ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ทางเลี่ยงกฎหมาย

(D)
เคยมีพี่ ๆ น้อง ๆ เพื่อน ๆ ถามผมหลายคนเกี่ยวกับข้อกฏหมายในการซื้อขายพระ ทั้งเรื่องว่า จะทำยังไงดีหากถูกกล่าวหาว่า ฉ้อโกง , รับของโจร เป็นต้น หรือจะทำไงดีหาก เช่าพระปลอมมา..........
ผมในฐานะเป็นตำรวจคนหนึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านกฏหมาย5555555555ขอแนะนำพี่ ๆ ดังนี้
(ไม่ใช่จะมาให้คำแนะนำเพื่อเลี่ยงข้อกฏหมายนะครับ แต่อยากให้เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ มีไว้เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันไว้ จะได้ไม่ถูกดำเนินคดี)
สำหรับผู้ขาย หากไม่อยากถูกกล่าวหาว่า ฉ้อโกง ควรจะเลี่ยงกฏหมายดังนี้
1. ควรขายพระแท้
2.ไม่ขายพระปลอม(เจตนา)
3.ไม่ฮั้วประมูล
4.ซื้อขายพระเครื่องโดยนับถือพระพุทธ,พระสงค์ และมีพระธรรมไว้ในใจ
เป็นต้น

สำหรับผู้ซื้อ หากไม่ต้องการถูกกล่าวหาว่า รับของโจร ควรเลี่ยงกฏหมายดังนี้
1.ซื้อจากคนดี
2.ไม่ซื้อจากโจร หรือของที่รู้อยู่แล้วว่าที่มาไม่ดี
3.อย่าหวังผลกำไรเกินไป หรืออย่าละโมบโลภมาก
4.จัดทำสมุดควบคุมการซื้อขาย เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของของที่ได้มา

สำหรับผู้ซื้อ ที่ไม่อยากเช่าของปลอม ควรปฏิบัติดังนี้
1.อย่าเชื่อ.......
2.ควรตรวจสอบ
3.ศึกษาเพิ่มเติม
4.สุดท้าย ทำใจซะ

สรุป สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

ปล.ขำ ๆ ครับ (มันเกี่ยวกับข้อกฏหมายตรงไหน555555555555555555555555555) แก้เครียดแก้เซ็งกันหน่อย รู้สึกช่วงนี้มีข้อพิพาทในเวปกันเยอะ อย่าซีเรียสกันเลยครับ 100 ปี พุทธทาส อย่ายึดติดตัวกู ของกู กันเลยครับ5555555555555

โดยคุณ noklek (2K)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 11:59 น.]



โดยคุณ 6230(นู๋เป็ด) (1.6K)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 12:39 น.] #33459 (1/13)
อารมณ์ดีจัง

โดยคุณ takrit (3.9K)(1)   [อา. 28 พ.ค. 2549 - 14:33 น.] #33474 (2/13)

โดยคุณ เด็กตลาดช่องแค (450)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 16:23 น.] #33494 (3/13)


อ่านตั้งนานนะครับ นึกว่า จะอ้างอิงตัวบทกฏหมายเสียอีกนะพี่

แล้วถ้าไม่มีเงินหรือว่าเงินไม่พอจะเช่าพระแท้ละครับ ทำอย่างไรดีแบบว่าอยากได้

โดยคุณ โก๋ตู (1.6K)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 21:13 น.] #33509 (4/13)
ทางเลี่ยงกฏหมาย
1.ตอนส่งพระผมส่งพระแท้ให้นะครับคุณเอาไปเปลี่ยนมาหรือเปล่า
2.คุณพิสูจน์ได้อย่างไรว่าเป็นพระของผม (เพราะเวลาตอบต้องค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์หน่อย)
3.ใครดูว่าเก๊ มีอะไรพิสูจน์(ในเชิงวิทยาศาสตร์ หรือมีสถาบันรองรับผลการพิสูจน์)
4.คุณก็ได้ดูพระแล้ว และก็พาคนมาดูด้วย ก็ไม่ได้ทักท้วงอะไรว่าเก๊แสดงว่าคุณพอใจที่จะซื้อ(ในกรณีที่นัดเจอเพื่อซื้อขายกัน)ก็เป็นว่าผมไม่ได้ฉ้อโกง (แต่ข้อความที่แสดงไว้เพื่อขายมีประกันให้)

เอาแค่นี้ก่อนครับพี่ noklek เพราะผม เคยมีปัญหาเรื่องพระเก๊ แล้วก็ไปแจ้งความ ทางตำรวจก็มึนครับ ผมเลยต้องถอย เพื่อนๆ ถ้ามีคำตอบ ก็ช่วยๆกันหาหน่อยนะครับ เป็นแนวทางป้องกันครับ

โดยคุณ โก๋ตู (1.6K)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 21:19 น.] #33511 (5/13)
ส่วนเรื่องรับของโจร ทุกคนมีสิทธิ์โดนซิครับ เช่าพระในเวป หรือตามหนังสือ ตามแผง บางองค์ผมว่าเด็กมันก็ขโมยมาขายจริงๆ เราไม่มีสิทธิ์รู้ และการเช่าพระผมก็ว่าไม่มีใครสืบจนถึงเจ้าของจริงๆก่อนที่จะเช่าหรอกครับ พระมาเงินไปทั้งนั้นละครับ

โดยคุณ ศตกมล (8.3K)  [อา. 28 พ.ค. 2549 - 23:46 น.] #33536 (6/13)
ข้อหาฉ้อโกงนั้น ส่วนใหญ่ผู้ขายต้องรู้มาก่อนว่าพระของตนเป็นของปลอมแล้วขายออกไป จึงจะโดนข้อหาฉ้อโกง แต่ส่วนใหญ่ก็จะอ้าง และปฏิเสธว่าพระตนเองแท้ และไม่รู้มาก่อนว่าเป็นพระเก๊ ซึ่งก็เป็นเรื่องของการสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวน และหากมีการสั่งฟ้องไปตามขั้นตอนก็เป็นเรื่องที่ต้องนำสืบหักล้างกันในชั้นศาล กฎหมายของบ้านเราเป็นระบบกล่าวหา เจตนาเป็นสิ่งที่อยู่ในใจ แต่กรรม (การกระทำ) เป็นเครื่องแสดงเจตนา เช่นหากผู้ขายเป็นเซียนพระขายพระชนิดนั้นๆ มาเป็นเวลานานหลายปี แต่กลับขายพระเก๊ ที่ดูง่ายๆ ออกไป อันนี้ก็แสดงว่าเจตนาไม่ดีแล้ว ก็ต้องสันนิษฐานไว้ในเบื้องต้นก่อนว่า ผู้ขายมีเจตนาทุจริต คือแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายฯ กฎหมายเป็นเรื่องละเอียดอ่อนตีความแตกออกเป็นข้อย่อยเยอะมากๆ สรุป ฉ้อโกง คือ " หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นต้องได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม...." ง่ายๆก็คือความผิดในคดีอาญาต้องดูที่เจตนาเป็นสำคัญ ถ้าไม่มีเจตนาก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด.... รับซื้อของโจร หรือทุกๆเรื่องในคดีอาญาก็ถือหลักเจตนาเป็นสำคัญ เว้นแต่กฎหมายเรื่องนั้นๆ จะให้รับผิดฐานประมาท อันนี้อ้างไม่มีเจตนาไม่ได้แน่ๆ........

โดยคุณ เด็กตลาดช่องแค (450)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 08:46 น.] #33557 (7/13)
พี่ศตกมลครับ คุณโก๋ตู เครียดจังเลย พี่noklek เขาตั้งกระทู้ให้ตลกขำขันนะครับ น่านะอย่าคิดมากเดียวแก่เร็วนะครับ

ด้วยรักและเคารพทั้งพี่ทั้งสอง

โดยคุณ เอกจิตต์ (1K)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 09:12 น.] #33558 (8/13)
กัมมุนา วัตตะตี โลโก กุ๊กๆ...555555...

โดยคุณ ศตกมล (8.3K)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 11:21 น.] #33569 (9/13)
......

โดยคุณ technolog (4.4K)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 12:19 น.] #33576 (10/13)

โดยคุณ noklek (2K)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 16:50 น.] #33620 (11/13)
555555555555555555555555
คุณหนุ่ม ช่างรู้ใจผมจังเลย ตลก ๆ ขำ ๆ ครับ

ผมสรุปแล้วไงครับ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

555555555555555555555555555

แต่เรื่องที่พี่โกตู๋ ถามถึง ก็เป็นเรื่องปัญหาข้อเท็จจริงที่ยากแก้การพิสูจน์

ส่วนที่พี่ คตกมล พูดถึง เป็นปัญหาข้อกฏหมาย ที่จะพิสูจน์เจตนาทุจริตของผู้กระทำผิดครับ

แต่สุดท้าย ทางกฏหมาย กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาครับ ถ้ามีเจตนาดี กรรมหรือการกระทำที่ดี ย่อมไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ครับ

ที่ผมยกเรื่องนี้มาพูดเพื่อให้เวปเรามีแต่คนที่เจตนาและการกระทำที่ดีครับ จะได้ไม่มีปัญหาข้อกฏหมายต่อไป

โดยคุณ โก๋ตู (1.6K)  [จ. 29 พ.ค. 2549 - 18:24 น.] #33639 (12/13)
ไม่ได้เครียดครับ แต่อยากให้มีสาระเฉยๆ ยังไงก็เก็บเอาไปคิดเล่นๆก็ดีนะครับ

โดยคุณ olympia (3.8K)  [พฤ. 01 มิ.ย. 2549 - 19:43 น.] #34127 (13/13)


(D)
น่าจะมีประโยชน์บ้างนะครับ



ตามปกติแล้วข้อหา ฉ้อโกงมีดังนี้

มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่ง ควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน?้อโกง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ

(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ

(2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอก ลวง

ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่ง อนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท ......

...... มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
ข้อหาฉ้อโกง จำนวนเงินไม่ใช่สาระสำคัญ (ตัวบท...โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม) 500 - 1000 บาท ก็แจ้งความได้ถ้ายังอยู่ในอายุความ 3 เดือนนับแต่รู้ว่าถูก หลอกและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ขอให้เข้าองค์ประกอบความผิด...มี

1.คนร้าย ( ตัวบทบอกว่า .. ผู้ใด )

2.มีการหลอกลวง ( ตัวบทบอกว่า .. โดยทุจริต หลอกลวง ) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง

3.ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จะเป็นเงินหรือสิ่งของ อะไรก็ได้ หรืออื่นๆ ตามตัวบท

4.มีผู้เสียหาย หรือผู้ถูกหลอก


นำหลักฐานการถูกหลอกเท่าที่มีได้แจ้งความที่ท้องที่ที่เกิดเหตุ เช่น เราดูอินเทอร์เน็ตที่บ้าน โอนเงิน เข้าธนาคารใกล้ที่บ้าน ก็ไปแจ้งความที่โณงพักใกล้ๆบ้าน นั้นแหละครับ ยิ่งถ้าผู้ใด (คนร้าย) ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความ จริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ( ประกาศโฆษณาชวนเชื่อ ) ยิ่งเป็นความผิดยอมความไม่ได้ หลังจากแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายเรียกผู้ต้องสงสัยดังกล่าวมาพบที่สถานีตำรวจ ถ้า ผู้ต้องสงสัยไม่มาพบเจ้าหน้าที่ ก็จะมีเหตุให้ต้องสงสัย ทำให้ขออนุมัติออกหมายจับได้ หมายจับจะมีอายุความ 5 ปี สำหรับติดตามตัวคนร้าย เมื่อใดผู้เสียหายพบตัวก็สามารถชี้และยืนยันให้จับกุมคนร้ายได้ทันที


--------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจาก "คำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง www.promool.com"

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1