ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ประวัติท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา)



(D)
ประวัติท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ
โดย จามเทวี

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ (หลวงพ่อน้อย)
• • • • • • • • • • • • • • • • • • • •
ชาติกำเนิด

ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ มีนามเดิมว่า "น้อย" มีนามฉายาว่า "อินทสโร"
เกิดที่บ้านหนองอ้อ ตำบลธรรมศาลา อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เมื่อ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 เวลา 04.00 น. ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้
ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7 - นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่าเพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ…รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"
หลวงพ่อน้อย มีโยมบิดา ชื่อแสงโยมมารดาชื่อ อ่อน โยมพี่เป็นหญิง ชื่อ ปู๋ ซึ่งแต่ละท่านได้ถึงแก่ อนิจกรรมมานาแล้ว ตามที่สืบทราบมาได้ญาติคนสุดท้าย ของหลวงพ่อที่ยังอยู่บ้านหนองอ้อ คือ นายเอม มีศักดิ์เป็นหลาน
ตามความนิยมในประเพณี ของไทยแต่โบราณ วัดไม่เป็นที่พึ่งทางใจอย่างเดียว วัดเปรียบเสมือนเป็นโรงพยาบาลของชาวบ้าน ใครเป็นโรคอะไรเดือดร้อนก็ต้องวิ่งไปหาพระที่วัดช่วยเป่ารักษาด้วยเวทย์มนต์ หายกันมาส่วนมาก วัดเปรียบเสมือนโรงเรียน เด็กที่อยู่ใกล้วัดไหนก็มักจะไปเรียนหนังสือกันตามวัดมีพระเป็นครูวัดเป็นสถานที่ให้ความรู้ แก่ลูกหลานชาวบ้านมาก พร้อมกันนั้นชาวบ้านก็ช่วยเหลือถวายปัจจัย 4 แก่พระและช่วยสร้างถาวรวัตถุให้เป็นบางครั้งบางคราวจึงพูดกันเป็นบทเป็นกลอนติดปากว่า

วัดจะดี มีสถาน เพราะบ้านช่วย
บ้านจะสวย เพราะมีวัด ดัดนิสัย
บ้านกับวัด ผลัดกันช่วย ยิ่งอวยชัย
ถ้าขัดกัน ก็บรรลัย ทั้งสองทาง

ดังนั้นในสมัยที่หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครู ปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลาในยุคนั้นเพื่อการศึกษา เล่าเรียนและรับการอบรม ตามความนิยมในประเพณีของไทยแต่โบราณ

การศึกษาและการบรรพชาอุปสมบท
ท่านพระครูภาวนา กิตติคุณ เมื่อหลวงพ่อได้ศึกษาเล่าเรียนและได้รับการอบรมจากท่านพระครูปริมานุรักษ์(นวม)เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอมได้ พอหลวงพ่อมีอายุได้ 15 ปี โยมบิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการ "ชา" เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อการศึกษาต่อ เรียนอักขระสมัยภาษาขอม ภาษาไทย ได้ดีและเขียนอ่านได้อย่างแตกฉานจนพระอธิการชา เจ้าอาวาส วัดสามกระบือเผือก เป็นที่ชอบอกชอบใจในตัวหลวงพ่อ จากนั้นจึงได้ บรรพชาเป็นสามเณร ในระหว่างที่เป็นสามเณรนี้ได้ไปมาหาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำจวบจนกระทั่งโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน หลวงพ่อจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือบิดามารดา ในการประกอบอาชีพด้วยความกตัญญูกตเวที ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม เมื่อท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 มีพะอธิการทองวัดลมุด อำเภอนครชัยศรีเป็นพระอุปัชฌายะ พรครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา เป็นพระกัมมวาจาจารย์และพระสมุห์แสง วัดใหม่ อำเภอนครชัยศรี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร" นับแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้วก็ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด มีความสมใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวทย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้น จากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดลมุด พระครูปริมานนุรักษ์(นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์ แสงวัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาสรวมอยู่ด้วย โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่งคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคม ของท่านเป็นได้ความรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จไปทุกอย่าง

อุปนิสัยและบุคลิกของหลวงพ่อ
อุปนิสัยของหลวงพ่อ ท่านสงบเงียบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิจ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า หลวงพ่อนั้นมีดีอย่างไรจึงไม่มีผู้ใดทราบรายละเอียดเท่าที่รู้ๆ กันนั้นก็ในหมู่ลูกศิษย์ เป็นสิ่งที่ปรากฏการณ์มาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละโลภะ โมหะ โหสะ ทั้งมวล หลวงพ่อมุ่งแต่ประกอบความเจริญให้กับผู้อื่นและส่วนรวม เคร่งครัดในศีลในธรรม และประกอบด้วยความมั่งคงในพรหมจรรย์อันเป็นจริยาวัตรเป็นที่ประจักษ์แต่ผู้พบเห็นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงว่า หลวงพ่อแก่กล้าในญาณสมาบัตินั้นเป็นที่เชื่อถือกันอยู่ทั่วไปว่า มีความแก่กล้าทันตามวัยวุฒิของหลวงพ่อในทางวิปัสสนาธุระมามากพอสมควร ดังปรากฏจากสิ่งแสดงออกหลายประการ อันได้แก่วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่า คือวานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของหลวงพ่อด้วย รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัดหลวงพ่อให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่อาจมีผู้ใดมาทำอันตรายได้ ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียวข่าวนี้ได้รำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้างจึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

โดยคุณ olympia (3.8K)  [พ. 09 ก.พ. 2548 - 19:53 น.]



โดยคุณ olympia (3.8K)  [พ. 09 ก.พ. 2548 - 19:58 น.] #3451 (1/16)


(D)

บุคลิกของหลวงพ่อ
โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้ นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป
การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

• หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495
• ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499
• พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
• สะพานคอนกรีต และถนนทะยอยสร้างมาราว พ.ศ. 2502
• อาคารโรงเรียนประชาบาลหลังที่ 2 สร้าง พ.ศ. 2505
• ฌาปนสถานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509
• ระบบน้ำบาดาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510
• กุฏิสงฆ์ (อินทสโร) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
• หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมานมัสการหลวงพ่อเพื่อขอพรจากท่าน หลวงพ่อมักจะแฝงการสั่งสอนธรรมะให้ด้วยเสมอๆ เป็นต้นว่ามีนักศึกษาจะไปสอบหลวงพ่อท่านก็จะให้พรขอให้สมตามความปราถนา แต่ก็ให้ขยันหมั่นเพียรดูหนังสือให้มากอย่าประมาทและผู้ที่มาขอให้หลวงพ่อเจิมรถอันมีอยู่เป็นประจำนั้น นอกจากหลวงพ่อให้พรเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้วท่านก็จะเตือนสติให้การขับรถไว้ทุกราย ส่วนลูกศิษย์ที่เขาพบหลวงพ่อท่านเป็นประจำ ท่านก็มักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดีลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ท่านแฝงการสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

โดยคุณ olympia (3.8K)  [พ. 09 ก.พ. 2548 - 19:58 น.] #3452 (2/16)


(D)

บุคลิกของหลวงพ่อ
โดยปกติหลวงพ่อมีร่างเล็ก แกร่งแข็งแรง มีกิริยากระฉับกระเฉง ไม่อืดอาดเช่นผู้ชราบางคน มีความเมตตาต่อบุคคลและสัตว์ทั้งหมดอยู่ตลอดเวลา และเคร่งครัดต่อกิริยาบทของหลวงพ่อ จะปรากฏให้ผู้อื่นได้เห็นอยู่ตลอดเวลาในกิริยาสำรวมนี้ นอกจากนี้ หลวงพ่อท่านยังมีความนักน้อยยึดสันโดษมีความพอใจต่อสิ่งที่มีอยู่โดยแท้จริง ปราศจากความต้องการและความสุขสบายส่วนตัว แม้ในเรื่องการสร้างกุฎิให้หลวงพ่อก็เช่นกัน ลูกศิษย์ทั้งหลาย ต่างเห็นว่าหลวงพ่อท่านจำวัดในห้องเล็กๆ ทึบ อบอวล เกรงว่าจะไม่เหมาะสมกับวัยชราของท่าน จึงมีความปรารถนาร่วมกันที่จะสร้างกุฏิให้หลวงพ่อใหม่ เพื่อบังเกิดความสะดวกสบายตามสังขารอันควรจะเป็นไป รวมทั้งจักได้มีที่รับรองลูกศิษย์ลูกหาให้เหมาะสมซึ่งจะมีไปนมัสการหลวงพ่อท่านเป็นประจำทุกวัน การขอร้องในเรื่องนี้หลวงพ่อท่านไม่ยอมอนุญาตในระยะแรก โดยปฏิเสธว่าท่านจะอยู่อีกไม่นานนัก แล้วประกอบกับหลวงพ่อท่านได้พิจารณาเห็นว่า เป็นการส่วนตัวเฉพาะท่านเท่านั้น หลวงพ่อมีความปรารถนาแต่เพียง ต้องการให้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในวัดนี้ควรจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แต่ในท้ายที่สุดหลวงพ่อท่านก็ต้องยอม โดยขัดศรัทธาความรบเร้าจากลูกศิษย์บ่อยๆครั้งอยู่ไม่ได้ หลวงพ่อจึงอนุญาตตามใจลูกศิษย์ การสร้างกุฏิ "อินทสโร"ในการปลูกกุฏินี้ปลูกทับลงที่เก่าระหว่างก่อสร้าง จึงทำเพิงที่พักให้กับหลวงพ่อเป็นการชั่วคราว แล้วลูกศิษย์กับกรรมการช่วยกันเก็บข้าวของของหลวงพ่อออกจากพื้นที่ เพื่อการรื้นกุฏิหลังเดิมในการเก็บข้าวของนี้ได้พบซองใส่เงินอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ยังมิได้แก้ออกเลย ในซองมีทั้งปัจจัยและนามบัตรผู้ถวายบางซองกระดาษคร่ำคร่า อยู่ใต้ที่นอนของหลวงพ่ออันเป็นสิ่งแสดงว่า หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อลาภสักการะเหล่านี้ ใครเขาถวายมาก็ได้แต่เก็บรวมๆ ไว้ในการรื้อกุฏิเก่าของหลวงพ่อครั้งนั้นรวมเป็นเงินได้ประมาณสองแสนกว่าบาท คณะกรรมการจึงได้นำเงินเข้าธนาคารต่อไป
การปกครองวัดในระยะแรกที่หลวงพ่อครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่อใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะโล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิจ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าวนี้ กรณีนี้ท่านผู้รู้ให้ทรรศนะว่าอันความสงบเงียบของสถานที่ ตามพระอารามเช่นนั้นจะเป็นแหล่งอำนวยประโยชน์ในการสร้างปัญญา โดยพระสงฆ์องค์เจ้าที่มาศึกษาทั้งทางคันถธุระและวิปัสนาธุระ จะได้อาศัยในการพิจารณาหัวข้อและปัญหาธรรมทั้งมวล เพื่อความแตกฉานในภูปัญญา นอกจากนั้นสัตว์เล็กๆ ต่างก็จะได้อาศัยความร่มรื่นปราศจากภัยอันตรายเป็นที่พำนักพักพิงของนกกา ในสมัยที่หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น หลวงพ่อท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดีและในฤดูกาลเข้าพรรษา มีพระภิกษุนวกะมากท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่นั้นท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสมณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ กับหลวงพ่อ สำหรับการฉันจังหันของหลวงพ่อนั้นก่อนอื่นท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันหลวงพ่อจะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง หลวงพ่อจะฉันด้วยมือและใกล้ท่านต้องมีถ้วยใส่น้ำไว้คอยชุบมือ นอกจากหลวงพ่อจะฉันที่เป็นน้ำเช่น แกงจืด หลวงพ่อจึงจะใช้ช้อนโดยเฉพาะขนมครกหลวงพ่อชอบมาก เวลาท่านจะฉันหมาก หลวงพ่อจะให้ลูกศิษย์หรือญาติโยมที่นำมาถวาย ใส่ในตะบันและตำให้ละเอียดถ้าไม่กลับเอาข้างล่างขึ้นมาอยู่บนและตำใหม่อีกครั้งหลวงพ่อจึงจะฉัน แต่ถ้าลูกศิษย์หรือโยมบางคนไม่รู้เมื่อตำเสร็จส่งให้หลวงพ่อๆ จะไม่ฉันทั้งที่หลวงพ่อไม่ได้ดูการตำผู้เขียนเอายังงงว่าหลวงพ่อรู้ได้ยังไง ในสมัยที่หลวงพ่อยังแข็งแรงนี้ หลวงพ่อได้มีโอกาสสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลานี้ ด้วยการแสดง พระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกนเพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประพฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าวหน้าในบวรพระพุทธศาสนา
ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไปประกอบกับเป็นที่เลื่องลือในวาจาศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ จึงเป็นผลสะท้อนทางอ้อมเกี่ยวกับการสนับสนุนในด้านการปกครองท้องถิ่นไปโดยปริยาย โดยจะไม่มีปรากฏว่าผู้ใดมาประพฤติชั่วในเขตวัดของหลวงพ่อ และลูกศิษย์บางคนที่จะคิดประพฤติชั่วในทางที่ไม่ควรลับหลังท่าน ถ้าระลึกถึงท่านได้แล้วมักจะระงับ ที่จะพฤติปฏิบัติเช่นนั้นเสีย ดังนั้นจึงเป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่าในกรณีที่ทางวัดได้ประกอบเป็นงานบุญขึ้น จะไม่บังเกิด เรื่องราวภายในวัดให้กระทบกระเทือนสถาบันทางพระศาสนา จึงมิต้องอาศัยเจ้าพนักงานของบ้านเมือง มารักษาความสงบสุข นี้ก็เป็นเพราะบุญบารมีของหลวงพ่อที่ลูกศิษย์เคารพนับถือตามคำสั่งสอนของท่าน หลวงพ่อยังได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดให้เจริญรุ่งเรือง

• หลวงพ่อได้สร้างอาคารโรงเรียนประชาบาลหลังแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2495
• ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2499
• พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
• สะพานคอนกรีต และถนนทะยอยสร้างมาราว พ.ศ. 2502
• อาคารโรงเรียนประชาบาลหลังที่ 2 สร้าง พ.ศ. 2505
• ฌาปนสถานสร้างเมื่อ พ.ศ. 2509
• ระบบน้ำบาดาล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2510
• กุฏิสงฆ์ (อินทสโร) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2511
• หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512

ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสมานมัสการหลวงพ่อเพื่อขอพรจากท่าน หลวงพ่อมักจะแฝงการสั่งสอนธรรมะให้ด้วยเสมอๆ เป็นต้นว่ามีนักศึกษาจะไปสอบหลวงพ่อท่านก็จะให้พรขอให้สมตามความปราถนา แต่ก็ให้ขยันหมั่นเพียรดูหนังสือให้มากอย่าประมาทและผู้ที่มาขอให้หลวงพ่อเจิมรถอันมีอยู่เป็นประจำนั้น นอกจากหลวงพ่อให้พรเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้วท่านก็จะเตือนสติให้การขับรถไว้ทุกราย ส่วนลูกศิษย์ที่เขาพบหลวงพ่อท่านเป็นประจำ ท่านก็มักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดีลักษณะดังกล่าวนี้ย่อมแสดงว่า ท่านแฝงการสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์อยู่ตลอดเวลา

โดยคุณ olympia (3.8K)  [พ. 09 ก.พ. 2548 - 20:00 น.] #3453 (3/16)
มรณกาล

เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา 34 นาที ความเศร้าโศกก็ได้ครอบงำตำบลธรรมศาลา เมื่อได้ทราบข่าวมรณภาพของหลวงพ่อด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ 83 ปี พรรษาที่ 67 การนี้มีศิษยานุศิษย์ทั้งหลายต่างร่วมมือกันเป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมถวายทุกคืนจนครบ 100 วัน และทางวัดก็ได้ตั้งศพของท่านที่กุฏิอินทรสรจวบจนในปี พ.ศ.2516 พระอธิการบำเพ็ญปญญาโภได้สร้างวิหารจตุรมุขเมื่อวัยที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2516 เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือท่านได้มีความสะดวกมาสักการะบูชาต่อไปจวบจนทุกวันนี้


โดยคุณ duckman (92)(1)   [พ. 09 ก.พ. 2548 - 20:19 น.] #3455 (4/16)
สุดยอด

โดยคุณ เอ_วัดเสด็จ (5.1K)  [พฤ. 10 ก.พ. 2548 - 22:44 น.] #3500 (5/16)
เยี่ยมครับ

โดยคุณ ecespc (164)  [ส. 12 ก.พ. 2548 - 06:59 น.] #3554 (6/16)
ข้อมูลเป็นประโยชน์มากครับ

โดยคุณ punpun (3K)  [ส. 12 ก.พ. 2548 - 14:54 น.] #3556 (7/16)
ยอดเยี่ยมเสมอครับ

โดยคุณ เจริญบุญ (3.7K)  [พ. 30 ธ.ค. 2552 - 07:14 น.] #984648 (8/16)

โดยคุณ เจริญบุญ (3.7K)  [พ. 30 ธ.ค. 2552 - 07:15 น.] #984649 (9/16)

โดยคุณ ชมรม-มหาอุตม์ (1.1K)  [จ. 04 มิ.ย. 2555 - 08:23 น.] #2277837 (10/16)


(N)



โดยคุณ ชมรม-มหาอุตม์ (1.1K)  [จ. 04 มิ.ย. 2555 - 08:45 น.] #2277859 (11/16)


(N)



โดยคุณ ชมรม-มหาอุตม์ (1.1K)  [จ. 04 มิ.ย. 2555 - 08:46 น.] #2277861 (12/16)


(N)



โดยคุณ ชมรม-มหาอุตม์ (1.1K)  [จ. 04 มิ.ย. 2555 - 08:47 น.] #2277862 (13/16)


(N)

โดยคุณ ชมรม-มหาอุตม์ (1.1K)  [จ. 04 มิ.ย. 2555 - 09:04 น.] #2277901 (14/16)


(N)



โดยคุณ kamlaingern (356)  [จ. 06 พ.ค. 2556 - 14:32 น.] #2811619 (15/16)


(N)



โดยคุณ kamlaingern (356)  [จ. 19 ส.ค. 2562 - 12:20 น.] #3912492 (16/16)


(N)

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1