(D)
ผมเพิ่งได้ธัมบ์ไดรฟ์ตัวใหม่มาใช้ครับ
ผมจึงอยากรู้วิธีที่จะรักษามันไว้กับผมนานๆ
ผมก็เลยนำบทความแนะนำวิธีดูแลธัมบ์ไดรฟ์
ที่หาได้จากเว็บไซต์คอมพิวเตอร์ทูเดย์มาให้อ่านกันครับ
คอมพิวเตอร์ทูเดย์ระบุว่า ภัยที่เกิดขึ้นกับธัมบ์ไดร์ฟโดยรวมๆ คือ
ธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย ธัมบ์ไดร์ฟเสียหายเพราะโดนไวรัส
การถูกดูข้อมูลสำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อมูลในธัมบ์ไดร์ฟสูญหาย
ซึ่งวิธีแก้ไขก็คือ
*1. เก็บไว้ใกล้ตัว-ไม่ต้องกลัวหาย*
นับวันธัมบ์ไดรฟ์จะมีขนาดเล็กลง และหายง่ายขึ้น (ถูกขโมยก็ง่ายด้วย)
มีไม่น้อยที่มักจะหลงลืมไว้ตามที่
ต่างๆ เวลาหยิบออกมาวาง หรือแม้แต่ติดไปกับเครื่องคอมพ์ของชาวบ้าน
เพราะลืมถอดคืนกลับมา บางคนชอบคล้องไว้กับกุญแจ
ซึ่งเป็นของที่ชอบทำหายเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้
วิธีน่าสนใจที่สุดคือ เลือกรุ่นที่มีสายคล้องคอไว้
แม้จะดูไม่สวยงามเท่าไร แต่มันลดโอกาสทำหาย และถูกขโมยได้เกือบ 100%
อีกนิดนึง ควรเลือกรุ่นที่สายต่ออยู่กับตัวธัมบ์ไดรฟ์
หลีกเลี่ยงการเลือกใช้รุ่นที่สายคล้องคอผูกกับฝาครอบนะครับ
*2. ระวังไวรัส*
ต้องถือเป็นข้อควรระวังในการใช้งานธัมบ์ไดรฟ์อันดับต้นๆ
เพราะโดยพื้นฐานแล้วธัมบ์ไดรฟ์จะมีลักษณะการใช้งานเหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์
ซึ่งนั่นหมายความว่า
ไวรัสสามารถใช้ธัมบ์ไดรฟ์เป็นสื่อพาหะสำหรับการแพร่กระจายได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นเวลาใช้งานธัมบ์ไดรฟ์ คุณควรแน่ใจก่อนว่า
เป็นการถ่ายโอนเฉพาะไฟล์ข้อมูลเท่านั้น (ไม่ได้ติดไวรัสมาด้วย)
ประเด็นที่สำคัญก็คือ
ควรแน่ใจว่าคุณกำลังเชื่อมต่อธัมบ์ไดรฟ์กับคอมพิวเตอร์ที่รันซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการอัพเดตสม่ำเสมอ
และในกรณีที่คอมพ์ของคุณรันแอนตี้ไวรัส เวลาต่อกับธัมบ์ไดรฟ์
ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องคอมพ์จะสแกนธัมบ์ไดรฟ์ให้ด้วย อย่างไรก็ตาม
ถ้าไม่แน่ใจธัมบ์ไดรฟ์ที่รับมา ก็ไม่ควรเชื่อมต่อเข้ากับคอมพ์ของคุณเด็ดขาด
*3. เข้ารหัสข้อมูล เพื่อรักษาความลับ*
ถ้าหากธัมบ์ไดรฟ์ของคุณหาย
นั่นหมายความข้อมูลของคุณตกไปอยู่ในมือของผู้ที่พบมันด้วย
และถ้าหากคนผู้นั้นบังเอิญเป็นคู่แข่งคุณโดยตรง อะไรจะเกิดขึ้น ดังนั้น
หากคุณใช้ธัมบ์ไดรฟ์เก็บข้อมูลสำคัญ
การเข้ารหัสข้อมูลดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้
การเข้ารหัสข้อมูล (Encryption)
จะทำให้ข้อมูลเปิดอ่านไม่รู้เรื่องจนกว่าจะได้รับพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง
ซึ่งควรเลือกเข้ารหัสที่ระดับ 128 บิต เพื่อความปลอดภัย ธัมบ์ไดรฟ์รุ่นใหม่ๆ
จะมาพร้อมกับคุณสมบัติการเข้ารหัสข้อมูลมาด้วย
แต่อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจนะครับว่า ซอฟต์แวร์ที่ให้มาไม่ใช่รุ่นทดลอง
เพราะไม่เช่นนั้น คุณอาจจะต้องจ่ายตังค์ค่าซอฟต์แวร์ในภายหลัง
*4. สำรองข้อมูลให้เป็นนิสัย*
ไม่ปฏิเสธครับว่า เวลาธัมบ์ไดรฟ์หาย เราคงรู้สึกไม่ดีแน่นอน
แม้ข้อมูลที่อยู่ในนั้นจะได้รับการปกป้องด้วยการเข้ารหัสไว้แล้วก็ตามแต่
ก็แหม...มันก็ต้องเสียเงินอีกแล้วน่ะสิ แต่มันคงรู้สึกเจ็บใจเป็นสองเท่า
หากข้อมูลที่อยู่ในนั้นเราไม่เคยได้ทำแบคอัพสำรองเอาไว้เลย
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ
แนะนำให้คุณสำรองธัมบ์ไดรฟ์ไว้สักสองสามก็อปปี้
เพราะนอกจากพวกมันจะหายง่ายแล้ว ยังเสียง่ายอีกด้วย
เนื่องจากธัมบ์ไดรฟ์ส่วนใหญ่จะใช้กรอบเป็นพลาสติก ซึ่งแตกหักได้ง่าย
*5 การถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องอย่างถูกต้อง*
ถ้าคุณต้องการถอดธัมบ์ไดร์ฟออกจากเครื่องคอมพ์ แล้วล่ะก็
ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยครับ
5.1 ปิดโปรแกรมทุกตัวทีมีการเข้าถึงไฟล์ต่างๆ บนธัมบ์ไดรฟ์เสียก่อน
5.2 คลิ้กไอคอน *Safely Remove
Hardware*(ที่มีลูกศรสีเขียวปรากฎอยู่ในมุมล่างขวาบนทาสก์บาร์)
5.3 คลิ้กเลือกธัมบ์ไดรฟ์ที่ปรากฏอยู่ในรายการ
5.4 เมื่อคลิ้กเลือกยูเอสบีไดรฟ์ที่ต้องการเอาออกแล้ว
จะได้รับข้อความแจ้งขึ้นมาว่า "Safe To Remove Hardware" แปลว่า
สามารถดึงธัมบ์ไดรฟ์ออกจากระบบได้อย่างปลอดภัย
เสร็จแล้วก็ถอดธัมบ์ไดร์ฟได้เลยครับผม
จบข่าว
|
|