ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : สอบถามพี่ๆเรื่องประมูลพระไม่ทราบที่มา แต่พอลองส่งประกวดดู กลับเป็นพระไม่แท้

(N)
(((((ประมูลพระไม่ทราบที่มา แต่พอลองส่งประกวดดู กลับเป็นพระไม่แท้
ก็เลยโทรสอบถามที่จี เค้าบอกกรณี ไม่ทราบที่ ถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่าเคาะ เพราะผู้ขาย ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด..ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้...เพราะพระมีหลายเกจิ อาจารย์สร้าง อาจมีลักษณะคล้ายกัน))))))

เลยอยากจะสอบถามว่า ถ้ารายกวนประมูลนั้นๆ ลงรายละเอียดว่า ไม่ทราบที่ ต่อให้ ไม่แท้ก็คืนไม่ได้ใช่ป่าวคะ มีกฎความพึงพอใจ 3 วัน แต่รอส่งประกวดดู 2-3 อาทิตย์ ถ้ากองประกวดไม่รับเข้า ก็ คืนไม่ได้ใช่ป่าวคะ

เพราะเคยเห็นคนอื่นขอคืนแล้ว เจ้าของพระก็จะบอกว่า (คืนแบบนี้ผมก็เสียเปรียบสิพระไม่ทราบที่ คุณเอาไปถ้าแท้คุณก็ฟลุคไปสบายตัว แต่ผมไม่ได้อะไร แต่พอเก๊คุณก็ขอคืน แบบนี้ คนลงประมูลก็จะเสียเปรียบ อะไรประมาณนี้ค่ะ)

เลยมาขอคำแนะนำพี่ๆค่ะ ปล หนูไม่เคยคืนค่ะ บางทีได้ไม่ทราบที่มาแพงๆแต่ส่งดูไม่แท้ก็ถือว่าเป็นครู ใจเค้าใจเราค่ะ แต่บางทีก็มีคนหัวหมอมาลงไม่ทราบที่ ทั้งๆที่ตัวเองรู้ดีค่ะ รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ^^

โดยคุณ babie_girl (1.3K)(11)   [อา. 18 ต.ค. 2558 - 14:28 น.]



โดยคุณ nooing (28.8K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 15:33 น.] #3689845 (1/19)
แล้วที่ถามที่ สนง. มา ได้ถามมาทั้งหมดตามนี้หรือเปล่า แล้วสำนักงานตอบว่าไงครับ เพื่อนสมาชิกจะได้ทราบไว้เป็นแนวทางครับ





โดยคุณ พระพิรุณ (3.1K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 15:59 น.] #3689849 (2/19)
ข้อแรก ไม่ทราบที่ ต่อให้ ไม่แท้ก็คืนไม่ได้ใช่ป่าวคะ
ตอบ ไม่แท้ คืนได้ครับ ( ที่ จีนะ )
ข้อสอง มีกฎความพึงพอใจ 3 วัน แต่รอส่งประกวดดู 2-3 อาทิตย์ ถ้ากองประกวดไม่รับเข้า ก็ คืนไม่ได้ใช่ป่าวคะ
ตอบ ต้องส่งออกบัตรที่จี ครับ ไม่เกี่ยวกับการประกวด
สุดท้าย ส่งตรวจสอบ ที่ จีครับ ไม่แท้ ก็คืนครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 16:26 น.] #3689851 (3/19)
(ข้อความจาก สนง.) ก็เลยโทรสอบถามที่จี เค้าบอกกรณี ไม่ทราบที่ ถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่าเคาะ ===> สนง.ตอบว่า ไม่แน่ใจอย่าเคาะ

(((( น่าจะจบที่ข้อแรก ))))



(ข้อความจาก สนง.) เพราะผู้ขาย ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด..ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้...เพราะพระมีหลายเกจิ อาจารย์สร้าง อาจมีลักษณะคล้ายกัน ===> กรณีนี้แหละปัญหา เพราะเค้าไม่ทราบที่ คุณจะส่งเป็นที่ไหน อย่างไร เขียนใบอย่างไร


กรณีนี้ เจ้าของกระทู้เคยมีการถามมาแล้วครั้งหนึ่ง ผมก็ให้ความเห็นประมาณนี้

1. ไม่แน่ใจอย่าเคาะ
2. ถ้าเคาะแล้วควรรีบดู ถ้าไม่แน่ใจอีกให้รีบใช้กฏรับประกันความพอใจ
3. กรณีตรวจสอบก็ต้องระบบตามรายการว่า ไม่รู้ที่ เพื่อความยุติธรรมกับคนขาย เพราะ สนง.ก็บอกว้่า พระมีลักษณะคล้ายกัน ถ้าเราไประบุหลวงพ่อที่เราคิดอาจจะไม่ใช่ หรือตีว่าไม่แท้ แต่มันก็อาจจะเป็นหลวงพ่ออื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันได้ สนง.ถึงตอบได้ไม่เต็มตัว แต่เท่าที่อ่านดู ก็น่าจะคืนไม่ได้นะ ดังข้อความตามนี้

" ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้ "




ผมถึงถามไง ว่าได้ตามประเด็นแบบนี้ไปหรือเปล่า เพราะเปล่าประโยชน์ที่จะมาตั้งคำถามแบบนี้ให้สมาชิกมาถกเถียงกันอีกเป็นครั้งที่สอง ทั้งที่ถาม สนง.ได้โดยตรง ซึ่งกรณีนี้น่าจะเอาคำตอบมาแจ้งเลยเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 18:07 น.] #3689866 (4/19)
อันดับแรกต้องบอกก่อนเลยครับ

คุณมาตั้งคำถามแบบ ไม่ทราบทีที่จะต้องถาม ครับ

----------------------------------------------

โดยคุณ j_jang (5.2K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 18:55 น.] #3689885 (5/19)

โดยคุณ jungjung (1.3K)  [อา. 18 ต.ค. 2558 - 23:22 น.] #3689976 (6/19)
ไม่ทราบที่แต่คุณสามารถส่งประกวดได้แสดงว่าคุณต้องรู้ที่. ก็เลยเคาะพระมาหรือเปล่า. เพราะงานประกวดคนที่จะส่งพระเข้าประกวดต้องรู้จัก ชื่อพระชื่อรุ่นในรายการนั้นๆ. กรรมการจึงจะรับดูให้ ถ้าแท้ก็ส่งเข้าตู้ ถ้าไม่แท้ก็ส่งคืนเจ้าของ. กรณีนี้หากเป็นพระแท้ กรรมการรับเข้าและเกิดติดรางวัล ถามว่าคุณจะ เพิ่มเงินให้คนขายหรือไม่. หากคุณไม่รู้ที่คุณย่อมไม่สามารถส่งประกวดได้ใช่มั้ยครับ ตอบตามข้อเท็จจริงที่ควรจะเป็นนะครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [จ. 19 ต.ค. 2558 - 08:31 น.] #3690007 (7/19)
ขออนุญาตตอบในนี้นะท่าน looknam1 เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ ไหน ๆ เค้าก็มาตั้งกระทู้แล้ว

ท่าน jungjung ตอบได้โดนใจมาก


สืบเนื่องจากคราวที่แล้ว เจ้าของกระทู้นี้ก็เคยมาถามแล้วครั้งหนึ่งกรณีแบบนี้ แล้วก็ยังมีมาอีก ทั้งที่รู้ว่าจะมีปัญหาแบบนี้ ก็อาจจะเป็นแนวทางการเล่นพระแบบนี้

คราวก่อน กระแสเอนเอียงไปทาง " คืนได้ " หรือ " ตามกฏ " หรือ "ส่งตรวจสอบได้" อะไรประมาณ ซึ่งผมก็วิเคราะห์ส่วนตัวไว้แล้วประมาณคำตอบด้านบนของผม เลยโดนกระแสต้านไปบ้าง ก็เข้าใจ

แต่พอมาได้เห็นคำตอบจาก สนง. ก็ทำให้ใจชื้นขึ้น พอจะได้เห็นแนวทางที่แท้จริงออกมา



พระระบุ ไม่รู้ที่ ยกตัวอย่าง คราวก่อน เค้าของขายขุนแผนไม่รู้ที่ คุณไล่ราคาไปเกินกว่า 5,000 บาท (ในใจคงคิดว่าหลวงปู่ทิม) ก็ร้องขอให้ออกบัตร เค้าก็บอกไม่รู้ที่จะเขียนยังไง ก็มีคนบอกว่า ก็ส่งไปแบบนั้นให้สำนักงานดู ว่าแท้หรือเปล่า เป็นสิทธิ์

แนวทางตามคำตอบด้านบน คือ พระไม่รู้ที่ ถ้าเขียนว่าหลวงปู่ทิม มันก็ไม่แท้แน่นอนครับ แต่ถ้าคนขายเปลี่ยนใหม่ คือ มีคนเคยดีว่า หลวงพ่อ A วัด AB (แถวระยอง ทำพิมพ์คล้าย ๆ ออกมา และปลุกเสกแน่นอน) แต่คนขายไม่แน่ใจว่าใช่ หรือเปล่าเลยลงไม่รู้ที่ เพราะฉะนั้นหากจะให้ส่งตรวจสอบ ขอเขียนเป็นหลวงพ่อ A วัด AB แบบนี้ 100 % สนง.ก็จะไม่สรุปผล ก็จะไม่รับพระ หรือรับไปก็คืนแน่นอน แต่ก็ต้องเสียค่าตรวจสอบไปฟรี ๆ


อย่างล่าสุดเห็นคุณประมูล ตุ๊กตาไป 1 ตน คงคิดว่าเป็นหลวงพ่อเต๋ พอไปส่งงานประกวดเป็นหลวงพ่อเต๋ มันก็ไม่แท้ครับ แต่ถ้าเค้าบอกว่า น่าจะเป็นหลวงพ่อ A วัดใกล้ ๆ วัดคงทอง หรือลูกศิษย์สร้าง ถามว่าจะส่งงานประกวดได้ไหม ส่งตรวจสอบ สนง. ก็ไม่สรุปผล


กรณีนี้แบบนี้มันก็กลายมาเป็นข้อถกเถียงกันอีก ทาง สนง.ถึงได้สรุปออกมา 2 แนวทาง คือ

ไม่แน่ใจ (หรือไม่เป็น) ก็อย่าเคาะ
ถ้าไม่รู้ที่ก็น่าจะส่งตรวจไม่ได้ ถึงยังใช้กฏไม่ได้ (เบื้องต้น)

= เหมือนเล่นพระในสนาม เค้าบอกว่า พี่ไม่รู้ที่นะ วัด ๆ พี่จะเอาเหรอ คุณบอกเอา มันก็จบ คืนกันไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเราทราบเงื่อนไขแต่ต้น =



พอตอบแบบนี้ก็จะมีคนมาแย้งอีกว่า งั้นคนก็เอาพระมาลงแบบไม่รู้ที่กันเต็มไปหมดนะซิ คำตอบ คือ ก็อาจจะใช่ แต่ สนง.ก็ให้แนวทางมาแล้ว



แนวทางที่ถูกต้องที่สุดคือ

1. ไม่เป็นก็อย่าเคาะ หากเค้าลงกันมาก ๆ มันก็เสี่ยงต่อการโดนโหวตเก๊ โดน stop เสียค่ารายการฟรี ๆ อีกทั้งหากเราดูไม่เป็นก็ปล่อยให้กระทู้มันเน่าตายไปเอง (เหมือนท่าน looknam1 เคยให้นิยามาไว้สำหรับกระทู้ที่ไม่ถูกต้อง)

2. ถ้าเคาะแล้วก็ต้องรีบดูรีบเช็คใช้กฏรับประกันความพอใจภายในกำหนด (แต่ข้อนี้ก็จะมีปัญหาไปเรื่อย ๆ เพราะเค้าก็จะด่าคุณว่า ก็ไม่เป็นจะเคาะทำไม คนอื่นที่เคาะก่อนเค้าอาจจะทราบและอยากได้จริง ๆ ทำให้เค้าเสียโอกาส แม้จะอยู่กฏก็ตาม แต่มันก็ต้องมีปัญหาให้ปวดหัวไปเรื่อย ๆ ทุกรายการที่ทำแบบนี้)



รู้ว่าปัญหาจะเกิด ก็ยังจะกระโจนเข้าหา มันก็มีปัญหาอยู่ร่ำไปครับ .... (ขอตอบตามทัศนะส่วนตัวตามนี้นะครับ)

โดยคุณ aongkaloy20 (4.3K)  [จ. 19 ต.ค. 2558 - 11:00 น.] #3690061 (8/19)
เห็นด้วยครับ ถ้าเขาขายไม่รู้ที่ ราคามันคนละราคากับรู้ที่ แต่ไอ้ไม่รู้ที่ก็ไม่ใช่ว่าไม่รู้ที่แบบเก๊เต็มประตูนะครับ ก็คือไม่รู้ที่จริงๆ ถ้าเขาขายไม่รู้ที่แต่คุณรู้ที่แท้ขึ้นมาคนซื้อก็ฟลุ็ค แต่ถ้าไม่ใช่ก็อาจต้องรับสภาพ แล้วถ้าถามว่าทำไมไม่ส่งตรวจสอบก่อน ก้ต้องบอกว่าก็ไม่รู้จะบอกว่าที่ไหน ทางจีไม่มีข้อมูลก็โดนเสียค่าใช้จ่ายฟรีๆ ผมว่านะครับ น่าจะมีกระดานประมูลแบบไท่รู้ที่มาไม่ทราบเกจิ แต่ต้องเป็นพระแท้อีกสักกระดานนะครับ

โดยคุณ wichean15 (6K)  [จ. 19 ต.ค. 2558 - 13:42 น.] #3690113 (9/19)
ว่าตามพี่ **nooing *** ครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 11:25 น.] #3690421 (10/19)
สรุป ไม่มีการตอบรับจากคนต้้งกระทู้ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในอนาคต จึงขออนุญาตนำไปลงในกระทู้ปักหมุด กระดานถามปัญหากฏกติกา เพื่อเป็นกรณีศึกษา " เรื่องพระไม่รู้ที่ ยังคืนไม่ได้ " เหตุผลที่สนับสนุนคือ

1. เจ้าของกระทู้ ได้รับคำตอบจากสำนักงานมาแล้วดังข้อความที่นำมาลง แต่ไม่ยอมบอกให้ชัดเจนว่าสรุปว่าสำนักงานให้คืนหรือเปล่า ผมจึงคิดเอาว่า สำนักงานคงได้บอกมาแล้วว่า "ยังคืนไม่ได้" เพราะถ้าหากคืนได้ คงไม่มาตั้งกระทู้ถาม หรือถามความเห็นให้เสียเวลา คงจะแจ้งคืนเจ้าของพระโดยอ้างคำตอบจากสำนักงานไปเรียบร้อยแล้ว


จึงขออนุญาตสรุปตามนี้ เพื่อนำไว้เป็นกรณีศึกษา และแนวทางการตอบคำถาม รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องต้องสำหรับคนที่จะเล่นพระประเภทนี้ หรือ หากใครมีความเห็นแย้งจากนี้ก็แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้นะครับ

ฝากทางเวปมาสเตอร์ อย่าลบกระทู้นี้นะครับ ถึงจะลงผิดกระดาน แต่ก็มีประโยชน์ในอนาคคต่อไป

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 12:05 น.] #3690436 (11/19)
ขออนุญาตนะครับ
-----------------

ในความเห็นของผมนั้น น่าจะต้องปฏิบัติตามกฏครับ

ผู้ตั้งเอาพระไม่รู้ที่มาตั้งประมูล ฉะนั้นผู้ตั้งต้องยอมรับปัญหาให้ได้ก่อนนครับ ว่าหากตรวจแล้วได้ผลไม่แท้ ต้องรับคืนเพราะมันเป็นกฏ

เราจะมาบอกให้ผู้ซื้อดูเอาเองยอมรับความเสี่ยงเอง โดยให้เหตุผลว่าผู้ตั้งได้บอกไว้แล้วว่าไม่รู้ที่ อันนี้ผมว่ากฏไม่ได้แจ้งให้ทำได้

การที่ผู้ประมูลได้ อยากได้พระฟลุ๊ค โดยเมื่อซื้อแล้วหากแท้โชคดี ไม่แท้ต้องรับไว้เอง ผมว่ามันน่าจะต้องซื้อขายกันนอกกติกาครับ

ผู้ซื้อส่งตรวจสอบพระในรายการประมูลที่ไม่รู้ที่นั้นสามารถทำได้ตามกฏ เป็นสิทธิ์ของผู้ประมูลครับ และหากผลออกมาเป็นเช่นไรก็ต้องว่ากันตามกติกาครับ

เพราะเราซื้อขายกันในที่ที่มีกติกา ผมว่าต้องว่ากันตามกฏกติกาครับ


อย่างในกรณีนี้

ผู้ขายเอาพระไม่รู้ที่มาประมูลในการประมูลที่มีกฏกติกาบังคับ ก็ต้องใช้กติกาเดียวกับพระรู้ที่ทั่วๆไปครับ

หากมีปัญหาพระไม่แท้ หรือสภาพอื่นใดตามกฏ ก็ต้องว่ากันไปตามกฏครับ

เพราะเว็บเรายังไม่มีกระดานวัดดวงครับ

เว็บนั้นตั้งกฏออกกฏให้สมาชิกต้องนำพระแท้มาลงประมูลเท่านั้น และต้องรับประกันพระแท้ตลอดไป

การที่ผู้ตั้งประมูลนำพระไม่รู้ที่มาลงประมูล ก็ขนาดที่ยังไม่รู้ แล้วจะรู้ได้ไงครับว่าเป็นพระแท้

ผมว่าเว็บไม่น่าที่จะสนับสนุนให้ลงพระลักษณะไม่รู้ที่เสียด้วยซ้ำ แต่เมื่อเว็บอนุโลมผู้ตั้งก็ควรต้องยอมรับผลของการตั้งประมูลพระไม่รู้ที่ เมื่อผู้ประมูลขอใช้สิทธิ์ส่งตรวจสอบตามกฏด้วยครับ

ส่วนปัญหาที่ว่าพระไม่รู้ที่จะส่งยังไงนั้น ไม่ใช่ปัญหาครับ

สามารถส่งโดยไม่ต้องเขียนอะไรเลยก็ได้ครับ ระบุว่าไม่รู้ที่ขอตรวจสอบได้เลย

ส่วนผลจะออกยังไงก็ต้องว่ากันตามกฏครับ นี่คือกติกาครับ

-----------------------------------------------
มุมมองผมประมาณนี้ครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 12:24 น.] #3690453 (12/19)
แต่แนวทางที่ผมตอบ คือยึดตามคำตอบของ สำนักงานนะครับ เพราะไม่งั้น คนนี้ก็คืนพระแล้ว นั่นเพราะสำนักงานตอบว่า ยังคืนไม่ได้นะครับ เค้าถึงไม่คืน และมาตั้งกระทู้ถามความเห็นแบบนี้อีก


ยังไงจะดีมากถ้าท่าน looknam1 เป็นธุระสอบถามความชัดเจนของเวปอีกครั้งครับ



ปล. เรื่องพระแท้ ไม่รู้ที่นั้นนะครับ ผมขอตอบตามประสบการณ์นะครับ เพราะการเดินสนามอาจะมีประสบการณ์ค่อนข้างมาก พระแท้ไม่รู้ที่ คนดูเป็นผ่านพระมาเยอะ ก็พอจะทราบได้ครับ ว่า พระอันไหนเนื้อแท้ เนื้อเก๊ครับ ดูหลายองค์ประกอบครับ เนื้อพระ รักทอง (ถ้ามี) การตัดขอบข้าง (พระสมเด็จ) การแห้งตัวของเนื้อพระ ทุกอย่างเป็นองค์ประกอบสามารถแยกได้ครับ ไม่เต็มร้อยแต่ก็ต้อง 90 กว่า % ขึ้นไปครับ ส่วนพระประเทภล้อพิมพ์ทำพิมพ์เลียนแบบ อันนี้ก็ต้องดูกันเป็นองค์ ๆ ไปครับ ไม้งั้นในสนามเค้าคงไม่สามารถซื้อขายพระไม่รู้ที่ แต่เนื้อแท้กันได้หรอกครับ ซึ่งพระแบบนี้เป็นเสน่ห์อีกอย่างของวงการพระนะครับ

โดยคุณ รักเบ๊นซ์ (722)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 12:46 น.] #3690463 (13/19)
ผมกลัวเสน่ห์ของวงการครับ ......... เพราะมันหวานจนผมอกหัก เลือดตกในเกือบครึ่งชีวิตเลย

ชอบห่วน ๆ กง ๆ แบบนี้ล่ะครับ ตอบแบบไม่มีเชิงใส่กัน ถึงจะไม่หวานหู ...... นักสะสมใหม่ ๆ จะได้ประสบการณ์ครับ

อย่างไรผมไม่รู้ครับ แต่ถ้าพระไม่แท้.......... ใครจะเอาบ้าง (นอกจากเช่าเก็บไว้ให้เกียรติรูปท่าน เก็บไว้เป็นครู)

พระไม่แท้คืนอย่างเดียวเท่านั้น................. อย่างอื่น มีกฏกติกาอยู่แล้ว ต้องอ่านครับ

---------------------------------- คนมากก็ต้องมีปัญหาครับ อ่านกฏกติกาให้ดี และสอบถามเว็บก่อนหาแนวทาง

หรือปรึกษาพี่ ๆ ท่านเหล่านี้ครับที่มาตอบให้ ..... แต่ต้องวางเหตุผลของเราเองไว้ก่อนนะครับ เพื่อรับฟัง..............



โดยคุณ nooing (28.8K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 12:51 น.] #3690466 (14/19)
ท่านรักเบนซ์

แนวทางแรก ที่สำนักงานตอบมาก็ชัดเจนว่า ถ้าเค้าลงไม่รู้ที่ และท่านไม่เป็น ประการแรก คือ อย่าไปยุ่ง

เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา ส่วนกรณีต่อมา ผมว่าต้องมองกันเป็นเคส ๆ ซึ่ง คิดว่าท่าน looknam1 กำลังดำเนินการสอบถาม สำนักงานให้อีกทางหนึ่งครับ ผมว่าดีนะ ช่วยกันแบบนี้ จะได้แนวทางที่ชัดเจนออกมาครับ ....

โดยคุณ looknam1 (2.6K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 13:35 น.] #3690476 (15/19)
อยากให้สังเกตุดีๆอีกหน่อยนะครับ

ข้อความที่ผู้ตั้งกระทู้แจ้งไว้ว่า....

ก็เลยโทรสอบถามที่จี เค้าบอกกรณี ไม่ทราบที่ ถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่าเคาะ เพราะผู้ขาย ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด..ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้...เพราะพระมีหลายเกจิ อาจารย์สร้าง อาจมีลักษณะคล้ายกัน))))))

--------------------------------
* สำนักงานไม่ได้บอกนะครับว่า พระลงไม่ทราบที่ นั้นหากตรวจสอบแล้วไม่แท้คืนไม่ได้
*สำนักงานแจ้งไว้ว่า ตรวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้ แสดงว่าหากตรวจสอบที่สำนักงานแล้วได้ผลไม่แท้ก็สามารถคืนตามกฏได้ครับ
*แต่หากผลออกไม่สรุปผล ยังไม่มีข้อมูลอ้างอิง แบบนี้ก็คืนไม่ได้ซึ่งเป็นไปตามกฏกติกาอยู่แล้วครับ เว็บถึงแนะนำเรื่อง .เพราะพระมีหลายเกจิ อาจารย์สร้าง อาจมีลักษณะคล้ายกัน เอาไว้ครับ
* ส่วนข้อวินิจฉัยที่ว่า หากเราไม่แน่ใจก็อย่าเคาะ น่าจะเป็นคำแนะนำครับ
* สรุปปัญหานี้ ผมว่าส่งพระเข้าตรวจสอบก่อนครับ ว่าจะได้ผลอย่างไรค่อยว่ากันตามกฏครับ
*ส่วนตัวแล้วผมมองว่าทุกอย่างยังอยู่ในกฏกติกาอยู่ครับ คงไม่ต้องให้เว็มาสเตอร์ชี้ชัดอะไร
* หากส่งตรวจสอบที่สำนักงานแล้วได้ผลไม่แท้ แล้วเว็บนิจฉัยว่าคืนไม่ได้ ผมจะสอบถามหาข้อเท็จจริงมานำเสนอให้ครับ

ขอวิเคาะห์ประมาณนี้ครับ

โดยคุณ nooing (28.8K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 14:18 น.] #3690479 (16/19)
ท่าน looknam1 เข้าใจคลาดไปนิดนึงนะครับ เรื่องไม่แท้คืน ได้ นั้่นไม่มีใครเถียงได้ครับ อันนี้แน่นอน เป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่าย

แต่กรณีแบบนี้ กว่าจะไปถึงจุดนั้น คือจะทราบแท้ไม่แท้ได้ ผมจะสื่อว่า

หากคุณประมูลพระไป 1 องค์ โดยเค้าบอกไม่รู้ที่ แล้วนำไปส่งประกวด หรือ ส่ง สนง. โดยตีเป็นหลวงพ่อ A (ถ้าตีได้ก็ต้องเป็นพระหลักที่เค้ารู้กันอยู่แล้ว ถึงสามารถเขียนใบส่งประกวดได้ถูกโต๊ะ) ตามที่คุณคิด แล้ว สนง.บอกไม่ไม่แท้ ที่ประกวดบอกไม่รับ (คือไม่ใช่หลวงพ่อนั่นนี่ที่คุณบอกไป)


ผมถามว่า คนขายจะว่าไงครับ ทำไม ถึงตีเป็นหลวงพ่อ A ละ่ครับ ผมว่ามันไม่ใช่นะ อาจจะเป็น หลวงพ่อ B ก็ได้นะ ถ้าตีเป็นหลวงพ่อ A แบบนี้มันก็แย่นะ เพราะผมไม่ได้บอกว่าเป็นหลวงพ่อ A ซะหน่อย

คุณลองส่งเป็นเป็นหลวงพ่อ B แทนซิครับ แบบนี้มันก็ไม่รู้จบครับ เถียงกันไปเรื่อย ส่งกันไปไม่รู้จบ ถ้าหากไม่ยอมกัน เพราะไม่ทราบว่าหลวงพ่ออะไรแน่ ๆ และหากตีเป็นหลวงพ่อ B มันก็อาจจะไม่สรุปผลแทนก็ได้ครับ


แบบนี้จะเคลียร์กันยังไงครับ เรื่องการระบุหลวงพ่อ

ดังนั้น คำตอบจึงระบุไว้ข้อแรกว่า " ไม่เป็นอย่ายุ่ง"


" ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้ " ====> ต้องบอกชื่อไว้หรือเปล่า ถึงจะใช้กฏได้



ผมถึงบอกให้ถามความชัดเจนอีกครั้งครับ ...

โดยคุณ nooing (28.8K)  [อ. 20 ต.ค. 2558 - 14:33 น.] #3690485 (17/19)
อีกนิดนึง ผมตอบไว้ด้านบนแล้ว ขอขยายความหน่อย

กรณีนี้ หากจะให้เป็นธรรม ถ้าจะส่ง สนง.ตรวจสอบ ก็ควรจะส่ง สนง. ตรวจสอบ โดยระบุว่า "เป็นพระไม่ทราบที่" ขอให้ตรวจสอบความแท้ของพระ

ถ้าไม่แท้ ก็น่าจะคืนได้ครับ เพราะส่งไปตามรายการที่ระบุในการขาย ไม่ได้ทึกทักไปเอง

ถ้าไม่สรุปผล หรือ พระแท้ไม่ทราบที่ อันนี้ก็คืนไม่ได้เช่นกัน ตามหลักปฏิับัติทั่วไป

ผมว่าแบบนี้น่าจะแฟร์ ๆ กว่าครับ

โดยคุณ kwwee (2.6K)  [พ. 21 ต.ค. 2558 - 08:01 น.] #3690659 (18/19)
เท่าที่พยายามอ่านและตีความคำตอบของสำนักงาน ผมว่าได้ใจความชัดเจนนะครับ คือ

ข้อแรก "เค้าบอกกรณี ไม่ทราบที่ ถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่าเคาะ เพราะผู้ขาย ไม่ได้ระบุว่าเป็นที่ใด" คือถ้าเราไม่แน่ใจก็อย่าไปเคาะ อย่าไปยุ่ง อันนี้ชัดเจนครับ

ข้อสอง "ถ้าหากบอกชื่อ และที่สร้าง แต่ครวจสอบแล้วว่าไม่แท้ถึง ใช้ตามกฏได้" คำตอบนี้ก็แสดงว่าพระที่จะให้ทางสำนักงานระบุว่าแท้หรือเก๊ได้นั้น จะต้องระบุชื่อและที่สร้างให้ชัดเจน ทางสำนักงานถึงจะตรวจสอบและระบุว่าแท้หรือเก๊ให้ และถ้าเก๊ก็สามารถที่จะคืนได้ตามกฎ แต่ในกรณีนี้พระไม่รู้ชื่อ ไม่รู้ที่สร้าง ดังนั้นทางสำนักงานจึงไม่รับตรวจสอบให้ ก็เลยทำให้ไม่สามารถระบุว่าแท้หรือเก๊ได้ ก็เลยทำให้ท่านเจ้าของกระทู้ไม่สามารถที่จะคืนได้ ผมเข้าใจว่าคำตอบของทางสำนักงานเป็นแบบนี้นะครับ

ในกรณีที่ท่านเจ้าของกระทู้บอกว่า "พอลองส่งประกวดดู กลับเป็นพระไม่แท้" นั่นก็แสดงว่าตอนที่ส่งประกวดได้ไประบุชื่อ และที่สร้าง ตามที่ตัวเองต้องการที่จะให้เป็นหรือคิดว่าเป็น ซึ่งก็แน่นอนว่าจะต้องเจอกับคำตอบที่ว่าไม่แท้แน่ๆ เพราะถ้าตอนแรกเจ้าของเดิมไม่รู้ที่จริงๆ ก่อนที่เขาจะเอามาลงขายเขาก็ต้องไปหาที่ตรวจสอบมาก่อนแล้ว และเขาก็คงจะคิดเหมือนกับที่ท่านเจ้าของกระทู้คิด ว่าเป็นพระอะไร วัดไหนสร้าง คงจะไม่มีโอกาสที่เขาจะพลาดเอาพระแท้ราคาสูงๆมาลงขายในราคาถูกๆแน่นอน และโดยเฉพาะคนที่ก้าวเข้ามาอยู่ในวงการซื้อขายในเว็บพระ มันมีช่องทางที่เขาจะเช็คพระได้เยอะแยะมากครับ คงจะไม่พลาดกันได้ง่ายๆ โดยปกติแล้วพระไม่รู้ที่นี่ส่วนมากคนขายเขาจะรู้ทั้งนั้นแหละครับ ว่าไม่แท้แน่ๆถึงได้เอามาลงขายแบบนี้

โดยคุณ babie_girl (1.3K)(11)   [พฤ. 04 ส.ค. 2559 - 22:34 น.] #3763893 (19/19)
พี่ kwwee คือหนูไม่ได้ระบุที่ในรายการประกวดค่ะ เอาพระเดินเข้าไปสอบถามคนรับพระเข้าประกวด โซนพระนั้นๆค่ะ คนรับพระในกองประกวด เค้าบอกว่า ไม่แท้มาแต่ไกลค่ะ อย่าเช่นในกองประกวด มันจะมี รายการพระเครื่องอุทุมพร หรือ พระเนื้อชินเขียว ไม่ต้องระบุชื่อค่ะ เหมือนกันส่งเช็คอะค่ะ เพราะหนูไปบ่อย เกือบทุกงาน หนูให้รูปในรายการประมูลพี่ๆกรรมการเค้าดู เค้ายังบอกว่ารูปถ่ายลงประมูลดูดีค่ะ แต่พอเห็นองค์ชิน ห่างเยอะเลยค่ะ แต่ก็ไม่เป็นไรค่ะ ถือว่าเป็นครูแล้วกันค่ะ เพราะหนูก็เคาะพระไม่ทราบที่ๆไม่แท้มาเก็บไว้ดูเล่นเยอะค่ะ ขี้เกลียดคืนค่ะ ปัญหาเยอะ รู้ๆกันอยู่ค่ะ บางคนเป็นยังไง

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1