(D)
เสื้อยันต์หลวงพ่อพรหม เท่าที่สอบถามคนเก่าคนแก่ และเป็นกรรมการวัดช่องแค ในยุดนั้นและทัน (ก่อนปี 2512 คือก่อนหลวงพ่อดังจากรุ่นฟ้าผ่า) รวมทั้งผู้ที่เล่นหาเสื้อยันต์หลวงพ่อก่อนที่หลวงพ่อจะดังเมื่อ 20 กว่าปีก่อน
ปีที่สร้างรู้แต่ว่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งช่วงนั้น แถว ต.ช่องแค ตากฟ้า โคกสำโรง แถวนั้นเป็นบ้านป่า เมืองเถื่อนถึงขนาดปิดตลาดปล้นกัน ปิดเมืองปล้น ประกอบกำลังตำรวจมีน้อย ดาบพิมจึงได้ขอหลวงพ่อและกำนันและผู้ใหญ่บ้าน สมัยนั้นจำชื่อไม่ได้ครับ ได้ขออนุญาตหลวงพ่อทำเสื้อยันต์ ขึ้นจำนวน 12 ตัว แจกคนใกล้ชิดและพรรคพวกเพื่อป้องกันภัย
ช่างที่ตัดเย็บชื่อซ้งปัก ซึ่งผมเรียกว่า อาซ้งปัก เป็นช่างเย็บเสื้อผ้าจากฮ่องกง ได้หนีภัยสงครามมามาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่ก่อนสงครามโลก โดยมาตามคนในหมู่บ้านที่ย้ายเข้ามาอยู่ก่อน เช่น เถ้าแก่ฟุก ซึ่งทำกิจการร่ำรวยจนซื้อโรงโง่หินได้ ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว
เนื่องจากเสื้อยันต์สมัยหลวงพ่อทำแค่รุ่นเดียวด้วยเหตุคนมองว่าเป็นของล้าสมัยไม่สวย ใส่ไปไหนก็ลำบากใส่ไม่สบายตัว ผ้าสีแดงประกอบกับมีผ้าขาวม้าที่มีประสบการณ์เล่าลือกัน คนในสมัยจึงนิยมใช้ผ้าขาวม้าดีกว่า สะดวกและง่ายต่อการใช้ ด้วยเหตุนี้สมัยหลวงพ่อจึงทำขึ้นมาแค่รุ่นเดียว ต่อมาถ้าสมัยอาจาย์แบ็งยุดที่ลัทธิคอมมิวนิวส์กำลังระบาดทั่วประเทศ ก็มีทหารตำรวจ มาถามหากันมาก ร่วมทั้งลูกศิษย์ที่เป็นทสปช. ลูกเสือชาวบ้าน แต่เนื่องจากมีแค่ 12 ตัว อาจารย์แบ๊งจึงทำขึ้นมาใหม่ให้เช่าบูชา แล้วลูกศิษย์สายช่องแค ตาคลีบางท่านร่วมมือกับเซียนพระรุ่นหลังในกรุงเทพฯ หาเสื้อยันต์ให้คนเช่าไม่ได้ จึงร่วมมือกัน เอารุ่นนี้ยัดเป็นขอหลวงพ่อ
ข้อสังเกตในเสื้อยันต์หลวงพ่อ ที่ทำขึ้นมา จะเป็นผ้าแดง เต็มตัว คือเวลาใส่ คนไซด์ธรรมดา จะใส่แล้ว ถึงเอว ไม่ใช่ตัวสั้น ถ้าเป็นรุ่นตัวสั้น(ใส่แล้วเอวลอย) จะทำสมัยอาจาย์แบ๊งเป็นเจ้าอาวาส อีกอย่างถ้าเป็นเสื้อสมัยหลวงพ่อนั้น ยันต์ต่างๆที่เขียน จะเขียนด้วยดินสอ และจะเขียน ยันต์ สองด้านเต็มที่ไม่เกิน 3 ยันต์ โดยจะเขียนทั้งสองด้าน ของตัวเสื้อ ตัวที่อาจาย์แบ๊งสร้างจะเขียนยันต์เยอะมากแต่ไม่มีรูปหลวงพ่อ และถ้ามีรูปหลวงพ่อพรหม ก็จะเป็นของปลอมแน่นอนครับ เพราะอาจารย์อ๋าเท่าที่ทราบก็ไม่ทำขึ้นมาอีก
ปัจจุบันนี้เท่าที่ตรวจสอบได้ ทั้ง 12 ตัว มีรายชื่อผู้ถือครองดังนี้
1) อาจารย์ออ ลูกศิษย์หลวงพ่อพรหม
2) นายแก้ว โดยเช่าต่อจากหมวดสำลี ปัจจุบันอยู่กับลูกชาย
3) เฮียชวน ร้านอิ่นอันโอสถ พ่อตา ของคุณสุนทร พรหมประทาน คนเขียนหนังสือหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค ฉบับสมบูรณ์
4) คุณเกลียวพันธ์ ตั้งสุวรรณ์ ปัจจุบัน ได้อยู่กับ เฮียอ้า ขายก๋วยเตียวในตลาดช่องแค ได้มาโดยซื้อบ้านต่อจากคุณเกลียวพันธ์ แล้วเจอขณะรื้อเพื่อซ่อมแซมบ้าน โดยพบอยู่ในวงกบประตูห้องนอน
5) ร้านฮึ้งสุฮะ (ร้านเกียงศักดิ์) ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่กับ เฮียเกียง หรือ เฮียทิว กันแน่ (นามสกุล เหลืองเกียงไกร)
6) กำนันประวิทย์ ได้เสียชีวิต และทราบข่าวว่าขายไปแล้วให้สส (ขอไม่เอยชื่อนะครับ)
7) กำนันพรง วรโพธิ์ ได้เสียชิวิตแล้ว ปัจจุบันไม่ทราบอยู่กับใคร
8) ดาบพิม หลวงพลู ยังอยู่
9) เจ๊กกุ้ย ร้านเนตรมิตร ได้เสียชีวิต แล้ว ปัจจุบันไม่ทราบอยู่กับใคร
10) นายอำนวย หุนคล้ำ โรงโม่หินพยัคฆ์ศิลา ปัจจุบันไม่ทราบว่านายอำนวยยังถือครองอยู่หรือไม่
11) ร้านทองตงทวี ยังอยู่
12) ร้านสหเกรียงขายวัสดุก่อสร้าง ยังอยู่
สรุปจากจำนวน 12 ตัว ทราบคนถือครองอยู่ 9 และไม่ทราบ 3 ตัว แต่มีบุคคลหนึ่งใน จำนวนที่ทราบและถือครองอยู่ใน 9 ตัวนั้น (ขอไม่เอยนาม) ได้ดูในหนังสือ คุณสุนทร แล้ว บอกว่าที่ลงในหนังสือ เก้หมด แต่จริง น่าจะให้ความเป็นธรรม ผมจะลองไล่วิเคราะห์ดูเป็น ตัวๆเลยละกัน |