(N) ในความคิดเห็นผมนั้น
- หากเป็นผู้ตั้งประมูลนั้น สามารถปฏิเสธได้เพียง 3 ครั้งเท่านั้นครับถ้าผู้ประมูลปฏิบัติตามกฏ ผู้ตั้งต้องถูกคำติทั้ง 3 ครั้ง และแถมยังเป็นคำติที่แก้ไขไม่ได้
- เมื่อได้คำติในกรณีนี้ครบ 3 ครั้ง ก็จะถูกปิดระบบถาวรครับ เพราะไม่สามารถใช้สิทธิ์อะไรแก้ไขได้
ส่วนผู้ประมูลนั้นสาเหตุที่ยอมไม่ร้องขอออกบัตรผมคิดว่าน่าจะด้วยเหตุผลดังนี้
- มีความมั่นใจในตนเองว่า สามารถดูพระได้เอง และสามารถใช้กฏรับประกันความพอใจได้ ในกรณีที่ดูแล้วไม่ผ่าน
- อยากได้ข้อเสนอในการลดราคาให้ หากไม่ต้องร้องขอออกบัตร ในกรณีนี้หากมีความชำนาญในพระที่ประมูลก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่หากไม่มีความชำนาญทั้งเรื่องความแท้ สภาพผิว หรือการดูซ่อม มักมีปัญหาในภายหลังเสมอ
---------------------------------------------
ส่วนจากคำถามของท่าน พระพิรุณ ที่อยากให้แสดงความคิดเห็นว่า การออกบัตรรับรองนั้น...มันยากตรงไหน....
ขอวิเคาะห์ว่า
- ผู้ตั้ง กลัวผลตรวจสอบ
- ผู้ตั้ง กลัวได้เงินช้า
- ผู้ตั้ง รอลุ้นนานเกินไปในการจะเอาเงินไปใช้
- ผู้ตั้ง กลัวความยุ่งยากในเรื่องดังกล่าว ซึ่งเป็นความคุ้นชินแบบไทยๆเราว่า ..อยากให้จบเรื่องราวไปก่อนเร็วๆ ข้างหน้าหากจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นค่อยไปว่าและแก้กันทีหลัง
ซึ่งหากทั้งผู้ตั้ง+ผู้ประมูลรู้จักใช้กฏกติกากันให้ถูกต้อง บวกด้วยความมีน้ำใจไมตรีให้แก่กัน นึกถึงใจเขาใจเรา ไม่มุ่งหวังที่จะตีความหมายของกฏกติกาเฉพาะเรื่องที่ตัวเองได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวมาใช้ โดยไม่ฟังหรือรับทราบในกฏอื่นๆที่ตัวเองเสียเปรียบ
ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เห็นมีกันบ่อยๆที่พยายามเอากฏกติกามาตีความ และหาแง่มุมที่ตัวเองจะได้ประโยชน์ที่สุดมาถกเถียงกัน ทั้งๆที่บางทีมูลค่าไม่กี่บาท ใครจะแนะนำอย่างไรก็ไม่ฟังจะเอาแต่มุมที่ตัวเองตีความอย่างเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกอย่างก็ต้องเป็นไปตามกฏกติกาทั้งนั้น เพราะกติกาไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแต่กติกาเคยถูกใช้และมีผลการวินิจฉัยมาแล้วทั้งสิ้น การจะมาตีความเอาตามความเข้าใจของตัวเองเพื่อมาตัดสินกติกาในแบบใหม่คงไม่มีทางเป็นไปได้
อาจทำได้เพียงยืดความรับผิดชอบของตัวเองออกไปอีกนิด แต่ท้ายที่สุดนอกจากจะต้องทำตามกฏกติกาแล้ว ยังเสียเครดิต เสียมิตรไมตรี ซึ่งมันไม่มีความคุ้มค่าในการทำมาค้าขายเลย
ขอวิเคาะห์แบบพร่ำเพ้อประมาณนี้ครับท่าน พระพิรุณ
---------------------------------------- |
|