(D)
ตามปกติแล้วข้อหา ฉ้อโกงมีดังนี้
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐาน?้อโกง ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(1) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(2) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่ง อนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
มาตรา 348 ความผิดในหมวดนี้ นอกจากความผิดตามมาตรา 343 เป็นความผิดอันยอมความได้
ข้อหาฉ้อโกง จำนวนเงินไม่ใช่สาระสำคัญ (ตัวบท...โดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม) 500 - 1000 บาท ก็แจ้งความได้ถ้ายังอยู่ในอายุความ 3 เดือนนับแต่รู้ว่าถูก หลอกและรู้ตัวผู้กระทำความผิด ขอให้เข้าองค์ประกอบความผิด...มี
1.คนร้าย ( ตัวบทบอกว่า .. ผู้ใด )
2.มีการหลอกลวง ( ตัวบทบอกว่า .. โดยทุจริต หลอกลวง ) ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือ ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
3.ได้ไปซึ่งทรัพย์สิน จะเป็นเงินหรือสิ่งของ อะไรก็ได้ หรืออื่นๆ ตามตัวบท
4.มีผู้เสียหาย หรือผู้ถูกหลอก นำหลักฐานการถูกหลอกเท่าที่มีได้แจ้งความที่ท้องที่ที่เกิดเหตุ เช่น เราดูอินเทอร์เน็ตที่บ้าน โอนเงิน เข้าธนาคารใกล้ที่บ้าน ก็ไปแจ้งความที่โรงพักใกล้ๆบ้าน นั้นแหละครับ ยิ่งถ้าผู้ใด (คนร้าย) ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความ จริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ( ประกาศโฆษณาชวนเชื่อ ) ยิ่งเป็นความผิดยอมความไม่ได้ หลังจากแจ้งความแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายเรียกผู้ต้องสงสัยดังกล่าวมาพบที่สถานีตำรวจ ถ้า ผู้ต้องสงสัยไม่มาพบเจ้าหน้าที่ ก็จะมีเหตุให้ต้องสงสัย ทำให้ขออนุมัติออกหมายจับได้ หมายจับจะมีอายุความ 5 ปี สำหรับติดตามตัวคนร้าย เมื่อใดผู้เสียหายพบตัวก็สามารถชี้และยืนยันให้จับกุมคนร้ายได้ทันที
คำแนะนำจากเจ้าพนักงานตำรวจ ดำเนินคดีอาญา เมื่อถูกโกง
คดีที่ว่านี้เป็นคดีอาญา อย่างแรกก็คือ ถ้าเจ้าทุกข์เอาเรื่อง ตำรวจจับตัวได้ ขั้นแรกติดคุกไว้ก่อนครับ ส่วนเงินนั้น จะได้คืนหรือไม่ได้คืน ค่อยมาทีหลังครับ
อีกอย่างเรื่องถึงตำรวจแล้ว ถึงแม้ว่าจะยอมคืนเงิน คืนของที่โกงไป แต่ถ้าเรื่องถึงตำรวจแล้ว ไม่จบง่ายๆครับ มีแต่จะเสียอีกเท่าไหร่ จึงจะไม่ต้องติดคุก
แล้วเมื่อเรื่องถึงตำรวจแล้ว ก็มีการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นคดีที่จะต้องติดตามของตำรวจต่อไป (เดี๋ยวนี้ข้อมูลตำรวจเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์) วันดีคืนดี คนโกงคนนี้ไปก่อคดีอย่างอื่น แล้วโดนจับเข้า ก็จะมีการตรวจสอบไปโรงพักอื่นๆว่า คนโกงคนนี้เคยก่อคดีอะไรไว้แล้วหลบหนีหรือเปล่า ถ้าตรวจสอบว่ามี ก็จะถูกอายัดตัวไว้ดำเนินคดีเพิ่มเติมต่อไป
คิดก่อนทำดีกว่าครับ ถ้าคิดจะโกง เจอคนไม่เอาเรื่องก็แล้วไป เจอคนจริงเข้า ก็ต้องหนี ไม่งั้นติดคุกอย่างเดียวครับ อีกทั้งคดียังติดตัวตามไปตลอดอีก อยู่ไม่เป็นสุขหรอกครับ ถ้าทำผิดกฎหมาย แล้วไม่ต้องติดคุก ป่านนี้คนโกงบ้านโกงเมืองเต็มไปหมดแล้วครับ ... จะติดช้า ติดเร็ว แค่นั้นเองครับ |