ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ประวัติพระเกจิที่ผมศรัทธา และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ สำหรับเพื่อนสมาชิกชาวG-pra

(D)
ผมจะพยายามลงเรื่อย ๆ นะครับ หวังว่าคงเกิดประโยช์บ้างไม่มากก็น้อยครับสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้แบบถึงแก่นแท้ของเกจิแต่ละท่าน
เริ่มที่ " พระเกจิดังแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ไม่มีใครไม่รู้จัก "
ประวัติหลวงพ่อเดิมและการใช้มีดหมอ (โดยย่อ)
ท่านบวชเมือวันที่ 31 ต.ค. 2423
เกิด 6 ก.พ..2403
มีชื่อทางพระว่า พุทธสโร
พระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม พยุหะคิรี นครสวรรค์
กรรมวาจารย์ หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง พยุหะคิรี นครสวรรค์
อนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล พยุหะคิรี นครสวรรค์
ท่านสร้างวัดและดูแลมาตลอดคือ
1. วัดหนองบัว อ.หนองบัว นครสวรรค์
2. วัดหนองโพ อ. ตาคลี นครสวรรค์
3. วัดโคกเดื่อ อ. ไพศาลี นครสวรรค์
4. วัดเขาทอง อ. พยุหะคีรี นครสวรร์
5. วัดหนองหลวง อ.ท่าตะโก นครสวรรค์
ครั้งเมื่อปี 2457 ได้รับตำแหน่งเป็น พระครูนิวาสธรรมขันธ์
ได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมจากพระอาจารย์ 9 ท่านคือ

1. หลวงพ่อแก้ว
2. หลวงพ่อเทศ
3. หลวงพ่อเงิน
4. หลวงตาชม
5. หลวงพ่อมี
6. หลวงพ่อขำ
7. หลวงพ่อวัดเขาหน่อ
8. หลวงพ่อนุ่ม
9. อาจารณ์พันธ์ ชูพันธ์ (ฆราวาส)

ศิษย์ที่มีการสร้างมีดตามตำราของท่าน
1. หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
2. หลวงพ่อสด วัดหางนำ้สาคร
3. หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว
4. หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ

หลักการใช้มีดหมอหลวงพ่อเดิม ( ชาวบ้านเรียกมีดด้ามงา )
ช่างที่ทำการสร้าง
1. ช่างฉิม โคกไม้เคน
2. ช่างไข่
3. ช่างศร
ส่วนมีดที่มีการสร้างก่อนหลวงพ่อเดิมก็จะมีมีดหลวงพ่อรุ่งแต่ให้ดให้ดีมีดของหลวงพ่อรุ่งจะมีลายที่ใหญ่กว่าและทางวงการมักจะตีเป็นหลวงพ่อเดิมเนื่องจากราคาดีกว่า

วิธีการใช้มีด ท่านว่าเป็นทั้งมหาอำนาจและมหานิยมเวลาจะนำไปให้ระลึกถึงหลวงพ่อแล้วน้อมจิตว่า " พระพุทธังรักษา พระธัมมังรักษา พระสังฆังรักษา ศัตรูมามีฑาวินาศสันติ " ถ้าขยับตัวมีดออกจากฝักขนากเม็ดข้าวสารจะเป็นนะจังงังแม้ขณะอยู่ที่บ้าน

คาถาอาราธนามีดหมอ

" สักกัสสวชราวุทธัง เวสสุวันนสะคะธาวุทธัง ยะมะสะนัยนาวุทธัง ณารายยะสะจักกะราวุทธัง ปัญจะอาวุทธานัง เอเตลังอานุภาเวนะ ปัจจะวุทธานัง ภัคคะภักขาวิจุณนัง
วิจุณนาโลมังมาเมนะ พุทธสันติ คัจฉะอะมุมหิ โอกเสติฐาหิ "

คติหลวงพ่อเดิม
1. มีงานทำก็มีเงิน
2. อยากอิ่มให็กินเอง
3. อยากรวยให้เก็บเงินไว้
4. กลัวตายไม่ต้องเกิด

คาถาบูชา หลวงพ่อเดิม (วัดหนองโพ)
อิติอะระหัง สุขะโต พุทธสโร หลวงพ่อเดิม นามะเต อาจาริโยเม อายัสมา อาจาริโยเม ภันเตโหหิ
สวด ๑ จบ

โดยคุณ supperA (2.1K)  [ส. 18 ส.ค. 2550 - 22:19 น.]



โดยคุณ supperA (2.1K)  [ส. 18 ส.ค. 2550 - 22:28 น.] #137822 (1/13)
ชาติภูมิ หลวงพ่อเดิมถือกำเนิดเมื่อวันพุธ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๒๒ (แรม ๑๓ ค่ำ นั่นมิใช่วันพุธ เป็นวันศุกร์ตรงกับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓ โยมบิดาชื่อ นายเนียม โยมมารดาชื่อ นางภู่ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา คือ
๑. หลวงพ่อเดิม เพราะเหตุที่เป็นบุตรชายคนแรกของบิดามารดา ปู่ย่าตายายจึงให้ชื่อว่า “เดิม”
๒. นางทองคำ คงหาญ
๓. นางพู ทองหนุน
๔. นายดวน ภู่มณี
๕. นางพัน จันทร์เจริญ
๖. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น

การศึกษา
หลวงพ่อเดิมเมื่อเยาว์วัยก่อนอุปสมบทนั้น เนื่องจากท่านเป็นบุตรชายคนโตของบิดามารดา โอกาสที่จะได้เล่าเรียนอยู่วัดในสมัยอายุเยาว์วัยคงมีไม่มาก และไม่เคยได้ยินใครเล่าให้ฟังถึงการศึกษาของท่านในสมัยเยาว์วัย

อุปสมบท
เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง โทศกตรงกับวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหะนุศาสถ์) วัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย (มีชื่อเสียงทางรดน้ำมนต์) กับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุศาสนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร” ครั้นอุปสมบทแล้วก็มาอยู่วัดหนองโพ ซึ่งหลวงพ่อก็ตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า “ท่านมีนิสัยจะทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ คิดอะไรไม่ได้เป็นไม่ยอดหยุดคิด คิดมันไปจนออกจนเข้าใจได้ ดูอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ความก็คิดค้นมันไปจนแตกฉาน” เมื่อมาจำพรรษาอยู่ในวัดหนองโพ ตลอดเวลา ๗ พรรษาแรก ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องคัมภีร์วินัย

การเรียนวิชาอาคม
ในการมาอยู่วัดหนองโพพรรษาแรก เรียนวิชาอาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ภายหลังนายพันธ์ถึงมรณกรรมแล้ว ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ตำบลม่วงหัก อำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ อยู่วัดบ้านบน ๒ พรรษา ต่อมาในพรรษาที่ ๙-๑๑ หลวงพ่อได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน (พระครูพยุหะนุศาสถ์) วัดพระปรางเหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ซึ่งหลวงพ่อปฏิบัติจริงจังตลอดเวลา การเรียนวิชาอาคมของหลวงพ่อนั้น หลวงพ่อจะไปศึกษาเล่าเรียนมาจากสำนักของอาจารย์ใดบ้าง ไม่ทราบได้ตลอด เท่าที่ทราบก็มีการเรียนกับนายสาบ้าง เรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล หลวงพ่อวัดเขาหน่อ ต.บ้านแดน อ.บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปรากฏว่า หลวงพ่อทำวิชาขลัง จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง ซึ่งเป็นที่ปรากฏว่า ประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทั้งทหารและพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัดพากันไปมอบตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อมากมาย ขอให้หลวงพ่อรดน้ำมนต์บ้าง ขอวิชาอาคมบ้าง ขอแป้งขอผงบ้าง ขอน้ำมัน ตระกรุด ผ้าประเจียด จากหลวงพ่อ และที่แพร่หลายที่สุดก็คือ แหวนเงินหรือนิเกิล และผ้ารอบฝ่าเท้าหลวงพ่อ ผ้าประเจียด ซึ่งกิตติคุณในเรื่อง “วิชาขลัง” ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานแล้ว

การค้นคว้าทดลอง
หลวงพ่อมีนิสัยขอบศึกษาและค้นคว้าทดลอง เช่น การสร้างเกวียนโยก และนอกจากค้นคว้าในทางประดิษฐ์ต่างแล้ว ตำรับตำราที่ครูบาอาจารย์ทำไว้แต่ก่อน ๆ บางอย่างหลวงพ่อก็นำมาทดลองด้วย เช่น วิชาเล่นแร่ คือทำแร่ตะกั่วให้เป็นเงิน และทำเงินให้เป็นทอง โดยได้ทดลองอยู่หลายปีจนถลุงเงินให้เป็นทองสำเร็จ แล้วลูกศิษย์ต่างก็พากันขอหลวงพ่อจึงนำไปขว้างทิ้งในสระน้ำ จากนั้นก็หยิบฆ้อนทุบเตา ทุบเบ้าถลุงแตกหมด แล้วก็เลิกเล่นเลิกทำตั้งแต่วันนั้น

การสร้างถาวรวัตถุในวัด
พ.ศ. ๒๔๓๕ หลวงพ่อสร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน
พ.ศ. ๒๔๕๔ สร้างศาลาการเปรียญหลังแรก
พ.ศ. ๒๔๕๘ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ ๓ องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าโรงพระอุโบสถ

การบูรณะปฏิสังขรณ์
หลวงพ่อนอกจากจะมีการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดหนองโพแล้ว ยังมีการปฏิสังขรณ์วัดอื่น ๆ ภายในจังหวัดนครสวรรค์อีก คือ ได้เรียงตามลำดับของการบูรณะปฏิสังขรณ์
๑. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอระฆัง และถาวรวัตถุอื่น ๆ เรียกว่าสร้างใหม่หมดทั้งวัดคือ วัดหนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
๒. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ สระน้ำและอื่น ๆ ในวัดหนองหลวง อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ (อนุสรณ์การสร้างเกวียนช้างของหลวงพ่อ)
๓. โบสถ์ ศาลาการเปรียญ สิ่งก่อสร้าง วัดพังม่วง ต.โคกเดื่อ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๔. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดทำนบ ต.ห้วยนบ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๕. ศาลาการเปรียญ วัดหัวถนน อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๖. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดหนองไผ่ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๗. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดจิกยาว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
๘. พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วัดตระกร้อ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๙. โบสถ์ ศาลาการเปรียญ วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๑๐. พระอุโบสถ ดบางมะฝ่อ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
๑๑. พระอุโบสถ วัดหนองสีนวล อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
๑๒. พระอุโบสถ วัดบ้านหล้า อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์
๑๓. ศาลาการเปรียญ วันดอนคา ต.ดอนคา จ.นครสวรรค์
๑๔. ศาลาการเปรียญ วัดโคกมะขวิด อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
๑๕. ปฏิสังขรณ์มณฑปพระพุทธบาท วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์

สมณศักดิ์
หลวงพ่อเดิมได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งหลวงพ่อมีอายุได้ ๕๕ ปี ๓๔ พรรษา นำมาซึ่งความปีติยินดีแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก แต่ประชาชนทั่วไปก็ยังคงเรียกหลวงพ่อในนามว่า “หลวงพ่อเดิม” ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ หลวงพ่อได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา ๒๐ ปี เมื่อท่านล่วงเข้าวัยชรามากแล้ว ทางการคณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์

บั้นปลายชีวิตของหลวงพ่อ
หลวงพ่อเป็นเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชนไม่เลือกหน้า เนื่องจากหลวงพ่อมีอายุยืนยาวมาก อีกทั้งร่างกายของหลวงพ่อได้ใช้ตรากตรำทำสาธารณประโยชน์อย่างมาก โดยหลังจากที่หลวงพ่อกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม (วัดใน) ตำบลพยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ และกลับมาอยู่ในวัดหนองโพ แล้วต่อมาหลวงพ่อก็เริ่มอาพาธตั้งแต่วันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ (ตรงกับวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔) อาการเพียบหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์และหลานเหลนต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาลและฟังอาการกันเนืองแน่น ด้วยความเศร้าโศกและห่วงใย เล่ากันว่า “หลวงพ่อคอยแต่สอบถามอยู่ว่า เวลาเท่าใดแล้ว ศิษย์ผู้พยาบาลก็กราบเรียนตอบไป จนถึงราว ๑๗.๐๐ น. หลวงพ่อจึงถามว่า “น้ำในสระมีพอกันกันหรือ” (เพราะบ้านหนองโพมักกันดารน้ำดังกล่าวแล้ว) ศิษย์ที่พยาบาลอยู่ก็เขียนตอบว่าถ้าฝนไม่ตกภายใน ๖-๗ วันนี้ ก็น่ากลัวจะถึงกับขาดแคลนน้ำ หลวงพ่อก็นิ่งสงบไม่ถามว่ากระไรต่อไป ในทันใดก็มีกลุ่มเมฆตั้งเค้ามาและฟ้าคะนอง มิช้าฝนก็ตกห่าใหญ่น้ำฝนไหลลงสระราวครึ่งค่อนสระ พอฝนขาดเม็ด หลวงพ่อก็สิ้นลมหายใจเมื่อเวลา ๑๗.๔๕ น. คำนวณอายุได้ ๙๒ ปี ๗๑ พรรษา บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อแล้วบรรจุศพตั้งบำเพ็ญกุศล ณ วัดหนองโพ ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ครบ ๗ คืน ถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๔๙๔ และจัดให้มีการพระราชทานเพลิงในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๔๙๔

หลวงพ่อเดิม ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ซึ่งชาวนครสวรรค์ทุกคนยังเคารพให้ความนับถือหลวงพ่ออยู่เสมอ โดยเฉพาะทางวัดหนองโพได้สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม ขนาดเท่าองค์จริง ซึ่งหลวงพ่อเดิมท่านหล่อสร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ที่มณฑป ซึ่งมีประชาชนมากราบนมัสการทุกวันมิได้ขาด และทางวัดหนองโพได้จัดงานทำบุญประจำปีปิดทอง ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี

----หลักการใช้มีดหมอ ----
1. เวลาที่จะเดินทางออกน้อกบ้านท่านให้อาราถนามีดเสร็จให้ชักมีดออกมาจากฝักแล้วกลั้นหายใจนำมีดกรีดไปยังด้านหน้า 3 ครั้ง
2. เวลาที่จะไล่ผีให้นำมีดออกจากฝักแล้วแช่ลงในนำ้ที่สอาดจากนั้นให้คนไข้ดื่มกิน
3. เวลาจะรักษาฝีที่เป็นหนองให้นำมีดออกจากฝักแล้วกั้นลมหายใจจากนั้นกรีดปลายมีดให้อยู่เหนือฝีวนอยู่ 3 รอบแล้วกรีดอย่าให้ถูกเนื้อแล้วแผลจะหายเอง(อันนี้รองกับตัวเองแล้วได้ผลจริงๆ)
4. เวลาที่จะนอนในต่างถิ่นให้นำมีดออกจากฝักแล้วอาราถนาวนที่นอน 3 รอบจะคุ้มครองให้หลับสบายไม่มีอะไรมารบกวน
5. ออกเดินทางในนำ้ให้นำมีดออกจากฝักแล้วกลั้นใจกรีดในอากาศ 3 ครั้งจะเดินทางปลอดภัย
6. ห้ามนำมีดออกมาเล่นโดยไม่มีเหตุอันควร
7. อย่าให้มีดบาดมือเป็นอันขาดแต่หากโดนแล้วให้นำฝารมีหม้อดินมาฝนกับด้ามมีดใช้ดื่มกินและทาบริเวณแผล
8. หากอย฿่ที่บ้านให้วางบนพานแล้วชักออกจากฝักประมาณเมล็ดข้าวสารจะคู้มครองคนทั้งบ้าน
9. ห้ามขันอาสาแสดงตนเพื่อรักษาจนกว่าจะมีคนมาขอร้อง
10. เมื่อรับอาสารักษาแล้วให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงพ่อ
*** ------------------------------------------------------- ***

โดยคุณ supperA (2.1K)  [ส. 18 ส.ค. 2550 - 22:46 น.] #137829 (2/13)
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์ เกจิยุคก่อน 2500
ข้อมูลประวัติ
เกิด ปี 2411 พื้นเพเป็นคนบ้านหนองกระโดน
เป็นบุตรของ นายเหมือน นางพุ่ม เหมือนสังข์
อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ใต้
มรณภาพ ปี 2476
รวมสิริอายุ 69 ปี 42 พรรษา
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน อาจารย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อกวย และเป็นสหธรรมิก ของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
วัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้คือ เหรียญรุ่นแรก ปี 2470 สร้างขึ้นเพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์สร้างศาลาการเหรียญหลังใหม่ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง หูในตัวห่วงเชื่อม เหรียญรุ่นนี้นับเป็นเหรียญหลักอีกเหรียญหนึ่งของจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับความนิยมไม่แพ้เหรียญของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ และยังมีรูปถ่ายนั่งเต็มองค์อีก

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง เมตตามหานิยม แต่สำหรับผมที่ได้รับฟังมาจะเด่นมากทางด้านมหาอุด คงกระพัน ซะมากครับ..

โดยคุณ supperA (2.1K)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 09:30 น.] #137893 (3/13)
3.อีกหนึ่งสุดยอดเกจิที่ได้ฉายาว่า "พระเกจิสุดยอดแห่งความมหัศจรรย์แห่งเมืองไทย"
ประวัติหลวงพ่อพรหม
หลวงพ่อพรหมถาวโร ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม ตรงกับวันที่ 20 เมษายน พ.ศ.2427 ต.บ้านแพรก อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา บุตร นายหมี-นางล้อม โกสะลัง มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 4 คน คือ
1.นางลอย 2.นายปลิว 3.หลวงพ่อพรหม 4.นางฉาบ (ทุกคนถึงแก่กรรม)
การศึกษา
ในขณะยังเยาว์วัย ได้ศึกษา อ่านเขียนกับพระในวัดใกล้บ้าน พออ่านออกเขียนได้ หลวงพ่อเรียนอักษรขอมควบคู่กับภาษาไทย จึงมีความรู้ภาษาขอมพอสมควร ตั้งแต่ก่อนอุปสมบท
อุปสมบท
เมื่ออายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดปากคลองยาง ต.บ้านแพรก จ.พระครศรีอยุธยา เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2447 ได้รับฉายาว่า"ถาวโร"โดยมีหลวงพ่อถมยาวัดเขียนลาย และเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
มรณภาพ
เมื่อมาจำพรรษาและเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแคไม่ได้ย้ายไปอยู่วัดใดอีกเลย ตลอดระยะเวลา 58 ปี หลวงพ่อลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2514 รวมเป็นเจ้าอาวาสวัดช่องแคเป็นเวลา 54 ปี (พ.ศ.2460-พ.ศ.2514) เพื่อให้ปลัดแบ๊ง ธัมมวโร เป็นเจ้าอาวาสสืบแทนหลวงพ่อได้สร้างประโยชน์โดยการทำนุบำรุงศาสนา รักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการก่อสร้างเสนาสนะต่างๆภายในวัดให้การอุปถัมป์โรงเรียนวัดช่องแค ซึ่งตั้งอยู่ในวัด จนกระทั่งมรณภาพลง เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2518 เวลา 15.00 น. ณ โรงพยาบาลบ้านหมี่ จ.ลพบุรี รวมอายุ 91 ปี 71 พรรษา
มรณภาพแล้วศพไม่เน่าเปื่อย
หลังจากหลวงพ่อพรหมมรณภาพแล้ว คณะกรรมการวัดได้บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว อยู่บนศาลาการเปรียญ ศพของท่านไม่เน่าเปื่อย มด ไร มอด และ แมลง ไม่ได้รบกวนทำลายชิ้นส่วนใดในร่างกายของท่านแม้แต่น้อย คล้ายกับหลวงพ่อนอนหลับอยู่ แม้ว่าท่านจะมรณภาพแล้วถึง 24 ปี (พ.ศ.2542)
สิ่งมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นเหนือกว่าคนธรรมดาทั่วไป คือ
1.เส้นผมงอกยาว 5-6 ซม.
2.เส้นขนคิ้วงอกยาว 5-6 ซม.
3.เส้นขนตางอกยาว 1 ซม.
4.หนวดงอกยาว 5-6 ซม.
5.เคราใต้ครางยาว 5-6 ซม.
6.เล็บมืองอกยาว 1 ซม.
7.เล็บเท้างอกยาว 4-5 ซม.
ซึ่งทุกประการที่กล่าวมานี้ ยังคงสภาพเหมือนเดิม จึงอยากให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายไปพิสูจน์ด้วยตนเองที่วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
คําอารธนา หลวงพ่อพรหม

" พรหมมา อาราธนานัง เมตตา สุคะตะ มหาลาภัง สัพเพปิ อันตะรายา เม มเหสุง ปะสิทธิเม "

คําแปล

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมอาราธนา หลวงพ่อพรหม ขอให้ข้าพเจ้าไปดีมาดี มีคนเมตตา มีลาภอันประเสริฐ์ ภัยอันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าขอสิ่งเหล่านี้จงสําเร็จแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ ...

แบบย่อ

โสภะคะวา ขอบารมีหลวงพ่อพรหมคุ้มครองทุกท่านจงพบจงประสบแต่โชคดีด้วยเทอญ

ข้อมูลประวัติ จัดทำโดย สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกองบิน ๔
กองพลบินที่ ๓ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ
อ. ตาคลี จ. นครสวรรค์
โทรศัพท์ ๕๓๕๖๐๐๐ - ๕๓๕๐๐

โดยคุณ supperA (2.1K)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 10:04 น.] #137897 (4/13)
4. ประวัติ(หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) วัดประดู่ฉิมพลี
" เนื้อนาบุญแห่งพระพุทธศาสนา "
ชีวประวัติ
พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ) ท่านเป็นชาวสมุทรสงคราม ถือกำเนิดในสกุล รัตนคอน ณ บ้านใกล้คลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม มีนายลอย และนางทับ เป็นบิดามารดา เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน รวม ๒ ท่านโดยท่านเป็นคนโต คือ
๑. พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)
๒. นายเฉื่อย รัตนคอน (ถึงแก่กรรมไปแล้ว)

ฉายแววแต่เยาว์วัย
ประกายแห่งสติปัญญา และลักษณะแห่งความเป็นผู้นำของท่านได้ฉายแววมาแต่เยาว์วัย ดังเป็นที่ประจักษ์แก่บิดา มารดา และญาติๆ ว่า ท่านเป็นผู้มีความเข้มแข็งว่องไวประจำนิสัย มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด รู้แยกแยะผิดชอบชั่วดี มิเคยสักครั้งที่จะนำความหนักใจให้กับบิดามารดา ชอบที่จะติดตามบิดามารดาไปวัดอยู่เป็นประจำ เป็นผู้มีความกตัญญู มีความขยันมานะอดทน มีน้ำใจเสียสละ มีวาจาไพเราะสุภาพอ่อนโยน จึงเป็นที่รักยิ่งของบิดามารดา หลายครั้งท่านมักแอบไปวัดเพียงลำพังเพื่อฟังการสวดมนต์ของพระภิกษุ-สามเณร จนถึงกับสามารถท่องจำได้อย่างแม่นยำในบางบทบางตอน และถึงแม้ท่านจะเติบโตเข้าสู่วัยหนุ่มท่านก็หาได้มีจิตใจฝักใฝ่สตรีเพศดุจคนรุ่นเดียวกันไม่ จึงนับว่าเป็นนิมิตหมายแห่งการดำเนินสู่มรรคาแห่งการตัดวัฏฏะอย่างสิ้นเชิง

การศึกษาเบื้องต้นในปฐมวัย
เมื่อครั้งเยาว์วัยทั้งสองท่านได้ศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นอยู่ที่วัดเกาะแก้ว ปากคลองบางน้อย ตำบลบางพรหม อำเภอบางคณฑี จังหวัดสมุทรสงคราม ครั้นต่อมาบิดามารดาได้เสียชีวิตไปหมด พระภิกษุแก้ว (ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงตาแก้วโม่ง) ซึ่งเป็นญาติกับท่าน ได้จำพรรษาอยู่กับพระอุดรคณารักษ์ ที่วัดเชตุพนฯ ได้นำท่านมาฝากไว้กับพระอธิการสุข (เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี) มาแต่เพียงหลวงปู่โต๊ะคนเดียว ส่วนนายเฉื่อยนั้นคงอยู่ที่วัดเกาะแก้วตามเดิม พระอธิการสุขกับพระภิกษุแก้วนั้นท่านทั้งสองเป็นเพื่อนที่รักใคร่สนิทสนมและเคารพนับถือกันมาก ในระยะที่นำมาฝากไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลีนั้น อายุของท่านขณะนั้นได้ ๑๓ ปีเศษ

สู่ความเป็นเหล่ากอของสมณะ
ครั้นเมื่อท่านมีอายุย่างเข้า ๑๗ ปี ก็ได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอธิการสุข เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาได้วันเดียวพระอธิการสุข ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และผู้อุปการะของท่านก็ได้มรณภาพ นายคล้าย นางพันธ์ ซึ่งเป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของพระอธิการสุข และมีบ้านอยู่ใกล้วัดประดู่ฉิมพลีจึงได้อุปาการะท่านต่อมา ซึ่งเมื่อท่านได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ท่านก็มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาพระปริยัติธรรม ท่องเรียนพระสูตรต่างๆ ได้อย่างแม่นยำและว่องไว มีความประพฤติไม่เป็นที่หนักใจแก่หมู่คณะ สนใจในการเจริญสมาธิกรรมฐานอย่างมุ่งมั่น ความในข้อนี้พระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งอบรมสอนสมาธิกรรมฐานให้กับท่านในสมัยนั้น ถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า แทบทุกคืนจะเห็นสามเณรโต๊ะหลบไปนั่งกรรมฐานเพียงลำพังในโบสถ์ บางครั้งก็เห็นไปเดินจงกรมอยู่ในป่าริมคลองบางหลวงเพียงลำพัง พระอาจารย์พรหมยังได้เล่าอีกว่า สามเณรโต๊ะมักชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆ พูดน้อย แต่ช่างซักถามในข้อธรรมต่างๆ

สู่เพศบรรพชิต
ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปีท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคาร เดือน ๘ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ น. โดยมี
พระครูสมณธรรมสมาธาน (แสง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูธรรมวิรัติ (เชย) วัดกำแพง เป็นอนุสาวนาจารย์

มีฉายาในพระพุทธศาสนาว่า "อินฺทสุวณฺโณ"

เมื่อท่านได้อุปสมบทแล้วท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมด้วยความวิริยะอุตสาหะด้วยจิตที่มุ่งหวังที่จะบรรลุสู่แดนเกษม ต่อมาพระอธิการคำเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีในสมัยนั้นได้ลาสิกขาบทออกไป ท่านจึงรับภาระหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี เมื่อท่านมีอายุได้ ๒๖ ปี พรรษา ๖ และมีฐานานุกรมที่ พระใบฎีกา ท่านได้รับภาระ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีสืบมาจนถึงแก่กาลมรณภาพ และถึงท่านจะมีภาระหน้าที่ในการปกครองคณะสงฆ์ ท่านก็มิย่อท้อต่อการศึกษาและการปฏิบัติทั้งทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ด้วยความมุมานะจนสอบได้ น.ธ.ตรีได้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ครั้นเมื่อพระอาจารย์พรหม ผู้ซึ่งให้การอบรมสมาธิกรรมฐานแก่ท่าน ได้มรณภาพไปแล้วท่านก็ได้ออกแสวงหาศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน

ออกธุดงธ์
โดยในขั้นต้นท่านได้ออกจาริกธุดงค์ไปศึกษากับพระอาจารย์รุ่ง (หลวงพ่อรุ่ง) วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสาคร จากนั้นก็ได้ไปศึกษาวิปัสสนากับหลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน (วัดคลองมะดัน) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี และได้ธุดงค์ไปทางเหนืออีกหลายครั้ง พร้อมทั้งศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานต่อกับพระอาจารย์หลายอาจารย์ด้วยกัน ซึ่งในระยะนั้นหลวงปู่ไม่ค่อยได้อยู่วัดประดู่ฉิมพลี นอกจากเทศกาลเข้าพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วต่อจากนั้นท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปทางภาคใต้ และได้จำพรรษาอยู่ที่ปัตตานี จากนั้นท่านได้เลยไปจำพรรษาอยู่ที่สิงคโปร์หลายปี เมื่อหลวงปู่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลีตามเดิมแล้ว ท่าได้สร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งทำด้วยไม้สักประดับมุก และได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดในประเทศสิงคโปร์ (จำชื่อวัดไม่ได้) ปัจจุบันนี้รอยพระพุทธบาทจำลอง ได้กลายเป็นวัตถุโบราณไปแล้ว

เห็นทุกขเวทนา
เมื่อหลวงปู่โต๊ะได้อุปสมบทแล้วใหม่ๆ ได้มีโรคระบาดเกิดขึ้น คือ ไข้ทรพิษ หลวงปู่ท่านได้เป็นโรคนี้เหมือนกัน และเป็นชนิดร้ายแรงด้วย แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เมื่อถึงเวลานอนต้องใช้ใบตองรองนอน ต่อจากนั้นท่านได้ตักเอาน้ำขึ้นมาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าจะมีชีวิตอยู่ ขอให้จงเกิดมีนิมิตเห็นพระ ถ้าจะไม่มีชีวิตอยู่ก็ขออย่าให้ได้เห็นอะไรเลย และในคืนนั้นเอง หลวงปู่ท่านก็ได้นิมิตไปว่า หลวงพ่อวัดบ้านแหลมได้มาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ ครั้นรุ่งเช้าท่านก็ได้เอาน้ำพระพุทธมนต์ที่ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ทางศีรษะนอนขึ้นมาฉันและประพรมอีกครั้งหนึ่ง นับแต่นั้นมาโรคดังกล่าวก็ทุเลาเป็นปกติ

ตำแหน่งในทางคณะสงฆ์
หลวงปู่ท่านได้บริหารงานวัดด้วยความเที่ยงธรรมสม่ำเสมอ ประกอบด้วยเมตตาธรรมอนุเคราะห์ให้ได้รับความร่มเย็นทั่วหน้า ทางคณะสงฆ์จึงได้พร้อมใจถวายสมณะศักดิ์ให้แก่ท่านเป็นลำดับ ดังนี้

พ.ศ. ๒๔๕๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีเป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของพระอุดรคณารักษ์ วัดพระเชตุพนฯ

พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นพระครูสังฆวิชิต ฐานานุกรมของ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) วัดมหาธาตุ แต่ครั้งยังเป็นพระเทพโมลี

พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูวิริยกิตติ

พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทในราชทินนามเดิม (พัด จ.ป.ร.)

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดท่าพระ

พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นพระอุปัชฌายะ

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษในราชทินนามเดิม

พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ "พระสังวรวิมลเถร"

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ "พระราชสังวราภิมณฑ์"

ปฏิปทาและจริยาวัตร
หลวงปู่ท่านเป็นผู้เยี่ยมด้วยความสะอาด แห่งความประพฤติทั้งทางกาย วาจา ใจ และเยี่ยมด้วยจิตซึ่งทรงไว้ด้วยคุณธรรม กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และ วิมุตติญาณทัศนะตามลำดับ เป็นลูกศิษย์พระตถาคตผู้งกงามด้วยความประพฤติทั้งภายนอก และภายในไม่มีที่ติ มีความองอาจกล้าหาญต่อการละชั่ว ทำดี ดำเนินตามรอยบาทวิถีที่พระศาสดาพาดำเนิน เป็นผู้ซื่อตรงต่อตนเอง และต่อพระธรรมวินัย อยู่ที่ใดไปที่ใดมีสุขโตเป็นที่รองรับ มีโอชารสแห่งธรรมเป็นที่ซึมซาบ มีความสว่างไสวอยู่ด้วยสติปัญญาเป็นเครื่องส่องทาง ท่าเป็นผู้เทิดทูน ศาสนธรรม ไว้ได้ทั้งทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ อย่างเต็มภาคภูมิ

ตลอดเวลาที่ท่านทรงสมณเพศอยู่นั้น ท่านตั้งมั่นในสัมมาปฏิบัติ ที่ทรงดอกทรงผลตลอดต้นชนปลาย ท่านเป็นผู้รักสันโดษ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ท่านเอาใจใส่ต่อความเป็นอยู่ของพระภิกษุ-สามเณรอย่างใกล้ชิด ให้ความอนุเคราะห์สงเคราะห์อย่างสมเหตุสมผลอย่างสม่ำเสมอ กิตติศัพท์กิตติคุณฟุ้งขจรไปถึงไหน ก็เกิดความหอมหวนชวนให้เคารพเลื่อมใสในที่นั้นๆ และในการประชุมเพื่ออบรมธรรม ท่านก็เปิดโอกาสให้ผู้สนใจถามปัญหาธรรมะอยู่เป็นประจำ ซึ่งท่านก็ตอบอย่างกระจ่าวแจ้งชัดถ้อยชัดคำไม่มีอ้ำอึ้ง ยังความกระจ่างให้บังเกิดแก่ผู้ซักถามอย่างน่าอัศจรรย์แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นผู้แตกฉานในธรรมทั้งโดยอรรถ และโดยพยัญชนะ

หลวงปู่ท่านเป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยอัปจายนธรรม มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ถือตัว ในเรื่องนี้เป็นที่ประจักษ์ชัดในพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ไปพบปะสนทนาธรรมกับหลวงปู่ ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็น พระศาสนโสภณ จนถึงกับกราบอาราธนาให้หลวงปู่ไปสอนกรรมฐานบรรยายธรรมเป็นประจำที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่หลวงปู่ท่านก็ยังคงอ่อนน้อมถ่อมตน ทั้งที่พรรษายุกาลท่านมากกว่า

อัธยาศัยและกิจวัตร
พระราชสังวราภิมณฑ์ ท่านมีอัธยาศัยงดงาม สุภาพอ่อนโยน มากด้วยเมตตากรุณา ยินดีสงเคราะห์ อนุเคราะห์แก่ผู้อื่น สัตว์อื่น โดยเสมอหน้า ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นผู้ซื่อตรง ถ่อมตน ยึดมั่นในระเบียบประเพณีและความกตัญญูกตเวที ทั้งมีความภักดีในองค์พระมหากษัตริย์และพระบรมราชวงศ์อย่างแน่นแฟ้น ผู้ที่มีโอกาสได้เข้าใกล้ชิดคุ้นเคยกับท่าน จะยืนยันในความที่กล่าวนี้ได้ทุกคน อีกประการหนึ่ง ท่านเป็นคนหมั่นขยันและแน่วแน่ ตั้งใจทำสิ่งใดแล้วเป็นต้องทำจนสำเร็จ กิจที่ท่านปฏิบัติเป็นนิจในแต่ละวันจนตลอดชีพของท่าน คือ

๐๔.๐๐ น. ตื่นขึ้นเจริญสมณธรรม

๐๘.๐๐ น. นำภิกษุ-สามเณร ทำวัตรสวดมนต์ และเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

๑๔.๐๐ น. อนุเคราะห์ศิษย์ที่มาถวายสักการะบ้าง ที่มาขอบารมีธรรมบ้าง ที่มาสนทนาธรรมบ้าง

๑๘.๐๐ น. นั่งบำเพ็ญสมณธรรมไปจนถึง ๒๐.๐๐ น. แล้วนำภิกษุ สามเณรทำวัตรค่ำ

ในระยะหลังท่านนั่งบำเพ็ญสมณธรรมนานเข้าจนถึงเวลา ๒๒.๐๐ น. หรือ ๒๔.๐๐ น. โดยไม่ย่อท้อต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเนื่องแต่ความเสื่อมของสังขาร ในวันธรรมสวนะท่านจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาเป็นประจำ และทุกวันพฤหัสบดีจะมีภิกษุ สามเณรจากวัดต่างๆ รวมทั้งผู้สนใจในการปฏิบัติธรรม มาขอฝึกปฏิบัติกรรมฐานเป็นจำนวนมาก นับว่าท่านได้เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวอย่างยิ่งของคนทั่วไป

การปฏิบัติธรรม
พระราชสังวราภิมณฑ์ ท่านสนใจศึกษาด้านวิปัสสนาธุระมาแต่ยังเป็นสามเณร เท่าที่ทราบท่านศึกษากับพระอาจารย์พรหม วัดประดู่ฉิมพลีก่อน พระอาจารย์พรหมมรณภาพแล้ว จึงไปศึกษากับหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งหลวงปู่โต๊ะมีความชื่นชม และเคารพในความเก่งกล้าสามารถของหลวงพ่อรุ่ง เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ หลวงปู่โต๊ะ ยังได้ไปเรียนวิชาอาคมกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ก่อนหน้าที่หลวงพ่อเนียมจะมรณภาพในอีก 2-3 ปี ต่อมา แล้วออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือหลายครั้ง ต่อมาจึงได้มารู้จักคุ้นเคยกับหลวงพ่อสด คือ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำ ซึ่งมีอายุแก่กว่าท่าน ๔ ปี หลวงพ่อสดได้ชักชวนท่านให้ไปเรียนกับพระอาจารย์โหน่งที่จังหวัดสุพรรณบุรีอีกระยะหนึ่ง นอกจากนี้แล้วหลวงปู่โต๊ะ ยังได้เรียนวิชาเพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ ยานนาวา และอีกหลายพระอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น หลังจากนั้น ท่านก็กลับมาปฏิบัติจิตภาวนา โดยตัวของท่านเองที่วัดต่อมา

แม้ว่าท่านจะมีภารกิจในด้านบริหารหมู่คณะและการสงเคราะห์ อนุเคราะห์ผู้อื่นส่วนมากก็ตาม ท่านก็หาได้ละเลยเพิกเฉยส่วนวิปัสสนาธุระไม่ คงขะมักเขม้นฝึกฝนอบรม ตามโอกาสอันควรตลอดมา จึงปรากฏว่าท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจพระศาสนาส่วนนี้อยู่รูปหนึ่ง และโดยอัธยาศัยที่เคยอบรมด้านวิปัสสนาธุระมามาก จึงได้รับอาราธนาให้เข้าร่วมในพิธีประสิทธิ์มงคลต่างๆ แทบทุกงาน ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดจนถึงต่างประเทศ

เมื่อครั้งหลวงปู่โต๊ะ เริ่มได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหม่ๆ นั้น ท่านได้เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า เวลาที่ท่านจับสายสิญจน์ในพิธี ท่านจะรู้ได้ทันทีว่า ในพิธีนี้ มีพระอาจารย์องค์ไหนเก่ง หลังจากนั้นหลวงปู่ก็จะติดตามไปเรียนวิชา และศึกษาเพิ่มเติมจากพระอาจารย์องค์นั้น......

ตอนที่หลวงปู่โต๊ะ เป็นเจ้าอาวาส ใหม่ๆนั้น ท่านไม่ค่อยจะได้อยู่ที่วัด ในช่วงออกพรรษาท่านมักจะออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ บางครั้งก็หายเข้าไปในป่าลึกนานๆ หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ไปถึงทางภาคใต้ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งที่ จ.ปัตตานี ท่านยังธุดงค์ไปถึงทางภาคเหนือ ไปนมัสการพระพุทธบาท 4 รอบ และพระบรมสารีริกธาตุหลายครั้ง ได้จำพรรษาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ และได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่างๆ จากหลายพระอาจารย์อีกด้วย......

หลวงปู่โต๊ะท่านไม่ชอบความอึกทึกครึกโครม หลวงปู่เป็นพระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านชอบเก็บตัวเงียบๆ ภายในกุฏิ บางครั้งท่านจะออกจากวัดประดู้ฉิมพลี เดินลัดสวนผ่านหน้าวัดสังขจายน์ ไปยังวัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ คณะ 5 เพื่อสนทนาธรรม และแลกเปลี่ยวิชาอาคมกับสหธรรมิก อาทิ พระครูพรหมยานวินิต (หลวงพ่อกล้าย) , พระครูญาณสิทธิ์ (เชื้อ) , หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง และ พระพันโทหลวงจำรัส....

ต่อมาระยะหลัง หลวงพ่อกล้าย ได้สร้างคณะ และหอสวดมนต์ มีผู้คนพลุกพล่านมาก หลวงปู่จึงไม่ได้ไปที่นั่นอีก ท่านเห็นว่า ที่กุฏิท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิเมธี (เจีย) วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ท่าเตียน เป็นสถานที่เงียบสงบดี หลวงปู่จึงมักไปที่นั่นเสมอ เวลาใครจะนิมนต์ท่านไปไหน ก็มักไปหาท่านที่กุฏิท่านเจ้าคุณเจีย....

ผู้คนเริ่มรู้จักหลวงปู่โต๊ะจริงๆ ตอนที่ท่านมีอายุ ๗๗ - ๗๘ ปี ในช่วงนั้นท่านได้รับกิจนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษกบ่อยมาก เวลาที่ท่านไปถึงในงานพิธีฯท่านจะตรงเข้าไปกราบพระประธานก่อนเสมอ แล้วท่านจะขึ้นนั่งปรกทันที เมื่อช่วงพัก หลวงปู่มักจะถามว่า “มีพระเปลี่ยนฉันหรือเปล่าจ๊ะ” ถ้าญาติโยมตอบว่า “นิมนต์หลวงปู่ตามสบาย” หลวงปู่ก็จะขึ้นนั่งปรกต่อ และจะนั่งต่อไปจนเสร็จพิธี ท่านจะปฏิบัติเช่นนี้ต่อเนื่องกันเสมอมาทุกพิธี จนเป็นที่รู้กันในบรรดาพระคณาจารย์และถวายเกียรติให้หลวงปู่เป็นประธานในพิธีนั่งปรกบริกรรมเสมอ เวลาท่านนั่งปรกแต่ละพิธี จะใช้เวลา ๓ ถึง ๔ ชั่วโมง บางทีไปนั่ง ๓ ถึง ๔ วัดในวันเดียวกันก็มี พอเข้าพิธีก็จะนั่งหลับตานิ่งไม่ขยับเขยื้อน หรือเปลี่ยนอิริยาบถใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจะนั่งตัวตรง หลังไม่ติดพนักธรรมาสน์ เดินลมหายใจอย่างสม่ำเสมอ

ถ้ำสิงโตทอง
พระราชสังวราภิมณฑ์ท่านมีสถานที่บำเพ็ญธรรมของท่านอีก ๒ แห่ง คือที่สำนักสงฆ์ถ้ำสิงโตทองแห่งหนึ่ง และที่วัดพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งท่านไปสร้างกุฏิไว้อีกแห่งหนึ่ง ที่วัดพระธาตุสบฝางท่านไม่ค่อยได้ไปจึงจะไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงถ้ำสิงโตทองแต่เพียงแห่งเดียว

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านได้เดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี ได้ไปพบกับพระมานิตย์เข้าพระมานิตย์พูดกับท่านถึงถ้ำสิงโตทอง ที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี และชวนท่านให้ไปชม หลังจากนั้นท่านก็มีโอกาสได้ไป และไปเห็นว่าสถานที่นั้นเป็นที่สงบสมควรแก่นักปฏิบัติธรรม ทั้งอยู่ไม่ห่างไกลกรุงเทพ ฯ มากนัก ท่านจึงไปอยู่ปฏิบัติธรรมที่ถ้ำสิงโตทองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ แล้วเริ่มปรับปรุงให้มีความสะดวก เหมาะสมที่จะตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรม คือได้สร้างกุฏิสำหรับท่านพักหลังหนึ่ง กุฏิเล็กอีกหลายหลัง ตามไหล่เขาข้างถ้ำสิงโตทอง พร้อมทั้งโรงครัวและที่พัก สำหรับลูกศิษย์ที่ประสงค์จะติดตามไปค้างแรมหาความสงบสุข อยู่กับท่าน ท่านได้สร้างพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปแบบและปางต่าง ๆ เช่น แบบพระพุทธชินราช พระปางลีลา ปางมารวิชัย กับรูปเจ้าแม่กวนอิม เชิญไปไว้ที่ถ้ำในบริเวณใกล้ ๆ กันนั้นขึ้นอีกหลายแห่ง ได้เชิญพระพุทธรูปที่ผู้มีศรัทธาสร้างถวาย ไปประดิษฐานไว้ให้สักการะกัน ครั้งหลังที่สุดท่านได้สร้างรูปพระมหากัจจายนะนำไปประดิษฐานไว้ที่หน้าถ้ำกลาง ต่อมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พระมานิตย์ซึ่งรับหน้าที่ดูแลถ้ำสิงโตทองมรณภาพลง ท่านได้ส่งพระรูปอื่นไปดูแลแทน ได้มีผู้ศรัทธาถวายที่ดินเพิ่มให้อีก ท่านจึงวางโครงการก่อสร้างให้เพิ่มเติมอีก จะสร้างโบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงเรียนเด็กสำหรับลูกชาวไร่ สระน้ำ พร้อมกับซื้อที่บริเวณหน้าถ้ำเติมอีก ๙๐ ไร่เศษ รวมกับเนื้อที่เดิมเป็น ๑๔๐ ไร่ ทำถนนเชื่อมกับถนนส่วนใหญ่ ให้เป็นทางเข้าออกที่สะดวก องค์ท่านควบคุมดูแลการดำเนินงานนี้อย่างใกล้ชิด

ประวัติการสร้างพระเครื่องของพระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ)
เกี่ยวกับประวัติในการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น พระเครื่องชุดแรกสุดของท่าน จะมีทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ด้วยกัน เช่น พระสมเด็จสามชั้น พิมพ์ขาโต๊ะ, พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น และ พระสมเด็จสามชั้นพิมพ์หูบายศรี เป็นต้น

พระเครื่องทั้ง ๑๓ พิมพ์นี้ หลวงปู่โต๊ะได้ลงมือสร้างด้วยความตั่งใจ และปรารถนาจะให้ขลังเป็นพิเศษ โดยพยายามเสาะหาวัตถุดันเป็นมงคลและอาถรรพ์เวทย์ต่างๆ ที่มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์มาทำ และกดพิมพ์ด้วยมือของท่านเองเป็นส่วนใหญ่ เพราะหลวงปู่ได้ผู้ช่วยทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัคร อันประกอบด้วยพระเณร และฆราวาสมาจากวัดพลับ บางกอกใหญ่ คอยแนะนำส่วนผสมและวิธีการสร้างพระเครื่องต่างๆ

ผงพุทธคุณที่หลวงปู่ได้เสาะหามาผสมในการสร้างพระเครื่องชุดแรกนี้ มีผงวิเศษที่จัดเป็นแม่เชื้อของผงทั้งหมดโดยในยุคที่หลวงปู่ออกธุดงค์บ่อยๆ นั้น หลวงปู่ได้เคยไปธุดงค์ด้วยกันกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และหลวงพ่ออีกองค์หนึ่งซึ่งจำชื่อและความเป็นมาไม่ชัดเจน

เมื่อท่านได้กลับมาที่วัดประดู่ฉิมพลีแล้ว ท่านทั้งสามก็ได้ทบทวนวิชาที่ได้เล่าเรียนกันมา ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาคล้ายกัน ต่างจึงตกลงที่จะเขียนสูตรผงนั้น โดยใช้ดินสอพองมาละลายน้ำมนต์แล้วปั้นเป็นแท่งเหมือนกับชอล์ก แล้วเอาใบตำลึงมาตำ คั้นน้ำมาทาแท่งดินสอพองเวลาจับจะได้ไม่ติดมือ จากนั้นก็จะลงมือเขียนตามอักขระเลขยันต์ จากปถมัง ตรีสิงเห อิทธิเจ และมหาราช ว่าไปจนครบสูตร จะเว้นไม่ได้ หากขาดไปวันหนึ่งก็ต้องเอาผงที่เขียนไว้แล้วมารวมกัน แล้วเขียนขึ้นมาใหม่ทำทุกวันต่อเนื่องกันไปจนครบสูตร

เมื่อเขียนเสร็จได้เท่าไร ต่างองค์ต่างก็จะแบ่งขึ้นมาเป็นสามกอง โดยต่างองค์ก็จะมอบให้แก่กันองค์ละกอง แล้วจึงเอาผงทั้งหมดมาผสมรวมกัน ผงที่สร้างขึ้นมานี้ ก็จะเป็นสีขาวเรื่อๆ เล็กน้อย นวลละเอียด มีพุทธคุณทางเมตตา และทางด้านอื่นๆ อีกสูงมาก ผงวิเศษที่สร้างขึ้นมานี้ก็คือ ผงวิเศษหรือที่ลูกศิษย์ของท่านได้เรียกกันว่าเป็นผง อิทธิเจ

ส่วนผสมผงทั้งหมดที่ได้มานั้น มีของวัดพลับมากที่สุดซึ่งเป็นพระวัดพลับที่ชำรุด และแตกหักจากคราวกรุแตก นอกจากนี้ ยังได้มวลสารสำคัญคือผงจากพระสมเด็จ วัดระฆังฯ ธนบุรีจำนวนเล็กน้อย ซึ่งเป็นของฆราวาสบ้านอยู่ใกล้กับวัดระฆังฯ

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะ
ด้วยความประสงค์ที่จะให้พระเครื่องของท่านมีความขลัง และดูน่าบูชา ท่านจะเอาพระเครื่องเหล่านี้ไปแช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ซึ่งตั้งอยู่ในโบสถ์ และปลุกเสกตลอดพรรษา

วิธีการแช่พระเครื่องในตุ่มน้ำมนต์ของหลวงปู่โต๊ะนั้น ลูกศิษย์หลวงปู่ท่านหนึ่งได้เล่าให้ฟังว่า ตุ่มมังกรที่ใช้ใส่น้ำมนต์นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายใบมีขนาดแตกต่างกัน เล็กบ้างใหญ่บ้าง บางตุ่มก็จะมีดิน มีทรายปะปนอยู่ด้วย และในระหว่างนั้น ถ้าหากว่ามีใครเอาพวงมาลัยดอกไม้สดมาถวายแด่หลวงปู ท่านก็จะเอาพวงมาวัยนั้น ใส่ลงไปในตุ่มมังกรน้ำมนต์นั้นด้วย เป็นการหมักเอาดอกไม้สดปนอยู่ในน้ำมนต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สีสันขององค์พระแตกต่างกันออกไป

หลวงปู่จะตั้งจิตอธิษฐาน ปลุกเสกภาวนา พระเครื่องที่แช่น้ำมนต์ในตุ่มมังกร ไปเรื่อยๆ ตลอดพรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ก็จะเอาพระเครื่องที่แช่ในน้ำมนต์จนได้ที่แล้วนั้น ออกมาแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา และผู้ที่ไปหาท่านในตอนนั้น ถ้าหากพระเครื่องแช่ไว้นานกว่านั้น พระจะติดกันเป็นก้อน

คราบต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนองค์พระจึงไม่เหมือนกัน บางตุ่มที่ใส่น้ำมนต์ใหม่ๆ น้ำยังใสอยู่ องค์พระที่แช่ไว้ คราบจะออกขาวเล็กน้อย ถ้าหากเป็นตุ่มเก่า ที่แช่น้ำมนต์มาก่อนนานเป็นพรรษา คราบน้ำมนต์ก็จะตกตะกอนมีคราบจับเกาะเป็นปื้น มีสีน้ำตาลหรือสีสนิมชัดขึ้น เรื่องของคราบน้ำมนต์ที่เกาะบนองค์พระ จึงมีความแตกต่างกันไป

ในการกดพิมพ์สร้างพระเครื่องของหลวงปู่โต๊ะนั้น ท่านจะกดพิมพ์ไปเรื่อยๆ เมื่อมีเวลาว่าง หลวงปู่จะทำด้วยความเพลิดเพลิน สบายใจ และทำด้วยใจรักยิ่ง หลวงปู่จะกดพิมพ์พระสลับกันไปทั้ง ๑๓ พิมพ์ โดยไม่ได้เจาะจงว่า จะทำพิมพ์นั้นจำนวนเท่านี้ พิมพ์นี้จำนวนเท่านั้น และพระทั้งหมด ๑๓ พิมพ์ ทำไว้จำนวนเท่าไร หลวงปู่ก็ไม่ได้กำหนดไว้เป็นหลักฐาน ท่านเพียงแต่บอกว่า ได้ลงมือสร้างพระมาตั้งแต่ตอนที่ท่านอายุได้ ๓๐ ปีเศษๆ

หลวงปู่ยังบอกด้วยว่า มีพระเณร และฆราวาสจากวัดพลับมาช่วยเห็นกำลังสำคัญในการสร้างพระเครื่องรุ่นแรกนี้ ตั้งแต่เริ่มต้น รวมทั้งการแกะบล็อกแม่พิมพ์พระเครื่องชุดแรกนี้ด้วย

มีลูกศิษย์เคยถามหลวงปู่ว่าบล็อกแม่พิมพ์พระ ๑๓ พิมพ์นี้ ใครเป็นผู้แกะแบบพิมพ์ หลวงปู่บอกว่า ตัวท่านเองก็จำไม่ได้แน่นอน เพราะเป็นเวลาผ่านมานานแล้ว ท่านจำได้แต่เพียงว่า บล็อกแม่พิมพ์ของพระสมเด็จ พิมพ์ขาโต๊ะ นั้น ท่านได้มาจากฆราวาสผู้หนึ่ง ซึ่งฆราวาสผู้นี้ได้ไปพบบล็อกแม่พิมพ์อันนี้เข้าโดยบังเอิญ ที่บนขื่อหรือบนเพดานของหลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอัมรินทราราม บางกอกน้อย ธนบุรี

หลังจากที่หลวงปู่โต๊ะ ได้ใช้บล็อกแม่พิมพ์อันนี้ กดพิมพ์พระสมเด็จขาโต๊ะได้จำนวนหนึ่ง ไม่นานนัก (ไม่กี่ร้อยองค์) หลวงพ่อโชติ วัดตะโน ได้มาขอยืมบล็อกแม่พิมพ์นี้ไปจากหลวงปู่โต๊ะ ต่อมาบล็อกแม่พิมพ์อันนี้ก็ได้หายไป นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายออย่างยิ่ง

หลวงปู่จะทำพระเครื่องชุดแรกนี้ ร่วมกับอาสาสมัครจากวัดพลับ จนหลวงปู่มีความชำนาญ และเข้าใจวิธีการสร้างพระทุกอย่างทุกขั้นตอนได้ดีแล้ว หลังจากนั้นหลวงปู่จะกดพิมพ์พระด้วยมือของท่านเองมาโดยตลอด และได้พิมพ์สร้างพระเครื่องชุดแรกนี้มาเรื่อยๆ ทั้ง ๑๓ พิมพ์ สลับกันไป สร้างไปแจกไป ไม่หวงแหนเลย ใครมาหาท่านในช่วงนั้น ท่านก็จะแจกพระเครื่องให้เสมอ

จวบจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๐ กว่า ในวันหนึ่ง หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปฉันเพลที่ตลาดพลู ไปพบกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

หลวงสด ได้ถามหลวงปู่โต๊ะว่า ผงพุทธคุณที่ได้สร้างกันขึ้นมานั้น ได้เอาไปทำอะไรบ้าง หลวงปู่ตอบว่า ได้เอาไปสร้างพระเครื่องแล้ว และก็ได้แจกจ่ายพระเครื่องนั้นให้กับลูกศิษย์ตลอดเวลาที่ผ่านมา

หลวงพ่อสด จึงได้บอกกับหลวงปู่โต๊ะว่า อย่านำผงไปสร้างพระแจกหมดเสียก่อน ให้รอท่านด้วย ท่านจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม จะได้ขอผงมาสร้างพระแจกบ้าง

หลังจากนั้นมา หลวงปู่โต๊ะ จึงได้เพลามือในการแจกพระเครื่องรุ่นแรก ๑๓ พิมพ์ของท่าน พร้อมกับแบ่ง ผงพุทธคุณ จำนวนหนึ่ง ให้กับหลวงพ่อสด เพื่อเอาไปสร้างพระผงของขวัญ จนเป็นที่โด่งดังในเวลาต่อมา

ในตอนนั้น ถ้าหากหลวงปู่โต๊ะไม่ได้รับการบอกกล่าวจากหลวงพ่อสดหลวงปู่ก็คงจะแจกพระเครื่องของท่านไปจนหมด ไม่เหลือมาให้ได้แจกกับศิษย์รุ่นหลังๆ ยังมีโอกาสได้รับพระจากมือของหลงวงปู่โดยตรงอีกจำนวนมากมายหลายท่านด้วยกัน

อย่างไรก็ตาม พระเครื่องรุ่นแรกนี้ หลวงปู่ก็ได้แจกไปจนหมดสิ้นแล้วมิได้เหลือให้แจกกันอีก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๒ เป็นต้นมา

นอกจากพระเครื่องขุดแรก ๑๓ พิมพ์นี้แล้ว หลวงปู่ยังได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำ พระกลีบบัวเนื้อเมฆพัด, พระสมเด็จพิมพ์ห้าชั้น, พระสมเด็จพิมพ์คะแนน และพระสมเด็จเนื้อผงผสมชานหมากก่อนปี ๒๕๐๐ อีกด้วย

หลังจากปี ๒๕๐๐ ไปแล้ว หากมีการสร้างพระเครื่องของหลวงปู่ ทั้งของวัดหรือนอกวัดก็ตาม ลูกศิษย์และฆราวาสที่มีความเคารพนับถือ และศรัทธาในตัวหลวงปู่ จะเป็นผู้ขออนุญาตจากหลวงปู่ แล้วจัดทำและสร้างมาถวายให้ทั้งนั้น แต่หลวงปู่ท่านก็ตั้งใจปลุกเสกให้อย่างเต็มที่ ดังเราจะเห็นได้จากความนิยมของวงการพระเครื่อง ที่ได้ให้ความสนใจในพระปิดตาจัมโบ้, พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้รุ่นสอง และพิมพ์อื่นๆ อีกหลายพิมพ์ด้วยกัน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเครื่องรุ่นหลังๆ นี้พระปิดตาเกือบทุกพิมพ์ต่างก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ทั้งราคาเช่าหาก็จัดว่าไม่แพงจนเกินไป แต่ก็เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปิดตาทุกๆ พิมพ์นั้น ทางวัดได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้ว จะเหลือก็แต่จำนวนเพียงเล็กน้อยที่ท่านพระครูวิโรจน์กิตติคุณ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ท่านได้เก็บรักษาเอาไว้เพื่อตอบแทนสมนาคุณ แก่ผู้ที่มาร่วมเป็นกรรมการบำเพ็ญกุศล เป็นเจ้าภาพคล้ายวันมรณภาพของหลวงปู่โต๊ะ วันที่ ๕ มีนาคมของทุกปีเท่านั้น

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้หลวงปู่โต๊ะ ผู้เขียนก็อยากจะขอแนะนำให้ท่านลองแวะไปนมัสการดูสักครั้ง ท่านจะได้มีโอกาสสักการะ บูชารูปหล่อของหลวงปู่ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อไว้ และจะได้กราบไหว้หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่โต๊ะเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวท่านเองด้วย

เบื้องปลายชีวิต
พระราชสังวราภิมณฑ์ อยู่ในสมณเพศมาตั้งแต่อายุได้ ๑๗ ปี ท่านได้เล่าเรียนพระธรรมวินัย มีความรู้แตกฉานลึกซึ้ง และถือวิปัสสนาธุระเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตอันยาวนานถึง ๙๔ ปีของท่าน เป็นรัตตัญญูผู้รู้กาลนาน เป็นครูของสาธุชนทุกหมู่เหล่า เป็นที่เคารพบูชา ศรัทธาเลื่อมใสของบุคคลทุกเพศวัย ทุกชาติชั้น นับแต่สามัญบุคคลจนถึงองค์พระประมุขของชาติ แม้อายุพรรษาจะมากเพียงใด ท่านก็มิได้ขัดศรัทธาของผู้ที่อาราธนาไปในการบุญกุศลต่างๆ มีการไปนั่งเจริญสมาธิภาวนาอำนวยสิริมงคล เป็นต้น จึงในระยะหลังๆ นี้ทำให้สังขารร่างกายท่านต้องตรากตรำมากเกินไป และเกิดอาพาธขึ้นบ่อยๆ แม้จะได้รับการเยียวยารักษาและดูแลพยาบาลอย่างดีเพียงใด กายสังขารของท่านก็ทนอยู่ไม่ไหว ท่านอาพาธครั้งสุดท้ายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ หลังจากกลับจากถ้ำสิงโตทอง มีอาการอ่อนเพลียลงตามลำดับ ก่อนมรณภาพ ๗ วัน ท่านลุกจากเตียงไม่ได้เลย แต่ยังพอฉันได้บ้าง นายแพทย์ต้องให้น้ำเกลือทุกวัน อาหารนั้นถวายข้าวต้มกับรังนกตุ๋น ทุกเช้าราว ๐๗.๐๐ น. ถึงวันที่ ๕ มีนาคม เวลาเช้าศิษย์ผู้พยาบาลก็ถวายข้าวต้มกับรังนกอีก คราวนี้สังเกตเห็นว่าแขนข้างขวาท่านบวม จึงกราบเรียนกับท่านว่า "แขนหลวงปู่บวมมาก" ท่านก็พยักหน้ารับคำแล้วฉันและหลับตาพักต่อไป โดยให้ออกซิเจนช่วยการหายใจตลอด เวลา ๐๙.๐๐ น. ท่านอ่อนแรงลงอีก และพอถึงเวลา ๐๙.๕๕ น. ท่านก็สิ้นลมด้วยอาการสงบดุจนอนหลับไป ณ กุฏิสายหยุด นับอายุได้ ๙๓ ปี ๑๐ เดือน กับ ๒๒ วัน

ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ควรทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้เชิญศพไปตั้งที่ศาลา ๑๐๐ ปี วัดเบญจมบพิตร พระราชทานเกียรติยศศพเป็นพิเศษเสมอ พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเครื่องประกอบเกียรติยศครบทุกประการ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์แก่การศพโดยตลอด เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน และตามโอกาสอันควรหลายวาระ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และในการบำเพ็ญพระราชกุศลออกเมรุและพระราชทานเพลิงเผาศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระราชสังวราภิมณฑ์ ตลอดจนศิษยานุศิษย์ ทุกคนหาที่สุดมิได้

โดยคุณ supperA (2.1K)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 10:17 น.] #137902 (5/13)
5. ประวัติหลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ

หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู" เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา

สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง

เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา

เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ

รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์

เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า

พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย

พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด

ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม

รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที

อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม" ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม

ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด" ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"

ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย

ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น

พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา

โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"

กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา

ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง

สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา

เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้

เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป

เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้

สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา

สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้

ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป

*** คัดลอกจาก http://www.manager.co.th ***

หลวงปู่ทวด เป็นพระภิกษุในสมัยอยุธยาในแผ่นดินของ สมเด็จพระเอกาทศรถ แต่เดิมท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโค๊ะ จึงมีอีกสมญานามหนึ่งว่า สมเด็จพะโค๊ะ
มีเรื่องเล่าว่า ตอนที่ท่านเดินทางโดยเรือผ่านอ่าวไทยเพื่อเข้ากรุงศรีอยุธยานั้นก็เกิดคลื่นลมทะเล ปั่นป่วนขึ้น เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ ต้องทอดสมออยู่กลางทะเลถึง ๗ วัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมด บรรดาลูกเรือจึงตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดอาเภทในครั้งนี้เป็นเพราะท่านที่เป็นภิกษุ จึงตกลงใจ ส่งท่านขึ้นเกาะได้นิมนต์ท่านให้ลงเรือมาด ขณะที่ท่านนั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าซ้ายแช่ลงไปในน้ำทะเลได้บังเกิดอัศจรรย์ขึ้น เมื่อน้ำทะเลบริเวณนั้น เกิดประกายแวววาว โชติช่วง ท่านจึงบอกลูกเรือให้ตักน้ำขึ้นมาดื่ม เมื่อดื่มน้ำนั้นก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาเรือจึงนิมนต์ ให้ท่าน ขึ้นเรือสำเภา อีกครั้ง ท่านจึงมีอีกหนึ่งสมญานามว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด”เมื่อท่านใกล้จะมรณะภาพได้สั่งญาติโยมว่าให้นำศพท่านไปฌาปณกิจ ที่วัดช้างไห้
ส่วนผู้สร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ ก็คือ อาจารย์ทิม (พระครูวิสัยโสภณ ทิม ธฺมมธโร )อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างไห้ ซึ่งปัจจุบันได้มรณภาพไปแล้วตั้งแต่ ปี พ.ศ 2512 ส่วนพระเครื่องหลวงปู่ทวดนี้เริ่มสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ 2497 โดยวัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อแจกให้กับญาติโยมที่มาร่วมกันสร้าง พระอุโบสถวัดช้างไห้

โดยคุณ supperA (2.1K)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 10:40 น.] #137908 (6/13)
ยังมีพระเกจิอีหลายท่านที่ผมศรัทธา บางท่านผมได้ลงประวัติไปบ้างแล้วอาทิ
หลวงปู่จ้อย วัดศรีอุทุมพร เทพเจ้าแห่งโชคลาภ และผู้พัฒนาแห่งชาวปากน้ำโพ " ,
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน "พระเกจิผู้เมตตา ผู้สืบทอดวิชาจาก หลวงพ่อเดิม และหลวงพ่อพรหม "
หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองสีนวล " พระเกจิผู้มีวิชาสุดยอดไสยศาสย์มีดหมอควาญช้าง "
หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ " พระเกจิสุดยอดวิชาผงพรายกุมารที่โด่งดัง "
หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง " พระเกจิผู้สร้างตำนานสุดยอดตะกรุดแห่งแดนสยาม"
ซึ่งมีโอกาสจะพยายามนำมาให้ทุกท่านที่สนใจ ได้ศึกษาข้อมูลต่อไปนะครับ
-- ท้ายสุดนี้หากข้อมูลที่นำมานี้มีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใด ต้อขอโทษไว้ล่วงหน้าด้วย สวัสดี มีชัยทุก ๆท่านคร้าบบบบ...----

โดยคุณ มังกรไฟ15 (461)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 13:47 น.] #137931 (7/13)
ขอบคุณครับ ที่นำมาเผยแพร่ให้ทราบโดยทั่วกัน

โดยคุณ ขาจรประจำ (622)(1)   [อา. 19 ส.ค. 2550 - 17:35 น.] #137994 (8/13)
ขอแจมด้วยครับ (แม้ไม่ได้รับเชิญ)

คาถาอาราธนามีดหมอ ที่ว่า

" สักกัสสวชราวุทธัง เวสสุวันนสะคะธาวุทธัง ยะมะสะนัยนาวุทธัง ณารายยะสะจักกะราวุทธัง ปัญจะอาวุทธานัง เอเตลังอานุภาเวนะ .............

เห็นว่า น่าจะเป็น

สักกัสสะ วะชิราวุธัง (แปลว่า ท้าวสักกะ (พระอินทร์) มีวชิระ (สายฟ้า) เป็นอาวุธ)
เวสสุวัณณัสสะ คฑาวุธัง (ท้าวเวสสุวรรณ มีคฑา (ตะบอง) เป็นอาวุธ)
ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง (พระยม มีดวงตา เป็นอาวุธ)
นารายะณัสสะ จักกาวุธัง (จักราวุธัง) ( พระนารายณ์ มีจักร เป็นอาวุธ)
ปัญจะอาวุธานัง เอเตสัง อานุภาเวนะ (ด้วยอานุภาพของอาวุธ 5 ประการ เหล่านี้ คือ)

ดูเหมือนอาวุธ จะมีเพียง 5 อย่าง (คือ สายฟ้า, ตะบอง, ดวงตา และ จักร) แต่ใช้ศัพท์ว่า ปัญจะ ซึ่งแปลว่า 5 (เอกะ - 1, ทวิ - 2, ติ,ไตร - 3, จตุ - 4, ปัญจะ, เบญจะ - 5 ฯลฯ) (อาวุธ 5 ประการ) นับว่าไม่สอดคล้องกัน

ในตำรายันต์อาวุธ 4 ประการ นั้น มีดังนี้ว่า

สักกัสสะ วะชิราวุธัง (สายฟ้าของท้าวสักกะ)
ยะมะนัสสะ นะยะนาวุธัง (ดวงตาของพระยม)
เวสสุวัณณัสสะ คะฑาวุธัง (ตะบองของท้าวเวสสุวรรณ) และ
อาฬะวะกัสสะ ทุสาวุธัง (ผ้าโพกของอาฬวกยักษ์)

แต่ถ้าเพิ่ม

นารายะณัสสะ จักกาวุธัง (จักราวุธัง) (จักร ของพระนารายณ์)

ก็เป็นอาวุธ 5 ประการ พอดี

ขอบคุณครับ

เพิ่มเติม
1. คำว่า อาวุธ (ภาษาไทย) เป็นคำที่นำมาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ซึ่งมีรูปเป็น อาวุธ ไม่ใช่ อาวุทธ

2. วชิร (บาลี) วชฺร (สันสกฤต) ใช้นำมาไทยว่า วชิระ, วิเชียร, วัชระ ฯลฯ

3. นัยน์ตา นั้น คำบาลี เป็น นยน (เขียนอย่างไทยว่า นะยะนะ) และประกอบเป็นคำบาลีว่า นยาวุธํ (ถอดอย่างไทยว่า นะยะนาวุธัง)

4. จักก (บาลี) ส่วน จักร (สันสกฤต) ใช้อย่างบาลี เป็น จักกาวุธัง, ใช้อย่างสันสกฤต เป็น จักราวุธัง)

5. พระนารายณ์ คำบาลีและสันสกฤตใช้ว่า นารายณ (เขียนอย่างไทย เป็น นา รา ยะ ณะ) ประกอบฉัฏฐีวิภัตติ (แปลว่า ของ, แห่ง) ก็เป็น นารายะณัสสะ (ของพระนารายณ์, แห่งพระนารายณ์)

พอดี จบปริญญาโท ทางด้านบาลีและสันสกฤตมานะครับ
ไม่ได้มีเจตนา จะดัดแปลง/เปลี่ยนแปลง/แย้งใดๆ

ขอบคุณอีกครั้งหนึ่งและขออภัยด้วยถ้าไม่ถูกใจใครๆ

โดยคุณ ขาจรประจำ (622)(1)   [อา. 19 ส.ค. 2550 - 17:40 น.] #137996 (9/13)
แก้

3. ............. ประกอบเป็นคำบาลีว่า นยาวุธํ (ถอดอย่างไทยว่า นะยะนาวุธัง)

เป็น

3. ............. ประกอบเป็นคำบาลีว่า นยนาวุธํ (ถอดอย่างไทยว่า นะยะนาวุธัง)

(นยาวุธํ > นยนาวุธํ)


โดยคุณ ขาจรประจำ (622)(1)   [อา. 19 ส.ค. 2550 - 17:42 น.] #137997 (10/13)
แก้อีก

ดูเหมือนอาวุธ จะมีเพียง 5 อย่าง (คือ สายฟ้า, ตะบอง, ดวงตา และ จักร) .............

เป็น

ดูเหมือนอาวุธ จะมีเพียง 4 อย่าง (คือ สายฟ้า, ตะบอง, ดวงตา และ จักร) .............


โดยคุณ มังกรไฟ15 (461)  [อา. 19 ส.ค. 2550 - 22:12 น.] #138113 (11/13)
โอ้ เยี่ยมยอดจริงๆครับ คุณขาจรประจำ ขอบคุณที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ

โดยคุณ tagami (593)  [จ. 20 ส.ค. 2550 - 13:35 น.] #138368 (12/13)
ขอบคุณครับพี่supper a และความรู้เพิ่มเติมดีๆจากพี่ขาจรประจำ ยอดเยี่ยมครับ

โดยคุณ wandeepoomanee (610)  [ส. 01 ก.ย. 2550 - 17:39 น.] #144231 (13/13)
ยอดเยี่ยมความรู้ ข้อมูลเยอะนะครับ จากประวัติหลวงปู่เดิม ลูกคนที่4 นายดวน ภู่มณี เป็นปู่ของผมเองครับ ฮิฮิฮิ ผมนายวันดี ภู่มณี

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1