 ช่วงค่ำๆ).....

.........ขอพักก่อนครับ.......บทวิเคาะห์ทั้งหมด เขียนขึ้นมาจากการค้นข้อมูล-การพูดคุยกับมือซื้อ-ขายในสนาม-และการเดินหาข้อมูลจากสนามจริงในหลายๆพื้นที่และงานประกวด-จากการวิเคราะห์จากตัวผมเอง.....ยินดีรับฝังเสียงรอบข้าง และเชิญเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ครับผม.....

โดยคุณ jcainfo (6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 14:37 น.] #282960 (5/21)
ขอบคุณพี่ R9999 มากครับสำหรับข้อมูลและบทวิเคราะห์ดีๆ ทำให้ผมมีพระดีๆ ไว้บูชา

ติดตามอ่านบทที่ 2 อยู่ครับ

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 17:00 น.] #283055 (6/21)
....
หัวข้อที่ 2 บทวิเคราะห์เรื่อง ความเกี่ยวข้องกับ ลพ.ปาน วัดบางนมโค และ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า
- ต้องยอมรับกันก่อนว่าเกจิสมัยโบราณ จะถือเรื่อง การวัดรอยเท้าอาจารย์ เป็นเรื่องที่ไม่ดีมากๆ กล่าวคือ ตราบใดที่อาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชายังสร้างวัตถุมงคลชนิดนั้นอยู่ เหล่าศิษย์ทั้งหลายจะไม่ยอมสร้างหรือปลุกเสกชนิดเดียวกับอาจารย์เด็ดขาด เพราะว่าเสมือนตีเสมอหรือเป็นการ วัดรอยเท้าอาจารย์ จะต้องรอจนกว่าอาจารย์จะไม่อยู่หรือสร้างไม่ไหวแล้วอนุณาติให้สร้าง-ปลุกเสกได้ ถ้าตราบใดที่อาจารยณ์ยังอยู่ถ้าจะจัดสร้างต้องขอความเมตตาให้อาจารย์ปลุกเสกให้ ถึงแม้นกระนั้นก็ตาม รูปแบบก็จะไม่ลอกเรียนแบบทับlineกัน อย่างดีก็แค่คล้ายคลึงเท่านั้น เฉกเช่น พระชุดนี้ ลพ.ผาด ก็ขอความเมตตาลพ.ปาน จัดสร้างและปลุกเสกให้ เมื่อก่อนปี 2470 ช่วงนั้นลพ.ผาด อายุ 28 ปี ย่อมไม่สร้างหรือปลุกเสกเองแน่นอน และสร้างพระให้แตกต่างกับลพ.ปาน โดยสร้างให้องค์เล็กกว่า และประทับบนสัตย์คนละชนิดกับลพ.ปาน โดยขี่เสือ คือปีเกิดลพ.ผาด ส่วนขี่สิงห์ หมายถึงอำนาจ
.......ส่วนเส้นรัศมีรอบองค์พระ ก็เป็นของอาจารย์อีกท่านหนึ่ง คือ ลป.ศูข วัดมะขามเฒ่า แต่ลป.ศูข ท่านมรณะ ปี 2466 คงปลุกเสกไม่ทันลพ.ผาด ท่านคงทำรัศมีไว้เพื่อระลึกถึงคุณอาจารย์ เกจิยุคเก่าท่านจะไม่ทำการใดๆถ้าท่านเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับท่าน เพราะทุกอย่างทำไปด้วยใจบริสุทธิ ด้วยจิตศรัทธา เพื่อการสืบทอดศาสนา ไม่มีการค้าเข้ามาเกี่ยวข้องเหมือนปัจจุบัน ที่พอลพ.ใด ทำอะไรแล้วดังขึ้นมา บรรดาศิษย์ของลพ.ท่านอื่นก็จะเรียนแบบสร้างตาม โดยที่ลพ.ท่านหลัง อาจจะไม่มีคาถาหรือความสามารถด้านนี้เลย ยกตัวอย่าง ตะกรุดปลอกลูกปืน ใครอยากทำก็สร้างกันไปทั่ว นี่เป็นข้อแตกต่างระหว่างสร้างด้วยความศรัทธากับสร้างตามกระแสที่มีธุระกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง...ครับผม....

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 17:14 น.] #283082 (7/21)


(D)
......หลักฐานอีกอย่างหนึ่ง คือ บางองค์ปรากฏ การจารึกตัว ป. ไว้ด้านหลังมีน้อยมากๆ ผมพ่านมือมาแค่ 3 องค์เองครับ ซึ่ง ป.หมายถึง ลพ.ปาน เพราะคนโบราณถือว่าพระเป็นของสูง จะไม่เขียนชื่อตัวเองไว้ที่พระแน่ แต่สันนิฐานว่าคนกดพิมพ์เป็นคนจารึกไว้ ไม่ใช่ลพ.ปาน เพราะถ้าเป็นลพ.ปานจารเอง จะจารเป็นตัวขอม มะอะอุ ครับและพระที่มีการเขียนชื่อไว้ข้างหลังก็ยังมี ของ ลพ.โหนง วัดคลองมะดัน และยังไม่เคยปรากฏว่า มีใครในสมัยโบราณอุตริเขียนชื่อตัวเองลงบนพระเครื่องครับ เท่าที่เคยเห็นการเขียนชื่อก็จะเขียน ชื่อคนตายติดไว้กับฐานพระบูชา เช่น พระรัชกาล หรือพระรัตนะครับผม........
..........................รอยจารึกด้านหลังพระองค์นี้เป็นการเยนตอนเปียกก่อนเผา ไม่ใช่เขียนใหม่ สังเกตุคราบรารักในร่องลึกให้ดีครับผม...........ป.ปลา ตัวนี้เท่ากับการจารึกประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของวงการพระเครื่องเมื่องไทยครับผม.......

โดยคุณ podsung (364)  [อา. 11 พ.ค. 2551 - 22:47 น.] #283312 (8/21)
ข้อมูลแน่น สาระยอด วิเคราะห์เยี่ยม ขอบคุณครับ

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 07:01 น.] #283441 (9/21)
...ข้อมูลเก่า จาก คม-ชัด-ลึก ตามนี้เลยครับ... http://www.komchadluek.net/column/pra/2004/08/30/03.php

โดยคุณ kung1015 (1.7K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 12:25 น.] #283594 (10/21)
สวัสดีครับคุณ R9999
วันที่ 14 มีนาคม 2434 ตรงกับรัชสมัยของ ร.5 นี่ครับ
ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453)
http://www.siam2.com/museum/rama5.php3

แต่จากคมชัดลึก
วัดดงตาลได้บูรณะซ่อมอุโบสถเก่า แบบก่ออิฐถือปูน เครื่องบนหลังคา เป็นไม้สัก ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๗ ได้ทรุดโทรม ไปตาม กาลเวลา จึงได้ซ่อมใหม่โดยการสกัดเจาะฐานหลังชุกชีปูนปั้นเป็นช่อง เพื่อยกองค์ พระประธานประจำอุโบสถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง ปางสมาธิ หน้าตัก ๒ ศอกให้สูงขึ้นกว่าพระพุทธรูปองค์รอง ที่ประดิษฐานอยู่ที่หน้าพระประธานบนฐานเดี่ยว เพื่อให้พระประธานเด่นเป็นสง่ากลางอุโบสถ

ระหว่างที่บูรณะอยู่นี้ ได้พบพระพิมพ์สี่เหลี่ยม

ตกลงว่าพระสร้างสมัยใดกันแน่ครับ จากแผ่นดินเขียน ร.5 คมชัดลึก ร.7 และที่ผมสงสัยคือในสมัย ร.5 และ ร.7 ในยุคนั้นเขียน เป็น ด้วย เปน ไม่ใช่หรือครับ

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 18:57 น.] #283777 (11/21)
......14 มีนาคม 2474 ครับท่าน.....มิใช่ 2434 ถ้าท่านอ่านมาแต่ต้นจะเห็นฃัดว่า 2474 บรรจุกรุครับท่าน....

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 19:14 น.] #283790 (12/21)


(D)


...ป้ายโลหะแผ่นนี้ เคยติดอยู่ที่ด้านหลังพระประธาน แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่ได้นำไปติดครับ......
......รูปที่ 1. ท่านจะเห็นแผ่นโลหะแผ่นนี้....ครับ....อยู่หน้าคนเจาะกรุ
......รูปที่ 2. สภาพปัจจุบัน ยังไม่ได้นำไปแปะติดไว้ที่เดิม วางอยู่ใกล้ๆ ผมเลยหยิบมาถ่ายรูปครับ....

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 19:28 น.] #283800 (13/21)


(D)


....ขยายให้ครับ....ภาพที่ 1 มาจากรูปบน....ส่วนภาพที่ 2 มาจากภาพอื่นๆ...

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 19:35 น.] #283805 (14/21)


(D)
2474............

โดยคุณ mang_tod (217)  [จ. 12 พ.ค. 2551 - 22:24 น.] #283914 (15/21)
ยอดเยี่ยมมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆที่ได้นำมาบอกกล่าวกันครับ...ขอบคุณครับ

โดยคุณ ไม้มงคล (11.6K)(1)   [พ. 14 พ.ค. 2551 - 00:31 น.] #284618 (16/21)
ข้อมูลแน่นเยี่ยมครับผม

โดยคุณ ron30 (845)  [พ. 14 พ.ค. 2551 - 12:03 น.] #284841 (17/21)
เยี่ยม

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [ศ. 16 พ.ค. 2551 - 16:32 น.] #286106 (18/21)


(D)
...คำถามท่าน Kung1015 ..และที่ผมสงสัยคือในสมัย ร.5 และ ร.7 ในยุคนั้นเขียน เป็น ด้วย เปน ไม่ใช่หรือครับ
....คำตอบ ชัดๆตามรูปเลยครับ...และขออนุญาติเจ้าของกระทู้และท่านที่ร่วมประมูลครับผม...
https://www.g-pra.com/auction/view.php?aid=160760

โดยคุณ jcainfo (6K)  [ส. 17 พ.ค. 2551 - 19:55 น.] #286692 (19/21)
เรื่องหลวงพ่อผาดต้องยกให้พี่ R9999 ครับ

โดยคุณ yuyuhaku (481)(1)   [ศ. 07 ม.ค. 2554 - 22:02 น.] #1482863 (20/21)

โดยคุณ R9999 (8.6K)  [อ. 27 มี.ค. 2555 - 21:24 น.] #2177969 (21/21)


(N)
5

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1