(D)
เรามาอธิบายคำว่า รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายอันสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย์ อันมีพระมหากษัตรย์ ทรงเป็นประมุข ดังนั้นบรรดา ข้อเขียนที่บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นกฎหมาย ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม บุคคลใดละเมิด มีความผิด ต้องระวางโทษ..................
ดังนั้น เมือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ได้บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงถือว่า เป็นกฎหมาย บทหนึ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม........
จึงเกิดคำถามว่า.....ถ้าผมเป็น คนไทย อยู่ในประเทศไทย แล้วผมนับถือศาสนาอื่น ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ ถือว่าผมฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือไม่ ละเมิดกฎหมาย หรือไม่ จะมีความผิด ต้องมีโทษหรือไม่ หมิ่นเหม่ ก่ำกึ่ง มากครับ ว่าจะผิดหรือไม่
คำถามที่ตามมาอีกว่า............เมือ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ได้บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับว่า หลักคำสอนต่างๆทางศาสนาพุทธทุกคนต้องปฏิบัติตาม......... ยกตัวอย่าง ศีล 5 เอาง่ายๆ ศีลข้อ 5 ห้ามดื่ม สุรา ของมึนเมา ถ้าผมดื่ม สุรา เท่ากับว่า ผมไม่ปฏิบัติตามคำสอน ของศาสนา ถือว่าผมฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือไม่ ละเมิดกฎหมาย หรือไม่ จะมีความผิด ต้องมีโทษหรือไม่ หมิ่นเหม่ ก่ำกึ่ง อีกเช่นกัน
จริงอยู่อาจจะมีข้อยกเว้นตามมา แต่ความเห็นของผมก็ไม่น่าที่จะไปบัญญัติ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ
เพราะว่าใน รัฐธรรมนูญ ก็เขียนชัดเจนอยู่แล้วว่า พระมหากษัตรย์ ทรงเป็นพุทธมามก อาจตีความได้ว่า ประมุขของประเทศ ทรงนับถือศาสนาพุทธ ... ก็ชัดเจนอยู่แล้ว ครับ ส่วนใครจะนับถือศาสนาใด จะปฏิบัติตามคำสอน ของศาสนา หรือไม่ ก็เป็นเรื่องของส่วน บุคคล ครับ เป็นเสรีภาพ ในแต่ละบุคคลในระบอบประชาธิปไตย์ อยู่แล้ว ไม่เห็นต้องบัญญัติ เจาะจงลงไปอีก กลายเป็นข้อบังคับที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
โดยส่วนตัวในมุมมองของนัก(เรียน)กฎหมายคนหนึ่ง ไม่เห็นด้วยครับ ส่วนพี่ๆมีความเห็นอย่างไร ในกรณีอย่างนี้ ลงความเห็นกันได้ครับ............. |